ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 31.80/85 เคลื่อนไหวในกรอบแคบ ตลาดไร้ปัจจัยใหม่ คาดกรอบพรุ่งนี้ 31.70-31.90

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday April 18, 2019 17:31 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 31.80/85 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่า เล็กน้อยจากช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 31.79/83 บาท/ดอลลาร์

วันนี้เงินบาทเคลื่อนไหวไม่มากนัก เนื่องจากไม่ค่อยมีปัจจัยสำคัญใหม่ๆ ที่มีผลต่อทิศทางของค่าเงินบาท การเคลื่อนไหว ของค่าเงินวันนี้จึงเป็นไปตามแรงซื้อ แรงขายปกติ

"วันนี้เงินบาทเคลื่อนไหวนิดหน่อย แทบจะไม่ค่อยเปลี่ยนแปลง เป็นเพราะไม่มีปัจจัยอะไรใหม่ คาดว่าพรุ่งนี้ก็ยังคง แกว่งอยู่ในกรอบแคบเช่นกัน" นักบริหารเงินระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 31.70 - 31.90 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 111.70/112.10 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 111.75 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1230/1270 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1275/1315 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,675.00 จุด เพิ่มขึ้น 1.80 จุด (+0.11%) มูลค่าการซื้อขาย 47,336 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 1,093.15 ลบ.(SET+MAI)
  • สำนักงานปริวรรตเงินตราแห่งรัฐของจีน (SAFE) เปิดเผยว่า ธนาคารพาณิชย์ของจีนได้ซื้อสกุลเงินต่างประเทศ
1.51 แสนล้านดอลลาร์ และขายสกุลเงินต่างประเทศ 1.57 แสนล้านดอลลาร์ ส่งผลให้ยอดขายสุทธิอยู่ที่ 6.1 พันล้านดอลลาร์ ทั้ง
นี้ ธนาคารพาณิชย์ของจีนยังคงขายเงินตราต่างประเทศสุทธิในเดือนมีนาคม แต่ปริมาณการขายนั้นลดลงจากระดับของเดือนก.พ. ใน
ขณะที่กระแสเงินทุนข้ามแดนยังคงมีเสถียรภาพ
  • ธนาคารกลางเกาหลีใต้ (BOK) ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศในปี 2562 ลงสู่ระดับ
2.5% จากเดิมที่เคยคาดไว้ที่ 2.6% พร้อมกันนี้ยังได้ปรับลดแนวโน้มเงินเฟ้อปีนี้ลงจาก 1.4% เหลือที่ระดับ 1.1% ทั้งนี้ การปรับลด
คาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจดังกล่าว มีขึ้นหลังจากที่ BOK มีมติคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 1.75% ในการประชุมวันนี้
  • รัฐบาลญี่ปุ่น เปิดเผยว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นฟื้นตัวในระดับปานกลาง โดยได้แรงหนุนจากตลาดแรงงานและการบริโภคที่
ปรับตัวขึ้น ขณะที่การส่งออกและกิจกรรมทางอุตสาหกรรมอ่อนแอ ซึ่งได้รับผลมาจากการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจจีน อย่างไรก็ดี
ภาพรวมเศรษฐกิจยังเหมือนเดิม เนื่องจากอุปสงค์ในประเทศยังคงแข็งแกร่งและตลาดแรงงานยังคงตึงตัว
  • ผู้ช่วยนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น เผยมีความเป็นไปได้ที่แผนการปรับขึ้นภาษีการอุปโภคบริโภคจาก 8% เป็น 10% ในเดือน
ต.ค.ที่จะถึงนี้ อาจจะล่าช้าออกไป ซึ่งจะขึ้นอยู่กับปัจจัยบ่งชี้ที่สำคัญทางเศรษฐกิจ โดยข้อมูลดังกล่าวจะมีการเปิดเผยในเดือนมิ.ย.นี้
  • นักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจอื่นๆ ของสหรัฐที่มีกำหนดเปิดเผยในสัปดาห์นี้ ได้แก่ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน

รายสัปดาห์, ดัชนีการผลิตเดือนเม.ย.จากเฟดฟิลาเดลเฟีย, ยอดค้าปลีกเดือนมี.ค., ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิต

เบื้องต้นเดือนเม.ย.จากมาร์กิต, ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเบื้องต้นเดือนเม.ย.จากมาร์กิต, สต็อกสินค้าคงคลัง

ภาคธุรกิจเดือนก.พ. และ ตัวเลขการเริ่มสร้างบ้านและการอนุญาตก่อสร้างเดือนมี.ค.


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ