ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 30.07 อ่อนค่า-ผันผวนตามแรงเทขายทำกำไร มองกรอบต้นสัปดาห์หน้า 30.00-30.15

ข่าวเศรษฐกิจ Friday January 8, 2021 17:30 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 30.07 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจากเปิด ตลาดเมื่อเช้าที่ระดับ 30.05 บาท/ดอลลาร์ ในระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 30.06-30.16 บาท/ดอลลาร์ ตามแรงเทขาย ทำกำไรของนักลงทุน ประกอบกับมีแรงซื้อดอลลาร์

"บาทอ่อนค่าและผันผวนทั้งวันไปตามแรงเทขายทำกำไร ประกอบกับมีแรงซื้อดอลลาร์" นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันจันทร์ไว้ที่ 30.00-30.15 บาท/ดอลลาร์ โดยตลาดรอดูตัว เลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือน ธ.ค.ของสหรัฐคืนนี้ หากออกมาดีจะเป็นปัจจัยหนุนให้มีแรงซื้อดอลลาร์มากขึ้น

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ 103. เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 103.81 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ 1.22 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.2259 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,536.44 จุด เพิ่มขึ้น 22.66 จุด, +1.50% มูลค่าการซื้อขาย 125,081.17 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 4,563.96 ล้านบาท (SET+MAI)
  • พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม เห็นชอบให้กระทรวงสาธารณสุขเบิกจ่ายจากงบประมาณ
รายจ่ายประจำปี พ.ศ.2564 งบกลาง ค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติด
เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพื่อดำเนินโครงการเตรียมความพร้อมรับมือและแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่ : กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 (COVID-19) ระยะการระบาดระลอกใหม่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 วงเงิน 4,661 ล้านบาท
  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ภาคเกษตรไทยในปี 64 น่าจะให้ภาพที่ดีขึ้นได้จากปัจจัยด้านอุปทานที่เร่งตัวขึ้นจากปริมาณน้ำฝน
ที่เอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูกจากปรากฏการณ์ลานีญา พิจารณาได้จากปรากฏการณ์ ENSO ที่แสดงสถานะเป็นปรากฏการณ์ลานีญา ซึ่งมีความ
น่าจะเป็นที่ 65% ที่จะยังคงเป็นปรากฏการณ์ลานีญาต่อเนื่องไปจนถึงเดือน พ.ค.64 น่าจะช่วยบรรเทาระดับความแห้งแล้งในฤดูไป
ได้บ้าง ผนวกกับเกษตรกรมีการดูแลรักษาต้นพืชที่ดีขึ้นจากการระบาดของโรคพืชในปีก่อน ทำให้อุปทานสินค้าเกษตรของไทยน่าจะอยู่ในเกณฑ์
ดี โดยคาดว่าอุปทานสินค้าเกษตรอาจเพิ่มขึ้นอยู่ในกรอบ 2.0-2.5% (YoY) โดยคาดว่า รายได้เกษตรกรจะขยายตัวอยู่ในกรอบ 1.0-
1.5% (YoY) จากแรงผลักด้านผลผลิตที่เพิ่มขึ้น
  • ธปท.และธนาคารกลางแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ต่ออายุความตกลงทวิภาคีเพื่อแลกเปลี่ยนเงินตราสกุลหยวนและบาท
ซึ่งเป็นการสนับสนุนการใช้เงินสกุลเงินท้องถิ่นในการค้าและการลงทุนระหว่างกัน รวมถึงส่งเสริมความร่วมมือทางการเงินของทั้งสอง
ประเทศให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ภาคเอกชนในการใช้เงินสกุลท้องถิ่นทำธุรกรรมระหว่างประเทศอีก
ด้วย
  • อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยแผนการทำงานของกรมเจรจาการค้าระหว่าง
ประเทศ ปี 2564 ขานรับนโยบายนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ ด้านการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
โดยมีแผนงานสำคัญ 4 ด้าน ดังนี้ 1. เร่งรัดดำเนินกระบวนการภายในเพื่อเสนอรัฐสภาให้สัตยาบันความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับ
ภูมิภาค (RCEP) ภายในกลางปีนี้ 2. เดินหน้าเปิด ปิด และปรับปรุงการเจรจาความตกลงการค้าเสรี (FTA) รวม 13 ฉบับ 3. พัฒนา
กลไกเพื่อช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจาก FTA และ 4. เดินหน้าสร้างความเข้าใจกลุ่มเกษตรกร SME ภาคเอกชน และภาค
ประชาชน เรื่องการใช้ประโยชน์และการเตรียมรับมือผลกระทบจาก FTA
  • กระทรวงกิจการภายในและการสื่อสารของญี่ปุ่น เผยยอดการใช้จ่ายภาคครัวเรือนของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 1.1% ในเดือน พ.ย.
เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยดีดตัวขึ้นหลังจากที่ร่วงลงในปีก่อนหน้า ซึ่งมากพอที่จะชดเชยการปรับตัวลงอันเป็นผลจากการระบาดของโควิด-19
โดยยอดการใช้จ่ายโดยเฉลี่ยของครัวเรือนที่มีสมาชิก 2 คนขึ้นไปอยู่ที่ 278,718 เยน (2,700 ดอลลาร์) ในเดือน พ.ย.เพิ่มขึ้นเป็น
เดือนที่สองติดต่อกัน หลังจากที่เพิ่มขึ้น 1.9% ในเดือน ต.ค.
  • รัฐบาลญี่ปุ่นและธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ย้ำอีกครั้งว่า ทั้งสองฝ่ายจะร่วมมือกันรักษาเสถียรภาพของตลาดเงินตราต่าง
ประเทศ หลังสกุลเงินเยนพุ่งทำระดับสูงสุดในรอบ 10 เดือนเมื่อเทียบดอลลาร์
  • ธนาคารกลางยุโรป (ECB) เปิดเผยข้อมูลคาดการณ์เศรษฐกิจในอนาคตและผลสำรวจเมื่อเร็วๆ นี้ บ่งชี้ว่า ผลิตภัณฑ์มวล
รวมภายในประเทศ (GDP) ของกลุ่มประเทศยูโรโซนในช่วงไตรมาส 4/2563 นั้น มีแนวโน้มลดลง
  • ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาฟิลาเดลเฟียคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจสหรัฐมีแนวโน้มชะลอตัวลงอย่างมีนัยสำคัญ
หรืออาจจะถึงขั้นหดตัวลงในไตรมาสแรกของปีนี้

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ