ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 36.33 รอลุ้นผลประชุม กนง. ให้กรอบวันนี้ 36.20-36.50

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday April 10, 2024 09:25 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เช้านี้เงินบาทเปิดตลาดที่ระดับ 36.33 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวแข็งค่า จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 36.39 บาท/ดอลลาร์ ซึ่งน่าจะมาจากการเทขายดอลลาร์ทำกำไรของผู้ค้าทอง ขณะที่เงินทุนต่างประเทศย้ายสลับลง ทุนระหว่างตลาดพันธบัตรกับตลาดหุ้นในปริมาณใกล้เคียงกันราว 8 พันล้านบาท

ส่วนปัจจัยในประเทศ วันนี้ตลาดรอดูผลประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) โดยคาดว่าจะมีมติให้คงอัตราดอกเบี้ย ไว้เท่าเดิม แต่เสียงเริ่มแตก 4:3 ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณที่จะปรับลดดอกเบี้ยในอนาคต หากวันนี้ กนง.มีมติลดดอกเบี้ยจะเป็นปัจจัยหนุนให้ เงินบาทปรับตัวอ่อนค่าทันที

"บาทแข็งค่าต่อเนื่องจากเมื่อวานน่าจะมาจากแรงขายดอลลาร์ทำกำไรจากผู้ค้าทอง วันนี้ตลาดรอดู กนง.ซึ่งคาดว่าจะมีมติคง อัตราดอกเบี้ยแต่เสียงเริ่มแตก" นักบริหารเงินฯ กล่าว

นักบริหารเงินฯ ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 36.20-36.50 บาท/ดอลลาร์

SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 36.30000 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ 151.67 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 151.81 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ 1.0854 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.0866 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 36.558 บาท/ดอลลาร์
  • ติดตามคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในช่วงบ่ายวันนี้ ซึ่งตลาดมีทั้งคาดการณ์ว่า กนง.จะยังคงดอกเบี้ย
นโยบาย รวมถึงลดดอกเบี้ยนโยบาย แต่ต้องจับตาไปที่การให้ความเห็นต่อทิศทางเศรษฐกิจ รวมถึงดูว่าจะมีการส่งสัญญาณทิศทางดอกเบี้ยใน
ระยะต่อไปอย่างไร
  • นายแบงก์ประสานเสียงบี้กนง.ลดดอกเบี้ย 2 รอบก่อนกลางปีที่ระดับ 2% ลุ้นประเดิมนัดแรก 10 เม.ย.นี้ เพื่อหนุนกำลัง
ซื้อและลดภาระหนี้กลุ่มเปราะบาง
  • ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ฯ คาดหุ้นไทยถึงจุดเปลี่ยน กลับมาปรับขึ้นได้ จากการเริ่มเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐ กระตุ้น
เศรษฐกิจ หวังดึงกระแสเงินทุนหรือฟันด์โฟลว์ไหลกลับ รับการจับจ่ายใช้สอยและการลงทุนในประเทศมากขึ้น ลุ้น! แนวโน้ม กนง.ลด
ดอกเบี้ยมีสูงขึ้น
  • "นายกฯ" ให้ติดตามวันนี้ แถลงใหญ่ "ดิจิทัลวอลเล็ต" อย่าคาดเดาแหล่งที่มาของเงินให้สับสน บอกไม่มีเซอร์ไพรส์
ทุกอย่างเป็นไปตามคาด
  • ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันอังคาร (9 เม.
ย.) ขณะที่นักลงทุนจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) และรายงานการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เพื่อประเมินแนว
โน้มเงินเฟ้อและทิศทางอัตราดอกเบี้ยของเฟด นอกจากนี้ นักลงทุนยังจับตาท่าทีของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) อย่างใกล้ชิด หลังจากผู้ว่า
การ BOJ ส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันอังคาร (9 เม.ย.) เนื่องจากนักลงทุนยังคงเข้าซื้อทองคำอย่างคึกคัก ท่ามกลาง
ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ ขณะเดียวกันนักลงทุนจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) และรายงานการประชุมของธนาคารกลาง
สหรัฐ (เฟด) เพื่อหาสัญญาณที่ชัดเจนเกี่ยวกับช่วงเวลาที่เฟดจะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ย
  • นักลงทุนรอธนาคารกลางนิวซีแลนด์และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประกาศอัตราดอกเบี้ยนโยบาย รวมถึงการเปิด
เผยตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐที่มีกำหนดเปิดเผยในวันนี้
  • ผลการสำรวจของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขานิวยอร์ก พบว่า คาดการณ์เงินเฟ้อของผู้บริโภคในระยะเวลา 1 ปี
ข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 3.0% ไม่เปลี่ยนแปลงจากคาดการณ์ก่อนหน้านี้
  • นักลงทุนพากันเพิ่มคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะคงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนมิ.ย. หลังสหรัฐเปิด
เผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรที่แข็งแกร่ง ซึ่งจะเป็นปัจจัยทำให้เฟดตรึงอัตราดอกเบี้ยในระดับสูงเป็นเวลานานกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้
  • กระทรวงแรงงานสหรัฐมีกำหนดเปิดเผย CPI ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค ประจำเดือนมี.ค.ใน
วันนี้ ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ดัชนี CPI ทั่วไป (Headline CPI) ซึ่งรวมหมวดอาหารและพลังงาน จะเพิ่มขึ้น 3.4% ในเดือนมี.
ค. เมื่อเทียบรายปี หลังจากปรับตัวขึ้น 3.2% ในเดือนก.พ. และคาดว่าดัชนี CPI พื้นฐาน (Core CPI) ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและ
พลังงาน จะเพิ่มขึ้น 3.7% ในเดือนมี.ค. เมื่อเทียบรายปี หลังจากที่ปรับตัวขึ้น 3.8% ในเดือนก.พ.
  • นักลงทุนยังจับตารายงานการประชุมนโยบายการเงินของเฟดประจำวันที่ 19-20 มี.ค. ซึ่งจะมีการเปิดเผยในวันนี้ตาม
เวลาสหรัฐ
  • ข้อมูลเศรษฐกิจด้านอื่น ๆ ของสหรัฐในสัปดาห์นี้ ได้แก่ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ดัชนีราคาผู้ผลิต
(PPI) เดือนมี.ค. และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคขั้นต้นเดือนเม.ย.จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ