ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 31.92/93 แนวโน้มยังแข็งค่า หลังเฟดส่งสัญญาณชะลอขึ้นดอกเบี้ย มองกรอบพรุ่งนี้ 31.85-32.00

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday January 10, 2019 17:33 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 31.92/93 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าเล็กน้อย จากช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 31.95/97 บาท/ดอลลาร์

เงินบาทวันนี้ยังเคลื่อนไหวไม่มากนัก แต่แนวโน้มยังมีโอกาสจะแข็งค่าต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการเจรจาพูดคุยกัน ระหว่างสหรัฐฯและจีนออกมาค่อนข้างดี จึงทำให้นักลงทุนออกจาก safe heaven ไปถือสินทรัพย์อื่น นอกจากนี้ ในรายงานการประชุมของ ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ล่าสุดออกมาว่าสามารถอดทนต่อการปรับขึ้นดอกเบี้ยได้ และก่อนที่เฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ยอีกรอบ จะพิจารณา ความเสี่ยงต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นอย่างรอบด้าน

"โทนล่าสุดของเฟดที่ออกมา เหมือนว่าในช่วง 2 ไตรมาสแรกของปีนี้ อาจจะชะลอการขึ้นดอกเบี้ยไว้ก่อน รอดูแนวโน้ม เศรษฐกิจโลกด้วย เพราะหลายหน่วยงานก็มีการปรับตัวเลขลดลง trend เศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะตลาดหมี" นักบริหารเงินระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 31.85 - 32.00 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เย็นนี้เงินเยนอยู่ที่ระดับ 108.14/17 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 107.89/91 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1526/1530 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1548/1550 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,587.63 จุด ลดลง 2.87 จุด (-0.18%) มูลค่าการซื้อขาย 53,524 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 897.80 ลบ.(SET+MAI)
  • ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คาดว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้จะขยายตัวในระดับ 4% ซึ่งมีแนวโน้มการเติบโตที่
ชะลอลง และมีความเสี่ยงด้านต่ำเพิ่มมากขึ้น แต่ทั้งนี้ ธปท.พร้อมจะใช้เครื่องมือทางการเงินเข้ามาดูแล หากเห็นว่าความมีโอกาสที่จะเกิด
ขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม พร้อมยืนยันการใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายยังมีความเหมาะสมในระยะข้างหน้า และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
นโยบายจะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป
  • ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุ ไม่กังวลแม้อัตราเงินเฟ้อของไทยจะอยู่ในกรอบล่างของเป้าหมาย
นโยบายการเงิน (1-4%) เนื่องจากแม้อัตราเงินเฟ้อจะต่ำ แต่การจับจ่ายใช้สอยของประชาชนยังเป็นไปอย่างปกติ เศรษฐกิจเติบโตอยู่ใน
ระดับที่มีศักยภาพ การบริโภค การจ้างงาน และการลงทุนยังขยายตัวได้ดี แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงมากกว่า คือ หากอัตราเงินเฟ้อสูงเกินกรอบ
เพดานเป้าหมาย จะมีผลกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจในระยะยาว เพราะเงินเฟ้อที่สูงจะกระทบศักยภาพการขยายตัวทาง
เศรษฐกิจ และปัญหาด้านสังคมตามมา
  • สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยว่า ไตรมาสแรกปีงบ 2562 (ต.ค.-ธ.ค.61)สามารถจัด
เก็บเงินนำส่งรายได้แผ่นดินจากรัฐวิสาหกิจ จำนวน 65,513 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าประมาณการจำนวน 13,570 ล้านบาท หรือ 26% ของ
เป้าหมายการจัดเก็บรายได้ตามเอกสารงบประมาณประจำปี ซึ่งถือเป็นสัญญาณที่ดีต่อการจัดเก็บรายได้รัฐวิสาหกิจในปีงบประมาณ 2562
  • นักลงทุนพากันเทขายดอลลาร์แล้วหันมาถือครองเงินเยนซึ่งเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย หลังมีการเปิดเผยรายงานการประชุมเฟด
ประจำวันที่ 18-19 ธ.ค. 2561 ซึ่งระบุว่า กรรมการเฟดส่วนใหญ่สามารถอดทนต่อการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เมื่อพิจารณาจากภาวะ
เศรษฐกิจในปัจจุบัน และแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ ซึ่งการส่งสัญญาณชะลอปรับขึ้นดอกเบี้ย สร้างแรงกดดันต่อดอลลาร์
สหรัฐให้อ่อนค่าลง
  • กระทรวงพาณิชย์จีน เปิดเผยว่า การเจรจากับสหรัฐฯ ช่วยปูพื้นฐานสำหรับการคลี่คลายข้อพิพาทด้านการค้าที่สร้างความ
เสียหายให้กับทั้ง 2 ประเทศ ภายหลังจากที่ผู้แทนทั้ง 2 ประเทศได้ประชุมร่วมกันเป็นเวลา 3 วัน ตั้งแต่วันที่ 7-9 ม.ค.ที่ผ่านมา

ขณะที่สำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐ (USTR) เปิดเผยว่า จีนได้ให้คำมั่นสัญญาที่จะซื้อสินค้าจำนวนมากจากสหรัฐ ทั้งในด้านการ เกษตร พลังงาน รวมทั้งสินค้าในภาคการผลิตและบริการ ซึ่ง USTR จะหามาตรการเพื่อทำให้มั่นใจว่า จีนจะดำเนินการตามที่ให้สัญญาไว้ จริง

  • สภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ ลงมติด้วยคะแนนเสียง 240 ต่อ 188 เสียง ผ่านร่างกฎหมายงบประมาณชั่วคราว เพื่อหลีกเลี่ยง
ภาวะที่กระทรวงการคลังและหน่วยงานอีกบางส่วนของรัฐบาลต้องปิดทำการ (ชัตดาวน์) อย่างไรก็ตาม ร่างงบประมาณดังกล่าว ไม่ได้
บรรจุงบประมาณวงเงิน 5 พันล้านดอลลาร์ สำหรับสร้างกำแพงกั้นชายแดนเม็กซิโกตามที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เรียกร้อง
  • ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เปิดเผยรายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจของภูมิภาคต่างๆ ภายในประเทศ หรือ "ซากุระ รี
พอร์ท" โดยระบุว่า เศรษฐกิจในระดับภูมิภาคของญี่ปุ่นกำลังฟื้นตัวขึ้น หลังจากที่ต้องเผชิญภัยพิบัติทางธรรมชาติในช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมา แต่ยัง
ต้องระมัดระวังปัจจัยที่เกิดจากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจทั่วโลกที่มีมากขึ้น พร้อมกันนี้ ผู้ว่าการ BOJ ระบุว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะยังขยายตัว
ในระดับปานกลางต่อไป เพราะการปรับขึ้นค่าแรงช่วยกระตุ้นให้ประชาชนมีการใช้จ่ายมากขึ้น และ BOJ จะเดินหน้ารักษาอัตราดอกเบี้ยไว้
ในระดับต่ำต่อไป จนกว่าจะอัตราเงินเฟ้อจะบรรลุตามเป้าหมายที่ 2%

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ