(เพิ่มเติม1) ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 30.72 อ่อนค่าจากวานนี้หลังดอลล์แข็งจากตลาดคลายกังวลสงครามการค้า มองกรอบวันนี้ 30.65-30.70

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday July 2, 2019 11:22 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้ที่ระดับ 30.72 บาท/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ ที่ปิดตลาดที่ระดับ 30.60/62 บาท/ดอลลาร์

"ตลาดคลายกังวลกรณีสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน"นักบริหารเงินระบุ

สำหรับวันนี้ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทไว้ระหว่าง 30.65-30.70 บาท/ดอลลาร์

ด้านนักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา ระบุว่า เงินบาทที่อ่อนค่ามาจากดอลลาร์ในตลาดโลกแข็งค่าขึ้น นักลงทุนมองว่า การพักรบสงครามการค้า อาจลดแรงกดดันต่อธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด)ในเรื่องดอกเบี้ย ส่วนมาตรการของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในการปรับลดวงเงินการออกพันธบัตรระยะสั้นมีผลบางส่วน

THAI BAHT FIX 3M (1 ก.ค.) อยู่ที่ระดับ 1.51521% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 1.47510%

SPOT ล่าสุดอยู่ที่ระดับ 30.7150 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 108.45 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่อยู่ที่ 108.28/31 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1285 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่อยู่ที่ 1.1323/1325 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 30.5780 บาท/ดอลลาร์
  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้มีการปรับลดวงเงินการออกพันธบัตรระยะสั้นอีกครั้ง
ซึ่งแม้จะไม่มีการประกาศโดยตรงว่าการดำเนินการดังกล่าวเป็นมาตรการดูแลค่าเงินบาท แต่คงต้องยอมรับว่าในช่วงก่อนหน้านี้ (ตั้งแต่ปี
2560) ธปท. เคยใช้การลดวงเงินการออกพันธบัตรระยะสั้น มาเป็นเครื่องมือช่วยชะลอกระแสเงินทุนไหลเข้า และ/หรือลดแรงจูงใจไม่
ให้นักลงทุนต่างชาติใช้พันธบัตรระยะสั้นของไทยเป็นที่พักเงินในช่วงเวลาที่ตลาดเงิน-ตลาดทุนโลกมีความผันผวน เพราะเงินบาทมักถูกมอง
ว่าเป็นสินทรัพย์ที่มีความปลอดภัย ประกอบกับไทยมีการบันทึกยอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัดในระดับสูงตลอดหลายปีที่ผ่านมา
  • ททท.ปรับเป้ารายได้ท่องเที่ยวปีนี้ลง 2 หมื่นล้านบาท จาก 3.4 ล้านล้านบาทเหลือ 3.38 ล้านล้านบาท หลังสารพัดปัจจัย
โหมกระหน่ำ ตั้งเป้าปีหน้าจะกลับไปขยายตัวที่ 10% อีกครั้ง เพื่อสร้างรายได้ 3.72 ล้านล้านบาท ลุยไฟปรับโครงสร้างนักท่องเที่ยวระดับ
บนให้ได้ 20% ในปี 2564 ที่เป้าหมาย 4 ล้านล้านบาท
  • บริษัท ทรีนีตี้ วัฒนา จำกัด (มหาชน) ได้ลงนามสัญญาร่วมลงทุนในธุรกิจสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัด (พิโกไฟแนนซ์) กับ
บริษัท ทรีมันนี่ โฮลดิ้ง จำกัด โดยทรีนีตี้เข้าไปถือหุ้น 30% คิดเป็นมูลค่า 21.50 ล้านบาท เพราะเห็นโอกาสในการเติบโตของธุรกิจสิน
เชื่อบุคคลรายย่อยในอนาคต
  • ผู้ประกอบการอสังหาฯ ระดมทัศนะ สถานการณ์อสังหาฯปัจจุบัน ไม่ซ้ำรอยวิกฤติต้มยำกุ้งปี 2540 ระบุ ดีเวลลอปเปอร์ส่วน
ใหญ่ไม่ก่อหนี้-ลงทุนเกินตัว ปรับตัวรุกแนวราบจับเรียลดีมานด์ ขณะระบบข้อมูลแม่นยำ ช่วยการวางแผนโครงการ ลดความเสี่ยงโอเวอร์
ซัพพลาย
  • ไอเอชเอส มาร์กิต เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของสหรัฐ ขยับขึ้นสู่ระดับ 50.6 ในเดือนมิ.
ย. จากระดับ 50.5 ในเดือนพ.ค. ขณะที่ผลสำรวจของสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) ระบุว่า ดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐลด
ลงสู่ระดับ 51.7 ในเดือนมิ.ย. จากระดับ 52.1 ในเดือนพ.ค.
  • กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า การใช้จ่ายด้านการก่อสร้างร่วงลง 0.8% ในเดือนพ.ค. เมื่อเทียบรายเดือน ซึ่งเป็น
การร่วงลงรุนแรงที่สุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย.ปีที่แล้ว หลังจากเพิ่มขึ้น 0.4% ในเดือนเม.ย.
  • ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาแอตแลนตา เปิดเผยว่า แบบจำลองการคาดการณ์ GDPNow แสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจ
สหรัฐมีแนวโน้มขยายตัว 1.5% ในไตรมาส 2 หลังการเปิดเผยการลดลงของตัวเลขการใช้จ่ายด้านการก่อสร้าง
  • ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (1 ก.ค.)
หลังจากนักลงทุนคลายความวิตกกังวลเกี่ยวกับข้อพิพาทการค้าระหว่างสหรัฐและจีน ขณะที่สกุลเงินยูโรและเงินปอนด์อ่อนค่าลง หลังจากไอ
เอชเอส มาร์กิต เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของยูโรโซนและสหราชอาณาจักร หดตัวลงในเดือนมิ.ย.
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงหลุดจากระดับ 1,400 ดอลลาร์/ออนซ์เมื่อคืนนี้ (1 ก.ค.) เนื่องจากนักลงทุนเทขาย
ทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย และหันไปถือครองสินทรัพย์เสี่ยงที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า เช่นดอลลาร์และหุ้น หลังจากผู้นำสหรัฐและจีนได้
บรรลุข้อตกลงสงบศึกการค้า
  • ข้อมูลเศรษฐกิจด้านอื่นๆของสหรัฐที่มีกำหนดเปิดเผยในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ตัวเลขจ้างงานภาคเอกชนเดือนมิ.ย.จาก ADP,

จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ยอดนำเข้า ยอดส่งออก และดุลการค้าเดือนพ.ค., ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI)

ภาคบริการเดือนมิ.ย.จากมาร์กิต, ดัชนีภาคบริการเดือนมิ.ย.จากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM), คำสั่งซื้อภาคโรงงานเดือน

พ.ค. และตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนมิ.ย.


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ