ทริสฯจัดเครดิตหุ้นกู้วงเงินไม่เกิน 4,100 ลบ."น้ำตาลมิตรผล"ที่ระดับ A+/Stable

ข่าวหุ้น-การเงิน Tuesday December 13, 2016 14:23 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

ทริสเรทติ้งจัดอันดับเครดิตให้แก่หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกันในวงเงินไม่เกิน 4,100 ล้านบาทของ บริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด ที่ระดับ “A+" ในขณะเดียวกัน ทริสเรทติ้งยังคงอันดับเครดิตองค์กรและหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกันชุดปัจจุบันของบริษัทที่ระดับ “A+" ด้วยเช่นกัน โดยแนวโน้มยังคง “Stable" หรือ “คงที่"

อันดับเครดิตสะท้อนถึงสถานะทางการตลาดที่แข็งแกร่งของบริษัทในอุตสาหกรรมน้าตาลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก การกระจายตัวในระดับปานกลางทางด้านการดำเนินงานในเชิงภูมิศาสตร์ แบรนด์สินค้าที่มีชื่อเสียง กระบวนการผลิตน้ำตาลที่มีประสิทธิภาพ และการมีแหล่งรายได้ที่หลากหลาย อย่างไรก็ตาม อันดับเครดิตถูกลดทอนบางส่วนจากความเป็นวัฏจักรของราคาน้ำตาล ความผันผวนของปริมาณผลผลิตอ้อยรวมถึงความเสี่ยงของการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบของธุรกิจน้ำตาลในประเทศและต่างประเทศ

แนวโน้มอันดับเครดิต “Stable" หรือ “คงที่" สะท้อนถึงการคาดการณ์ของทริสเรทติ้งว่ากลุ่มมิตรผลจะยังคงดารงสถานะผู้นาในอุตสาหกรรมน้ำตาลทั้งในประเทศไทยและจีนได้ต่อไป อันดับเครดิตหรือแนวโน้มอันดับเครดิตมีโอกาสปรับลงหากผลการดำเนินงานของบริษัทต่ำกว่าที่คาดหมายจนส่งผลให้โครงสร้างเงินทุนและความสามารถในการชำระหนี้ลดลงอย่างต่อเนื่อง การลงทุนขนาดใหญ่ที่ทำให้อัตราส่วนเงินกู้รวมต่อโครงสร้างทุนอ่อนแอลงก็เป็นปัจจัยที่มีผลเชิงลบต่ออันดับเครดิตเช่นกัน ในขณะที่ปัจจัยเชิงบวกต่ออันดับเครดิตของบริษัทในระยะสั้นมีอยู่ไม่มากจากสถานะการเงินในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม การปรับเพิ่มอันดับเครดิตอาจเกิดขึ้นได้หากสถานะทางการเงินของบริษัทมีความแข็งแรงขึ้นมากอย่างต่อเนื่อง

บริษัทน้ำตาลมิตรผล ก่อตั้งในปี 2489 โดยตระกูลว่องกุศลกิจซึ่งถือหุ้นในบริษัทเต็ม 100% ผ่าน บริษัท น้ำตาลมิตรสยาม จำกัด บริษัทน้ำตาลมิตรผลมีโรงงานน้ำตาลในประเทศไทย จีน ลาว และออสเตรเลีย ในฤดูการผลิต 2558/2559 บริษัทมีผลผลิตน้ำตาลจาก 4 ประเทศรวมทั้งสิ้น 3.52 ล้านตัน

บริษัทเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลในประเทศไทยมาอย่างยาวนานโดยเป็นผู้ผลิตน้ำตาลรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ทั้งนี้ ในฤดูการผลิต 2558/2559 โรงงานในประเทศไทยของบริษัทผลิตน้ำตาลได้ 2.0 ล้านตัน หรือคิดเป็นสัดส่วน 20.1% ของปริมาณน้ำตาลทั้งประเทศ บริษัทยังเป็น 1 ใน 2 ของผู้ผลิตน้ำตาลรายใหญ่ที่สุดในประเทศจีน โดยเป็นเจ้าของและบริหารโรงงานน้ำตาล 6 แห่ง ที่ให้ผลผลิตน้ำตาลรวม 0.9 ล้านตันในปีการผลิต 2558/2559 ส่วนโรงงานน้ำตาลของบริษัทในประเทศลาว และในประเทศออสเตรเลียผลิตน้ำตาลรวมกันได้ 0.6 ล้านตันในฤดูการผลิต 2558/2559 นอกเหนือจากธุรกิจน้ำตาลแล้ว บริษัทยังขยายการลงทุนไปยังธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับอ้อยและน้ำตาลเพื่อใช้ประโยชน์สูงสุดจากอ้อย อาทิ ธุรกิจผลิตไฟฟ้า ธุรกิจผลิตเอทานอล ธุรกิจผลิตวัสดุทดแทนไม้และธุรกิจโลจิสติกส์

ในปี 2558 บริษัทมีรายได้รวม 88,316 ล้านบาท ธุรกิจน้ำตาลเป็นธุรกิจที่สร้างรายได้ในสัดส่วนที่สูงที่สุดคิดเป็น 80% ของรายได้รวม โดยรายได้จากธุรกิจน้ำตาลในไทยมีสัดส่วน 43% ในขณะที่รายได้จากประเทศจีนมีสัดส่วน 29% ของรายได้รวม ส่วนรายได้จากธุรกิจน้ำตาลในประเทศลาวและออสเตรเลียมีสัดส่วน 7% รายได้จากธุรกิจไฟฟ้าและเอทานอลคิดเป็น 14% ของรายได้รวม

ผลการดำเนินงานของบริษัทในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2559 ได้รับผลกระทบจากภาวะภัยแล้งในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งทาให้ผลผลิตน้ำตาลของบริษัทลดลง 11.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเหลือเพียง 3.52 ล้านตันในปีการผลิต 2558/2559 ปัญหาอากาศที่แห้งแล้งในแถบนี้รวมทั้งในประเทศผู้ผลิตน้ำตาลรายใหญ่ของโลกบางประเทศส่งผลให้ผลผลิตน้ำตาลทั่วโลกมีปริมาณลดลง ทาให้ปีการผลิต 2558/2559 เป็นปีแรกในรอบ 6 ปีที่น้ำตาลโลกเกิดภาวะขาดดุล ราคาน้ำตาลจึงปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว จากเฉลี่ย 10.67 เซนต์ต่อปอนด์ในเดือนสิงหาคม 2559 เป็นประมาณ 20 เซนต์ต่อปอนด์ในปัจจุบัน ราคาน้ำตาลที่ปรับตัวสูงขึ้นทำให้ความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจน้ำตาลของบริษัทในประเทศลาวและออสเตรเลียดีขึ้นและช่วยชดเชยผลกระทบจากการลดลงของผลผลิตน้ำตาลในประเทศจีนบางส่วน อย่างไรก็ตาม ธุรกิจน้ำตาลของบริษัทในประเทศไทยยังไม่ได้รับประโยชน์จากการปรับตัวขึ้นของราคาน้ำตาลเนื่องจากบริษัทได้ทำสัญญาขายล่วงหน้าทั้งหมดก่อนราคาน้ำตาลจะปรับตัวขึ้น เช่นเดียวกับผู้ผลิตน้ำตาลในประเทศไทยรายอื่น ภัยแล้งยังส่งผลให้ชานอ้อยและกากน้ำตาลซึ่งเป็นวัตถุดิบที่ใช้สำหรับการผลิตไฟฟ้าและเอทานอลลดลงไปด้วย ดังนั้น รายได้ของบริษัทในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2559 จึงปรับตัวลดลง 5.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเป็น 66,847 ล้านบาท ต้นทุนการผลิตน้ำตาลก็สูงขึ้นเนื่องจากอัตราผลผลิตน้ำตาลต่อตันอ้อยลดลงจากสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวย กำไรของธุรกิจไฟฟ้าและเอทานอลก็อ่อนตัวลงเนื่องจากอัตราการใช้กำลังการผลิตของโรงไฟฟ้าที่ลดลงและราคาขายไฟฟ้าและราคาขายเอทานอลปรับตัวลง ดังนั้น อัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานก่อนค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายของบริษัทรวมกำไรหรือขาดทุนจากการซื้อขายน้ำตาลล่วงหน้า ปรับตัวลดลงเป็น 15.4% ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2559 จาก 18.6% ในช่วงเดียวกันของปีก่อน รายได้เนื่องจากอัตราผลผลิตน้ำตาลต่อตันอ้อยลดลงจากสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวย กาไรของธุรกิจไฟฟ้าและเอทานอลก็อ่อนตัวลงเนื่องจากอัตราการใช้กำลังการผลิตของโรงไฟฟ้าที่ลดลงและราคาขายไฟฟ้าและราคาขายเอทานอลปรับตัวลง ดังนั้น อัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานก่อนค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายของบริษัทรวมกำไรหรือขาดทุนจากการซื้อขายน้ำตาลล่วงหน้า ปรับตัวลดลงเป็น 15.4% ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2559 จาก 18.6% ในช่วงเดียวกันของปีก่อน รายได้และความสามารถในการทำกำไรที่ลดลงทำให้กำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจาหน่าย (EBITDA) ของบริษัทลดลง 23.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนมาอยู่ที่ 11,408 ล้านบาท ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2559 เงินทุนจากการดำเนินงาน (Funds from Operations) ก็ลดลง 23.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเป็น 8,771 ล้านบาท อัตราส่วน EBITDA ต่อดอกเบี้ยจ่ายอ่อนตัวลงมาอยู่ที่ระดับ 5.4 เท่า อัตราส่วนเงินทุนจากการดำเนินงานต่อเงินกู้รวมยังอยู่ในระดับเพียงพอที่ 14.9% (ปรับเป็นอัตราส่วนเต็มปีด้วยผลการดำเนินงานย้อนหลัง 12 เดือน) ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2559 อัตราส่วนการก่อหนี้ของบริษัทอยู่ในระดับปานกลาง โดยอัตราส่วนเงินกู้รวมต่อโครงสร้างเงินทุนอยู่ในระดับ 51%-53% ในช่วงสิ้นปี 2557 จนถึงเดือนกันยายน 2559

ทริสเรทติ้งคาดว่าผลการดำเนินงานของบริษัทจะปรับตัวดีขึ้นในปีการผลิต 2559/2560 ผู้ผลิตน้ำตาลในประเทศไทยส่วนใหญ่รวมถึงบริษัทได้ทำสัญญาขายน้ำตาลล่วงหน้าในสัดส่วน 60%-70% ของปริมาณขายในปี 2560 ราคาขายล่วงหน้าที่ทำสัญญาไว้มีระดับสูงกว่าราคาขายเฉลี่ยในปี 2558/2559 เกือบ 40% ขณะที่คาดว่าความต้องการน้ำตาลของโลกยังเกินกว่าปริมาณผลผลิตน้ำตาลทาให้ดุลน้ำตาลโลกยังมีภาวะขาดดุลเป็นปีที่ 2 ส่งผลให้ราคาน้ำตาลยังทรงตัวในระดับ 18-20 เซนต์ต่อปอนด์ในปัจจุบัน การปรับตัวขึ้นราคาน้ำตาลน่าจะส่งผลดีต่อบริษัทแม้ว่าบริษัทอาจได้รับผลกระทบจากการปรับตัวลงของผลผลิตอ้อยและน้ำตาลทรายในประเทศไทยและประเทศจีนในระดับหนึ่ง คาดว่า EBITDA ของบริษัทจะปรับตัวดีขึ้นเป็นประมาณ 18,000-20,000 ล้านบาทต่อปีในปี 2560-2562 ในสมมติฐานกรณีฐาน เทียบกับ EBITDA ที่คาดว่าจะอยู่ในระดับประมาณ 14,000 ล้านบาทในปี 2559 บริษัทมีค่าใช้จ่ายลงทุนประจำเฉลี่ย 5,000 ล้านบาทต่อปี บริษัทยังได้รับอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายให้เพิ่มกำลังการหีบน้ำตาลรวม 84.000 ตันอ้อยต่อวัน คาดว่าใช้เงินลงทุนประมาณ 20,000 ล้านบาทซึ่งจะมีการทยอยลงทุนเป็นลำดับ ดังนั้นคาดว่าบริษัทจะมีอัตราส่วนเงินทุนจากการดำเนินงานต่อเงินกู้รวมอยู่ในระดับ 20%-25% และมีอัตราส่วน EBITDA ต่อดอกเบี้ยจ่ายอยู่ในระดับ 6-7 เท่า

ในเดือนตุลาคม 2559 กระทรวงอุตสาหกรรมได้รับอนุมัติในหลักการจากคณะรัฐมนตรีให้ปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทรายเพื่อให้เกิดความเหมาะสมและเป็นธรรมกับทุกฝ่ายและเพื่อให้สอดคล้องกับพันธกรณีและข้อตกลงภายใต้องค์กรการค้าโลก ภายใต้ร่างข้อเสนอที่จะกาลังจัดทาระบบโควตา การควบคุมราคาขายในประเทศและเงินอุดหนุนชาวไร่อ้อยอาจจะมีการยกเลิก อย่างไรก็ตาม ระบบการแบ่งปันรายได้ยังคงอยู่ ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของพระราชบัญญัติยังไม่ชัดเจนในขณะนี้เนื่องจากการแก้ไขยังไม่เสร็จสิ้น


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ