ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 30.55 แข็งค่าเกาะกลุ่มภูมิภาค นลท.คลายกังวลสถานการณ์ฮ่องกง-Brexit

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday September 5, 2019 09:17 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดที่ระดับ 30.55 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าเกาะกลุ่มภูมิภาค นักลงทุนมีการขายสินทรัพย์ปลอดภัยหลังคลายกังวลสถานการณ์ในฮ่องกงที่คลายความตึงเครียด และ สถานการณ์ Brexit ที่ผ่อนคลายลง

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทวันนี้ 30.50-30.60 บาท/ดอลลาร์

"แนวรับที่ 30.50 ถือว่าสำคัญเพราะหากหลุดไป จะไปลึกกว่านี้"นักบริหารเงิน กล่าว

สำหรับคืนนี้ติดตามการประกาศตัวเลขดัชนีภาคบริการเดือนส.ค.จากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) และตัวเลข การจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ ในคืนพรุ่งนี้

THAI BAHT FIX 3M (4 ก.ย.) อยู่ที่ระดับ 1.35110% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 1.28501%

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 106.05 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานที่ระดับ 106.22 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1029 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานที่ระดับ 1.1021 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 30.5990 บาท/ดอลลาร์
  • คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) มีความกังวลต่อเรื่องเงินบาทแข็งค่ามากที่สุดในภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง
และยังมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นไปอีกหากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลงอีกในช่วงที่เหลือของปีนี้ ยิ่งส่งผลกระทบต่อ
ความสามารถการแข่งขันภาคการส่งออกและการลงทุนของไทย จึงอยากให้ภาครัฐและธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) หารือและออก
มาตรการดูแลค่าเงินบาทที่แข็งค่าโดยด่วน เพราะปัจจุบันเศรษฐกิจไทยยังขาดปัจจัยสนับสนุน ซึ่งอาจทำให้ขยายตัวต่ำกว่าที่ประเมินไว้
  • กรมสรรพากรกำลังเร่งศึกษาในรายละเอียดเพื่อต้องการลดความเหลื่อมล้ำภาษีทั้งระบบ โดยเฉพาะในส่วนของค่าลดหย่อน
ภาษีเงินได้ต่าง ๆ ในเวลานี้ ซึ่งพบว่าทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำจำนวนมาก โดยคนรวยส่วนใหญ่ได้ประโยชน์แต่คนกลุ่มอื่นไม่ค่อยได้นัก จึงจะ
มีการพิจารณาปรับใหม่ให้เกิดความเป็นธรรม
  • "อุตตม" กระตุ้นรัฐวิสาหกิจเร่งโครงการลงทุนเสริมความมั่นใจให้ภาคเอกชน ยืนยันเศรษฐกิจไทยไม่ได้ถดถอย แต่โตช้า
จากปัจจัยต่างประเทศ ไม่กังวลหนี้ครัวเรือนแต่จับตาใกล้ชิด
  • สภาสามัญชนของอังกฤษให้การอนุมัติร่างกฎหมายป้องกันการแยกตัวของอังกฤษออกจากสหภาพยุโรปโดยไม่มีการทำข้อ
ตกลง หรือ "no-deal Brexit" ด้วยคะแนนเสียง 327 ต่อ 299 เสียง เมื่อวานนี้
  • เงินปอนด์แข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (4 ก.ย.) หลังจาก
สภาสามัญชนของอังกฤษอนุมัติร่างกฎหมายเพื่อขัดขวางการที่อังกฤษแยกตัวออกจากสหภาพยุโรปโดยไม่มีข้อตกลง หรือ "no-deal
Brexit" ซึ่งข่าวดังกล่าวช่วยให้นักลงทุนคลายความกังวลเกี่ยวกับอนาคตทางเศรษฐกิจของอังกฤษ
  • นักลงทุนยังขานรับสถานการณ์ในฮ่องกงที่เริ่มคลายความตึงเครียด หลังจากนางแคร์รี ลัม ผู้ว่าการเขตปกครองพิเศษ
ฮ่องกง ได้ประกาศถอนร่างกฎหมายส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนไปยังประเทศจีนอย่างเป็นทางการแล้วเมื่อวานนี้ หลังจากที่ร่างกฎหมายดังกล่าวได้
จุดชนวนทำให้ชาวฮ่องกงจำนวนมากแสดงความไม่พอใจ และออกมาชุมนุมประท้วงตามท้องถนนเป็นเวลาหลายเดือน เนื่องจากมองว่าร่าง
กฎหมายนี้จะเปิดทางให้มีการส่งตัวผู้กระทำผิดกฎหมาย หรือผู้ที่รัฐบาลจีนมองว่าเป็นศัตรูทางการเมืองไปยังจีน
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (4 ก.ย.) เนื่องจากนักลงทุนยังคงเข้าซื้อสินทรัพย์ปลอดภัย ท่ามกลางความ
กังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจหลังจากสหรัฐเปิดเผยข้อมูลภาคการผลิตที่หดตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปี นอกจากนี้ การอ่อนค่าของสกุล
เงินดอลลาร์ยังเป็นอีกปัจจัยที่ช่วยหนุนตลาดทองคำ
  • ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เปิดเผยรายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจทั้ง 12 เขต หรือ "Beige Book" เมื่อวานนี้ โดยระบุ
ว่า เศรษฐกิจใน 8 เขตจากทั้งหมด 12 เขตที่ได้รับการสำรวจนั้น มีการขยายตัวเล็กน้อยจนถึงปานกลาง เนื่องจากภาคธุรกิจส่วนใหญ่ยัง
คงมีมุมมองเป็นบวกต่อแนวโน้มเศรษฐกิจในระยะใกล้นี้ และเชื่อว่าเศรษฐกิจจะยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แม้จะมีความกังวลเกี่ยวกับ
นโยบายการค้าและภาษีศุลกากรก็ตาม
  • สถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยว่า กิจกรรมภาคธุรกิจในนครนิวยอร์กปรับตัวขึ้นแตะระดับสูงสุดใน
รอบ 4 เดือนในเดือนส.ค. หลังจากแตะระดับต่ำสุดในรอบ 3 ปีในเดือนก.ค.
  • กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ตัวเลขขาดดุลการค้าของสหรัฐลดลง 2.7% สู่ระดับ 5.4 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือนก.
ค. จากระดับ 5.55 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือนมิ.ย.
  • สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า หัวหน้าคณะผู้แทนเจรจาการค้าของจีนและสหรัฐ ได้เห็นพ้องร่วมกันในวันนี้ว่า ทั้งสอง
ฝ่ายจะร่วมมือกันอย่างจริงจังในการสร้างปัจจัยแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการปรึกษาหารือด้านการค้า
  • ข้อมูลเศรษฐกิจด้านอื่นๆของสหรัฐที่มีกำหนดเปิดเผยในสัปดาห์นี้ได้แก่ ตัวเลขจ้างงานภาคเอกชนเดือนส.ค.จาก ADP,
จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขั้นสุดท้ายเดือนส.ค.จากมาร์กิต, ดัชนีภาคบริการ
เดือนส.ค.จากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM), ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานเดือนก.ค. และตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนส.
ค.

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ