ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 36.54 แข็งค่าสวนทางภูมิภาค ขานรับตัวเลขเงินเฟ้อไทย-เม็ดเงินไหลเข้าหนุน

ข่าวเศรษฐกิจ Monday September 5, 2022 17:36 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 36.54 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวแข็งค่าจาก เปิดตลาดเมื่อเช้าที่ระดับ 36.71 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 36.53 - 36.82 บาท/ดอลลาร์ วันนี้เงินบาท แข็งค่าสวนทางกับทุกสกุลเงินภูมิภาค ลักษณะนี้คาดว่ามี Flow ไหลเข้า เนื่องจากตลาดโลกส่วนใหญ่อ่อนค่าเทียบกับสกุลเงินดอลลาร์

ด้านกระทรวงพาณิชย์ วันนี้แถลงเงินเฟ้อเป็นไปตามตลาดคาด โดยพาณิชย์มองว่าเงินเฟ้อผ่านจุดสูงสุดแล้วในเดือนส.ค. ซึ่ง ถือเป็นสัญญาณที่ดี ด้านผู้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ก็ส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยแบบค่อยเป็นค่อยไป และเศรษฐกิจไทยยังมีแนวโน้มฟื้น ตัวต่อเนื่อง

"วันนี้เงินบาทแกว่งตัวกว้าง เงินบาทแข็งค่าอยู่สกุลเงินเดียว คาดมีกระแสเงินทุนไหลเข้า ต้องรอดูตลาดหุ้น" นักบริหาร
เงิน กล่าว

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 36.50 - 36.65 บาท/ดอลลาร์ โดยช่วงนี้ ตลาดโลกจับตาประเด็นวิกฤติพลังงานในยุโรปเป็นหลัก

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 140.38 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 140.18 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 0.9921 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 0.9921 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,622 จุด ลดลง 0.15 จุด (-0.01%) โดยมีมูลค่าการซื้อขาย 55,635 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 2,132.47 ลบ. (SET+MAI)
  • ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป
(CPI) ในเดือน ส.ค. 65 อยู่ที่ 107.46 ทำให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนส.ค. เพิ่มขึ้น 7.86% จากเดือนเดียวกันของปีก่อน และเมื่อ
เทียบกับเดือน ก.ค. 65 จะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเพียง 0.05% ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ย 8 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-ส.ค.) อยู่ที่
6.14%

ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core CPI) เดือนส.ค. 65 อยู่ที่ 103.59 ทำให้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเดือนส.ค.เพิ่ม ขึ้น 3.15% จากเดือนเดียวกันของปีก่อน และเมื่อเทียบกับเดือนก.ค. 65 จะเพิ่มขึ้น 0.09% ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ย 8 เดือน แรกของปีนี้ อยู่ที่ 2.16%

ผู้อำนวยการ สนค. ยังคาดว่า อัตราเงินเฟ้อในช่วงที่เหลือของปีนี้ จะมีแนวโน้มชะลอตัวลง เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อ ได้ผ่านจุดสูงสุดของปีนี้ไปแล้ว โดยทั้งปียังคงคาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยอยู่ที่ 6% หรือในกรอบที่ 5.5-6.5%

  • KKP Research โดยเกียรตินาคินภัทร ปรับประมาณการตัวเลขเศรษฐกิจของไทยปี 65 เป็น 3.4% และปรับตัวเลข
GDP ลงเหลือ 3.6% จาก 3.9% ในปี 66 โดยประเมินว่าเศรษฐกิจไทยในช่วงหลังจากนี้จะเจอกับทั้งปัจจัยบวกและลบ โดยภาคการท่อง
เที่ยวยังสามารถฟื้นตัวได้จากฐานที่อยู่ในระดับต่ำกว่าปกติ และคาดการณ์ว่าจำนวนนักท่องเที่ยวจะเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ 10.2 ล้านคนในปี 65
และ 18.5 ล้านคนในปี 66 ซึ่งเป็นปัจจัยบวกหลักที่จะช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย

ขณะที่ภาคการส่งออกมีแนวโน้มชะลอตัว คาดว่าในปี 66 สัญญาณเศรษฐกิจโลกจะเริ่มมีการชะลอตัวลงที่ชัดเจนขึ้น และโอกาส เข้าสู่ภาวะถดถอยจะมีมากขึ้นในช่วงปลายปี 66 ซึ่งเป็นผลส่วนหนึ่งจากการปรับดอกเบี้ยขึ้นอย่างรวดเร็วของธนาคารกลางทั่วโลก ทำให้ คาดการณ์ว่าการส่งออกของไทยจะหดตัวลงในปี 66

  • รายงานข่าวจากศาลรัฐธรรมนูญ เปิดเผยว่า ศาลรัฐธรรมนูญ ได้เรียกประชุมนัดพิเศษในวันที่ 8 ก.ย. นี้ เพื่อพิจารณาคดี
วาระการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 8 ปีของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หลังนายวรวิทย์ กังศศิเทียม ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ได้รับ
คำชี้แจงของพยาน 3 ปาก เรียบร้อยแล้ว
  • ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า กระทรวงพลังงาน เตรียมเสนอมาตรการบรรเทาผลกระทบด้านพลังงานแก่ประชาชน
ในด้านค่าไฟฟ้าและราคาก๊าซหุงต้ม (LPG) ตามมติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) เมื่อวันที่ 22 ส.ค. 65 เข้าสู่ที่ประชุม
คณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันที่ 13 ก.ย. 65 เพื่อเร่งช่วยเหลือด้านค่าครองชีพของประชาชนในภาวะปัจจุบัน
  • โพลล์หลายสำนักชี้ บรรดานักเศรษฐศาสตร์ผู้ทรงคุณวุฒิมีความเห็นไม่ตรงกันเรื่องแนวโน้มการเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยใน
สหรัฐ
  • นักเศรษฐศาสตร์หลายรายออกโรงเตือนว่า เอเชียมีแนวโน้มได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน หากสหรัฐเผชิญภาวะเศรษฐกิจ
ถดถอย แต่บางประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะได้รับผลกระทบมากกว่าประเทศอื่นๆ รวมถึงสิงคโปร์ และไทย
  • ผลสำรวจซึ่งมาร์กิตจัดทำร่วมกับไฉซิน ระบุว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเดือนส.ค. ของจีนอยู่ที่ระดับ
55 ลดลงจากระดับ 55.5 ในเดือนก.ค. เนื่องจากวิกฤตพลังงานและมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อ
ธุรกิจในภาคบริการของจีน
  • ผลสำรวจของเอสแอนด์พี โกลบอล แสดงให้เห็นว่า กิจกรรมธุรกิจของยูโรโซนหดตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 ในเดือนส.
ค. หลังอุปสงค์ทรุดตัว เนื่องจากประชาชนต่างระมัดระวังตัวเกี่ยวกับวิกฤตค่าครองชีพที่ทวีความรุนแรงขึ้น และแนวโน้มเศรษฐกิจที่ซบเซา
จำกัดการซื้อของผู้บริโภค
  • รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติจีนเปิดเผยในวันนี้ (5 ก.ย.) ว่า จีนจะยกระดับการส่งเสริม
เศรษฐกิจอย่างเหมาะสม และไตรมาสที่ 3/2565 มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการออกมาตรการเชิงนโยบาย โดยขณะนี้ เจ้าหน้าที่กำหนด
นโยบายกำลังพยายามอย่างยิ่งที่จะสกัดกั้นภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ