ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 33.00/33.02 อ่อนค่าจากช่วงเช้า ตลาดรอดูข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ คืนนี้

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday November 15, 2018 17:38 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทเย็นนี้ปิดตลาดที่ระดับ 33.00/33.02 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่า จากช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 32.94 บาท/ดอลลาร์

เงินบาทเย็นนี้ปรับอ่อนค่าลงจากช่วงเช้า เนื่องจากระหว่างวันมีข่าวว่ารัฐมนตรีที่ไม่สนับสนุนการให้อังกฤษแยกตัวจาก สหภาพยุโรป (BREXIT) ลาออก ซึ่งส่งผลให้เงินปอนด์อ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ และเงินบาทก็เคลื่อนไหวไปในทิศทาง เดียวกัน โดยระหว่างวันเงินบาททำ low สุดที่ระดับ 32.84 บาท/ดอลลาร์ และทำ high สุดที่ระดับ 33.02 บาท/ดอลลาร์

อย่างไรก็ดี คืนนี้ต้องติดตามการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐ ทั้งจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และ ยอดค้าปลีกเดือนต.ค. ซึ่งหากข้อมูลทั้ง 2 ตัวนี้ออกมาดี ก็เชื่อว่าจะเป็นปัจจัยส่งเสริมให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ปรับขึ้นดอกเบี้ย นโยบายในการประชุม ธ.ค.นี้แน่นอน

"คาดว่าตัวเลข 2 ตัวนี้จะออกมาดี ซึ่งจะไปส่งเสริมให้เฟดปรับขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมรอบเดือนธ.ค.นี้ และน่าจะมี ผลให้ดอลลาร์แข็งค่าขึ้น บาทวันพรุ่งนี้ก็คงจะอ่อนค่า" นักบริหารเงินระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า เงินบาทวันพรุ่งนี้ จะเคลื่อนไหวในกรอบ 32.90-33.10 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • ช่วงเย็นเงินเยนอยู่ที่ระดับ 113.36/37 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 113.52 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1283/1284 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1314 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,638.83 จุด ลดลง 13.47 จุด (-0.82%) มูลค่าการซื้อขาย 44,194 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 1,348.39 ลบ.(SET+MAI)
  • ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) ระบุ EIC ประเมินว่าโอกาสที่คณะกรรมการนโยบาย
การเงิน (กนง.)จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 1 ครั้ง ภายในการประชุมเดือน ธ.ค.61 หรือ ก.พ.62 มีสูงขึ้นพอสมควร เนื่อง
จากฝ่ายสนับสนุนให้ขึ้นดอกเบี้ยต้องการเสียงกรรมการ กนง.เพิ่มอีกเพียงหนึ่งคนเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม โอกาสของการปรับขึ้นดอกเบี้ยในรอบการประชุมเดือน ธ.ค.และการประชุมเดือน ก.พ.62 ยังคงใกล้ เคียงกัน โดยปัจจัยที่ต้องจับตามองและเป็นตัวกำหนดความเร็วช้าของการขึ้นดอกเบี้ย คือ ตัวเลขเศรษฐกิจที่จะออกมาในระยะ 1-2 เดือนข้างหน้า

  • รองอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า ในปี 62 กระทรวงพาณิชย์ได้ตั้งเป้าการส่งออกไปจีนไว้ที่
50,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 12%
  • ผู้อำนวยการกองทุนการเงินรหว่างประเทศ (IMF) กล่าวว่า ธนาคารกลางทั่วโลกควรพิจารณาไตร่ตรองในเรื่อง
การออกสกุลเงินดิจิทัล เนื่องจากขณะนี้สกุลเงินทั่วโลกกำลังเผชิญกับจุดเปลี่ยนครั้งประวัติศาสตร์
  • ประธานคณะมนตรียุโรป กล่าวในการแถลงข่าวร่วมกับนายมิเชล บาร์นิเยร์ ตัวแทนการเจรจาฝ่ายสหภาพยุโรป
(EU) ในวันนี้ว่า การถอนตัวของอังกฤษออกจากการเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป (Brexit) เป็นสถานการณ์ที่ไม่มีฝ่ายใดได้รับ
ประโยชน์ และการเจรจาต่อรองก็เป็นเพียงการควบคุมความเสียหายเท่านั้น
  • สื่ออังกฤษรายงานว่า นายโดมินิก ราบ (Dominic Raab) รัฐมนตรีผู้ดูแลการเจรจา Brexit ในคณะรัฐมนตรีของ
นางเทเรซา เมย์ ประกาศว่าได้ยื่นจดหมายลาออกอย่างเป็นทางการแล้ว โดยให้เหตุผลในการลาออกว่าไม่สามารถสนับสนุนในข้อ
ตกลงดังกล่าวได้ โดยเฉพาะในประเด็นเรื่องพรมแดนระหว่างสาธารณรัฐไอร์แลนด์ ซึ่งเป็นสมาชิกอียูเพียงชาติเดียวที่มีพรมแดนติดกับ
ไอร์แลนด์เหนือของสหราชอาณาจักร
  • สมาชิกอาวุโสของพรรคเดโมแครต เปิดเผยว่า หากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐยังคงเดินหน้าการเจรจา
ต่อรองเรื่องงบประมาณของรัฐบาลในสภาคองเกรสต่อไป อาจจะมีการปิดหน่วยงานรัฐบาลสหรัฐบางส่วนเกิดขึ้นได้ในช่วงเดือนธ.ค.นี้
  • สื่อต่างประเทศรายงานว่า เจ้าหน้าที่ของจีนได้ร่างข้อเสนอด้านการค้า เพื่อที่จะส่งให้ทีมงานของรัฐบาลสหรัฐ
พิจารณา เพื่อคลี่คลายข้อพิพาทด้านการค้า ก่อนหน้าที่การประชุม G20 จะเปิดฉากขึ้นที่กรุงบัวโนสไอเรสของอาร์เจนตินา ในวันที่
30 พ.ย.-1 ธ.ค.นี้
  • ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เปิดเผยว่า ตนเชื่อว่าเศรษฐกิจสหรัฐยังคงมีแนวโน้มดี แม้มีปัจจัยที่น่าวิตกกังวล
บ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจัยจากต่างประเทศ

อย่างไรก็ดี ประธานเฟดมองว่า แม้เศรษฐกิจสหรัฐดูมีแนวโน้มสดใสในตัวเอง แต่เมื่อประเมินจากการชะลอตัวของ เศรษฐกิจโลกแล้ว สิ่งนี้อาจส่งผลกระทบต่อแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐ นอกจากนี้ การชะลอตัวลงของตลาดที่อยู่อาศัยในประเทศ ซึ่งมี สาเหตุส่วนหนึ่งจากการปรับขึ้นดอกเบี้ยนั้น ก็เป็นอีกปัจจัยที่น่ากังวล

  • การประชุมระดับรัฐมนตรีกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (APEC) เปิดฉากขึ้นแล้วในวันนี้ที่

ประเทศปาปัวนิวกินี โดยมีนักวิเคราะห์เฝ้าจับตาว่า บรรดารัฐมนตรีจาก 21 ประเทศ จะสามารถเรียกร้องให้มีการต่อสู้กับการกีดกัน

การค้า จากนโยบาย "อเมริกาต้องมาก่อน" ของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้หรือไม่


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ