(แก้ไข) บลจ.ไทยพาณิชย์ คาดสิ้นปี 61 AUM แตะ 1.5 ล้านลบ.ปี 62 โต 7-9%,ซื้อขายผ่านแอพฟรีค่าธรรมเนียมรุกขยายฐานลูกค้า

ข่าวหุ้น-การเงิน Wednesday November 14, 2018 16:36 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นายณรงค์ชัย ปลอดมีชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บลจ.ไทยพาณิชย์ คาดว่า สิ้นปี 61 มูลค่าทรัพย์สินสุทธิภายใต้การจัดการ(AUM) จะเพิ่มเป็น 1.5 ล้านนล้านบาทจากปี 60 ที่มี AUM 1.37 ล้านล้านบาท และคาดว่าในปี 62 จะเติบโต 7-9% ใกล้เคียงปีนี้ โดยตั้งเป้าจะมีจำนวนกองทุนที่ลงทุนหุ้น (ทั้งหุ้นไทยและหุ้นทั่วโลก) เพิ่มขึ้น และมีสัดส่วนประมาณ 35-38% โดยมีทั้งออกกองใหม่ และโปรโมทกองที่มีผลตอบแทนดี และลดจำนวนกองทุนตราสารหนี้มาที่ 60% จากปีนี้กองทุนตราสารหนี้มีสัดส่วน 68%. ส่วนกองทุนหุ้นอยู่ที่ 30%

ทั้งนี้ นายณรงค์ชัย มองว่าตลาดหุ้นไทยในเดือน ธ.ค.นี้ได้แรงหนุนจากกองทุนหุ้นระยะยาว (LTF)โดยเม็ดเงิน LTF ไหลเข้ามา 4-5 หมื่นล้านบาท/ปี โดย บลจ.ไทยพาณิชย์มีเม็ดเงินในกองทุน LTF จำนวนประมาณ. 4-5 พันล้านบาท. หรือส่วนแบ่งตลาดราว. 10%. และหากสิ้นสุดปี62 ที่ไม่ให้สิทธิลดหย่อนภาษี เชื่อว่ายังไม่กระทบต่อตลาดหุ้น คาดว่าสิ้นปี 61 ดัชนีหุ้นไทย (SET) อยู่ที่ 1,700 หรือ 1.700 ต้นๆ จุด. และในปี 62 คาด SET อยู่ที่ 2,000 จุดมีปัจจัยบวกเรื่องการเลือกตั้ง และการลงทุนภาครัฐต่อเนื่อง

สำหรับภาพรวมตลาดหุ้นทั่วโลกนั้น บลจ.ไทยพาณิชย์ มีมุมมองเชิงบวก โดยมองว่าแนวโน้มการลงทุนของตลาดหุ้นทั่วโลกในระยะถัดไปคาดว่าจะฟื้นตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงที่ผ่านมานำโดยกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วอย่างสหรัฐฯ ภายหลังผลการเลือกตั้งกลางเทอมเป็นไปตามที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ และประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ส่งสัญญาณว่าพร้อมที่จะร่วมมือกับพรรคเดโมแครตในการดำเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจต่อไป ในขณะที่ตลาดหุ้นญี่ปุ่นกลับมาคึกคักอีกครั้งภายหลังผลการเลือกตั้งกลางเทอมของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นไปตามที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ ส่งผลให้มีเงินลงทุนไหลกลับเข้ามาในสินทรัพย์เสี่ยงอีกครั้ง

นอกจากนี้ ตลาดหุ้นจีนที่เผชิญแรงกดดันมาเป็นระยะเวลานานก็กลับมาน่าสนใจเนื่องจากข่าวร้ายถูกรับรู้ไปมากแล้ว และมูลค่าพื้นฐานเมื่อเทียบกับราคาในปัจจุบันก็อยู่ในระดับที่น่าสนใจ

อย่างไรก็ตาม นักลงทุนยังคงต้องจับตาความเสี่ยงด้านการเมืองของกลุ่มประเทศยุโรป เช่น แนวโน้มการเจรจา Brexit และการยื่นงบประมาณต่อคณะกรรมาธิการยุโรปของรัฐบาลอิตาลี เป็นต้น ซึ่งหากปัจจัยดังกล่าวมีความชัดเจนมากขึ้น ก็จะช่วยสนับสนุนตลาดหุ้นยุโรปให้ขยายตัวได้ในระยะถัดไป

นาญณรงค์ชัย กล่าวว่า บริษัทได้พัฒนาดิจิทัลแพลตฟอร์มและเทคโนโลยี โดยวางแผนในการจัดสรรกองทุนชนิด Electronic หรือ e-class สำหรับกองทุนประเภท Passive ที่เน้นลงทุนให้ได้ผลลัพธ์ใกล้เคียงกับดัชนีได้โดยกำหนดมูลค่าขั้นต่ำไว้เพียง 1 บาท และสูงสุดไม่เกิน 1 ล้านบาทเท่านั้นมีสิทธิพิเศษ คือ ไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียมการสั่งซื้อ (Front End Fee) และค่าธรรมเนียมการจัดการ (Management Fee) ถือเป็นรายแรกในประเทศไทย เพื่อให้นักลงทุนรายย่อยสามารถเข้าถึงการลงทุนได้ง่ายขึ้น ทั้งนี้ เริ่มให้บริการในช่วงกลางเดือน ธ.ค.นี้ ประเดิมกองทุนแรก บลจ.ไทยพาณิชย์เปิดให้ลงทุน e-class ของกองทุน SCB SET Index ซึ่งเป็นกองทุนหุ้นที่มีเข้าใจง่ายเพราะอิงกับตลาดหลักทรัพย์ เพื่อหวังขยายฐานลูกค้าเพิ่มขึ้น และช่วยจัดสรรการลงทุนให้มีโอกาสเพิ่มผลตอบแทนสูงขึ้น

นายณรงค์ชัย กล่าวว่า บลจ.ไทยพาณิชย์ ตั้งเป้าเพิ่มจำนวนผู้ถือหน่วย เป็น 1.5 ล้านบัญชี ใน 3 ปีนี้และจะให้เป็นบัญชี Activeทั้งหมด. จากปัจจุบันจากทั้งหมดมีจำนวนผู้ถือหน่วยรวมกว่า 8 แสนบัญชี ที่มีบัญชี Active 4 แสนบัญชี โดยเป้าหมายหลักเป็นลูกค้าที่ไม่ใช่ลูกค้าบลจ.พาณิชย์ และผู้ถือหน่วยกว่า 5 ล้านบัญชี เป็นบัญชีที่ลงทุนต่ำกว่า 1 ล้านบาท

ทั้งนี้ ผู้ลงทุนที่เปิดบัญชีกับ บลจ.ไทยพาณิชย์ สามารถเข้าไปดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นผ่าน App Store ในระบบ IOS และ Play Store ในระบบ Android ได้แล้วตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป นอกจากนี้ยังสามารถตรวจสอบความเคลื่อนไหวในพอร์ตการลงทุนของตนเอง ซื้อ-ขาย สับเปลี่ยนกองทุนและสอบถามข้อมูล อาทิ มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (NAV) ยอดคงเหลือหน่วยลงทุน สรุปการทำรายการแต่ละวัน ผลการจัดสรรหน่วยลงทุน และรายละเอียดหนังสือชี้ชวนฉบับ

"การใช้แพลตฟอร์ม Fund Click (ดิจิทัลแพลตฟอร์ม) เราต้องมองไม่ใช่ลูกค้า SCB อาจจะเป็นลูกค้าต่างจังหวัดไม่ใช่มนุษย์เงินเดือน อาจเป็น First Jober ผู้ที่มีอาชีพอิสระ ไม่จำเป็นต้องรอรวยก่อนค่อยลงทุน ลงทุนได้ง่าย มีความสะดวกสบาย ต้นทุนการลงทุนถูก เป็นการลงทุนที่สร้างความมั่งคั่ง" นายณรงค์ชัย กล่าว

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ