ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 31.07 แข็งค่าสุดรอบกว่า 5 ปีหลังคลายกังวลสงครามการค้า-เชื่อเฟดไม่เร่งขึ้นดอกเบี้ย มองกรอบ 31.00-31.20

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday February 20, 2019 17:31 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้ที่ระดับ 31.07 บาท/ดอลลาร์ จากตอนเช้าที่ เปิดตลาดอยู่ที่ 31.13 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเคลื่อนไหวระหว่าง 31.07-31.37 บาท/ดอลลาร์

"เงินบาทปิดที่ระดับ Low สุดของวันและแข็งค่าสุดในรอบ 5 ปีกว่า แต่ไม่ได้แข็งค่าสุดในภูมิภาค ที่แข็งสุดคือเงินหยวนหลัง ตลาดคลายกังวลสงครามการค้า ประกอบกับ ตลาดค่าอนข้างมั่นใจว่าเฟดอาจจะไม่ปรับขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้ แต่อย่างไรก็ตามต้องรอดูการ เปิดเผยบันทึกการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) ที่จะออกมาในคืนนี้" นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงินประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทไว้ที่ 31.00 - 31.20 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ 110.79 เยน/ดอลลาร์ จากตอนเช้าที่อยู่ที่ 110.75 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ 1.1346 ดอลลาร์/ยูโร จากตอนเช้าที่อยู่ที่ 1.1348 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,645.38 จุด เพิ่มขึ้น 9.67 จุด, +0.59% มูลค่าการซื้อขาย 58,414.26 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 7,983.44 ลบ.(SET+MAI)
  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่า วันนี้เงินบาทแข็งค่าทะลุแนว 31.10 บาท/ดอลลาร์ ไปที่ระดับ 31.07 บาท/ดอลลาร์
ซึ่งนับเป็นระดับที่แข็งค่าที่สุดในรอบกว่า 5 ปี โดยทิศทางการแข็งค่าของเงินบาท ยังคงสอดคล้องกับการแข็งค่าของเงินหยวน และสกุล
เงินอื่น ๆ ในภูมิภาค ขณะที่เงินดอลลาร์เผชิญแรงเทขายเพิ่มเติม ท่ามกลางความคาดหวังมากขึ้นว่าการเจรจาเพื่อลดข้อพิพาททางการ
ค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนน่าจะมีสัญญาณที่โน้มเอียงไปในทางที่ดีขึ้น โดยการลดความกังวลของนักลงทุน ทำให้ความต้องการสินทรัพย์ที่
ปลอดภัย เช่น เงินดอลลาร์ และเงินเยน ลดลงตามไปด้วย
  • ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เผยแพร่รายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ครั้งที่ 1/2562 เมื่อวัน
ที่ 6 ก.พ.62 ระบุว่า การตัดสินนโยบายการเงินที่มีการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 1.75% เนื่องจากเห็นว่าเศรษฐกิจไทยใน
ภาพรวมมีแนวโน้มขยายตัวได้ต่อเนื่อง แม้การส่งออกสินค้ามีแนวโน้มขยายตัวชะลอลงตามปริมาณการค้าโลกและเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่
ได้รับผลกระทบจากมาตรการกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน แต่การส่งออกภาคบริการมีแนวโน้มปรับดีขึ้นจากจำนวนนักท่อง
เที่ยวจีนที่ฟื้นตัวดีกว่าที่ประเมินไว้

ขณะเดียวกันอุปสงค์ในประเทศเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวดีต่อเนื่องตามรายได้ครัว เรือนทั้งในและนอกภาคเกษตรที่ปรับดีขึ้นและกระจายตัวมากขึ้น รวมทั้งได้รับแรงสนับสนุนจากมาตรการภาครัฐเพิ่มเติม การลงทุนภาค เอกชนมีแนวโน้มขยายตัวตามการย้ายฐานการผลิตมายังไทย และการร่วมลงทุนของรัฐบาลและเอกชนในโครงการลงทุนโครงสร้างพื้น ฐาน รวมทั้งการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในบางอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายภาครัฐมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าที่ประเมิน ไว้

  • ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ในฐานะรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ระบุถึงแนวโน้มในปี 62
คาดว่าผลจากมาตรการควบคุมสินเชื่อและการชะลอตัวของเศรษฐกิจ รวมถึงภาวะดอกเบี้ยขาขึ้นจะส่งผลต่อตลาดที่อยู่อาศัยและจะส่งผล
ให้มีการชะลอตัวทั้งในด้านอุปสงค์และอุปทาน โดยในด้านอุปสงค์การโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยจะลดลงทั้งจำนวนหน่วยและมูลค่า 17.9%
และ 15.1%ตามลำดับเมื่อเทียบกับปี 61

และคาดว่าสินเชื่อที่อยู่อาศัยบุคคลปล่อยใหม่ทั้งประเทศจะลดลง 0.7% เมื่อเทียบกับปี 61 ส่วนอุปทานโครงการเปิดตัว ใหม่คาดว่าจะลดลง 5.3% เมื่อเทียบกับปี 61 แต่ที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จจดทะเบียนคาดว่าจะยังคงเพิ่มขึ้น 11.3% เมื่อเทียบกับปี 61 เนื่องจากการขยายตัวของโครงการที่เปิดขายใหม่ในปี 60-61

  • สื่อต่างประเทศรายงานโดยอ้างแหล่งข่าวว่า สหรัฐเรียกร้องให้จีนรักษารักษาเสถียรภาพของค่าเงินหยวน ซึ่งข้อเรียก
ร้องดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐและจีน โดยความเคลื่อนไหวของสหรัฐมีเป้าหมายที่จะถ่วงดุลจีนที่พยายาม
จะลดค่าเงินหยวนเพื่อรับมือกับมาตรการเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าของสหรัฐ
  • นายจอห์น วิลเลียมส์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขานิวยอร์กกล่าวว่า เขาพอใจกับระดับอัตราดอกเบี้ยของ
สหรัฐในขณะนี้ และไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องปรับขึ้นดอกเบี้ย นอกเสียจากว่า การขยายตัวทางเศรษฐกิจหรือเงินเฟ้อ จะเปลี่ยนไปสู่
ระดับที่สูงเกินคาด

ขณะที่นางลอเรตตา เมสเตอร์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาคลีฟแลนด์ กล่าวว่า เฟดอาจจำเป็นต้องปรับขึ้น อัตราดอกเบี้ยในปี 2562 พร้อมกับสนับสนุนให้คณะกรรมการกำหนดนโยบายของเฟดยุติการปรับลดงบดุลบัญชีในปีนี้


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ