
ในที่สุดร่างกฎหมาย Genius Act ที่ส่งผลต่อ Stablecoin ทั่วโลกก็ผ่านอย่างเป็นทางการ เป็นกฎหมายที่จะชี้ชัดเกี่ยวกับทิศทางของ Stablecoin รวมถึงการนำสินทรัพย์มาค้ำประกัน สอดคล้องกับราคาคริปโทเคอร์เรนซีที่ดีดตัวขึ้นมาก เปิดประตูความเชื่อมั่นสู่โลกคริปโทฯ แก่ทุกคนในโลกว่า Stablecoin จะไม่ใช่เงินโทเคนเสกอีกต่อไป!!
ร่างกฎหมาย Genius Act ของสหรัฐอเมริกาได้ผ่านเป็นที่เรียบร้อยแล้ว!! แต่ Genius Act คืออะไร จะผลักดัน Stable coin ได้อย่างไร??
GENIUS Act หรือ Guiding and Establishing National Innovation for U.S. Stablecoins เป็นร่างกฎหมายที่เข้ามาแก้ปัญหาวิกฤตความเชื่อมั่น และความไม่ชัดเจนทางกฎหมาย ซึ่งกัดกร่อนตลาด Stablecoin มาอย่างยาวนาน
หากใครนึกภาพไม่ออก ให้นึกถึงการล่มสลายของ Luna-Terra หรือเหตุการณ์ที่ USDC เกิดการหลุด Pegg จากมูลค่า 1 ดอลลาร์ในช่วงวิกฤตธนาคาร Silicon Valley Bank เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของความเสี่ยงที่เกิดขึ้นเมื่อไม่มีการกำกับดูแลที่รัดกุม
หัวใจสำคัญของกฏหมายฉบับนี้คือ
1. เน้นไปที่การกำกับดูแล Payment Stablecoins ที่มีมูลค่าผูกติดกับเงินเฟียต และสามารถแลกคืนได้แบบ 1:1
2. Stablecoin แบบ Algorithm หรือแบบที่ใช้สินทรัพย์ดิจิทัลอื่นค้ำประกัน ไม่รวมอยู่ในกฏหมายนี้ด้วย ซึ่งชัดเจนว่ากฏหมายนี้เน้นสร้างความปลอดภัยด้วยโมเดล Stablecoin ที่ใช้สินทรัพย์จริงค้ำประกันซึ่งมีความปลอดภัยสูงกว่า
กฏหมายนี้ระบุอย่างชัดเจนว่า Payment Stablecoins ไม่ใช่ "หลักทรัพย์ (securities)" หรือ "สินค้าโภคภัณฑ์ (Commodities) กำหนดนิยามขึ้นมาใหม่โดยเฉพาะ ถือเป็นชัยชนะของอุตสาหกรรมคริปโทฯ การยอมรับทางกฏหมายที่ชัดเจนโดยไม่ต้องอยู่ภายใต้กรอบกฏหมายหลักทรัพย์อายุกว่าร้อยปี ถือเป็นการเปิดประตูบานใหญ่ และอาจกลายเป็นต้นแบบของกฏหมายที่จะใช้กับสินทรัพย์ดิจิทัลอื่นๆ ในอนาคต
สิ่งเหล่านี้ตรงกับที่ Paul Atkins ประธาน SEC คนปัจจุบันได้ระบุไว้ในแถลงการณ์ว่า เรานำหลักเกณฑ์การกำกับดูแลแบบเก่าๆ มาใช้กับสินทรัพย์ดิจิทัลที่พึ่งเกิดขึ้นมาไม่ได้ แถมล่าสุดมีนักข่าวถาม Paul Atkins เกี่ยวกับ Ethereum ซึ่ง Paul Atkins ก็ตอบอย่างชัดเจนว่า Ethereum ไม่ใช่ Securities !!
และถึงแม้ GENIUS Act จะกลายเป็นกฏหมายที่บังคับใช้ในสหรัฐฯ เท่านั้น แต่เราต้องไม่ลืมว่า ระบบเงินเฟียตที่เราใช้งานกันอยู่ ก็ถูกวางรากฐานโดยสหรัฐฯ เช่นกัน และในวันนี้ สหรัฐอเมริกาก็ได้เริ่มตอกเสาเข็มที่อาจจะกลายเป็นฐานให้กับ Stablecoin ทั่วโลกในอนาคต ต้องจับตาดูกันต่อไปว่า สุดท้ายแล้วกฏหมายนี้จะเข้าพัฒนาวงการคริปโท หรือจะฉุดรั้งมันด้วยความเข้มงวด
สัปดาห์นี้ สำนักงาน ก.ล.ต.บ้านเรามีการออกเกณฑ์ต่าง ๆ มามากมาย ควบคู่ไปกับการอนุมัติ Genius Act เลย คือถ้าจะมีประเทศไหนที่มีการตื่นตัวด้านคริปโทฯ ก็ต้องประเทศไทยนี่แหละ
มาเริ่มต้นที่ Investment Token กัน ทาง ก.ล.ต.ได้ออกหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ให้บริการโทเคนดิจิทัลเพื่อการระดมทุน หรือ "Investment token" ได้แล้ว ซึ่ง บล. ที่ให้บริการ Investment token จะถูกกำกับดูแลภายใต้หลักเกณฑ์การประกอบกิจการอื่นตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ ไม่ได้อยู่ภายใต้ พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัล
นอกจากนั้น ยังมีอีกเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจ เพราะสำนักงาน ก.ล.ต.ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นหลักการและร่างประกาศเกี่ยวกับการกำหนดสินค้าและตัวแปรอ้างอิงเพิ่มเติมภายใต้ พ.ร.บ. สัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 หรือที่เราเรียกกันว่า "ฟิวเจอร์ส" นั่นเอง
ในประกาศของ ก.ล.ต. มีหลายตัวเลย ไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุง คาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) ให้เป็นสินค้าอ้างอิง แทนการเป็นตัวแปรอ้างอิง เพื่อให้รองรับสัญญาอนุพันธ์แบบส่งมอบได้ (Physical Delivery)
และปรับปรุงสินค้าอ้างอิงจาก "พลาสติก" เป็น ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันดิบ ผลิตภัณฑ์จากก๊าซธรรมชาติ หรือผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี เพื่อให้ครอบคลุมผลิตภัณฑ์ต้นทางด้วย
และแน่นอนว่าต้องมีเพิ่มสินทรัพย์ดิจิทัล (คริปโทเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัล) เป็นสินค้าอ้างอิงด้วย ดูทรงแล้วเราอาจจะได้เทรด Crypto Futures ในอีกไม่ช้าก็ได้
มาอีกหนึ่งเหรียญที่ทำ ATH อีกแล้ว นั่นก็คือ BNB เพราะเมื่อวานนี้ราคา BNB เหรียญประจำแพลตฟอร์ม Binance ที่มีคนใช้งานทั่วโลก ทุบสถิติ 804 ดอลลาร์ แถมมูลค่าตลาดหรือ Marketcap ก็เบียด Solana ที่มี marketcap อยู่ในอันดับ 5 อีกด้วย
ราคา BNB พุ่งแรงขนาดนี้ต้องมีเศรษฐีแน่นอน เพราะ Changpeng Zhao หรือ CZ ผู้ก่อตั้งเว็บเทรด Binance มีการระบุว่าถือครอง BNB อยู่ที่ 95 ล้าน BNB คิดเป็นสัดส่วน 64% ของอุปทานเหรียญทั้งหมด ยังไม่รวมสินทรัพย์อื่นที่ถือครองอีกนะคะ ทำเอา CZ ขึ้นเป็นเศรษฐี 70,000 ล้านดอลลาร์ทันที
ก่อนหน้านี้ ตามข้อมูลของ Forbes, CZ เขาถูกจัดอันดับให้เป็นมหาเศรษฐีอันดับที่ 23 ของโลก ไม่รู้ว่า BNB พุ่งขนาดนี้แล้ว อันดับจะมีการเปลี่ยนแปลงรึเปล่า??
https://youtu.be/OftTVDYUHlI