AEC มอง Sentiment ในประเทศดีขึ้นหลังกำหนดวันเลือกตั้ง หนุนดึงเม็ดเงินต่างชาติกลับตลาดหุ้น

ข่าวหุ้น-การเงิน Tuesday January 29, 2019 12:44 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

บล.เออีซี (AEC) ระบุว่า Sentiment ในประเทศเริ่มดีขึ้นจากการกำหนดวันเลือกตั้งที่ชัดเจน (24 มี.ค.) คาดเป็นปัจจัยช่วยดึงดูดให้เม็ดเงินต่างชาติไหลเข้าตลาดหุ้นไทยมากขึ้น และช่วยกระตุ้นให้มีการซื้อกลับจากนักลงทุนต่างชาติเพิ่มขึ้นตามเพราะดัชนีหุ้น บวกกับค่าเงินบาทที่มีเสถียรภาพ

หลังการเลือกตั้งมีความคืบหน้าชัดเจนคาดว่าจะช่วยกระตุ้นให้มีซื้อกลับจากนักลงทุนต่างชาติเพิ่มขึ้นตามเพราะดัชนีหุ้นไทย Laggard สุดในกลุ่ม TIP Market โดย Philippines เทรด Fwd PE ปีนี้ที่ 17.1x, Indonesia เทรด Fwd PE ปีนี้ที่ 14.9x และ ไทยเทรด Fwd PE ปีนี้ที่ 13.8x

ดังนั้น ยังคงแนะนำ 3 กลุ่มหุ้นเด่น และ 1 กลุ่มหุ้นขนาดเล็ก ดังนี้ 1. กลุ่มท่องเที่ยว แนะนำ CENTEL, ERW และ AOT 2. กลุ่มจำนำทะเบียนรถ แนะนำ SAWAD, MTC และ AMANAH 3. กลุ่มนิคมและสาธารณูปโภค แนะนำ AMATA, WHA และ EASTW 4. หุ้นขนาดเล็กที่คาดกำไรปี 62 โตเด่น บวกกับ Cheap Valuation แนะนำ JMT และ HARN

สำหรับภาพรวมตลาดหุ้นต่างประเทศจะมีการเคลื่อนไหวแบบ Sideway up ซึ่งแม้จะมีแรงหนุนจาก 1) การเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีนที่จะเกิดขึ้นช่วงวันที่ 30-31 ม.ค.นี้ โดยเป็นการเจรจาระหว่างเจ้าหน้าที่ระดับสูงจากรองนายกรัฐมนตรีของจีนนายหลิวเหอ และผู้แทนการค้าสหรัฐฯ นายโรเบิร์ต ไลท์ไฮเซอร์ และรัฐมนตรีกระทรวงการคลังสหรัฐฯ นายสตีเวน มนูชิน ทำให้เป็นปัจจัยเชิงบวกต่อตลาดหุ้น

อีกทั้ง เรื่องของปัญหาภาวะปิดหน่วยงานรัฐบาลชั่วคราว (Government shutdown) กลับมาเปิดดำเนินการอีกครั้ง หลังประธานาธิปดีสหรัฐฯ นายโดนัลด์ ทรัมป์ บรรลุข้อตกลงกับสภาคองเกรส โดยเป็นการเปิดหน่วยงานรัฐบาลชั่วคราว 3 สัปดาห์จนถึงวันที่ 15 ก.พ.

อย่างไรก็ตาม การประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในช่วงวันที่ 29-30 ม.ค. คาดว่าจะยังคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับเดิม จาก Implied Prob. การขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่ยังคงอยู่ในระดับต่ำโดยสัปดาห์นี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงจาก 1) อยู่ในช่วงประกาศผลการดำเนินงานช่วง 4Q/18 ของบริษัทจดทะเบียนในสหรัฐฯ ซึ่งอาจออกมาต่ำกว่าหรือมากกว่าที่ตลาดคาด ทำให้ตลาดยังคงมีความผันผวนจากการประกาศผลการดำเนินงานที่เกิดขึ้น 2) จับตาตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ เช่น ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตร อัตราการว่างงาน ดัชนีการใช้จ่ายด้านการบริโภคพื้นฐานส่วนบุคคล (Core PCE Index)และ ดัชนี ISM PMI ภาคการผลิตที่จะมีผลต่อทิศทางการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดและทิศทางภาวะเศรษฐกิจในอนาคต


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ