ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 34.89 เคลื่อนไหวไร้ทิศทาง รอลุ้นตัวเลข CPI สหรัฐ

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday January 9, 2024 17:34 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้ อยู่ที่ระดับ 34.89 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจาก ช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 34.97 บาท/ดอลลาร์

ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 34.81-35.01 บาท/ดอลลาร์ วันนี้ภาพรวมการเคลื่อนไหวของเงินบาทยังไร้ทิศ ทาง ตลาดรอปัจจัยใหม่ โดยเฉพาะตัวเลข CPI ของสหรัฐฯ ที่จะมีการรายงานในคืนวันพฤหัสฯ นี้

อย่างไรก็ดี ตลาดให้ความสนใจต่อข่าวที่นายกรัฐมนตรี อยากให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ทบทวนการปรับขึ้น ดอกเบี้ย เพราะมีความกังวลว่าจะเป็นการเข้าไปแทรกแซงนโยบายการเงิน

"ระหว่างวัน เงินบาทยังไร้ทิศทาง คาดว่ารอดูปัจจัยตัวเลข CPI ของสหรัฐฯ วันพฤหัสนี้" นักบริหารเงินระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 34.80 - 35.10 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยน อยู่ที่ระดับ 143.91 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 143.55 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.0941 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าระดับ 1.0960 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,414.93 จุด ลดลง 3.52 จุด (-0.25%) มูลค่าการซื้อขาย 42,573.95 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 1,061.46 ล้านบาท
  • นายกรัฐมนตรี นัดหารือกับผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ช่วงบ่ายวันพรุ่งนี้ (10 ม.ค.) ซึ่งมีประเด็นที่ต้อง
พูดคุยกันในหลายเรื่อง หลังมีความเห็นไม่ตรงกัน รวมทั้งจะหารือกับนายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.คลัง กรณีหุ้นกู้หลายแห่งที่เริ่มมีปัญหา ว่า
จะส่งสัญญาณใดต่อเศรษฐกิจประเทศหรือไม่
  • รมช.คลัง เตรียมจะเรียกสมาคมสถาบันการเงินของรัฐ มาหารือ โดยยอมรับว่ากระทรวงการคลังมองเห็นถึงปัญหาอัตรา
ดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูง ซึ่งเป็นภาระของประชาชน และที่ผ่านมา แบงก์รัฐก็ได้มีการตรึงอัตราดอกเบี้ยมามากพอสมควร
  • ธนาคารออมสินประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายย่อย (MRR) หลังจากตรึงอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานไว้ในระดับต่ำจน
ถึงสิ้นปีที่ผ่านมา โดยประกาศดอกเบี้ย MRR จากเดิม 6.995% ลดลงเหลือ 6.845% มีผลตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป เพื่อช่วยเหลือบรรเทาภาระ
ทางการเงินของประชาชนในช่วงระยะนี้ไปจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง นับเป็นอัตราดอกเบี้ย MRR ที่ต่ำสุดในระบบธนาคาร ณ เวลานี้
  • ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) หรือสภาผู้ส่งออก คาดแนวโน้มการส่งออกในปี 2566 มีมูลค่า
2.85 แสนล้านดอลลาร์ หรือหดตัว 1% ตามกรอบที่เคยประเมินไว้ในก่อนหน้านี้ หลังภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของไทย 11 เดือน
(ม.ค.-พ.ย.) เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) พบว่า ไทยส่งออกรวมมูลค่า 261,770.3 ล้านดอลลาร์ หดตัว 1.5% แม้ส่ง
ออกในช่วงไตรมาส 4/66 กลับมาขยายตัวเป็นบวกได้
  • ทางการจีน ส่งสัญญาณว่าอาจจะปรับลดสัดส่วนการกันสำรองของธนาคารพาณิชย์ (RRR) ลงอีก โดยมีเป้าหมายที่จะกระตุ้น
การปล่อยกู้ในภาคธนาคาร แม้ว่า PBOC ได้จัดหาสภาพคล่องจำนวนมากผ่านทางเครื่องมืออื่น ๆ ไปแล้วในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมาก็ตาม
  • รัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยข้อมูลดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core CPI) ซึ่งไม่รวมราคาอาหารสด แต่รวมเชื้อเพลิง ในกรุง
โตเกียว เมืองหลวงของประเทศญี่ปุ่น ปรับตัวขึ้น 2.1% ในเดือนธ.ค. 2566 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ซึ่งเป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ โดย
ชะลอตัวจากระดับ 2.3% ในเดือนพ.ย.
  • ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) กล่าวว่า เป็นสิ่งสำคัญที่จะคงนโยบายการเงินผ่อนคลายเป็นพิเศษไว้จนกว่าอัตราเงิน
เฟ้อที่เกิดจากการเพิ่มขึ้นของต้นทุน จะถูกแทนที่ด้วยการปรับตัวสูงขึ้นของราคาสินค้าที่ขับเคลื่อนด้วยอุปสงค์ และได้แรงหนุนจากการปรับขึ้น
ค่าแรง
  • ธนาคารกลางเกาหลีใต้ (BOK) เปิดเผยว่า ดุลบัญชีเดินสะพัดเดือนพ.ย. 2566 ของเกาหลีใต้ เกินดุลอยู่ที่ 4.06 พัน

ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากระดับเกินดุล 6.8 พันล้านดอลลาร์ในเดือนต.ค.


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ