บอร์ดอีอีซีเร่งรัดลงทุนเล็งตั้งทีม Investor Relations ร่วม BOI-กนอ. "ไฮสปีด-เมืองการบิน"เตรียม NTP ม.ค.67

ข่าวเศรษฐกิจ Monday December 11, 2023 09:05 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

บอร์ดอีอีซีเร่งรัดลงทุนเล็งตั้งทีม Investor Relations ร่วม BOI-กนอ.

นายจุฬาสุขมานพเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี)เปิดเผยว่าที่ประชุมคณะกรรมการเร่งรัดการลงทุนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกครั้งที่1/2566เมื่อวันที่8ธันวาคม2566ที่มีนายสุริยะจึงรุ่งเรืองกิจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นประธานได้พิจารณาเห็นชอบข้อเสนอการบูรณาการทำงาน ร่วมกันของหน่วยงานส่งเสริมการลงทุน ได้แก่ สกพอ. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) และการนิคม อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เพื่อลดความซ้ำซ้อนการดำเนินงานหน่วยงานภาครัฐ และเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน ของประเทศ ที่สำคัญ ๆ

บอร์ดอีอีซีเร่งรัดลงทุนเล็งตั้งทีม Investor Relations ร่วม BOI-กนอ.

อาทิ ด้านพื้นที่การให้สิทธิประโยชน์ สกพอ. จะให้สิทธิประโยชน์เฉพาะในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ ตามมาตรา 48 ของ พ.ร.บ. เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ 35 เขต แบ่งเป็นพื้นที่ในนิคมอุตสาหกรรม 28 แห่ง และพื้นที่เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเพื่อกิจการพิเศษ 7 แห่ง โดยพื้นที่นอกเหนือเขตส่งเสริมฯ ดังกล่าว จะเป็นไปตามกฎหมาย ของบีโอไอและ กนอ. ด้านผู้รับสิทธิประโยชน์ สกพอ. จะให้สิทธิประโยชน์แก่ผู้ประกอบการใน 12 อุตสาหกรรมเป้าหมาย และ ต้องเป็นโครงการที่ไม่เคยได้รับการส่งเสริมลงทุน และไม่ได้ใช้สิทธิประโยชน์ร่วมกับโครงการจากบีโอไอมาก่อน กรณีโครงการเคย ได้รับส่งเสริมลงทุนจากบีโอไอ สกพอ. จะพิจารณาเฉพาะสิทธินอกเหนือ เช่น สิทธิประโยชน์ถือครองห้องชุด สิทธิประโยชน์ ยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายศุลกากร เป็นต้น

บอร์ดอีอีซีเร่งรัดลงทุนเล็งตั้งทีม Investor Relations ร่วม BOI-กนอ.

ด้านการอนุมัติอนุญาตตามกฎหมาย สกพอ. ได้มีระบบบริการภาครัฐแบบ เบ็ดเสร็จครบวงจร (EEC One Stop Service) รองรับการอนุมัติ อนุญาต ออกใบอนุญาต รับแจ้งจดทะเบียนตามกฎหมายต่างๆ เช่น กฎหมายว่าขุดดินถมดิน การควบคุมอาคาร การจดทะเบียนเครื่องจักร กฎหมายคนเข้าเมือง เป็นต้น ซึ่งจำเป็นต้องร่วมกับ บีโอไอ และกนอ. เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการทำงาน โดยสิทธิประโยชน์ของสกพอ. จะเริ่มตั้งแต่ 1 มกราคม 2567

ทั้งนี้ ที่ประชุมฯ ได้มอบหมายให้ สกพอ. บีโอไอ และกนอ. และหน่วยงานที่เกียวข้อง มีคณะทำงานร่วมกัน ทำหน้าที่ เป็นกลุ่มนักลงทุนสัมพันธ์ (Investor Relations) เพื่อเป็นศูนย์กลางรับรองนักลงทุนที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศไทย และ ประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ได้พิจารณาเรื่องการขยายพื้นที่ตั้งโรงงานอุตสาหกรรมโดยให้อีอีซีหารือกรมโยธาธิการ(ยผ.)เรื่องผังสีเนื่องจากตามกฎหมายผังเมืองจะต้องตั้งอยู่บนผังเมืองสีม่วงเท่านั้นซึ่งมีการหารือกันว่าผังเมืองสีเหลืองควรแบ่งไปสร้างโรงงานได้และยังหารือประเด็นการจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม(EIA)ที่ต้องเก็บข้อมูลปฐมภูมิที่เกี่ยวกับอากาศและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ให้ครบทุกฤดูใช้เวลามากกว่า1ปีจึงมอบให้อีอีซีหารือกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมขอใช้รายงานข้อมูลทุติยภูมิจากพื้นที่ใกล้เคียงที่มีอยู่แล้วแทนเพื่อลดเวลาเก็บข้อมูลในการทำรายงานEIAเพื่อสามารถนำพื้นที่มาพัฒนาได้เร็วขึ้น สำหรับโครงการโครงสร้างพื้นฐาน ภายใต้ EEC Project Lists นายจุฬากล่าวว่า ที่ประชุม ฯ ได้รับทราบความก้าวหน้า โครงการลงทุน 4 โครงสร้างพื้นฐานหลักของอีอีซี มีรายละเอียดสำคัญ ๆ ดังนี้

1. โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน มีมติให้เร่งรัดการส่งมอบพื้นที่ส่วนที่เหลือ ช่วงพญาไทถึงบางซื่อให้ เสร็จภายใน พ.ค.2567 ส่วนพื้นที่อื่น มีความพร้อมสำหรับการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงและพื้นที่เชิงพาณิชย์ (transit oriented development, TOD) แล้ว คงเหลือแต่รอให้เอกชนคู่สัญญาส่งเอกสารไปที่บีโอไอเพื่อรับบัตรส่งเสริมการลงทุน เพื่อครบเงื่อนไข เริ่มต้นโครงการที่กำหนดในสัญญา ซึ่ง รฟท จะเร่งรัดเอกชนคู่สัญญาให้แล้วเสร็จภายใน ม.ค. 2567

ทั้งนี้ การออก NTP ให้เอกชนเริ่มงาน มีเงื่อนไขต้องให้บริษัทเอเชียเอราวันจำกัดเอกชนคู่สัญญารับบัตรส่งเสริมการลงทุนซึ่งอยู่ระหว่างส่งเอกสารเพิ่มเติมและมีการขยายเวลาล่าสุดจะสิ้นสุดวันที่22ม.ค. 2567 หากไม่มีการขยายเวลาจะมีผลกระทบ ดังนั้นเมื่อวันที่22พ.ย. 2566รฟท.ได้มีหนังสือหารือสำนักงานอัยการสูงสุดเพื่อขอความชัดเจนว่าหากเอกชนยังไม่ได้รับบัตรส่งเสริมและไม่ไปจดทะเบียนการเช่าพื้นที่TODรฟท.จะสามารถยกเว้นเงื่อนไขและออกNTPได้หรือไม่ หาก ทำได้ รฟท.จะออก NTP ในเดือนม.ค.67

ส่วนการแก้ไขสัญญาร่วมทุนเงื่อนไข"เหตุสุดวิสัย"กรณีที่มีการแพร่ระบาดของโรคหรือมีสงครามที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินโครงการและมีการตกลงเงื่อนไขให้เอกชนผ่อนชำระค่าสิทธิร่วมลงทุนโครงการแอร์พอร์ตเรลลิงก์(ARL)จำนวน10,671.09ล้านบาทนั้นจะหารือในวันที่13ธ.ค.2566จากนั้นจะส่งร่างสัญญาร่วมทุนฯแก้ไขเพิ่มเติมให้สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจหลังจากนั้นจะเสนอกพอ.และเสนอครม.ต่อไปโดยหลังแก้ไขสัญญาร่วมทุนฯเอกชนคู่สัญญาต้องชำระค่าสิทธิARLจำนวน3งวดแรกสำหรับปี2564 ,2565,2566ส่วนงวดที่4จะชำระในวันที่24ตุลาคม2567

2. โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก มีมติให้เร่งรัดกองทัพเรือประกาศจัดซื้อจัดจ้าง งานก่อสร้างทางวิ่ง 2 และทางขับ ภายในกลาง ธ.ค. 2566 และเร่งรัดให้ สกพอ. รฟท. และเอกชนคู่สัญญาโครงการรถไฟ ความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินและเอกชนคู่สัญญาโครงการสนามบินอู่ตะเภาสรุปแผนการทำงานร่วมกัน เพื่อให้เงื่อนไขการเริ่มต้นโครงการครบสมบูรณ์ตามที่กำหนดในสัญญา และโครงการสนามบินอู่ตะเภา สามารถเริ่มก่อสร้างได้ภายใน ม.ค. 2567

โดยได้เร่งรัด ให้สกพอ.รฟท.และเอกชนคู่สัญญารถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินและเอกชนคู่สัญญาสนามบินอู่ตะเภาสรุปแผนการทำงานร่วมกันเรื่องอุโมงค์รถไฟลอดใต้รันเวย์ด้วย

ทั้งนี้ การก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 การเตรียมให้บริการการเดินอากาศ ของบริษัท วิทยุการบินแห่ง ประเทศไทย จำกัด โครงการศูนย์ฝึกอบรมบุคลากรด้านการบินและอวกาศอู่ตะเภา สถาบันการบินพลเรือน โครงการศูนย์ซ่อม บำรุงอากาศยานอู่ตะเภา บมจ.การบินไทย (THAI) โครงการพัฒนาการให้บริการอุตุนิยมวิทยาการบิน อยู่ระหว่างการ ดำเนินการตามแผนงานที่กำหนดเพื่อเตรียมรองรับการให้บริการต่อไป

3. โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 มีมติให้ การท่าเรือแห่งประเทศไทยเร่งรัด และกำกับการก่อสร้างงาน ถมทะเล (Infrastructure) ให้แล้วเสร็จและส่งมอบพื้นที้ให้เอกชนคู่สัญญาภายใน พ.ย. 2568 ตามที่กำหนดในสัญญาร่วมลงทุน และคาดว่าเอกชนคู่สัญญาจะก่อสร้างโครงสร้างท่าเรือ (Superstructure) ในส่วนท่าเรือ F1 แล้วเสร็จและเปิดบริการปลายปี 2570

4. โครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 มีมติให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ติดตาม การถมทะเล (Infrastructure) ของเอกชนคู่สัญญา ให้แล้วเสร็จภายในธ.ค. 2567 (ปัจจุบันงานมีความคืบหน้าแล้วประมาณ 69.64%) และคาดว่าเอกชนคู่สัญญาจะก่อสร้างโครงสร้างท่าเรือก๊าซเสร็จและเปิดเบริการต้นปี 2570


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ