เชฟรอนและบริษัทพันธมิตรได้อนุมัติให้มีการดำเนินโครงการก๊าซกอร์กอนที่ออสเตรเลียแล้ว นับเป็นการปูทางสู่การจำหน่ายก๊าซที่คาดว่าจะทำรายได้ 3 แสนล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย หรือ 2.58 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐในจีน อินเดีย และญี่ปุ่นในช่วง 20 ปีแรก
โครงการดังกล่าวจะใช้ต้นทุนประมาณ 4.3 หมื่นล้านดอลลาร์ออสเตรเลียในการดำเนินการขั้นตอนแรก ซึ่งจะมีการก่อสร้างโรงงานผลิตก๊าซธรรมชาติเหลวหรือแอลเอ็นจีในทันทีที่เกาะแบร์โรว์ ซึ่งอยู่นอกชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ
เชฟรอนระบุว่า โครงการกอร์กอนจะสามารถส่งออกก๊าซแอลเอ็นจีได้ในปริมาณ 15 ล้านเมตริคตันต่อปีในปี 2557
โทนี่ เรแกน ที่ปรึกษาของบริษัทไทร-เซน อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า ค่อนข้างจะเป็นเรื่องที่ชัดเจนแล้วว่า ออสเตรเลียจะเป็นแหล่งผลิตก๊าซรายใหญ่สุดป้อนตลาดเอเชีย
ออสเตรเลียได้อนุมัติโครงการลงทุนในลักษณะร่วมทุนของบริษัท เชฟรอน คอร์ป และกอร์กอนมูลค่า 4.2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งถือเป็นโครงการด้านพลังงานที่ใหญ่ที่สุดในประเทศที่จะผลิตพลังงานป้อนให้กับจีน อินเดีย และญี่ปุ่น
บลูมเบิร์กรายงานว่า กอร์กอนเป็นหนึ่งในบริษัทที่ได้เสนอโครงการก๊าซแอลเอ็นจีนเข้ามาให้กับออสเตรเลียและปาปัวนิวกินี ในขณะที่เกิดเหตุน้ำมันรั่วไหลในทะเลติมอร์เมื่อ 5 วันที่แล้ว ส่งผลให้เกิดความกังวลเรื่องการสำรวจหาแหล่งแก๊ซและน้ำมัน
เกวิน เวนด์ท นักวิเคราะห์อาวุโสด้านทรัพยากรของแฟท พอรเฟทส์ ฟันด์ส แมเนจเมนท์ กล่าวว่า ช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับกอร์กอนในแง่ของดีมานด์ก๊าซแอลเอ็นจีในเอเชียที่ขยายตัวขึ้น โดยเฉพาะจีน