ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 30.92 แกว่งกรอบแคบทิศทางอ่อนค่าสอดคล้องภูมิภาค หลังธปท.ออกมาตรการดูแลค่าเงิน-นลท.กังวลสงครามการค้า

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday July 17, 2019 17:30 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 30.92 บาท/ดอลลาร์ จากเปิดตลาดเช้าที่ ระดับ 30.94 บาท/ดอลลาร์ เคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับตามภูมิภาค ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 30.88-30.94 บาท/ ดอลลาร์ โดยตลาดรอปัจจัยใหม่เข้ามา

"บาทแกว่งตัวในกรอบแคบๆ จากปัจจัยเรื่องความไม่แน่นอนเกี่ยวกับสงครามการค้า และการที่แบงก์ชาติใช้มาตรการป้อง ปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาท ถ้าเทียบกับเมื่อเย็นวันจันทร์ก็ยังถือว่าอยู่ในทิศทางอ่อนค่า" นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงินประเมินวันพรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 30.85-30.95 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ 108.26 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 108.15 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ 1.1218 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1215 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,718.85 จุด ลดลง 9.13 จุด, -0.53% มูลค่าการซื้อขาย 62,632 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 674.12 ล้านบาท (SET+MAI)
  • ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.)เข้าหารือกับกับผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อ
หารือแนวทางการแก้ไขปัญหาวิกฤตค่าเงินบาทต่อภาคการส่งออก โดยขอ ให้ธปท. แก้ไขปัญหาด้านอัตราแลกเปลี่ยน เช่น ขอให้ดำเนิน
นโยบายอย่างเข้มข้นมากขึ้นในการป้องกันการไหลเข้าของเงินทุนที่เข้ามาเก็งกำไรระยะสั้น, ให้รักษาทิศทางอัตราแลกเปลี่ยนให้สอดคล้อง
กับประเทศคู่ค้าและคู่แข่งในภูมิภาค
  • ผู้ว่าธปท. ยอมรับว่ามาตรการมาตรการป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาทดังกล่าว เป็นการส่งสัญญาณที่แรง เพื่อให้นักลง
ทุนต่างประเทศระมัดระวังมากขึ้นในการนำเข้าเข้ามาพักในประเทศไทย โดยค่าเงินบาทกลับมาอ่อนค่าทันทีในวันแรกที่ออกมาตรการดัง
กล่าว และหวังว่าจะเกิดผลต่อเนื่องในระยะยาว ช่วยลดแรงกระแทกเมื่อมีงินไหลเข้า

ส่วนการทำนโยบายการเงิน ขณะนี้ ธปท.อยู่ในระหว่างการหารือกับกระทรวงการคลัง เพื่อพิจารณาทบทวนกรอบเงินเฟ้อ สำหรับปี 63 ให้มีความเหมาะสมกับสถานการณ์มากที่สุด

  • ศูนย์วิเคราะห์ข้อมูลด้านการลงทุนและที่ปรึกษาการลงทุน (CIO Office) ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า ช่วงครึ่งหลังของ
ปีนี้แนวโน้มนโยบายการเงินมีความผ่อนคลาย จากการที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และธนาคารกลางอื่น ๆ ทั่วโลก จะเป็นตัวกำหนดทิศ
ทางการลงทุน ในขณะที่ความขัดแย้งทางการค้าจะยืดเยื้อและไม่จบลงง่าย ๆ แม้ว่าประธานาธิบดีสหรัฐฯจะมีการพบกับผู้นำจีนนอกรอบใน
การประชุม G20 ครั้งที่ผ่านมา จนส่งผลให้ sentiment ของตลาดดีขึ้น แต่อย่างไรก็ตามยังมีความขัดแย้งในหลาย ๆ ประเทศที่ทยอยเกิด
ขึ้นตามมา ก็ส่งผลกระทบต่อทิศทางของตลาดที่จะมีความผันผวนได้
  • ประเทศสมาชิกกลุ่ม G7 เตรียมจัดประชุมการเงินในวันนี้ โดยจะมุ่งเน้นไปที่ประเด็นความเสี่ยงของสกุลเงินดิจิทัล
Libra ของเฟซบุ๊ก ซึ่งอาจถูกนำไปใช้เพื่อการฟอกเงิน หรือการสนับสนุนเงินทุนแก่กลุ่มก่อการร้าย
  • ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เปิดเผยว่า การทำธุรกรรมด้วยสกุลเงินดิจิทัลอย่างลิบรานั้น อาจจะส่งผลกระทบต่อ
เศรษฐกิจและการเงิน พร้อมกับเรียกร้องให้นานาประเทศร่วมมือกันเกี่ยวกับสกุลเงินลิบรา
  • คณะกรรมการบริหารของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เปิดเผยว่า จะเริ่มต้นกระบวนการสรรหาผู้อำนวยการ
IMF คนใหม่ทันที หลังจากนางคริสติน ลาการ์ดประกาศว่า เธอได้ยื่นใบลาออกจากตำแหน่งอย่างเป็นทางการแล้ว โดยจะมีผลบังคับใช้ใน
วันที่ 12 ก.ย. 2562
  • สถาบันการเงินระหว่างประเทศ (IIF) เปิดเผยว่า สัดส่วนหนี้สินของภาคเอกชน ภาคครัวเรือน และรัฐบาลจีน พุ่งขึ้น

เหนือระดับ 303% ของตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ในขณะนี้ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 15% ของตัวเลขหนี้สินโดยรวมทั่วโลก

นอกจากนี้ ตัวเลขหนี้สินดังกล่าวของจีนยังดีดตัวขึ้นจากไตรมาส 1/2561 ซึ่งอยู่ที่ระดับต่ำกว่า 297% ของ GDP


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ