ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 31.54 แนวโน้มผันผวน กังวลเศรษฐกิจอิตาลี-จับตาเจรจาการค้า มองกรอบวันนี้ 31.45-31.60

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday May 15, 2019 09:18 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดที่ระดับ 31.54 บาท/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ปิด ตลาดที่ระดับ 31.50 บาท/ดอลลาร์

"ทิศทางวันนี้ค่อนข้างผสมน่าจะผันผวนทั้งแข็งค่าและอ่อนค่า....ดอลลาร์แข็งค่า ยูโรร่วง ดอลลาร์ได้แรงหนุนจากประเด็น สงครามการค้าและความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจอิตาลี รวมทั้งท่าทีของทางการไทยในการดูแลค่าเงินบาท"นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวในวันนี้ระหว่าง 31.45-31.60 บาท/ดอลลาร์

THAI BAHT FIX 3M (14 พ.ค.) อยู่ที่ระดับ 1.68063% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 1.70956%

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 109.65 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่อยู่ที่ 109.68 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1210 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่อยู่ที่ 1.1234 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 31.5230 บาท/ดอลลาร์
  • นายกรัฐมนตรี ได้กำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกของประเทศไปติดตามว่า กรณีสงครามการค้าสหรัฐและจีนจะ
มีผลกระทบกับประเทศไทยอย่างไรบ้าง และมาตรการที่ประเทศไทยควรจะดำเนินการ อย่างไรก็ดี ประมาณช่วงปลายเดือนพฤษภาคมนี้
กระทรวงพาณิชย์ จะมีการประชุมทูตพาณิชย์เข้าใจว่าจะมีการหารือกันในประด็นนี้
  • กสทช.คลอดประกาศหลักเกณฑ์จัดสรรคลื่น 700 MHz 3 ใบอนุญาต ใบละ 10 MHz ราคาใบละ 17,584 ล้านบาท ลุ้น
19 มิ.ย.นี้ รู้ผลใครได้ใบอนุญาต พร้อมประเมินมูลค่าชดเชยทีวีดิจิทัล 7 ช่อง รวม 3.8 พันล้านบาท
  • ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และธนาคารกลางฮ่องกง (HKMA) ได้ร่วมลงนามในความตกลงร่วมมือด้านการให้
บริการทางการเงินโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (FinTech) ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการสร้างความร่วมมือและแลกเปลี่ยนข้อมูล ความรู้
ประสบการณ์ในการส่งเสริมนวัตกรรมทางการเงิน และการเข้าร่วมโครงการนวัตกรรมทางการเงินใหม่ๆ ร่วมกัน ซึ่งหนึ่งในความร่วมมือที่
อยู่ระหว่างดำเนินการคือโครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้สกุลเงินดิจิทัลจำลองที่ออกโดยธนาคารกลาง (CBDC) ได้แก่ Project
Lion Rock ของ HKMA และโครงการอินทนนท์ (Project Inthanon) ของ ธปท.มาประยุกต์ใช้ในการโอนเงินข้ามประเทศระหว่าง
ธนาคาร
  • รองนายกรัฐมนตรีอิตาลีระบุว่า อิตาลีอาจยอมละเมิดกฎเกณฑ์ด้านการคลังของสหภาพยุโรป (EU) เกี่ยวกับยอดขาดดุล
งบประมาณ เพื่อที่จะสนับสนุนการจ้างงาน ซึ่งความเคลื่อนไหวดังกล่าวส่งผลให้ตลาดวิตกเกี่ยวกับระดับหนี้สินของอิตาลี และเศรษฐกิจ
ยุโรป
  • กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีราคานำเข้าขยับขึ้นเพียง 0.2% เมื่อเทียบรายเดือน ในเดือนเม.ย. และหาก
เทียบรายปี ดัชนีราคานำเข้าลดลง 0.2% ในเดือนเม.ย. ส่วนดัชนีราคาส่งออกเพิ่มขึ้น 0.2% ในเดือนเม.ย. เมื่อเทียบรายเดือน และ
หากเทียบรายปี ดัชนีราคาส่งออกเพิ่มขึ้น 0.3%
  • ปธน.ทรัมป์ได้ทวีตข้อความล่าสุดว่า จะต้องใช้เวลาอีก 3-4 สัปดาห์จึงจะทราบว่าการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐและจีน
ประสบความสำเร็จหรือไม่ พร้อมระบุว่า สหรัฐกำลังอยู่ในสถานะที่ดีขึ้นในการทำข้อตกลงกับจีน ขณะที่เม็ดเงินหลายพันล้านดอลลาร์กำลัง
ไหลกลับสู่สหรัฐ และการจ้างงานกำลังกลับสู่สหรัฐเช่นกัน นอกจากนี้ ปธน.ทรัมป์กล่าวว่า เขายังคงมีความเคารพและมิตรภาพอย่างไม่จำ
กัดต่อปธน.สี จิ้นผิง แต่ย้ำว่า ข้อตกลงที่เกิดขึ้นจะต้องเป็นข้อตกลงที่ดีที่สุดสำหรับสหรัฐ
  • ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (14 พ.ค.) โดย
ได้ปัจจัยหนุนจากความหวังที่ว่า สหรัฐและจีนจะสามารถบรรลุข้อตกลงในการเจรจาการค้า ขณะที่สกุลเงินยูโรร่วงลง ท่ามกลางความวิตก
กังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจอิตาลี
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (14 พ.ค.) หลังจากตลาดหุ้นสหรัฐดีดตัวขึ้นอย่างแข็งแกร่ง ซึ่งส่งผลให้นักลงทุน
ลดการถือครองทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัย นอกจากนี้ การแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ยังสร้างแรงกดดันต่อตลาด และฉุดสัญญา
ทองคำปิดที่ระดับต่ำกว่า 1,300 ดอลลาร์/ออนซ์
  • นักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจด้านอื่นๆของสหรัฐที่มีกำหนดเปิดเผยในสัปดาห์นี้ ซึ่งได้แก่ ยอดค้าปลีกเดือนเม.ย., ดัชนีภาค
การผลิต (Empire State Manufacturing Index) เดือนพ.ค.จากเฟดนิวยอร์ก, การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนเม.ย., สต็อก
สินค้าภาคธุรกิจเดือนมี.ค., ดัชนีตลาดที่อยู่อาศัยเดือนพ.ค.จากสมาคมผู้สร้างบ้านแห่งชาติ (NAHB), จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานราย
สัปดาห์, ตัวเลขการเริ่มสร้างบ้านและการอนุญาตก่อสร้างเดือนเม.ย., ดัชนีการผลิตเดือนพ.ค.จากเฟดฟิลาเดลเฟีย, ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ
เดือนเม.ย.จาก Conference Board และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนพ.ค.จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ