THAI โชว์ผลงาน Q3/66 พลิกกำไร 1.5 พันลบ.เพิ่มความถี่เส้นทางยอดนิยม-เติมเครื่องบินเข้าฝูง

ข่าวหุ้น-การเงิน Friday November 10, 2023 10:25 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

บมจ.การบินไทย (THAI) เปิดเผยว่า ในไตรมาส 3/66 บริษัทและบริษัทย่อย มีกำไรสุทธิ 1,538 ล้านบาท จากไตรมาส 3/65 ที่มีผลขาดทุนสุทธิ 4,785 ล้านบาท โดยมีกำไรจากการดำเนินงานก่อนต้นทุนทางการเงินไม่รวมรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดียว 7,719 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน 3,799 ล้านบาท

โดยมีรายได้รวมทั้งสิ้น 37,008 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อน 4,148 ล้านบาท หรือคิดเป็น 12.6% สาเหตุหลักจากรายได้จากการขนส่งผู้โดยสารเพิ่มขึ้น 6,458 ล้านบาท หรือ 26.4% โดยบริษัทได้เพิ่มความถี่เที่ยวบินในเส้นทางบินยอดนิยม นอกจากนี้บริษัทฯ มีรายได้จากกิจการอื่น เพิ่มขึ้น 232 ล้านบาท หรือ 12.5% ซึ่งหน่วยธุรกิจส่วนใหญ่มีรายได้เพิ่มขึ้นจากจำนวนผู้โดยสารของสายการบินลูกค่เพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ตาม ในไตรมาสนี้บริษัทฯ และบริษัทย่อย มีรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดียว-สุทธิเป็นค่าใช้จ่ายรวม 2,732 ล้านบาท ส่วนใหญ่เกิดจากขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ การปรับปรุงค่าเช่าสำนักงานดอนเมือง และผลขาดทุนจากการด้อยค่าซึ่งเป็นไปตาม TFRS 9 ถึงแม้จะมีกำไรจากการขายสินทรัพย์และกำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้ก็ตาม ส่งผลให้บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิจำนวน 1,546 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อน 6,326 ล้านบาท โดยเป็นกำไรส่วนที่เป็นของบริษทัใหญ่ 1,538 ล้านบาท คิดเป็นกำไรต่อหุ้น 0.70 บาท ในขณะที่ปีก่อนขาดทุนต่อหุ้น 2.19 บาท โดยมี EBITDA หลังหักเงินสดจ่ายหนี้สินตามเงื่อนไขสัญญาเช่าเครื่องบิน รวมค่าเช่าเครื่องบินที่คำนวณจากการใช้เครื่องบินที่เกิดขึ้นจริง(Power by the Hour) เป็นกำไรจำนวน 8,360 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 2,282 ล้านบาท

ไตรมาส 3/66 บริษัทยังคงดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัทฯ อย่างเข้มข้นต่อเนื่อง ทั้งการหารายได้จากการขนส่งที่มีการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ การปรับปรุงประสิทธิภาพฝงูบินและการหาประโยชน์จากทรัพย์สินรองที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจ รวมท้งไม่มีการผิดนัดชำระหนี้ ตามแผนฟื้นฟูกิจการแต่ประการใด โดยในไตรมาสนี้มีการดำเนินงานที่สำคัญได้แก่

  • การหารายได้จากการขนส่ง : เพิ่มจุดบินและความถี่เพื่อรองรับการเติบโตของปริมาณความต้องการเดินทาง (Demand) ของนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติในเส้นทางซัปโปโร ประเทศญี่ปุ่น
  • การดำเนินการตามแผนการปรับปรุงประสิทธิภาพฝูงบิน : รับมอบเครื่องบินแบบ A350-900 จำนวน 1 ลำ ซึ่งจะเริ่มทำ การบินต้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2566 ในเส้นทางสู่ประเทศจีน เพื่อรองรับนโยบาย Free Visa ในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว (High Season) และเพื่อขยายฝูงบินให้รองรับการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมการบิน รวมท้ง เพิ่มประสิทธิภาพในการสร้างรายได้ให้กับ บริษัท ฯ ท้งในปัจจุบันและในอนาคต ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการต้นทุนให้สามารถแข่งขันได้ท่ามกลางสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
  • การหาประโยชน์จากทรัพย์สินรองที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจ : จำหน่ายเครื่องบินแบบ B747-400 จำนวน 2 ลำ และ A340-600 จำนวน 1 ลำ รวมทั้งเครื่องยนต์อะไหล่ที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว จำนวน 1 เครื่องยนต์ซึ่งส่งมอบให้กับผู้ซื้อแล้ว นอกจากนี้บริษัท ฯ ได้จำหน่ายอสังหาริมทรัพย์ในต่างประเทศ ได้แก่ บ้านพักกรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย และสำนักงานขายมะนิลา สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ซึ่งบริษัทฯ ได้รับเงินครบถว้นและได้โอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ซื้อแล้ว
  • การปรับโครงสร้างการดำเนินธุรกิจกลุ่มธุรกิจการบินของกลุ่มบริษทัการบินไทย : บริษัทฯ รับโอนเครื่องบิน A320-200 จากบริษัท ไทยสมายล์ฯ เพิ่มอีกจำนวน 3 ลำ รวมเป็น 6 ลำ เพื่อเตรียมทำการบินในเส้นทางระหว่างประเทศของบริษัท ฯ ได้แก่ เดลี, มุมไบ, ธากา รวมถึงกัลกัตตา (เริ่มบิน 15 ต.ค.66 เป็นต้นไป) และบริษัทยังทำการบินทดแทนสายการบินไทยสมายล์ในเส้นทางย่างกุ้ง, เวียงจันทน์, พนมเปญ, อาห์เมดาบัด รวมถึงเกาสงและปีนัง (เริ่มบิน 15 ต.ค.66เ ป็นต้นไป) และจะทยอยรับโอนอากาศยานจนครบ 20 ลำ ภายในไตรมาส 1/67 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการอากาศยานได้อย่างเหมาะสมสามารถวางแผนและพฒั นาเครือข่ายเส้นทางบิน และจดั เที่ยวบินให้ครอบคลุมความตอ้งการของผูโดยสารในภาพรวมได้ดียิ่งขึ้น โดยไม่ส่งผลกระทบต่อการให้บริการแก่ผู้โดยสาร
ณ วันที่ 30 ก.ย.66 บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีเครื่องบินที่ใช้ทำการบินทั้งสิ้น 68 ลำ ในไตรมาส 3/66 อัตราการใช้ประโยชน์ของเครื่องบิน 12.1 ชั่วโมง ปริมาณการผลิตด้านผู้โดยสาร (ASK) เพิ่มขึ้น 21.5% ปริมาณการขนส่งผู้โดยสาร (RPK) เพิ่มขึ้น 22.0% อัตราส่วนการบรรทุกผโดยสาร (Cabin Factor) เฉลี่ย 77.3% สูงกว่าปีก่อนซึ่งเฉลี่ยที่ 77.0% และมีจำนวนผูโดยสารที่ทำการขนส่งรวมทั้งสิ้น 3.27 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 22.0% สำหรับด้านการขนส่งสินค้า มีปริมาณการผลิตด้านพัสดุภัณฑ์ (ADTK) สูงกว่าปีก่อน 20.1% ปริมาณการขนส่งพัสดุภัณฑ์ (RFTK) สูงกว่าปีก่อน 7.1% อัตราส่วนการขนส่งพัสดุภัณฑ์(Freight Load Factor) เฉลี่ยเท่ากับ 52.7% ขณะที่ปีก่อนเฉลี่ยเท่ากับ59.1%

ในงวด 9 เดือนแรกของปี 66 บริษัทและบริษัทย่อยมีรายได้รวม (ไม่รวมรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดียว) 115,897 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 50,330 ล้านบาท หรือ 76.8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน มีกำไรจากการดำเนินงานก่อนต้นทุนการเงิน (ไม่รวมรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดียว) 29,330 ล้านบาทดีกว่างวดเดียวกันของปีก่อนที่ ขาดทุน 548 ล้านบาท บริษัทและบริษัทย่อยมีกำไนสุทธิ 16,342 ล้านบาท เป็นกำไรส่วนที่เป็นของบริษัทใหญ่ 16,314 ล้านบาท จากงวดเดียวกันของปีก่อน ขาดทุน 11,253 ล้านบาท มี EBITDA หลังหักเงินสดจ่ายหนี้สินตามเงื่อนไขสัญญาเช่าเครื่องบิน รวมค่าเช่าเครื่องบินที่คำนวณจากการใช้เครื่องบินที่เกิดขึ้นจริง(Power by the Hour) เป็นกำไรจำนวน 31,720 ล้านบาท


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ