เครือสหพัฒน์จับมือคลัสเตอร์เครื่องสำอางไทยขายสินค้าผ่าน"ช้อปชาแนล"เพิ่มโอกาสเปิดตลาดญี่ปุ่น

ข่าวหุ้น-การเงิน Wednesday February 13, 2019 10:05 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

บริษัท ช้อป โกลบอล (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เจ้าของธุรกิจขายสินค้าออนไลน์ผ่านทีวีช้องปปิ้งจากญี่ปุ่นในนาม "ช้อป ชาแนล (SHOP Channel)" เครือสหพัฒน์ จับมือ "คลัสเตอร์เครื่องสำอางไทย (Thai Cosmetic Cluster)" หลากหลายอุตสาหกรรมธุรกิจด้านเครื่องสำอางไทย ภายใต้กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือร่วมกัน

นายนาโอฮิซะ ยากิ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ช้อป โกลบอล (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า บริษัทก่อตั้งขึ้นในปี 2556 จนถึงปัจจุบันก็เป็นระยะเวลา 5 ปีแล้ว ที่บริษัทฯได้มาเปิดตลาดในประเทศไทย โดยเป็นความร่วมมือระหว่าง บริษัท สุมิตโตโม่ คอร์ปเปอเรชั่น(Sumitomo Corporation) ของญี่ปุ่น กับ เครือสหพัฒน์

ขณะที่ช่อง"ช้อป ชาแนล(SHOP Channel)" ที่ญี่ปุ่น ถือว่าเป็นช่องช้อปปิ้งทีวีอันดับหนึ่งของประเทศญี่ปุ่นที่มีการออกอากาศครอบคลุมทั่วประเทศ ยิ่งไปกว่านั้น "ช้อป ชาแนล(SHOP Channel)" ยังมีความมุ่งมั่นสู่ตลาดไทยด้วยความช่วยเหลือด้านการตลาดจาก "ช้อป ชาแนล ญี่ปุ่น" และความร่วมมือที่สำคัญจากทางเครือสหพัฒน์ของไทย

นายยากิ ยังกล่าวด้วยว่า ในสถานการณ์ปัจจุบันที่การใช้ชีวิตของลูกค้าเปลี่ยนแปลงไป ตลาดโลกเปิดมากขึ้น ทำให้ลูกค้าสามารถซื้อสินค้าหรือค้นหาข้อมูลของสินค้าได้จากหลายช่องทาง รวมถึงผู้ประกอบการรายย่อยต้องเผชิญกับคู่แข่งหรือการแข่งขันของผู้ประกอบการรายอื่นๆ ภายใต้ของการบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป อะไรคือสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับลูกค้า "ราคา" หรือ "ของฟรี" ทั้งสองอย่างไม่ใช่ประเด็นหลัก แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับลูกค้าและถือเป็นกุญแจสำคัญที่สุดของการทำธุรกิจของเราในช่วงเวลานี้คือ "สินค้า"

ด้านนายสรโชติ อำพันวงษ์ ประธานฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท ช้อป โกลบอล (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ปัจจุบันตลาดเครื่องสำอางไทยมีมูลค่ามากกว่า 2 แสนล้านบาท หรือเกือบประมาณ 3 แสนบาท ไทยคือผู้ส่งออกเครื่องสำอางอันดับ 1 ในอาเซียน ปัจจุบันมีผู้ประกอบการธุรกิจเครื่องสำอางในไทย มากกว่า 10,000 ราย อีกทั้งเครื่องสำอางยังเป็นอุตสาหกรรมที่รัฐบาลไทยให้ความสำคัญไม่แพ้อุสาหกรรมอื่นๆของประเทศ โดยที่ผ่านมา กระทรวงอุตสาหกรรมของไทยได้ให้การสนับสนุนรวบรวมผู้ประกอบการในประเภทต่างๆตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ เข้าด้วยกัน คือ วัตถุดิบ,โรงงาน,แบรนด์สินค้า และผู้จัดจำหน่าย มาจัดตั้งเป็น "กลุ่มคลัสเตอร์เครื่องสำอางไทย" เพื่อพัฒนาสนับสนุนผู้ประกอบการในทุกมิติ

ช้อบ โกลบอล (ประเทศไทย) มีนโยบายให้ความสำคัญอย่างยิ่งในการขายสินค้าคุณภาพให้กับลูกค้าผ่านช่องทางทีวีผสมผสานแบบ โอม นิ แชลแนล (Omni Channel) โดยเน้นสินค้าใน 4 กลุ่มหลัก คือ 1.เครื่องประดับ 2.แฟชั่น 3.สุขภาพความงาม และ 4.เครื่องใช้/เครื่องไฟฟ้าในบ้าน ด้วยเครือข่ายช่องทางการขาย การประชาสัมพันธ์ และฐานลูกค้าที่แข็งแกร่ง ซึ่งเป็นที่มาของความร่วมมือ ระหว่าง บริษัทฯ กับทางกลุ่มคลัสเตอร์เครื่องสำอางไทย เพื่อร่วมพัฒนาและเป็นช่องทางในการนำเสนอสินค้าคุณภาพของผู้ประกอบการสู่ลูกค้าในช่องทางต่างๆ รวมถึงโอกาสการไปเปิดตลาดในประเทศญี่ปุ่น และความร่วมมือด้านอื่นๆ ในอนาคต

นางลักษณ์สุภา ประภาวัติ ประธานคลัสเตอร์เครื่องสำอางไทย กล่าวว่า อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศไทย เนื่องจากมีความได้เปรียบในด้านวัตถุดิบ และความชำนาญด้านคุณภาพ ปัจจุบันเครื่องสำอางเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของผู้บริโภคมากขึ้น เนื่องจากประชากรโลกส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพและความงาม ส่งผลให้อุตสาหกรรมเครื่องสำอางมีมูลค่าเติบโตอย่างต่อเนื่อง

โดยธุรกิจเครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ซึ่งได้แก่ผลิตภัณฑ์สำหรับเส้นผม ผลิตภัณฑ์สำหรับใบหน้า ผลิตภัณฑ์สำหรับร่างกายเครื่องหอม และผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนั้น มีมูลค่ารวมทางเศรษฐกิจมากถึงเกือบ 3 แสนล้านบาท ซึ่งแบ่งเป็นตลาดในประเทศประมาณ ร้อยละ 60 และตลาดส่งออกคิดเป็น ร้อยละ 40 ของมูลค่ารวมทางเศรษฐกิจของธุรกิจ โดยภาพรวมประเทศไทยเป็นศูนย์กลางเครื่องสำอางอันดับ 3 ของเอเชีย รองจากญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ อีกทั้งยังเป็นอันดับ 1 ของตลาดเครื่องสำอางในอาเซียน เนื่องจากอุตสาหกรรมเครื่องสำอางไทยมีความได้เปรียบในด้านวัตถุดิบ ความชำนาญ และคุณภาพ

ปัจจุบันอุตสาหกรรมเครื่องสำอางไทย มีสัดส่วนการขยายตัวในด้านการส่งออกอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะตลาดส่งออกที่สำคัญ อย่างเช่นประเทศเพื่อนบ้าน โดยมีมูลค่าการลงทุนสูงขึ้นทุกปี และประเทศไทยยังมีมูลค่าการส่งออกเครื่องสำอางเป็นที่ 1 ในอาเซียนโดยครองส่วนแบ่งตลาด ถึงร้อยละ 40 จากสถิติในปี 2560 ผู้ประกอบการของกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องสำอางไทยที่จดทะเบียน มีจำนวนประมาณ 2,000 ราย โดยแบ่งเป็นผู้ผลิตเครื่องสำอางธุรกิจขนาดเล็ก 68% ,ผู้ผลิตเครื่องสำอางขนาดกลาง 29% และผู้ผลิตเครื่องสำอางขนาดใหญ่ 3% นอกจากนี้ยังมีซัพพลายเชน


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ