ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 32.46 อ่อนค่าต่อเนื่องจากช่วงเช้า จับตาการยกระดับมาตรการควบคุมโควิด

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday July 8, 2021 17:39 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 32.46 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจากเปิด ตลาดเมื่อเช้าที่ระดับ 32.37 บาท/ดอลลาร์ หลังดอลลาร์ปรับตัวแข็งค่าเมื่อเทียบกับทุกสกุลเงินหลัก ยกเว้นเยน เนื่องจากความกังวลต่อ สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่มีเชื้อกลายพันธุ์

ขณะที่ในประเทศมีปัจจัยเกี่ยวกับการเตรียมยกระดับมาตรการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดมากขึ้น ระหว่างวันเคลื่อนไหว ในกรอบ 32.35 - 32.49 บาท/ดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับอ่อนค่าสุดในรอบ 14 เดือนนับตั้งแต่วันที่ 4 พ.ค.63

"บาทอ่อนค่าต่อเนื่องจากความกังวลต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด โดยต่างประเทศกังวลเรื่องการแพร่ระบาดของ เชื้อกลายพันธุ์ ส่วนในประเทศเป็นเรื่องการเตรียมยกระดับมาตรการควบคุม พอช่วงบ่ายมีข่าวออกมาก็ส่งผลให้บาทอ่อนค่าต่อเนื่อง" นัก บริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงินประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 32.40 - 32.55 บาท/ดอลลาร์ โดยปัจจัยที่ต้องจับ ตาดูช่วงนี้เป็นเรื่องสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 รวมทั้งสถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่มีความผันผวน

"พรุ่งนี้มีแนวต้านสำคัญอยู่ที่ 32.50 บาท/ดอลลาร์ หากหลุดไปได้อาจไปไกล" นักบริหารเงิน กล่าว
  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 109.90 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 110.53 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1833 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.1791 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,543.67 จุด ลดลง 32.93 จุด, -2.09% มูลค่าการซื้อขาย 110,954.67 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 21.66 ล้านบาท(SET+MAI)
  • ที่ประชุม EOC กระทรวงสาธารณสุข เตรียมเสนอมาตรการทางสังคมเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19
ในพื้นที่เสี่ยงและพื้นที่กันชนให้ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-9 (ศบค.) พิจารณา โดจะมีการจำกัดการเดินทางข้ามจังหวัด การห้ามออก
เคหะสถาน และปิดสถานที่เสี่ยงทั้งหมดเพื่องดการทำกิจกรรมร่วมกัน ยกเว้นตลาดหรือซูเปอร์มาร์เก็ต รวมถึงเน้น Work From Home
เป็นเวลา 14 วัน
  • รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเรียกประชุมศูนย์บริหาร
สถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) ชุดใหญ่ในวันที่ 9 ก.ค.นี้ เพื่อประเมินสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ที่มีความรุนแรง โดย
คาดว่าจะมีการพิจารณาข้อเสนอของฝ่ายสาธารณสุขให้ยกระดับมาตรการต่าง ๆ ก่อนที่จะนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ในสัปดาห์
หน้า
  • สำนักวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย (CIMBT) ระบุหากมีการประกาศล็อกดาวน์ทั้งประเทศเหมือนในปีก่อน อาจทำให้การ
บริโภคจะชอลอตัวอย่างชัดเจน แต่เชื่อว่าคงไม่ถึงขั้นทำให้เศรษฐกิจกลับไปติดลบ โดยคาดว่าจะเติบโตต่ำกว่า 1% จากคาดการณ์ที่ 1.3%
เนื่องจากปีนี้การส่งออกฟื้นกลับมาเติบโตได้มาก และการใช้จ่ายของภาครัฐที่เข้ามาหนุนการใช้จ่ายภาคประชาชนอย่างต่อเนื่อง
  • ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจฯ เผยดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเดือน มิ.ย.64 ปรับตัวลดลงมาที่ 43.1 จากระดับ
44.7 ซึ่งลดลงมาอยู่ที่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ในรอบ 272 เดือนหรือ 22 ปี 8 เดือนนับตั้งแต่ทำการสำรวจในเดือน ต.ค.41 เป็นต้น
มา
  • ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เล็งเห็นถึงความจำเป็นในการเร่งยกระดับโครงสร้างพื้นฐานของบริการทางการเงินดิ
จิทัล และได้ผลักดันให้เกิดโครงการความร่วมมือระหว่างธนาคารสมาชิกของสมาคมธนาคารไทย สมาคมสถาบันการเงินของรัฐ และสมาคม
ธนาคารนานาชาติ รวมทั้งสิ้น 29 แห่ง โดยได้ร่วมกันลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ การพัฒนามาตรฐานและใช้มาตรฐานข้อมูลดิจิทัล
เพื่อส่งเสริมบริการทางการเงิน
  • รายงานการจ้างงานประจำปีของ OECD ระบุว่า มาตรการรักษาการจ้างงานที่หลายประเทศใช้ในช่วงที่มีการแพร่ระบาด
ของโควิด-19 สูงสุด ได้ป้องกันการสูญเสียตำแหน่งงานราว 21 ล้านตำแหน่ง ถึงกระนั้น ประเทศร่ำรวยก็ยังคงเผชิญกับความเสี่ยงที่อัตรา
ว่างงานในระยะยาวจะพุ่งสูงขึ้น เนื่องจากแรงงานทักษะต่ำที่ตกงานในช่วงที่โควิด-19 แพร่ระบาดนั้น ยังไม่สามารถหางานใหม่ได้
  • ธนาคารกลางจีน (PBOC) แสดงความกังวลเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงจากสกุลเงินดิจิทัลของภาคเอกชน โดยเฉพาะสกุลเงินคริ
ปโตเคอเรนซีประเภท Stablecoin ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อระบบการเงินโลก
  • กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เปิดเผยว่า การที่รัฐบาลสหรัฐเดินหน้าใช้มาตรการด้านการคลังเพื่อกระตุ้น
เศรษฐกิจนั้น อาจเพิ่มแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ พร้อมกับเตือนว่า ความเสี่ยงของการที่ราคาผู้บริโภคพุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่องนั้น อาจผลักดันให้
ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดไว้

IMF ระบุว่า ปัจจัยขับเคลื่อนจากมาตรการกระตุ้นด้านการเงินและการคลังครั้งใหญ่อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ประกอบกับ การฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ทำให้เศรษฐกิจสหรัฐมีแนวโน้มที่จะขยายตัวราว 7% ในปีนี้ พร้อมระบุว่า การเปิดเศรษฐกิจจะกระตุ้นอัตราเงินเฟ้อที่เกิดจากการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่สูงขึ้นในช่วงหลายเดือนข้างหน้า

  • ที่ประชุมคณะบริหารของรัฐสภาจีนซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรีหลี่ เค่อเฉียงเป็นประธานได้ออกแถลงการณ์ว่า จีนจะเพิ่มการสนับ

สนุนระบบเศรษฐกิจที่แท้จริง ซึ่งรวมถึงธุรกิจรายย่อย และบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็ก หรือ SME โดยในการบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว

นั้น จีนจะใช้เครื่องมือด้านการเงิน เช่น การปรับลดสัดส่วนการกันสำรองของธนาคารพาณิชย์ (RRR) ในช่วงเวลาที่เหมาะสม


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ