COVID-19ททท.เตรียมโหมกิจกรรมกระตุ้นท่องเที่ยว เร่งทำตลาดไทยเที่ยวไทย-ต่างชาติหลังคลายล็อก

ข่าวเศรษฐกิจ Friday June 12, 2020 18:30 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

น.ส.ฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ รองผู้ว่าการด้านสินค้าธุรกิจท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กล่าวในงานสัม นนาออนไลน์ "ร่วมฝ่าวิกฤต โควิด-19 รับมือมาตรการผ่อนปรน ระยะที่ 3" ในหัวข้อ "การท่องเที่ยวไทย ไปต่อหรือรอก่อน"ว่า ผล กระทบโควิด-19 นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของธุรกิจท่องเที่ยวหลายเรื่อง ทั้งความไม่มั่นใจและการหยุดชะงักในการเดินทาง ความชะงักงัน ของภาคธุรกิจและการบริการ ผลกระทบต่อบุคลากรในอุตสาหกรรม การขาดสภาพคล่องจนนำไปสู่การปิดตัว

น.ส.ฐาปนีย์ กล่าวว่า ในช่วงหลายๆปีที่ผ่านมา รายได้จากการท่องเที่ยวเป็นพระเอก คิดเป็น 19-20% ของจีดีพี และมีการ คาดการณ์ว่าปี 2573 อาจจะสูงถึง 30%

"ปี 62 แม้ค่าเงินบาทจะแข็งค่ามาก แต่ก็ยังทำรายได้ ยังมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามา ปีที่แล้วเรามีนักท่องเที่ยวประมาณ 39.8 ล้านคน แต่มาปีนี้ช่วง ม.ค.-เม.ย.63 นักท่องเที่ยวต่างชาติ 6.69 ล้านคน ลดลง 7.29 ล้านคน หรือคิดเป็น -52.17% จากช่วง เดียวกันของปีก่อน ขณะที่นักท่องเที่ยวไทย 35.59 ล้านคน ลดลง 37.51 ล้านคน คิดเป็น -48.66% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน"

ในช่วงม.ค.-เม.ย.63 รายได้ท่องเที่ยว มาจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ 332,000 ล้านบาท ลดลง 52.79% จากปี 62 รายได้จากนักท่องเที่ยวชาวไทย 189,000 ล้านบาท ลดลง 48.34% จากปี 62

ด้านสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) เปรียบเทียบคาดการณ์และเป้าหมายรายได้การท่อง เที่ยว และ จีดีพี ประเทศ ไว้ดังนี้

                                ปี 2562              ปี 2563            ม.ค.-เม.ย.63

รายได้จากการท่องเที่ยว           3.01 ล้านล้านบาท      1.23 ล้านล้านบาท        521,000 ล้านบาท
จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ        39.79 ล้านคน         16 ล้านคน                  6.60 ล้านคน
จำนวนนักท่องเที่ยวไทย          166.84 ล้านคน-ครั้ง     80 ล้านคน-ครั้ง             35.59 ล้านคน-ครั้ง
GDP                          2.4                -5.5                             -

น.ส.ฐาปนีย์ กล่าวว่า เมื่อประมาณการเป็นแบบนี้ เป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์จึงเป็นสิ่งสำคัญว่าจะต้องเดินไปทางไหน เพื่อให้ ได้ใกล้เคียงที่สุด ซึ่งมี 2 ส่วน คือ เน้นสร้างงาน สร้างรายได้ เพื่อพยุงอุตสาหกรรมท่องเที่ยว และกระตุ้นการบริโภคภาคประชาชนผ่าน การเดินทางท่องเที่ยวในประเทศ ตอนนี้เริ่มมีการปลดล็อกมาตรการแล้ว เพราะฉะนั้น มิถุนายน-กรกฎาคมจะเริ่มเห็นการทำการตลาดการ ท่องเที่ยวในประเทศ แต่ในส่วนของตลาดต่างประเทศก็ทิ้งไม่ได้ ต้องเตรียมความพร้อมไว้ก่อน ด้วยการมุ่งสร้างรายได้จากฐานนักท่อง เที่ยวต่างชาติที่มีศักยภาพ

"ในปี 63 คาดว่าสามารถสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวไม่ต่ำกว่า 1.23 ล้านล้าน โดยมีนักททท.คนไทยเดินทางท่องเที่ยว ในประเทศ จำนวน 80-100 ล้านคน-ครั้ง และนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางท่องเที่ยวในประเทศจำนวน 14-16 ล้านคน-ครั้ง กรณี ถ้าทำได้ 14 ล้านคน-ครั้ง ซึ่งน้อยกว่าที่สภาพัฒน์คาดการณ์ไว้ เราก็ต้องไปดูตัวเลขนักท่องเที่ยวชาวไทยให้เพิ่มมากขึ้น ก็ต้องไปหมุนการ ท่องเที่ยวไทยเที่ยวไทย ซึ่งเดี๋ยวจะมีกิจกรรมมากมาย และภาคเอกชนตอบรับอย่างดี การท่องเที่ยวชุมชนเป็นอะไรที่สำคัญมาก ภายใต้ มาตรการนี้การท่องเที่ยวในประเทศต้องฟื้นตัวในเฟสที่ 3 แตละตอนนี้ระยะที่ 4 เริ่มออกแล้ว ทำให้เริ่มเห็นความสดใสของการท่องเที่ยว ในประเทศ แสงสว่างเริ่มมาแล้ว"น.ส.ฐาปนีย์ กล่าว

สำหรับแนวทางและแผนการดำเนินงานของ ททท. ระยะที่ 1 (Lockdown Exit) ประกอบด้วย Rebuild Rebalance Refresh เตรียมความพร้อม ซ่อมสร้างอุปทาน สื่อสารให้คิดถึง Amazing "Trusted Thailand"

ระยะที่ 2 (Service Open) เป็นการ Reboot ไทยเที่ยวไทย เปิดเมืองเปิดประเทศเพื่อการท่องเที่ยวอย่างจำกัด

ระยะที่ 3 (Extensive Open) เป็นการ Rebound เปิดเมืองเปิดประเทศเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

นอกจากนี้ New Normal นำไปสู่การปรับตัวสู่การท่องเที่ยวที่ขับเคลื่อนภายใต้การกำกับของสาธารณสุข ภายใต้ หลัก "BEST" โดย B หรือ Booking มีการวางแผนการเดินทางก่อน-ระหว่าง-หลังการเดินทาง, จัดสรรคนร่วมเดินทาง จองทุกอย่าง ล่วงหน้าท่องเที่ยวภายใต้เงื่อนไขการจำกัดจำนวน, การบริหารพื้นที่แบบเว้นระยะห่าง

E หรือ Environment คือการอนุรักษและรักษาธรรมชาติที่ฟื้นตัวดีขึ้น นักท่องเที่ยวจะกระตือรือร้นและมีส่วนร่วมในการท่อง เที่ยวอย่างรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

S หรือ Safety มีข้อมูลสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจ นักท่องเที่ยวจะให้ความสำคัญกับความสะอาด ปลอดภัย และสุขอนามัยที่ ดี ข้อมูลจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการตัดสินใจเดินทาง

T หรือ Technology เพราะเทคโนโลยีเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการท่องเที่ยวที่ช่วยเสริมสร้างประสบการณ์อันทรงคุณค่าสำหรับ นักท่องเที่ยวและทำให้การบริการมีศักยภาพดีขึ้น

น.ส.ฐาปนีย์ กล่าวถึงแผนการดำเนินงานโครงการมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย Amazing Thailand Safety & Health Administration (SHA) ซึ่งตั้งอยู่บนมาตรการป้องกันการควบคุมโรค บนมาตรฐานการให้บริการของภาคเอกชน เพื่อสร้าง ความมั่นใจและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทย

"จะมีการแจกตราสัญลักษณ์ให้ผู้ประกอบการโรงแรมที่ได้มาตรฐานและทำตามมาตรการสาธารณสุข เพราะเราต้องการให้นัก ท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างชาติมั่นใจว่าผู้ประกอบการและคนในพื้นที่มีความใส่ใจในเรื่องของมาตรการและมาตรฐานการให้ บริการ"รองผู้ว่าการด้านสินค้าธุรกิจท่องเที่ยว ททท.กล่าว

ด้านนางศุภวรรณ ถนอมเกียรติภูมิ นายกสมาคมโรงแรมไทย กล่าวว่า หากมีการผ่อนคลายระยะที่ 4 ขอร้องให้คนไทยช่วยกัน เที่ยว การที่มีคนออกไปเที่ยวโรงแรมก็อยู่รอดเท่ากับช่วยให้พนักงานของโรงแรมอยู่รอดด้วย เราคาดว่าในช่วงที่ ททท.โปรโมทการท่อง เที่ยวในประเทศจะมีคนไปเที่ยวแน่นอน ไม่ว่าจะไปจังหวัดไหนก็แล้ว การเดินทางช่วยได้จริงๆ โรงแรมไม่สามารถทำได้ด้วยตัวเอง ต้อง เกิดจากความร่วมมือของทุกภาคส่วน

อย่างไรก็ตาม คาดว่าปีหน้าอีก 1 ปียังไม่สามารถ Recover สิ่งที่เราสูญเสียเพราะการ Reboot ธุรกิจไม่ใช่เรื่องง่าย ประกอบกับการมี New Normal ที่ทุกคนต้องรักษาระยะห่างกัน เพราะฉะนั้นไม่ว่าการจะเดินทางด้วยรถยนต์ หรือเครื่องบินน้อยลงแน่ๆ หมายความว่า Demand น้อยลง

"เห็นชัดๆว่าปีหน้าอีกทั้งปีก็จะยังไม่เหมือนเดิม แต่ในความเห็นส่วนตัว ด้วยความร่วมมือของทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็น ททท. หรือ สายการบิน โรงแรม ทุกภาคส่วนในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวอาจจะต้องใช้เวลาแค่ครึ่งปีนี้หรือในปีหน้ากลับฟื้นขึ้นมายืนได้ พร้อมที่จะรับในปีถัด ไป อย่างน้อยคงดีขึ้นเกือบๆเท่าเดิม เพราะจากการสำรวจของหลายๆแห่งประเทศไทยเป็นหนึ่งในสถานที่ที่คนอยากจะกลับมาท่องเที่ยว เป็นสิ่งที่เป็นกำลังใจที่จะต่อสู้ว่ามีคนอยากกลับมาหาเรา เพราะฉะนั้นเราต้องเตรียมพร้อมไม่ว่าสถานการณ์จะเป็นอย่างไร"


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ