ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 30.45/46 แข็งค่าจากช่วงเช้า ตลาดจับตามติกนง.สัปดาห์หน้า มองกรอบ 30.45 - 30.55

ข่าวเศรษฐกิจ Friday September 20, 2019 17:39 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 30.45/46 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากช่วง เช้าเปิดตลาดที่ระดับ 30.50 บาท/ดอลลาร์

การรายงานตัวเลขส่งออกล่าสุดเดือนส.ค.62 ที่กลับมาหดตัว -4.0% ไม่ได้ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ให้ อ่อนค่าแต่อย่างใด โดยเงินบาทยังคงแข็งค่าขึ้น จากผลของดอลลาร์สหรัฐที่ปรับตัวอ่อนค่า หลังจากที่ธนาคารกลางของหลายประเทศไม่ได้มี การปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงตามธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) แต่อย่างใด

"ธนาคารกลางอื่นๆ ไม่ได้ลดดอกเบี้ยลงตามเฟด ดอลลาร์ก็เลยอ่อนค่า ขณะที่ยอดส่งออกเดือนส.ค.ที่กลับมาหดตัว 4% ไม่ได้ ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของเงินบาทเท่าใดนัก" นักบริหารเงินระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า สัปดาห์หน้าเงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 30.45 - 30.55 บาท/ดอลลาร์ จับตาการประชุม คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ซึ่งตลาดคาดว่าจะยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับเดิมที่ 1.50%

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 107.99/108 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 107.91 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1046/1047 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1050 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,636.20 จุด ลดลง 4.46 จุด (-0.27%) มูลค่าการซื้อขาย 68,433 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 361.06 ลบ.(SET+MAI)
  • ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า การส่งออกในเดือนส.
ค.62 ของไทยกลับมาหดตัวอีกครั้งที่ -4% ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการเร่งส่งออกในเดือนก่อนหน้า เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบจากสงครามการค้า
ที่มีแนวโน้มทวีความรุนแรงขึ้น โดยผลของสงครามการค้าได้นำไปสู่การชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสำคัญ ซึ่งมีผลให้การส่งออกใน
หลายตลาดหดตัว โดยเฉพาะการส่งออกไปตลาดอาเซียน-5 ตลาด CLMV และเอเชียใต้ที่หดตัวในระดับสูง

ผู้อำนวยการ สนค. มองว่า แนวโน้มการส่งออกไทยปีนี้ยังมีโอกาสที่จะไม่ติดลบ แม้ว่าในช่วง 8 เดือนแรก (ม.ค.-ส.ค.) จะติดลบไปแล้ว 2.19% โดยหากสามารถรักษาระดับมูลค่าการส่งออกในช่วง 4 เดือนที่เหลือไว้ได้ 21,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯต่อเดือน ก็ มีโอกาสที่จะบวกได้เล็กน้อย

  • ที่ประชุมครม.เศรษฐกิจ ให้ความเห็นชอบโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันตก (บางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรม
แห่งประเทศไทย) ระยะทาง 35.9 กม. มูลค่ารวม 122,041 ล้านบาทแล้ว
  • ที่ประชุมครม.เศรษฐกิจวันนี้ ยังไม่ได้พิจารณามาตรการส่งออกและมาตรการท่องเที่ยว เนื่องจากนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์
รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ ติดภารกิจ จึงจะเสนอในการประชุมครั้งต่อไป คาดว่า ในวันที่ 4 หรือ 7 ต.ค.นี้ พร้อมทั้งเตรียม
มาตรการช่วยเหลือ SME และการใช้จ่ายงบท้องถิ่นกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่ต่างๆ หารือในที่ประชุมครม.เศรษฐกิจครั้งต่อๆไป
  • ที่ประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บอร์ดบีโอไอ) เห็นชอบอนุมัติส่งเสริม 4 โครงการ รวมมูลค่าเงินลงทุนกว่า
28,270 ล้านบาทยกระดับขีดความสามารถการแข่งขันของไทย สู่อุตสาหกรรมเป้าหมายที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง พร้อมเห็นชอบมาตรการส่ง
เสริมการลงทุนที่สืบเนื่องจาก Thailand Plus Package ที่ผ่านการเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจ
  • ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เปิดเผยว่า เฟดได้เพิ่มการถือครองตราสารหนี้รัฐบาลสหรัฐ โดยในสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 18
ก.ย. เฟดถือครองตราสารหนี้รัฐบาลสหรัฐโดยเฉลี่ยต่อวันเพิ่มขึ้น 3,934 ล้านดอลลาร์ สู่ระดับ 2,102,090 ล้านดอลลาร์
  • อดีตผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) กล่าวว่า อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจโลกอยู่ในภาวะ
ที่ "อ่อนแอ" และ "มีความเสี่ยง" พร้อมกับกล่าวว่า รัฐบาลทั่วโลกไม่ควรหวังพึ่งธนาคารกลางเพียงอย่างเดียว
  • สัปดาห์หน้า ติดตามการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ว่าจะมีมติต่อทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ
ไทยอย่างไร ซึ่งในภาพรวมแล้วตลาดยังคาดการณ์ว่า การประชุม กนง.รอบวันที่ 25 ก.ย.นี้ กนง.จะยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับเดิม
ที่ 1.50% เนื่องจากจะรอประเมินทิศทางเศรษฐกิจในระยะข้างหน้าก่อน ซึ่งหากมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเติบโตของเศรษฐกิจไทยมากขึ้น กนง.
คงจะทบทวนนโยบายการเงินให้เหมาะสมในระยะถัดไป
  • ข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ ในสัปดาห์หน้า ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 2/2562, ดัชนี

ผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต-ภาคบริการเบื้องต้นเดือน ก.ย.จากมาร์กิต, ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนก.ย. จาก Conference

Board, ยอดขายบ้านใหม่เดือนส.ค., สต็อกน้ำมันรายสัปดาห์จากสำนักงานสารสนทเศด้านพลังงานสหรัฐ (EIA), จำนวนผู้ขอรับ

สวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ เป็นต้น


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ