ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 30.26 เคลื่อนไหวกรอบแคบใกล้เคียงช่วงเช้า นลท.รอดูรายละเอียดข้อตกลงทางการค้าสหรัฐฯและจีนเฟสแรก

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday January 15, 2020 17:34 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 30.26 บาท/ดอลลาร์ จากเปิดตลาดเมื่อ เช้าอยู่ที่ระดับ 30.25 บาท/ดอลลาร์ โดยระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 30.25 - 30.28 บาท/ดอลลาร์

"บาทแกว่งตัวในกรอบแคบๆ นักลงทุนรอดูการลงนามความตกลงทางการค้าเฟสแรกระหว่างสหรัฐฯกับจีนว่าจะมีรายละเอียด เพิ่มเติมหรือไม่ และคืนนี้มีการประกาศดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนธันวาคม ขณะเดียวกันนักลงทุนยังคงระมัดระวังการออกมาตรการดูแล เงินบาทของแบงก์ชาติ" นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงิน คาดวันพรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 30.20 - 30.35 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ 109.84 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 109.93 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ 1.1121 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1128 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,581.05 จุด ลดลง 5.85 จุด, -0.37% มูลค่าการซื้อขาย 65,404.07 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 2,319.86 ล้านบาท (SET+MAI)
  • นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวปาฐกถาพิเศษในงานเสวนา 2563 ปีแห่งการลงทุน : ทางออกประเทศ
ไทยว่า การลงทุนถือเป็นทางออกประเทศไทยที่สามารถช่วยกระตุ้นและประคองเศรษฐกิจได้ และหากมีการลงทุนจะส่งผลดีทำให้เงินบาทไม่
แข็งค่าไปกว่านี้ และขอฝากให้ คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) เข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนเรื่องนี้ เพราะการลง
ทุนภาคเอกชนยังนิ่งมาก โดยมีการลงทุนเพียง 16% ของจีดีพี

นอกจากนี้ ยังได้ขอความร่วมมือจากรัฐวิสาหกิจทุกแห่ง เร่งเดินหน้าการลงทุนให้ได้ตามแผนที่วางไว้ให้เร็วขึ้น ไม่ให้มีการ ปรับลดเป้าหมายการลงทุน เนื่องจากมองว่าการผลักดันการลงทุนภาครัฐให้เกิดขึ้นได้โดยเร็ว จะเป็นตัวนำให้เอกชนเดินหน้าลงทุนตามไป ด้วย เพราะหากรัฐลงทุนช้า เอกชนก็จะขาดความเชื่อมั่น และเมื่อการลงทุนเดินหน้าได้ ก็จะทำให้เกิดการนำเข้าวัตถุดิบมากขึ้น ซึ่งจะมีผล ให้แนวโน้มค่าเงินบาทของไทยผ่อนคลายได้มากขึ้นด้วย

  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่า ดัชนีภาวะเศษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทย (KR-ECI) ในเดือนธ.ค.62 อยู่ที่
ระดับ 42.4 ปรับตัวดีขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 จากระดับ 42.0 ในเดือนพ.ย.62 จากความกังวลที่ลดลงในเรื่องรายได้และการมีงาน
ทำ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลของปัจจัยฤดูกาล ในขณะที่ดัชนีฯ ในอีก 3 เดือนข้างหน้า (3-month Expected KR-ECI) ทรงตัวอยู่ในระดับใกล้
เคียงกับเดือนก่อนหน้า โดยครัวเรือนยังมีความกังวลทางด้านรายได้และการมีงานทำ อย่างไรก็ดี ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของ
ครัวเรือนในอีก 3 เดือนข้างหน้าอยู่ในระดับต่ำกว่าดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนในปัจจุบันเป็นครั้งที่ 2 (ครั้งแรกใน
ช่วงเดือนก.ย.60) ชี้ว่า ครัวเรือนยังกังวลกับภาวะเศรษฐกิจของตนเองในระยะข้างหน้า
  • ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กล่าวว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในอนาคตของกระทรวง
พาณิชย์ โดยเฉลี่ยทั้งปียังอยู่ในระดับเชื่อมั่นสูงกว่า 50 (ระดับ 52.8) สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจของธนาคารแห่งประเทศ
ไทย (ธปท.) ที่พบว่าดัชนีในอนาคตในเดือน ธ.ค.ยังอยู่ในระดับเชื่อมั่นที่ 52.0 และเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ระดับ 54.4 ชี้ว่าในภาพรวมปี 62 ผู้
บริโภคทั่วไปยังมีความคาดหวังและมีมุมมองเชิงบวกว่าเศรษฐกิจไทยจะมีแนวโน้มที่ดีในระยะต่อไป และเชื่อว่าความผันผวนจากปัจจัยภาย
นอกน่าจะเริ่มปรับตัวดีขึ้น
  • ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ได้ปรับลดการประเมินภาวะเศรษฐกิจของภูมิภาคในญี่ปุ่นจำนวน 3 ภูมิภาค ใน 9 ภูมิภาค โดย
ระบุถึงการผลิตที่ชะลอตัวลง อันเนื่องมาจากอุปสงค์ที่อ่อนแอจากต่างประเทศ
  • ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เปิดเผยในวันนี้ว่า BOJ ไม่ลังเลที่จะผ่อนคลายนโยบายการเงินลงอีก หากการปรับ
นโยบายจำเป็นต่อการบรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อที่ระดับ 2% ขณะที่ความเสี่ยงจากเศรษฐกิจต่างประเทศยังคงอยู่ในระดับสูง
  • ผู้นำเสียงข้างน้อยในวุฒิสภาสหรัฐได้ส่งจดหมายถึงประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เพื่อแสดงความกังวลว่า ข้อตกลงการค้าที่
อ่อนแอซึ่งไม่สามารถแก้ไขความไม่เท่าเทียมเชิงโครงสร้างในความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐและจีนนั้น อาจส่งผลกระทบต่อคนงานและธุรกิจ
ของชาวอเมริกันในช่วงหลายปีข้างหน้า

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ