ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 31.34 ระหว่างวันผันผวนตาม Fund Flow จับตาผลประชุม ECB-ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรสหรัฐฯ

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday June 6, 2019 17:36 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นวันนี้ที่ระดับ 31.34 บาท/ดอลลาร์ จากตอนเช้าที่ เปิดตลาดที่ระดับ 31.40 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเคลื่อนไหวระหว่าง 31.34-31.44 บาท/ดอลลาร์

"วันนี้ผันผวนปานกลาง ยังคงเคลื่อนไหวไปตาม Fund Flow เพราะยังไม่มีปัจจัยใหม่"นักการบริหารเงินกล่าว

ส่วนกรณีประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ขู่ที่จะเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจีนเพิ่มขึ้นอีกในวงเงิน 3 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ยังไม่มี ผลอะไร

"ต้องติดตามต่อไป เพราะระยะหลังขู่กันไปขู่กันมา และยังไม่มีรายละเอียดว่าจะเป็นสินค้ากลุ่มใด"นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทวันพรุ่งนี้ระหว่าง 31.30 - 31.40 บาท/ดอลลาร์

"คืนนี้จะมีการประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) ซึ่งอาจจะคงดอกเบี้ย แต่ต้องติดตาม Wording ที่จะตามมา และอาจจะ มีผลต่ออัตราแลกเปลี่ยน นอกจากนี้คืนวันศุกร์จะมีตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ"

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 108.17 เยน/ดอลลาร์ จากตอนเช้าที่อยู่ที่ 108.29 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1235 ดอลลาร์/ยูโร จากตอนเช้าที่อยู่ที่ 1.1227 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,653.41 จุด เพิ่มขึ้น 4.95 จุด, +0.30% มูลค่าการซื้อขาย 49,878.70 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 1,046.12 ลบ.(SET+MAI)
  • ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวลดลงต่อเนื่อง
ทุกรายการ และลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 เนื่องจากปัจจัยที่สำคัญ 3 ประการ คือ 1.ความไม่มั่นใจสถานการณ์การเมืองไทยในอนาคต
เป็นสำคัญ 2.ผู้บริโภคยังกังวลเกี่ยวกับความไม่แน่นอนของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกที่มีความเสี่ยงสูง 3.ราคาพืชผล
ทางการเกษตรหลายรายการที่ยังทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ ส่งผลให้ผู้บริโภคยังคงระมัดระวังการจับจ่ายใช้สอยอย่างต่อเนื่องในช่วงครึ่งแรก
ของปีนี้ โดยความเชื่อมั่นผู้บริโภคมีโอกาสที่จะกลับมาฟื้นตัวขึ้นได้ในช่วงปลายไตรมาส 3 หรือต้นไตรมาส 4 ปีนี้ หลังจากที่เริ่มเห็นความ
ชัดเจนจากการมีคณะรัฐมนตรีชุดใหม่เข้ามาบริหารประเทศ
  • ผู้อำนวยการ ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า จากในช่วงต้นปี 60 จนถึงต้นปี 62
นี้ เงินบาทของไทยแข็งค่ามากสุดเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่งสำคัญ เช่น จีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย และเวียดนาม ซึ่งผู้ส่งออกยังมีความ
กังวลในจุดนี้ และไม่ต้องการให้เงินบาทแข็งค่ามากเกินไปเพราะจะทำให้เสียเปรียบในเชิงการแข่งขันทางการค้า โดยผู้ประกอบการเห็น
ว่าอัตราแลกเปลี่ยนในระดับที่เหมาะสม ซึ่งนอกจากจะมีเสถียรภาพแล้วควรจะอยู่ในระดับประมาณ 32 บาท/ดอลลาร์ หรืออ่อนค่ากว่านั้น
เล็กน้อย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อภาคการส่งออกและการท่องเที่ยวในการช่วยพยุงเศรษฐกิจไทยในปีนี้ไว้ด้วย
  • เลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ เปิดเผยว่า ไตรมาสแรกของปี
2562 หนี้สินครัวเรือนยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยพิจารณาจากยอดคงค้างสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลของธนาคาร
พาณิชย์ขยายตัว 10.1% สูงสุดในรอบ 5 ปี นับตั้งแต่ไตรมาสสองปี 2557 เป็นต้นมา ซึ่งเป็นผลจาก (1) การเร่งก่อหนี้ก่อนการบังคับ
ใช้มาตรการกำกับดูแลสินเชื่อที่อยู่อาศัยใหม่ (LTV) เมื่อวันที่ 1 เม.ย.62 ที่ผ่านมา (2) ความต้องการรถยนต์ที่เพิ่มสูงขึ้นจากคุณสมบัติ
ของรถรุ่นใหม่ และมาตรการส่งเสริมการขายรถยนต์จากงานมหกรรมยานยนต์ (Motor Show 2019) และ (3) การส่งเสริมการ
ขาย การโฆษณาประชาสัมพันธ์ และเงื่อนไขการผ่อนชำระที่จูงใจ
  • ประธานาธิบดีสหรัฐ ขู่ที่จะเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจีนเพิ่มขึ้นอีกในวงเงิน 3 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่ไม่ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติม
ว่าเป็นสินค้ากลุ่มใดบ้าง
  • กระทรวงพาณิชย์จีนได้เปิดเผยรายงานวิจัยในวันนี้ว่า ในช่วงเวลาที่ผ่านมานั้น การค้าระหว่างจีนและสหรัฐได้ผลประโยชน์
ร่วมกันทั้งสองฝ่าย และสหรัฐได้เก็บเกี่ยวผลประโยชน์อย่างต่อเนื่องจากความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการค้าระดับทวิภาคี
  • นักลงทุนจับตาการประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในวันนี้ ท่ามกลางการคาดการณ์ที่ว่า ECB อาจมีมติคงนโยบายการ

เงิน หลังจากนายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้ออกมาส่งสัญญาณปรับลดอัตราดอกเบี้ย ขณะที่ธนาคารกลาง

ออสเตรเลียได้ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา พร้อมส่งสัญญาณว่าอาจจะปรับนโยบายการเงินเพื่อสนับสนุน

การเติบโตทางเศรษฐกิจ และล่าสุด ธนาคารกลางอินเดียมีมติลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงเหลือ 5.75% จากระดับ 6% ในการประชุมวันนี้


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ