ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 30.18/22 แข็งค่าจากเย็นวันศุกร์หลังดอลล์อ่อน แนวโน้มแกว่งแคบในกรอบ 30.18-30.23

ข่าวเศรษฐกิจ Monday January 13, 2020 09:23 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคากรงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 30.18/30.22 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจาก เย็นวันศุกร์ที่ปิดตลาดที่ระดับ 30.24 บาท/ดอลลาร์

เช้านี้เงินบาทปรับตัวแข็งค่าจากวันศุกร์ หลังจากที่ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลง เนื่องจากตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรใน เดือนธ.ค.ของสหรัฐออกมาต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ อย่างไรก็ดี คาดว่าวันนี้เงินบาทยังคงทรงตัว เคลื่อนไหวในกรอบแคบ

"บาทแข็งค่าขึ้นมา หลังจากที่ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลง จากผลของตัวเลข Nonfarm Payroll ออกมาต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์ คาดการณ์ไว้" นักบริหารเงินระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า วันนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 30.18-30.23 บาท/ดอลลาร์

THAI BAHT FIX 3M (10 ม.ค.) อยู่ที่ระดับ 1.46719% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 1.12167%

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 109.55/65 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 109.65 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1100/1132 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 1.1098 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 30.2580 บาท/
ดอลลาร์
  • ธนาคารกสิกรไทยประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทสัปดาห์นี้ (13-17 ม.ค.) ที่ 30.00-30.40 บาทต่อ
ดอลลาร์ฯ โดยปัจจัยสำคัญที่ตลาดรอติดตาม ได้แก่ สัญญาณการเดินหน้าเจรจาการค้าของสหรัฐฯ-จีนในเฟสต่อๆ ไป ประเด็น BREXIT
และสถานการณ์ในตะวันออกกลาง ส่วนตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนีราคาผู้บริโภค ดัชนีราคาผู้ผลิต ยอดค้าปลีก ข้อมูลการ
เริ่มสร้างบ้าน การอนุญาตก่อสร้าง ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนธ.ค. 62 ดัชนีตลาดที่อยู่อาศัย ผลสำรวจภาคการผลิตของเฟดนิวยอร์ก
ผลสำรวจแนวโน้มภาคธุรกิจของเฟดสาขาฟิลาเดลเฟีย และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (เบื้องต้น) เดือนม.ค. 63 นอกจากนี้ ตลาดอาจรอ
ติดตามข้อมูลจีดีพีไตรมาส 4/62 และตัวเลขเศรษฐกิจเดือนธ.ค. 62 ของจีนด้วยเช่นกัน
  • "นักวิเคราะห์" ฟันธงแนวโน้มบาทยังแข็งค่า แม้เกินดุลบัญชี เดินสะพัดลดลง พร้อมประเมิน "บิ๊กดีล" ธุรกิจใหญ่ซื้อกิจการ
ต่างประเทศ กว่าหมื่นล้านดอลล์มีผลต่อค่าเงินช่วงสั้นไม่สะเทือนพื้นฐานเงินบาทระยะยาว มองระยะสั้นบาทจ่อแข็งแตะ 28.70 บาทต่อ
ดอลลาร์ แนะเร่งผลักดันธุรกิจไทยลงทุนนอก พร้อมเสนอตั้งกองทุนมั่งคั่งช่วยบริหารค่าเงิน
  • ผู้ส่งออกหวั่นค่าบาทกระทบยาวทั้งปี ฉุดสินค้าเกษตร-อุตสาหกรรมไก่ทั้งระบบ สมาคมกุ้งขออัตราแลกเปลี่ยน 30 บาทต่อ
ดอลล์ หนุนแข่งขันต่างชาติ ด้านผู้ส่งออกยางเกาะติดค่าเงินใกล้ชิด
  • สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรจับตาใกล้ชิดศึกสหรัฐ-อิหร่าน พร้อมวางแผนรับมือหากสถานการณ์ยืดเยื้อ ยังหวั่นราคาน้ำมัน
ดิบพุ่ง 15-20% กระทบต่อต้นทุนการผลิต เพราะไทยนำเข้าน้ำมันดิบปีละกว่า 6 แสนล้านบาท แต่ยังมีโอกาสที่ไทยส่งอาหารไปตะวันออก
กลางมากขึ้น
  • ร่างพ.ร.บ.งบฯ 63 ผ่านฉลุย สภาฯมีมติเห็นชอบ 253 เสียง ฝ่ายค้าน 196 ส.ส.งดออกเสียงชงวุฒิสภารับรองภายใน
20 วัน
  • ธนาคารโลกเปิดเผยในรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลก (GEP) ที่จัดทำขึ้นสองปีครั้งว่า มีความเสี่ยงที่จะเกิดวิกฤตหนี้ทั่ว
โลกครั้งใหม่ โดยเรียกร้องให้รัฐบาลและธนาคารกลางต่างๆ ตระหนักว่า อัตราดอกเบี้ยที่ระดับต่ำเป็นประวัติการณ์นั้น อาจไม่เพียงพอที่จะ
รับมือกับภาวะล่มสลายทางการเงินที่อาจจะเกิดขึ้นในวงกว้างอีกครั้ง
  • กระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้นเพียง 145,000 ตำแหน่งในเดือนธ.ค. ต่ำ
กว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 160,000 ตำแหน่ง ขณะที่อัตราการว่างงานทรงตัวที่ระดับ 3.5% ในเดือนธ.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุด
ในรอบ 50 ปี และตัวเลขค่าจ้างรายชั่วโมงโดยเฉลี่ย เพิ่มขึ้น 0.1% ในเดือนธ.ค. จาก 0.3% ในเดือนพ.ย.
  • ราคาทองตลาดสปอตและตลาดฟิวเจอร์ปรับตัวขึ้นในช่วงเช้านี้ เนื่องจากตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐที่ขยายตัว
ต่ำกว่าคาดได้กระตุ้นคำสั่งซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัย ขณะที่นักลงทุนยังคงจับตาสถานการณ์ในตะวันออกกลางอย่างใกล้ชิด หลัง
จากกองทัพอิหร่านยอมรับว่า ได้ยิงเครื่องบินโดยสารของยูเครนตกโดยไม่เจตนา ซึ่งส่งผลให้เกิดการประท้วงเป็นวงกว้างในประเทศ
อิหร่าน
  • นักลงทุนในตลาดการเงินจับตาการลงนามข้อตกลงการค้าเฟสแรกระหว่างจีนและสหรัฐในสัปดาห์นี้ โดยนายหลิว เหอ รอง
นายกรัฐมนตรีจีน จะนำคณะผู้แทนของจีนเดินทางไปยังกรุงวอชิงตันของสหรัฐในวันนี้ และจะพำนักอยู่ที่กรุงวอชิงตันถึงวันที่ 15 ม.ค. เพื่อ
ร่วมลงนามในข้อตกลงการค้าเฟสแรกกับสหรัฐ
  • สัปดาห์นี้สหรัฐฯ จะรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ ได้แก่ ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนธ.ค., รายงานสรุป

ภาวะเศรษฐกิจ (Beige Book) จากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด), จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ดัชนีตลาดที่อยู่

อาศัยเดือนม.ค.จากสมาคมผู้สร้างบ้านแห่งชาติ (NAHB) และความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนม.ค.จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน เป็นต้น


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ