ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 30.36 แนวโน้มอ่อนค่า หลังบอนด์ยีลด์สหรัฐพุ่งหนุนดอลล์แข็ง

ข่าวเศรษฐกิจ Monday March 1, 2021 09:03 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 30.36 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจาก ช่วงสุดสัปดาห์ก่อนที่ระดับ 30.12 บาท/ดอลลาร์

เงินบาทเช้านี้อ่อนค่าเท่ากับช่วงเดือน พ.ย.63 เนื่องจากดอลลาร์แข็งค่าเมื่อเทียบกับทุกสกุลเงิน หลังมีแรงซื้อเข้ามา มากจากความกังวลเรื่องบอนด์ยีลด์

"ช่วงวันหยุดยาวตลาดมีความผันผวนมาก นักลงทุนเทขายสินทรัพย์อื่น ทั้งหุ้น ทองคำ เพื่อไปถือเงินสด (ดอลลาร์) เนื่องจากกังวลที่บอนด์ยีลด์ยังเป็นช่วงขาขึ้น...ช่วงสั้นบาทมีแนวโน้มอ่อนค่า" นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงินประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 30.30-30.40 บาท/ดอลลาร์

THAI BAHT FIX 3M (25 ก.พ.) อยู่ที่ระดับ 0.33219% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 0.34671%

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 106.43 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวันพฤหัสที่ระดับ 106.08 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.2096 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวันพฤหัสที่ระดับ 1.2200 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 30.041 บาท/
ดอลลาร์
  • ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ขณะนี้ได้มอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ศึกษาแผนระยะสั้นและ
แผนระยะยาว เพื่อรองรับความผันผวนของเศรษฐกิจ รวมถึงศึกษาข้อจำกัดในเรื่องวินัยการเงินการคลังว่าสามารถผ่อนปรนได้หรือ
ไม่ หากจำเป็นต้องมีมาตรการกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยให้กลับมารวดเร็ว ซึ่งเมื่อสถานการณ์เศรษฐกิจกลับสู่ภาวะปกติแล้ว ก็
อาจกลับมาใช้กรอบวินัยการเงินการคลังตามแนวทางเดิม
  • รมว.ท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า ได้หารือกับกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ถึงการออกมาตรการวัคซีน
พาสปอร์ต ซึ่ง สธ.อยู่ระหว่างติดตามประกาศมาตรฐานกลางขององค์การอนามัยโลก เพื่อออกมาตรการให้สอดรับกับมาตรฐานของ
ไทย ตั้งเป้าหมายฟื้นความเชื่อมั่นจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ ประเมินว่าปีนี้ หากไทยมีวัคซีนพาสปอร์ต หรือแนวทางที่สนับสนุนให้นัก
ท่องเที่ยวเดินทางมาไทยได้สะดวก ไม่กักตัวจะทำให้ทั้งปีมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางมาไทยไม่ต่ำกว่า 5 ล้านคน
  • "พิพัฒน์" รมว.ท่องเที่ยวฯ เตรียมเสนอ ศบค.ตั้ง "แอเรีย ควอรันทีน" กระจายใน 5 เมืองท่องเที่ยวหลัก
ภูเก็ต-ชลบุรี-สุราษฎร์ฯ-เชียงใหม่-กระบี่ ด้านผู้ประกอบการโรงแรมเสนอตัวเข้าร่วมแล้ว 6,500 ห้อง พร้อมให้พนักงานโรงแรม-
คนในพื้นที่ฉีดวัคซีนเป็นกลุ่มแรกๆ
  • รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.พาณิชย์ ได้สั่งการให้กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ จัดทำเป้าหมายการดำเนิน
งานของทูตพาณิชย์ในการผลักดันการส่งออกปี 2564 จำนวน 3 ด้าน ได้แก่ 1.การผลักดันการส่งออกให้ขยายตัวทั้งรายประเทศ
และ รายสินค้า 2.การเพิ่มจำนวนผู้นำเข้าร่วมกิจกรรมของกรม ส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ สินค้าประเภทเกษตรและอาหาร
เป้าหมายให้มีจำนวนเพิ่มขึ้น และ 3.การเพิ่มจำนวนกิจกรรมที่ร่วมกับแพลตฟอร์มออนไลน์ในต่างประเทศ ซึ่งทั้งหมดนี้ มีเป้าหมาย
การดำเนินงานเพื่อเร่งรัดการส่งออกในภาพรวมของประเทศให้เติบโต 4% ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
  • ผลสำรวจของมหาวิทยาลัยมิชิแกนระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐปรับตัวลงสู่ระดับ 76.8 ในเดือนก.
พ. จากระดับ 79.0 ในเดือนม.ค. แต่สอดคล้องกับตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์
  • กระทรวงพาณิชย์สหรัฐ เปิดเผยดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เพิ่มขึ้น 0.3% ในเดือนม.
ค. สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 0.2% และเมื่อเทียบรายปี ดัชนี PCE ดีดตัวขึ้น 1.5% ในเดือนม.ค. ส่วนดัชนี PCE พื้น
ฐาน ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน และเป็นมาตรวัดอัตราเงินเฟ้อที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ให้ความสำคัญ เพิ่มขึ้น
0.3% ในเดือนม.ค.และเมื่อเทียบรายปี ดัชนี PCE พื้นฐาน ปรับตัวขึ้น 1.5% ในเดือนม.ค.
  • กระทรวงพาณิชย์สหรัฐ เปิดเผยว่า การใช้จ่ายส่วนบุคคลของผู้บริโภคสหรัฐพุ่งขึ้น 2.4% ในเดือนม.ค. แต่ต่ำกว่า
ตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 2.5% หลังจากลดลง 0.2% ในเดือนธ.ค. และรายได้ส่วนบุคคลพุ่งขึ้น 10% ในเดือนม.
ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนเม.ย.ปีที่แล้ว หลังจากเพิ่มขึ้น 0.6% ในเดือนธ.ค.
  • คณะกรรมการที่ปรึกษาด้านแนวทางสร้างภูมิคุ้มกันโรค (ACIP) ในสังกัดศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐ
(CDC) มีมติเป็นเอกฉันท์ ให้การรับรองวัคซีนต้านไวรัสโควิด-19 ของบริษัทจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน (J&J) แล้ว ซึ่งถือเป็นขั้น
ตอนสุดท้ายในการรับรอง หลังจากวัคซีนดังกล่าวได้รับการอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (FDA) ของสหรัฐให้ใช้
ในกรณีฉุกเฉินเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา (27 ก.พ.)
  • ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญสัปดาห์นี้ ได้แก่ การจ้างงานนอกภาคเกษตร อัตราการว่างงาน การจ้างงานภาค

เอกชน ดัชนี PMI/ISM ภาคการผลิตและภาคบริการเดือนก.พ. และยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนม.ค. นอกจากนี้ตลาดอาจยังรอ

ติดตามสถานการณ์โควิด 19 ทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงดัชนี PMI ภาคการผลิตและภาคบริการของจีน ยูโรโซน และอังกฤษ


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ