(เพิ่มเติม) ไทย-ฮ่องกง ลงนามความร่วมมือ การค้า-ลงทุน-ย้ายฐานผลิต-การเงิน-เศรษฐกิจสร้างสรรค์-Start up พร้อมริเริ่มเจรจา FTA

ข่าวเศรษฐกิจ Friday November 29, 2019 13:44 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการหารือกับนางแคร์รี หล่ำ ผู้บริหารสูงสุดเขตบริหารพิเศษฮ่องกงว่า การประชุมวันนี้เป็นการดำนินการของทั้งสองฝ่ายเพื่อสร้างสรรค์อนาคตที่สดใสท่ามกลางความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก โดยตนเองและนางแคร์รี หล่ำ ได้ร่วมกันกำหนดเป้าหมายและวางแนวทางความร่วมมือระหว่างกันสำหรับหน่วยงานและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องของทั้งสองฝ้าย

อย่างไรก็ดี ผลลัพธ์ของการประชุมจะมีความคืบหน้าได้อย่างแท้จริงและเป็นรูปธรรมหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่จะต้องเร่งรัดการทำงานร่วมกันและเก็บเกี่ยวโอกาสและผลกระโยชน์ที่ทั้งสองฝ่ายได้วางแนวทางได้ในวันนี้ เพื่อความก้าวไกล ก้าวหน้าและยั่งยืนของไทยกับเขตบริหารพิเศษฮ่องกง รวมทั้งอนุภูมิภาคและภูมิภาคต่อไป

ทั้งนี้ นายสมคิด และนางแคร์รี หล่ำ ร่วมลงนามร่วมกันในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจไทย-ฮ่องกง และเป็นสักขีพยานการลงนามความตกลงต่าง ๆ อีก 5 ฉบับ ซึ่งจะเป็นกรอบการดำเนินความร่วมมือระหว่างกันในระยะต่อไปด้วย ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องส่งเสริมความร่วมมือในด้านต่าง ๆ ดังนี้

1. ด้านการค้าและการลงทุน ทั้งสองฝ่ายยืนยันว่าจะร่วมมือกันผลักดันให้มูลค่าการค้าไทยและฮ่องกงบรรลุเป้าหมาย 20,000 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 63 ตามที่ทั้งสองฝ่ายได้ตั้งเป้าไว้เมื่อปี 60 พร้อมทั้งเริ่มหารือในเบื้องต้นเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการจัดทำความตกลงการค้าเสรีไทย - ฮ่องกง และการปรับปรุงความตกลงว่าด้วยการคุ้มครองการลงทุนของภาคเอกชนให้สอดคล้องกับบริบทปัจจุบัน

2.ด้านการลงทุนและการโยกย้ายฐานการผลิต ทั้งสองฝ่ายจะร่วมกันส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนในการสร้างเครือข่าย การแลกเปลี่ยนการเยือนและการร่วมกิจกรรมระหว่างกัน โดยมุ่งยกระดับศักยภาพของผู้ประกอบการทั้งสองฝ่าย ร่วมถึงส่งเสริมการดำเนินมาตรการต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมการผลิตและการโยกย้ายฐานการผลิตของวิสาหกิจฮ่องกงมายังไทย

นายสมคิด กล่าวว่า วานนี้จากการพบกับคณะนักลงทุนของฮ่องกงที่นายเอ็ดเวิรด์ เยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และการพัฒนาเศรษฐกิจฮ่องกง เป็นผู้นำมา ซึ่งเป็นคณะที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา ซึ่งหลายบริษัทได้แสดงถึงความจำนงที่จะมาลงทุนในไทยต่อไป

3.ด้านการเงิน สองฝ่ายจะร่วมกันขับเคลื่อนการเชื่อมโยงตลาดหลักทรัพย์และตลาดทุนของกันและกัน ผ่านผลิตภัณฑ์การลงทุนชนิดใหม่ ๆ เช่น การลงทุนในหลักทรัพย์ต่งประเทผ่านระบบ Depositary Receipt (DR) การทำ cross listing ระหว่างกันในหลักทรัพย์ตัวสำคัญ ตลอดจนการทำ mutual recognition of funds และการส่งเสริมให้มีการลงทุนใน Real Estate Investment Trusts (REITS) เป็นต้น

นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายจะร่วมมือกันเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานกำกับดูแลตลาดหลักทรัพย์เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงข้อมูลการตลาด โดยเฉพาะการทำ requlatory mapping ซึ่งจะปูทางไปสู่ผลิตภัณฑ์ด้านการเงินใหม่ ๆ รวมถึผลิตภัณฑ์การลงทุนสีเขียว (ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม)

4.ด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยที่คนไทยและฮ่องกงต่างมี "พลังแห่งความสร้างสรรค์" (creative power) อยู่มาก อาทิ ในต้านภาพยนตร์ ละคร โฆษณา การออกแบบ สองฝ่ายจึงจะร่วมกันพัฒนและเสริมสร้างให้มีการใช้พลังนั้นเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์และบริการของทั้งสองฝ่าย โดยจะมีมาตรการส่งเสริมการสร้างเครือข่ายและความร่วมมือของผู้ประกอบการ รวมถึงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสนับสนุนให้ต่างฝ่ายต่างเข้าร่วมกิจกรรมของกันและกัน ซึ่งจะมีการจัดทำแผนงานร่วมกันต่อไป

5.ด้านการส่งเสริมวิสาหกิจเริ่มตัน (Start-up) ด้านดิจิทัลและเทคโนโลยี ทั้งสองฝ่ายตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างระบบนิเวศของการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม และได้รับทราบถึงพัฒนาการที่เป็นรูปธรรมระหว่าง Hong Kong Cyberport และ Innospace Thailand และแสดงความพร้อมที่จะส่งเสริมความร่วมมือในลักษณะดังกล่าวให้มีมากยิ่งขึ้น โดยจะร่วมกันสนับสนุนการดำเนินการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ การทำวิจัยร่วม การบ่มเพาะ Start-up ที่มีศักยภาพ และการมีมาตรการเพื่อส่งเสริมให้ Start-up เข้าสู่ตลาดโลกได้ง่ายขึ้น

6.ไทยและฮ่องกงเห็นพ้องให้ร่วมกันผลักดันความร่วมมือด้านการพัฒนาทรัพยากรบุคคล โดยฉพาะในด้านอาชีวศึกษาและการยกระดับทักษะแรงงานในภาคอุตสาหกรรม รวมถึงอุตสาหกรรมการเกษตร และด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมและคณิตศาสตร์ หรือ STEM นอกจากนี้ เพื่อส่งเสริมการไปมาหาสู่และการแลกเปลี่ยนระหว่างกันในระดับประชาชน ทั้งสองฝ่ายยังได้ร่วมกันตั้งเป้าจำนวนนักท่องเที่ยว 3 ล้านคนปี ภายในปี 64

"ผมเชื่อมั่นว่า การเยือนไทยของท่านแคร์รี หล่ำครั้งนี้ และความร่วมมือที่ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกันไว้ข้างตั้น จะช่วยสานต่อเจตนารมณ์ร่วมของทั้งสองฝ่ายในการเป็น "ประตู" สู่อาเชียนของไทย และการเป็น "ประตู" สู่จีนของฮ่องกง ซึ่งจะช่วยกระชับความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับฮ่องกงให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นเพื่อก้าวไปข้างหน้าด้วยกันอย่างมั่นคงและยั่งยืน รวมถึงสร้างโอกาสใหม่ ๆ ทางเศรษฐกิจให้ไทยฮ่องกง และภูมิภาค" นายสมคิด กล่าว

นายสมคิด กล่าวด้วยว่า หลังการลงนามความร่วมมือในวันนี้แล้ว ผู้บริหารของทั้งสองประเทศจะมีการพบปะหารือกันบ่อยครั้งมากขึ้น เพื่อให้ความร่วมมือก้าวหน้าต่อไปในอนาคต ซึ่งไทยและฮ่องกงจะมีความร่วมมือกันในอีกหลายด้าน เช่น การส่งเสริมการค้า จากเดิมที่จำกัดเฉพาะเรื่องสินค้าเกษตร โดยจะยกระดับเป็นสินค้าเกษตรระดับพรีเมี่ยม ซึ่งตั้งเป้าเพิ่มมูลค่าการค่าให้ได้ 2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 63

"หากภาวะเศรษฐโลกกลับมาเป็นขาขึ้น เชื่อว่ามูลค่าการค้าจะโตทะลุเป้าแน่นอน" นายสมคิด กล่าว

รวมทั้งการส่งเสริมด้านการลงทุน นักธุรกิจฮ่องกงสนใจที่ย้ายฐานการผลิตเข้ามา โดยได้ให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน, สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, หอการค้าไทย ร่วมมือกันพานักลงทุนลงพื้นที่ และคาดว่าหลังจากนี้ไปจะได้เห็นการเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมใหม่ๆ

ขณะที่การส่งเสริมด้านตลาดเงินตลาดทุนนั้น ปัจจุบันตลาดทุนของไทยไม่ด้อยกว่าสิงคโปร์ และเป็นมีบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์หลายแห่งไปลงทุนใน CLMV ซึ่งสามารถเลือกนำไปเทรดที่ตลาดฮ่องกงได้ โดยมอบหมายให้ รมว.คลัง นำผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และตลาดหลักทรัพย์หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เดินทางไปเจรจาในรายละเอียด

ส่วนการเชื่อมโยงด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ซึ่งฮ่องกงเป็นผู้นำเรื่อง SME อย่างแท้จริง ซึ่งขอให้ทาง รมว.พาณิชย์ของฮ่องกงเข้ามาช่วยสนับสนุน

ด้านนางแคร์รี หล่ำ กล่าวว่า เคยเดินทางมาเยือนประเทศไทย 4 ครั้งแล้ว ซึ่งไม่ใช่เรื่องบังเอิญ แต่แสดงถึงความร่วมมือกันในระดับทวิภาคีที่มีความแข็งแกร่งเพิ่มขึ้น และในวันนี้ได้มีการลงนามความร่วมมือเพิ่มเติม ทั้งนี้ ขอขอบคุณนายสมคิด ที่ให้การสนับสนุนมาตลอดในการดำเนินนโยบายเพื่อประสานความร่วมมือกันอย่างดีเยี่ยม

ทั้งนี้ ฮ่องกงเป็นเวทีสำคัญของนโยบาย "Belt and Road Initiative" หรือ BRI โดยเฉพาะด้านการเงิน การค้า การลงทุน ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยยินดีที่จะร่วมมือกันเพื่อยกระดับความตกลงที่จะมุ่งมั่นไปสู่การเปิดเสรีทางการค้าท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจผันผวน ซึ่งจะเป็นการสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ และอำนวยความสะดวกต่อกัน

ขณะที่การลงนามความร่วมมือทางการเงินถือเป็นข้อริเริ่มเชิงบวก โดยจะมีการแบ่งปันข้อมูล การพัฒนาบุคลากร เป็นต้น ในภาวะที่ฮ่องกงเผชิญภาวะความขัดแย้งรุนแรง แต่ยังคงเดินหน้านโยบาย BRI ต่อไป โดยเชื่อมั่นว่าจะสามารถก้าวข้ามปัญหาดังกล่าวไปได้


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ