ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 31.09 ทรงตัวจากช่วงเช้า-ธุรกรรมเบาบาง ตลาดรอตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐ

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday May 11, 2021 17:36 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 31.09 บาท/ดอลลาร์ ทรงตัวในระดับ เดียวกันกับเปิดตลาดช่วงเช้า นื่องจากตลาดยังขาดปัจจัยใหม่ ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 31.07 - 31.14 บาท/ดอลลาร์ โดยตลาดรอดูตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐวันพรุ่งนี้

"วันนี้บาทแกว่งตัวในกรอบแคบๆ ธุรกรรมค่อนข้างเบางบาง เนื่องจากตลาดขาดปัจจัยใหม่" นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 31.05 - 31.15 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 108.84 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 108.89 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.2167 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.2133 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,578.93 จุด ลดลง 9.22 จุด, -0.58% มุลค่าการซื้อขาย 102,357.93 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 2,012.92 ล้านบาท (SET+MAI)
  • ครม.เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 โดยกำหนดวงเงินงบประมาณรายจ่าย
3,100,000 ล้านบาท ลดลงจากปีงบประมาณ พ.ศ.2564 จำนวน 185,962.5 ล้านบาท หรือ 5.66% เพื่อให้หน่วยรับงบประมาณมีงบ
ประมาณรายจ่ายเพียงพอในการดำเนินภารกิจเพื่อขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศรวมทั้งรองรับผลกระทบจาก
สถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ประมาณการรายได้สุทธิ 2,400,000 ล้านบาท และกำหนดวงเงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบ
ประมาณ จำนวน 700,000 ล้านบาท ซึ่งการขาดดุลงบประมาณจำนวนดังกล่าว ยังอยู่ในกรอบสัดส่วนที่กฎหมายกำหนด โดยคาดว่าจะนำ
เสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาในวาระที่ 1 ระหว่างวันที่ 31 พ.ค.-2 มิ.ย.64
  • ครม.เห็นชอบเพิ่มเงินสนับสนุนในโครงการ "เราชนะ" อีกคนละ 1,000 บาท/สัปดาห์ เป็นเวลา 2 สัปดาห์ รวม
2,000 บาท โดยมีประชาชนได้รับประโยชน์ถึง 33.5 ล้านคน รวมทั้งมีมติเพิ่มเงินช่วยเหลือผู้ประกันตนโครงการ "ม33 เรารักกัน" อีก
คนละ 1,000 บาท/สัปดาห์ เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ รวม 2,000 บาท และขยายเวลาฃองโครงการออกไปถึงสิ้นเดือนมิถุนายนนี้ ซึ่ง
จะสามารถช่วยเหลือประชาชนได้มากกว่า 8 ล้านคน
  • กระทรวงพาณิชย์ เผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวมเดือน เม.ย.64 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 43.5 เทียบกับระดับ
47.5 ในเดือนก่อนหน้า เป็นการปรับตัวลดลงทั้งดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบันและในอนาคต ในทุกภาคและทุกอาชีพ โดยดัชนีความ
เชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบัน ปรับตัวลดลงจากระดับ 40.2 มาอยู่ที่ระดับ 36.4 และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในอนาคต ปรับลดลงจากระดับ
52.3 มาอยู่ที่ระดับ 48.2
  • ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เผยดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทยประจำเดือนเม.ย.64
(TCC-CI) อยู่ที่ระดับ 27.6 ลดลงจาก เดือนมี.ค.64 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 30.7
  • สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ร่วมกับหน่วยงานกำกับดูแลตลาดทุนมาเลเซีย
สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ ลงนามในบันทึกความเข้าใจฉบับเพิ่มเติมว่าด้วยกรอบข้อตกลงเพื่อเสนอขายกองทุนรวมภายใต้โครงการจัดการลงทุน
ต่างประเทศของกลุ่มประเทศอาเซียน และรับฟิลิปปินส์เข้าเป็นภาคีภายใต้กรอบความร่วมมือ ASEAN Collective Investment
Schemes (ASEAN CIS) นับเป็นอีกก้าวหนึ่งของความสำเร็จในการยกระดับการเชื่อมโยงตลาดทุนและการกระจายเม็ดเงินลงทุนใน
ภูมิภาคอาเซียน
  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่เริ่มต้นขึ้นในเดือนเม.ย. 64 กดดันให้ดัชนีภาวะ
เศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทย (KR-ECI) ในปัจจุบัน (เดือนเม.ย.64) และ 3 เดือนข้างหน้าปรับตัวลดลงอย่างมาก อยู่
ที่ 37.0 และ 39.4 จากเดือนมี.ค.64 ซึ่งอยู่ที่ 40.4 และ 41.5 บ่งชี้ว่าครัวเรือนมีความกังวลเพิ่มขึ้นอย่างมากเกี่ยวกับภาวะการครอง
ชีพ
  • รายงานสรุปการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ประจำเดือนเม.ย.ซึ่งมีการเผยแพร่ในวันนี้ระบุ
ว่า กรรมการ BOJ เล็งเห็นความจำเป็นในการขยายระยะเวลาในการใช้นโยบายผ่อนคลายการเงิน เพื่อช่วยให้ BOJ สามารถบรรลุเป้า
หมายเงินเฟ้อที่ระดับ 2% ขณะเดียวกันมีกรรมการอีกส่วนหนึ่งเห็นว่า BOJ ควรพิจารณาแนวทางที่ชัดเจนในการบรรลุเป้าหมายดังกล่าว
  • องค์การอาหารและยา (FDA) ของสหรัฐได้อนุมัติให้ใช้วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ของบริษัทไฟเซอร์และบิออนเทคในเด็ก
อายุระหว่าง 12-15 ปีเป็นกรณีฉุกเฉินแล้ว ซึ่งจะช่วยให้การฉีดวัคซีนให้กับประชาชนในสหรัฐมีขอบข่ายที่กว้างมากขึ้น แม้อัตราการฉีดวัคซีน
ในขณะนี้เริ่มชะลอตัวลงก็ตาม

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ