ภาวะตลาดเงินบาท: อ่อนค่าหลุด 37 ท่ามกลางหลายปัจจัยตปท.กดดัน ก่อนกลับมาปิดที่ 36.92

ข่าวเศรษฐกิจ Friday September 16, 2022 17:30 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 36.92 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจาก ช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 36.97 บาท/ดอลลาร์

ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 36.86 - 37.10 บาท/ดอลลาร์ โดยวันนี้เงินบาทลงไปแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบ 16 ปี ท่ามกลางแรงกดดันจากการทบทวนคาดการณ์ของตลาดต่อนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ว่ามีแนวโน้มเข้มงวดและ ยืดเยื้อ ขณะที่ราคาทองคำในตลาดโลกที่ร่วงลงแรง กระตุ้นการนำเข้าของผู้ค้าทองในประเทศ ถือเป็นการเพิ่มปัจจัยบาทอ่อนอีกทางหนึ่ง

"วันนี้เงินบาทอ่อนค่าสุดในรอบ 16 ปี ในภาพใหญ่ เงินบาทยังเกาะกลุ่มไปกับสกุลเงินภูมิภาค และความอ่อนแอของเงิน หยวน ผู้ร่วมตลาดคาดว่าทางการเข้าดูแลค่าเงินบาทเพื่อชะลอการอ่อนค่า ขณะที่วันนี้ ต่างชาติมียอดขายพันธบัตรไทยราว 4 พันล้านบาท" นักบริหารเงิน ระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า ต้นสัปดาห์หน้าเงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 36.90-37.15 บาท/ดอลลาร์ โดยนักลงทุนจะ ให้ความสนใจกับการประชุมเฟดวันที่ 21 ก.ย. เป็นหลัก

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 143.30 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 143.24 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 0.9977 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 0.9997 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,630.40 จุด ลดลง 11.93 จุด (-0.73%) มูลค่าการซื้อขาย 95,907 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 994.44 ลบ.(SET+MAI)
  • ธปท. เผยเงินบาทผันผวนแตะ 37 บาท/ดอลลาร์ เป็นผลจากหลายปัจจัยต่างประเทศ ทั้งคาดการณ์เฟดขึ้นดอกเบี้ยแรง,
การประเมินความเสี่ยงของค่าเงินในตลาดเกิดใหม่ในเอเชีย หลังเงินหยวนอ่อนค่าเหนือ 7 หยวน/ดอลลาร์ รวมทั้งราคาทองคำร่วง ซึ่ง
ธปท.ติดตามสถานการณ์ใกล้ชิด และพร้อมเข้าดูแลเมื่อเงินบาทผันผวนมากผิดปกติ แนะเอกชนบริหารความเสี่ยงค่าเงินอย่างสม่ำเสมอ
  • โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า กระทรวงการคลัง จะพิจารณานำสิทธิประมาณ 3.07 ล้านสิทธิ ที่ผู้ที่ได้รับ
สิทธิโครงการ คนละครึ่ง เฟส 5 แต่ไม่ได้ใช้จ่ายครั้งแรกภายในระยะเวลาที่กำหนด กลับมาเปิดโอกาสให้มีการลงทะเบียนอีกรอบ
  • กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เผย แนวโน้มเศรษฐกิจโลกยังคงมีความเสี่ยงที่จะเผชิญภาวะขาลง และคาดว่า
เศรษฐกิจของบางประเทศจะเข้าสู่ภาวะถดถอยในปี 2566 อย่างไรก็ดี ขณะนี้ยังเร็วเกินไปที่จะระบุว่า ภาวะเศรษฐกิจถดถอยจะลุกลาม
เป็นวงกว้างทั่วโลก
  • รองประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) ระบุว่า ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว หรือถดถอยของยูโรโซนนั้น ยังไม่เพียงพอที่จะ
ควบคุมเงินเฟ้อ โดย ECB จะต้องเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อไป
  • สหรัฐฯ ประกาศมาตรการคว่ำบาตรรัสเซียครั้งใหม่ ต่ออุตสาหกรรมกลาโหมและข่าวกรองทางทหารของรัสเซีย รวมถึงผู้ที่
ถูกกล่าวหาว่าขโมยพืชผลจากยูเครน โดยมีเป้าหมายที่จะจำกัดความสามารถในการทำสงครามของประธานาธิบดีวลาดิเมีย
ร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย
  • ธนาคารกลางจีน (PBOC) เปิดเผยว่า จีนตั้งเป้าจะรักษาเสถียรภาพของการจ้างงานและเงินเฟ้อ เพื่อหนุนรากฐานของ
การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ พร้อมย้ำว่า จีนจะดำเนินนโยบายการเงินที่รอบคอบ และจะไม่หันไปใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนานใหญ่
  • สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) รายงานว่า ราคาบ้านใหม่ของจีนในเดือนส.ค. ปรับตัวลงในอัตราที่รวดเร็วที่สุดนับตั้ง
แต่เดือนพ.ย. 2564 เนื่องจากตลาดอสังหาริมทรัพย์ของจีนยังคงได้รับผลกระทบจากภาวะอุปสงค์ชะลอตัว, การที่ประชาชนไม่ยอมจ่ายค่า
จำนองบ้าน และการที่จีนใช้มาตรการล็อกดาวน์เพื่อควบคุมโรคโควิด-19
  • ผู้ว่าการธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) เปิดเผยว่า มีความจำเป็นที่จะต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มใน
อนาคต เพื่อฉุดเงินเฟ้อกลับสู่กรอบเป้าหมายที่ 2 - 3% แม้ว่าจะทำให้ประชาชนจำนวนมากไม่พอใจก็ตาม
  • สัปดาห์หน้า จับตาการประชุมกำหนดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสำคัญ 3 ประเทศ ประกอบด้วย ธนาคาร
กลางสหรัฐ (FED) ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) และธนาคารกลางอังกฤษ (BOE)
  • ข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ ที่จะมีการรายงานในสัปดาห์หน้า ได้แก่ ดัชนีตลาดที่อยู่อาศัยเดือนก.ย. ตัวเลข

การเริ่มสร้างบ้านและการอนุญาตก่อสร้างเดือนส.ค., ยอดขายบ้านมือสองเดือนส.ค., จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานราย

สัปดาห์, ดุลบัญชีเดินสะพัดไตรมาส 2/2565 และ ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจเดือนส.ค.จาก Conference Board


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ