(เพิ่มเติม) กกร. ปรับลดคาดการณ์ GDP ไทยปี 63 มาที่ 1.5-2.0% จากเดิมคาด 2.0-2.5% รับผลกระทบโควิด-19

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday March 4, 2020 13:11 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

(เพิ่มเติม) กกร. ปรับลดคาดการณ์ GDP ไทยปี 63 มาที่ 1.5-2.0% จากเดิมคาด 2.0-2.5% รับผลกระทบโควิด-19

นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน ประกอบด้วย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภา อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย เปิดเผยว่า ที่ประชุมกกร. ได้ปรับลดคาดการณ์อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจ ไทย (GDP) ปี 63 มาที่ 1.5-2.0% จากเดิมที่คาดไว้เมื่อเดือน ก.พ.63 ที่ 2.0-2.5% ขณะที่ยังคงประมาณการส่งออกและเงินเฟ้อไว้ ตามเดิม จากผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ที่ขยายเป็นวงกว้างทั้งต่อภาคธุรกิจและการจ้างงานโดยฉพาะที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวและ ห่วงโซ่การผลิตอุตสาหกรรม

(เพิ่มเติม) กกร. ปรับลดคาดการณ์ GDP ไทยปี 63 มาที่ 1.5-2.0% จากเดิมคาด 2.0-2.5% รับผลกระทบโควิด-19

แม้ภาครัฐกำลังอยู่ระหว่างเตรียมมาตรการเพื่อประคองเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดี ที่ประชุม กกร. ประเมินว่า ผลกระตุ้น จากมาตรการฯ อาจจะไม่สามารถชดเชยผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ที่ขยายเป็นวงกว้าง โดยจากเครื่องชี้เศรษฐกิจไทยในเดือน ม. ค.63 ที่เริ่มส่งสัญญาณการชะลอตัวลงในแทบทุกรายการ ที่ประชุม กกร. คาดว่า ในช่วงเดือน ก.พ.-เม.ย. เครื่องชี้ต่างๆ น่าจะยิ่ง สะท้อนถึงสถานการณ์เศรษฐกิจที่ซบเซาลงอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ทิศทางเศรษฐกิจหลังจากนั้นคงจะขึ้นอยู่กับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโค วิด-19 ทั้งในต่างประเทศและในประเทศไทยเป็นสำคัญ

"เป็นครั้งแรกที่ กกร.มีการปรับประมาณการเศรษฐกิจปี 63 ในทุกเดือนของไตรมาสแรก เนื่องจากสถานการณ์ที่เป็น ปัจจัยลบไม่ได้ทุเลาเบาบางลง โดยคาดว่าปัญหาโควิด-19 น่าจะคลี่คลายลงได้ในเดือน มิ.ย.63"

                    กรอบประมาณการเศรษฐกิจปี 2563 ของกกร.
%YOY                ปี 2562          ปี 2563          ปี 2563
                                 (ณ ก.พ.63)      (ณ มี.ค.63)
GDP                    2.4          2.0-2.5         1.5-2.0
ส่งออก                 -2.7      -2.0 ถึง 0.0     -2.0 ถึง 0.0
เงินเฟ้อ                 0.7          0.8-1.5         0.8-1.5

สำหรับความเสียหายเรื่องผลกระทบจากเชื้อไวรัสโควิด-19 นั้นขึ้นอยู่กับสถานการณ์การแพร่ระบาดว่าจะยืดเยื้อเพียงใด หากสามารถยุติปัญหาได้เร็ว และรัฐบาลมีมาตรการออกมากระตุ้นเศรษฐกิจก็จะช่วยให้เศรษฐกิจฟื้นตัวกลับมาได้เร็ว

โดยเบื้องต้นอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและเกี่ยวเนื่องได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 มากสุด ส่วน อุตสาหกรรมอื่นๆ นั้นก็มีผลกระทบแตกต่างกันไป หากเป็นอุตสาหกรรมที่แข่งขันกับจีนก็ได้ผลดี แต่ถ้าเป็นอุตสาหกรรมที่พึ่งพาตลาดหรือวัตถุดิบ จากจีนก็จะได้รับผลเสีย

ทั้งนี้ เพื่อประคองเศรษฐกิจและภาคธุรกิจให้รอดพ้นจากวิกฤติไวรัสโควิด-19 เฉพาะหน้านี้ไปได้ กกร.คาดหวังให้ภาครัฐออก มาตรการทั้งด้านการคลังและด้านการเงินอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะการลดภาระค่าใช้จ่ายและเติมสภาพคล่องให้กับธุรกิจต่างๆ ขณะเดียว กันก็เตรียมการรับมืออย่างเพียงพอสำหรับความเป็นไปได้ที่อาจจะเกิดการแพร่ระบาดของโรคในประเทศไทย

นอกจากนี้ ที่ประชุม กกร. เห็นว่าภาครัฐควรมีการจัดประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน (กรอ.) เพื่อเป็นกลไก การดำเนินงานร่วมระหว่างภาครัฐและเอกชนในการผลักดันประเด็นที่เกี่ยวข้องทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ

นายสุพันธุ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในการประชุมคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ (ครม.เศรษฐกิจ) วันที่ 6 มี.ค.นี้ เป็นครั้ง แรกที่มีตัวแทน กกร.เข้าร่วมประชุม ซึ่งจะได้เสนอความเห็นของภาคเอกชนให้รัฐบาลได้โดยตรง อย่างไรก็ตามสถานการณ์ในขณะนี้ต้อง ยอมรับว่าประเทศไทยยังคงเป็นที่ที่มีความปลอดภัยในการลงทุน

"ชั่วโมงนี้นักลงทุนจะย้ายไปไหน ปัญหาโควิด-19 ก็ระบาดไปทั่วโลกหมดแล้ว" นายสุพันธุ์ กล่าว

ส่วนกรณีที่จะมีกระแสการปรับ ครม.แล้วจะเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจหรือไม่ นายสุพันธุ์ กล่าวว่า ขึ้นอยู่กับภาพลักษณ์และคุณสมบัติ ของผู้ที่จะเข้ามาเป็นรัฐมนตรีว่ามีความเหมาะสมหรือไม่

ด้านนายปรีดี ดาวฉาย นายกสมาคมธนาคารไทย กล่าวถึงทิศทางดอกเบี้ยว่า การพิจารณาของคณะกรรมการนโยบายการ เงิน (กนง.) นั้นคงต้องพิจารณารอบด้านเพื่อให้เกิดความสมดุล ไม่สามารถพิจารณาจากปัจจัยเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เพราะหากลดดอกเบี้ย อาจส่งผลให้เงินทุนไหลออก


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ