ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 38.35 อ่อนค่าจากช่วงเช้า หลังกนง.ขึ้นดอกเบี้ยตามคาด

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday September 28, 2022 17:40 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 38.35 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวอ่อนค่าจาก เปิดตลาดเมื่อเช้าที่ระดับ 38.00 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเงินบาทอ่อนค่าไปทำสถิติสูงสุดในรอบ 16 ปีที่ระดับ 38.46 บาท/ดอลลาร์ หลัง กนง.มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25% ขณะที่นักลงทุนต่างชาติขายพันธบัตร 3.7 พันล้านบาท

"วันนี้บาทผันผวนมาก หลังเปิดตลาดบาททยอยอ่อนค่าต่อเนื่อง แต่มาเร่งตัวมากหลัง กนง.มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ปรับขึ้นดอกเบี้ย อีก 0.25% จากที่ตลาดคาดว่า กนง.จะเสียงแตกให้ปรับขึ้นดอกเบี้ยมากกว่านี้ ขณะที่ตลาดกลัวดอลลาร์แข็งค่า พอขึ้นดอกเบี้ยน้อย นักลงทุน ปิดรับความเสี่ยงเทขายบาทออกมามาก" นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 38.25 - 38.50 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 144.72 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 144.78 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 0.9551 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 0.9575 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,599.23 จุด ลดลง 11.35 จุด, -0.70% มูลค่าการซื้อขาย 69,726.47 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 96.82 ล้านบาท (SET+MAI)
  • ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเอกฉันท์ให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปี จากปัจจุบันที่
0.75% เป็น 1.00% ต่อปี
  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา คาดในการประชุม กนง.รอบหน้าจะมีการปรับดอกเบี้ยนโยบายขึ้นอีก 0.25% และอาจจะมีการปรับ
ขึ้นอีกครั้งละ 0.25% อีก 2 ครั้งในไตรมาส 1 ของปี 2566 เพื่อให้การปรับอัตราดอกเบี้ยสู่ระดับ 1.75% จากปัจจุบันอยู่ที่ 1.00%
  • ธนาคารกรุงเทพ (BBL) ประกาศปรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้เพิ่มขึ้น โดยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากปรับเพิ่มขึ้น
0.15-0.50% ต่อปี ส่วนอัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อ เอ็มแอลอาร์ (MLR) หรืออัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินกู้แบบ
มีระยะเวลา (Minimum Loan Rate) เพิ่มขึ้น 0.40% ต่อปี เอ็มโออาร์ (MOR) หรืออัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภท
เงินเบิกเกินบัญชี (Minimum Overdraft Rate) เพิ่มขึ้น 0.375% ต่อปี และเอ็มอาร์อาร์ (MRR) หรืออัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้น
ดี (Minimum Retail Rate) เพิ่มขึ้น 0.30% ต่อปี โดยมีผลตั้งแต่ 29 กันยายน 65
  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คงประมาณการ GDP ของปี 65 ไว้ที่ 2.9% แม้ในปี 66 GDP จะขยายตัวเร่งขึ้นมาที่กรอบ 3.2-
4.2% โดยภาคการท่องเที่ยวยังเป็นแรงส่งหลัก ภาคส่งออกชะลอตามเศรษฐกิจโลก ภายใต้ภาครัฐที่ยังไม่มีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจออก
มา ขณะเดียวกันยังมีหลายปัจจัยเสี่ยงให้ติดตามทั้งเงินเฟ้อ การขึ้นดอกเบี้ย และภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจคู่ค้าหลายประเทศ
  • กระทรวงอุตสาหกรรม เผยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือน ส.ค.65 อยู่ที่ระดับ 99.28 ขยายตัวเพิ่มขึ้น
14.52% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยช่วง 8 เดือนแรก (ม.ค.-ส.ค.) ดัชนี MPI เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 99.81 ขยายตัวเพิ่มขึ้น 2.72%
จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนอัตราการใช้กำลังการผลิต (CapU) ในเดือน ส.ค.65 อยู่ที่ระดับ 63.78% เพิ่มขึ้นจากระดับ 60.77%
ในเดือน ก.ค.65 โดยอัตราการใช้กำลังการผลิตในช่วง 8 เดือนแรกเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 63.43%
  • กระทรวงพาณิชย์ เผยสถิติการจดทะเบียนธุรกิจใหม่ทั่วประเทศในเดือน ส.ค.65 มีจำนวน 7,418 ราย เพิ่มขึ้น 33%
จากเดือนเดียวกันปีก่อนที่มี 5,553 ราย และเพิ่มขึ้น 1,560 รายจากเดือนก่อนหน้า หรือคิดเป็น 27% โดยมีทุนจดทะเบียน 24,393.41
ล้านบาท เพิ่มขึ้น 106% จากเดือนเดียวกันปีก่อนที่มีทุนจดทะเบียน 11,833.29 ล้านบาท แต่ลดลง 16% จากเดือนก่อนหน้า
  • รัฐบาลเผยผลการดำเนินโครงการ/แผนงานตาม พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยาและ
ฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทั้ง 19 โครงการ ระหว่างเดือน ม.ค.-มิ.
ย.65 สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจจำนวน 2.65 ล้านล้านบาท มีรายได้กลับคืนภาครัฐจำนวน 5.12 แสนล้านบาท เกิดความคุ้มค่าต่อ
การใช้จ่ายงบประมาณ 3.24 เท่า
  • องค์การการค้าโลก (WTO) มีแนวโน้มที่จะปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของการค้าโลกในปี 2565 ในเดือนหน้า ส่วนใน
เดือนเม.ย.ที่ผ่านมา WTO ได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของการค้าโลกในปี 2565 ลงสู่ระดับ 3% จากตัวเลขคาดการณ์เดิมที่ระดับ
4.7%
  • องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) เปิดเผยรายงานคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจโลกในปี 2566
จะขยายตัว 2.2% ลดลงจากตัวเลขคาดการณ์เดิมที่ระดับ 2.8% เนื่องจากเศรษฐกิจถูกกดดันจากการที่ธนาคารกลางในกลุ่มประเทศพัฒนา
แล้วพากันใช้นโยบายคุมเข้มด้านการเงินเพื่อสกัดเงินเฟ้อ
  • รัฐมนตรีคลังสหรัฐเปิดเผยว่า สหรัฐกำลังจับตาสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของอังกฤษ หลังจากรัฐบาลอังกฤษประกาศแผน
การคลังซึ่งส่งผลให้เงินปอนด์ร่วงลงแตะระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์เมื่อเทียบกับดอลลาร์
  • ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เปิดเผยรายงานการประชุมนโยบายการเงินประจำเดือนก.ค.ในวันนี้ โดยระบุว่า กรรมการ

BOJ มีความเห็นตรงกันว่า BOJ จะต้องดำเนินการตรวจสอบว่า การร่วงลงอย่างหนักของเงินเยนในช่วงที่ผ่านมานั้น จะส่งผลกระทบต่อ

ภาวะเงินเฟ้ออย่างไร


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ