ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 32.80 แข็งค่าจากวานนี้เล็กน้อย นลท.จับตาผลประชุมกนง.บ่ายนี้-ลุ้นมาตรการเยียวยาโควิด-19 ของสหรัฐฯ

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday March 25, 2020 09:17 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 32.80 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากปิด ตลาดเย็นวานนี้ที่ระดับ 32.84 บาท/ดอลลาร์ เนื่องจากนักลงทุนคาดหวังกรณีสภาคองเกรสสหรัฐฯจะสามารถบรรลุข้อตกลงในการใช้ มาตรการเยียวยาประชาชนและภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ทำให้เกิดแรงลงทุนในตลาดเกิดใหม่

"บาทแข็งค่าจากเย็นวานนี้เล็กน้อย หลังนักลงทุนคาดหวังเรื่องสภาคองเกรสจะผ่านมาตรการเยียวยาผลกระทบจากโควิด- 19 ทำให้มีแรงลงทุนในตลาดเกิดใหม่ที่มีความเสี่ยง" นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงิน คาดว่า วันนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 32.70 - 32.95 บาท/ดอลลาร์ โดยปัจจัยที่นักลงทุนจับตาคือ ผลประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ที่คาดว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมจากการประชุมนัดพิเศษ รวมถึง สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19

THAI BAHT FIX 3M (24 มี.ค.) อยู่ที่ระดับ 0.63249% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 0.62854%

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ 110.87 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 110.29 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ 1.0797 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.0864 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 32.8890 บาท/ดอลลาร์
  • ติดตามผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ครั้งที่ 2/2563 หลังได้มีมติปรับลดดอกเบี้ยนโยบายแบบฉุก
เฉินไปแล้ว พร้อมตัวเลขประมาณการเศรษฐกิจไทย
  • นายกฯงัดยาแรงประกาศ ใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เบื้องต้น 1 เดือน เริ่ม 26 มี.ค. ตั้ง "ศูนย์ศอฉ." นายกฯบัญชาการนั่งหัว
โต๊ะ บูรณาการสกัดโควิดระบาด-ปรับแผนวันต่อวัน ระบุหากไม่สามารถแก้ปัญหาได้จำเป็นต้องปิดล็อกต่างๆ ทั้งหมด เป็นขั้นเป็นตอน วง
ครม.ยันไม่วิกฤติปิดเมือง แพทย์รามาฯ คาด 2 สัปดาห์หลังใช้พ.ร.ก.ผู้ป่วยลด เอกชนขานรับ
  • ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) แสดงความเห็นกรณีรัฐบาลมีมติให้ประกาศใช้พระราชกำหนด (พ.ร.
ก.) การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 เพื่อยกระดับการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยจะประกาศใช้
วันที่ 26 มีนาคม 2563 ว่า จะช่วยควบคุม การควบคุมโรดระบาดได้เพราะที่ผ่านมาแม้ภาครัฐออกมาตรการออกมา ก็ยังมีประชาชนบาง
ส่วนที่ยังไม่ให้ความร่วมมือ กับมาตรการภาครัฐมากนัก อาจทำให้สถานการณ์ยิ่งเลวร้าย ลักษณะเดียวกับ ที่แพทย์ได้ออกมาเตือน
  • ผู้บริหารสูงสุดศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้ประเมินการส่งออกของไทยในปีนี้จะต่ำกว่า
ที่คาดไว้มาก หลังจากกระทรวงพาณิชย์ประกาศตัวเลขในเดือนก.พ.ที่ผ่านมาติดลบถึง 4.5% ทำให้เห็นว่าการส่งออกไทยยังไม่มีสัญญาณฟื้น
ตัว และในปีนี้จะติดลบมากกว่า 5.8% เพราะสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 เพิ่มขึ้นและรุนแรงมาก อาจยืดเยื้อจนกระทบกับภาคเศรษฐกิจ
จริง รวมทั้ง ราคาน้ำมันที่ลดลงจะยิ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อราคาสินค้าส่งออกของไทยโดยเฉพาะสินค้าที่มีความสัมพันธ์กับราคาน้ำมัน
  • ประธานคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (IOC) กล่าวว่า บอร์ดบริหารของ IOC ได้ให้การอนุมัติต่อการเลื่อนจัดการแข่งขัน
กีฬาโอลิมปิกซึ่งญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพในปีนี้ อันเนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
  • กระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานว่า ยอดขายบ้านใหม่ลดลง 4.4% ในเดือนก.พ. เมื่อเทียบรายเดือน สู่ระดับ 765,000
ยูนิต แต่สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 750,000 ยูนิต
  • ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (24 มี.ค.)
โดยได้รับแรงกดดันจากการที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ประกาศมาตรการรับมือผลกระทบโควิด-19 ซึ่งรวมถึงการซื้อพันธบัตรตาม
มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) โดยไม่จำกัดวงเงินและเวลา
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดทะยานขึ้นกว่า 90 ดอลลาร์เมื่อคืนนี้ (24 มี.ค.) ทำสถิติพุ่งขึ้นในวันเดียวที่แข็งแกร่งสุดใน
รอบ 11 ปี โดยตลาดทองคำยังคงได้รับปัจจัยหนุนจากการที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่ ซึ่ง
รวมถึงการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) โดยไม่จำกัดวงเงินและเวลา เพื่อรับมือกับการแพร่ระบาดของไวรัสโค
วิด-19
  • อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐปรับตัวขึ้นในวันนี้ ท่ามกลางความหวังที่ว่า สภาคองเกรสสหรัฐจะสามารถบรรลุข้อ
ตกลงเกี่ยวกับมาตรการของทำเนียบขาวในการเยียวยาชาวอเมริกันและภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19
  • ข้อมูลเศรษฐกิจด้านอื่นๆของสหรัฐที่มีกำหนดเปิดเผยในสัปดาห์นี้ได้แก่ ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนก.พ., ดัชนีราคาบ้าน
เดือนม.ค., จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 4/2562, กำไรภาคเอกชน
ไตรมาส 4/2562, ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เดือนก.พ. และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนมี.ค.จาก
มหาวิทยาลัยมิชิแกน

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ