ภาวะตลาดเงินบาท: เย็นนี้ 32.02 แนวโน้มอ่อนค่าจากความกังวลโควิดในปท. จับตาตัวเลขศก.สหรัฐ

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday June 29, 2021 16:23 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 32.02 บาท/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่เปิด ตลาดที่ระดับ 32.02/03 บาท/ดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับที่อ่อนค่าสุดในรอบ 13 เดือน นับตั้งแต่ พ.ค.63

วันนี้เงินบาทค่อนข้างผันผวน โดยระหว่างวันเคลื่อนไหวในกรอบ 31.92 - 32.05 บาท/ดอลลาร์ เงินบาทยังมีแนวโน้มอ่อน ค่าต่อเนื่อง จากสถานการณ์ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศ รวมถึงยอดการฉีดวัคซีนต่อวันที่เริ่มช้าลงเมื่อเทียบกับช่วงแรกๆ

ขณะที่ปัจจัยต่างประเทศ จับตาตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร เดือนมิ.ย.ของสหรัฐ ที่จะมีการรายงานในคืนวันศุกร์นี้

นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 31.90 - 32.10 บาท/ดอลลาร์

THAI BAHT SPOT RATE FIXING อยู่ที่ระดับ 31.9966 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 110.59 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 110.48/51 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1901 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1918 ดอลลาร์/ยูโร
  • ครม.เห็นชอบหลักการเยียวยาลูกจ้าง-ผู้ประกอบการ ใน 6 จังหวัดพื้นที่ควบคุมสูงสุด เป็นเวลา 30 วัน ประกอบด้วย
กรุงเทพฯ นนทบุรี สมุทรปราการ ปทุมธานี นครปฐม และสมุทรสาคร ซึ่งได้รับผลกระทบจากข้อกำหนด ฉบับที่ 25 ในมาตรา 9 ของ พ.
ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
  • ธนาคารแห่งประเทศไทย เผยเงินบาทที่อ่อนค่าแตะระดับ 32 บาท/ดอลลาร์ มีปัจจัยหลักมาจากต่างประเทศ เพราะไม่ใช่
เงินบาทสกุลเดียวที่อ่อนค่า แต่ค่าเงินของหลายประเทศในภูมิภาคก็อ่อนค่าเช่นกัน เพียงแต่เงินบาทอ่อนค่ามากกว่าสกุลเงินอื่น จาก
สถานการณ์ระบาดของโควิดในประเทศ ที่ผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตรายวันยังสูง รวมถึงยังไม่สามารถเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวได้
  • เครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชน นัดหมายมวลชนรวมตัวที่ทำเนียบรัฐบาลในวันที่ 5 ก.ค. เพื่อยื่นข้อเรียกร้องต่อ
รัฐบาล ในการฉีดวัคซีนต้านโควิดให้ประชาชนครบทุกคนภายในเดือนต.ค., การเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบผ่านรัฐสวัสดิการ และการปรับลด
งบประมาณสถาบัน โดยข้อเรียกร้องสำคัญ คือ นายกรัฐมนตรีต้องลาออก
  • กระทรวงฝ่ายกิจการภายในประเทศและการสื่อสารของญี่ปุ่น เปิดเผย อัตราว่างงานเดือนพ.ค.พุ่งขึ้นแตะระดับ 3% ซึ่ง
เป็นระดับสูงสุดในรอบ 5 เดือน โดยได้รับผลกระทบจากการที่รัฐบาลขยายพื้นที่ในการประกาศภาวะฉุกเฉินเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของ
โรคโควิด-19
  • เอสแอนด์พี โกลบอล เรทติ้งส์ (S&P) ปรับลดคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจของหลายประเทศในภูมิภาคเอเชีย รวม

ถึงอินเดีย ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย แต่ในขณะเดียวกัน ก็ได้ปรับเพิ่มคาดการณ์เศรษฐกิจจีน แอฟริกาใต้ และประเทศละตินอเมริกาส่วน

ใหญ่ โดยปัจจัยเสี่ยงสูงสุดที่ระบบเศรษฐกิจในตลาดเกิดใหม่ (EM) ต้องเผชิญในขณะนี้ คือ แผนระดมฉีดวัคซีนที่เป็นไปอย่างล่าช้ากว่าที่

คาด ปัจจัยเสี่ยงประการที่สอง คือ กรณีที่เศรษฐกิจสหรัฐเติบโตแข็งแกร่งและเงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้น จนธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) ตัดสินใจคุม

เข้มนโยบายการเงินเร็วขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่า


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ