ASIAN คาดกำไรปีนี้ดีกว่าปีก่อนตามการโตธุรกิจอาหาร,ผลิตภัณฑ์กุ้งโดดเด่น

ข่าวหุ้น-การเงิน Sunday March 6, 2016 10:11 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นายสมศักดิ์ อมรรัตนชัยกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ห้องเย็นเอเชี่ยน ซีฟู้ด (ASIAN) คาดว่ากำไรปีนี้จะเติบโต
จากระดับกำไรสุทธิ 183 ล้านบาทในปีก่อน ตามอัตราการเติบโตของประชากรที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้ธุรกิจอาหารเติบโตตามไปด้วย โดย
มองธุรกิจกลุ่มผลิตภัณฑ์กุ้งและอาหารกุ้งจะโดดเด่น ควบคู่กับการขยายตัวของธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยง ขณะที่บริษัทยังคงไม่ปิดกั้นโอกาส
เรื่องการควบรวมกิจการหากเป็นดีลที่เหมาะสม
"ขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างการจัดทำแผนกลยุทธ์การดำเนินงานโดยจะแล้วเสร็จในไตรมาสที่ 1 นี้ ซึ่งกุญแจสำคัญอยู่ที่ “การ
เติบโต” และ “ผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่า” ทั้งนี้เชื่อมั่นว่าในปี 59 ผลประกอบการของบริษัทฯจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากปี 58 ซึ่งคาดว่าจะ
โตได้อย่างน้อย 10% ส่วนกำไรเพิ่มจากปีก่อน เพราะอัตราการเติบโตของประชากร ส่งผลให้ธุรกิจผลิตอาหารมีการเติบโตขึ้นทุก
ปี”นายสมศักดิ์ กล่าว
นายสมศักดิ์ กล่าวว่า ผลิตภัณฑ์อาหารทะเลจะเป็นกลุ่มที่มีการเติบโตสูงที่สุด จากการที่ผู้บริโภคมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้นและให้
ความสำคัญกับสุขภาพมากขึ้น โดยบริษัทมีสินค้าที่สามารถตอบสนองความต้องการผู้บริโภคได้อย่างครอบคลุม
สำหรับผลการดำเนินงานในปี 58 ที่ผ่านมา บริษัทมีกำไรสุทธิ 183 ล้านบาท จากขาดทุนสุทธิ 129 ล้านบาทในปีก่อนหน้า
ขณะที่อัตรากำไรขั้นต้นอยู่ที่ 9.6% ของยอดขาย เทียบกับปี 57 ที่อัตรากำไรขั้นต้นอยู่ที่ราว 5.6% นอกจากนี้ยังมีปัจจัยบวกในด้าน
อัตราแลกเปลี่ยน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแข็งค่าขึ้นเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ ทำให้กลุ่มบริษัทมีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนประมาณ 22
ล้านบาทในไตรมาส 4/58
ส่วนรายได้รวมของบริษัทในปี 58 อยู่ที่ 7,938 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2% จากปี 57 โดยยอดขายในกลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารแช่
เยือกแข็งมีปริมาณเพิ่มขึ้นกว่า 7% มาอยู่ที่ราว 3,593 ล้านบาท กลุ่มผลิตภัณฑ์กุ้ง ซึ่งเป็นยอดขายมากกว่าครึ่งของยอดขายในกลุ่มนี้
ประสบกับภาวะราคาตกต่ำในช่วงไตรมาสที่ 4 ที่ผ่านมา และแม้ว่าจะมีความต้องการเพิ่มสูงขึ้นในช่วงต้นปี 59 ราคาก็ยังปรับขึ้นไม่
มากนัก บริษัทจึงมุ่งเน้นกลยุทธ์เพิ่มยอดในกลุ่มผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่าที่มีการแกว่งตัวด้านราคาน้อยกว่ามาก
ขณะเดียวกันยอดขายในกลุ่มผลิตภัณฑ์ทูน่าอยู่ที่ราว 1,192 ล้านบาท ลดลงเกือบ 50% เมื่อเทียบกับปี 57 ซึ่งเป็นผลมาจาก
การเพิ่มกำลังการผลิตในกลุ่มอาหารสัตว์เลี้ยง ประกอบกับในปี 58 ยอดผลิตและส่งออกผลิตภัณฑ์ทูน่าในไทยไปยังสหรัฐอเมริกาลดลง
ราว 20% ซึ่งในธุรกิจนี้บริษัทก็มุ่งไปยังลูกค้าที่มีความต้องการเฉพาะมากขึ้น ในขณะที่กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์เลี้ยงมียอดขายเพิ่มขึ้น
กว่าสี่เท่าอยู่ที่ราว 1,602 ล้านบาท โดยบริษัทวางกลยุทธ์ที่จะเป็น “ผู้ร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์” หรือ “co-developer” ให้กับเจ้าของ
ตราสินค้าที่ใหญ่และมีการเติบโตสูง โดยอาศัยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และมีคุณภาพสูง
ส่วนยอดขายในกลุ่มธุรกิจอาหารสัตว์น้ำเติบโตขึ้นราว 15% มาอยู่ที่ประมาณ 1,110 ล้านบาท เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของ
ยอดขายอาหารปลา หลังจากวิกฤตโรคตายด่วนในกุ้งระบาดเมื่อราวปี 56 ผลผลิตกุ้งในประเทศไทยลดลงเหลือเพียงประมาณ
200,000 ตัน หรือประมาณ 1 ใน 3 ของปริมาณก่อนหน้า โดยคาดว่าจะมีการค่อยฟื้นตัวเป็นลำดับจากการที่เกษตรกรสามารถรับมือ
กับสถานการณ์ของโรคได้ดีขึ้น และคาดการได้ว่ายอดขายของบริษัทจะเพิ่มขึ้นจากการที่มุ่งรักษาคุณภาพผลิตภัณฑ์ และมีการบริหารต้น
ทุนอย่างสมเหตุสมผล
กลุ่มธุรกิจจัดจำหน่าย เป็นการนำเข้าผลิตภัณฑ์กลุ่มปลาแช่เยือกแข็งเพื่อจำหน่ายไปทั่วประเทศ ยอดขายของธุรกิจในกลุ่มนี้
ลดลงมาอยู่ที่ประมาณ 441 ล้านบาท แต่ก็มีอัตรากำไรเพิ่มสูงขึ้นมากเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน
ด้านนาย Rik van Westendorp ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงิน ของ ASIAN กล่าวว่า สถานะทางการเงิน
ของบริษัทดีขึ้นมากในปีที่ผ่านมา โดยที่อัตราส่วนทางการเงินดีว่าอัตราส่วนที่ต้องดำรงตามข้อกำหนดที่มีกับ สถาบันการเงิน และ
บริษัทฯยังคงตั้งเป้าที่จะปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นไปอีกในช่วง 2 ปีข้างหน้า โดยเน้นการปรับปรุงกระแสเงินสดจากการดำเนินงานที่ผ่านมา
เอเชี่ยนมีการลงทุนที่ดี และคาดว่าการลงทุนในอนาคตจะอยู่ในราว 50-60% ของค่าเสื่อมราคาต่อปี โดยจะเป็นการลงทุนในกลุ่ม
ธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยง ซึ่งมีการเติบโตค่อนข้างเร็ว และยังให้ความสำคัญกับการมีงบดุลที่ดีขึ้น เพื่อเพิ่มความสามารถในการรับมือ
กับความผันผวนในตลาดและตอบสนองเป้าหมายการเติบโตของกลุ่มบริษัท
นายวัลลภ ล้อมลิ้ม กรรมการผู้จัดการ กลุ่มธุรกิจอาหารสัตว์ บริษัท เอเชี่ยน ฟีด จำกัด เปิดเผยว่า ล่าสุดเมื่อช่วงปลาย
เดือนก.พ.ที่ผ่านมา บริษัทได้จัดงานพบปะสังสรรค์ลูกค้าหลักอาหารกุ้งและปลาที่มีสายสัมพันธ์ อันดีกับบริษัทเข้าร่วมโครงการ ณ
โรงแรมร้อยเกาะ จ.สุราษฎร์ธานี ภายใต้โครงการ “เอเชี่ยนแฟมิลี่” เพื่อเป็นการจับมือร่วมกันระหว่างธุรกิจอาหาร ฟาร์ม และ
ห้องเย็นแปรรูป โดยเกษตกรที่เข้าร่วมโครงการใช้อาหารกุ้งจากเอเชี่ยนฟีด และห้องเย็น เข้ามารับซื้อ โดยมีตลาดที่แน่นอนแบบร่วม
มือกันเดินเหมือนครอบครัวเดียวกันในราคาที่เกษตกรพึงพอใจ ไม่ใช่ contract farming ซึ่งจะยั่งยืนกว่า
นอกจากนี้กรณีสืบเนื่องจากธุรกิจส่งออกกุ้งที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาที่ไทยได้ใบเหลืองจากยุโรป และเทียร์ 3 จากสหรัฐ
อเมริกา ทำให้บริษัทได้ฉีกกลยุทธ์ใหม่โดยเน้นผลิตกุ้งต้มทั้งตัวสีแดงส่งไปตลาดจีน ซึ่งสินค้ากลุ่มนี้เน้นเทคนิคพิเศษ และสามารถสร้าง
กำไรได้ดีกว่ากุ้งชนิดอื่นๆ รวมถึงเน้นส่งออกตลาดที่เอเชี่ยนมีความแข็งแรงและทำกำไรได้ดี เช่น ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น ส่วนตลาด
อเมริกาวางแผนผลักดันในเรื่อง BAP 4 star และการผลิตอาหารกุ้ง Non-IUU เพื่อรองรับตลาดยุโรปด้วย ดังนั้นจากกลยุทธ์ดัง
กล่าวนี้ คาดว่าจะช่วยผลักดันให้สามารถทำกำไรในปีนี้และเติบโตขึ้นได้ตามคาด

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ