TRUE เผยเข้าจองซื้อกองทุน TRUEIF ไว้ 33.24% คาดเข้าเทรดใน 27 ธ.ค. 56

ข่าวหุ้น-การเงิน Wednesday December 25, 2013 10:00 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นายนพปฎล เดชอุดม หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการเงิน บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น (TRUE) เปิดเผยว่า ผลสำเร็จการเข้าทำธุรกรรมกับกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ชื่อ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม ทรูโกรท สำนักงานคณะกรรมการกากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ได้อนุมัติการจดทะเบียนกองทรัพย์สิน เมื่อ 23 ธ.ค. 56 โดยกองทุนมีจำนวนหน่วยลงทุนที่เสนอขายทั้งหมดจำนวน 5,808,000,000 หน่วย ราคาเสนอขายต่อหน่วยและมูลค่าที่ตราไว้ต่อหน่วย คือ 10.00 บาท และจานวนเงินทุนของกองทุนที่ได้จากการเสนอขายหน่วยลงทุนทั้งหมดเท่ากับ 58,080,000,000 บาท ทั้งนี้ คาดว่าหน่วยลงทุนของกองทุนจะเริ่มทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ ในวันที่ 27 ธันวาคม 2556 ภายใต้ชื่อย่อ “TRUEIF"

ทั้งนี้ 3. บริษัทฯ ได้เข้าจองซื้อและเป็นผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนจานวน 1,930,601,000 หน่วย ที่ราคา 10.00 บาทต่อหน่วย (หรือจานวนรวมเท่ากับ 19,306.01 ล้านบาท) คิดเป็นอัตราส่วนร้อยละ 33.24 ของจำนวนหน่วยลงทุนที่จำหน่ายได้ทั้งหมดของกองทุนในการเสนอขายครั้งแรก

ส่วนธุรกรรมขายทรัพย์สินและรายได้ บริษัทฯ และ บริษัทย่อยของบริษัทฯ ประกอบด้วย บริษัท ทรู ยูนิเวอร์แซล คอนเวอร์เจ้นซ์ จากัด (“TUC") บริษัท บีเอฟเคที จากัด (“BFKT") และ บริษัท เอเซีย ไวร์เลส คอมมิวนิเคชั่น จากัด (“AWC") ได้เข้าทาสัญญาโอนขายทรัพย์สินและสิทธิรายได้กับกองทุนแยกต่างหากรายละฉบับ โดยสัญญาแต่ละฉบับลงวันที่ 24 ธันวาคม 2556 เพื่อจาหน่ายไปซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินและสิทธิในการรับประโยชน์จากรายได้สุทธิ ดังต่อไปนี้

1 กรรมสิทธิ์ในเสาโทรคมนาคมจานวน 6,000 เสา และ โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมประเภท Passive อื่นที่เกี่ยวข้องที่ใช้สำหรับการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งบริษัทฯ จะส่งมอบหรือดำเนินการให้มีการส่งมอบเสาโทรคมนาคมจานวน 3,000 เสา ภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2557 และ เสาโทรคมนาคมจำนวน 3,000 เสา ภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558

2 กรรมสิทธิ์ในระบบใยแก้วนาแสงหลัก (core fiber optic cable grid) (“ระบบ FOC หลัก") อุปกรณ์ระบบสื่อสัญญาณที่เกี่ยวข้อง และ ระบบบรอดแบนด์ในเขตพื้นที่ต่างจังหวัดของ TUC และ

3 สิทธิในการรับประโยชน์จากรายได้สุทธิ (รวมถึงเงินที่ได้รับจากการใช้สิทธิเรียกร้อง คาตัดสิน คาพิพากษา คดีความที่ตัดสินให้แก่ BFKT และ AWC รวมทั้งการดำเนินการหรือสิทธิอื่นใดซึ่ง BFKT และ AWC มีสิทธิได้รับ ที่เกิดขึ้นจาก หรือเกี่ยวกับรายได้หรือสัญญาซึ่งก่อให้เกิดรายได้ดังกล่าว ที่เกิดขึ้นตั้งแต่และรวมถึงวันเริ่มคำนวณรายได้จนถึงวันครบกาหนดสัญญา HSPA ที่เกิดจากการให้เช่าทรัพย์สินโทรคมนาคมของ BFKT และเสาโทรคมนาคมของ AWC (โดยไม่รวมถึงสิทธิและเงินที่ได้รับจากการใช้สิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นจาก หรือเกี่ยวกับรายได้หรือสัญญาซึ่งก่อให้เกิดรายได้ดังกล่าวซึ่ง BFKT หรือ AWC มีสิทธิได้รับก่อนหน้าวันเริ่มคานวณรายได้ ไม่ว่า BFKT หรือ AWC จะได้ดำเนินการใช้สิทธิเรียกร้องหรือได้รับชำระตามสิทธิหรือการใช้สิทธิเรียกร้องดังกล่าวก่อนหน้าหรือภายหลังวันเริ่มคำนวณรายได้ก็ตาม))

ได้แก่ เสาโทรคมนาคมจำนวนหนึ่งและโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมประเภท Passive อื่นที่เกี่ยวข้อง (กล่าวคือ เสาโทรคมนาคมของ BFKT และเสาโทรคมนาคมของ AWC) และ ระบบใยแก้วนาแสง (กล่าวคือ ระบบ fiber optic cable ของ BFKT และอุปกรณ์ระบบสื่อสัญญาณที่เกี่ยวข้อง)

รวมทั้งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินดังกล่าวจานวนหนึ่งของ BFKT และ AWC ภายหลังจากวันครบกาหนดสัญญา HSPA ทั้งนี้ ตามข้อมูล ณ วันที่ของหนังสือฉบับนี้ วันครบกำหนดสัญญา HSPA คือ วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2568 โดยเป็นวันที่สัญญาเช่าเครื่องและอุปกรณ์วิทยุโทรคมนาคมเพื่อให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระบบ HSPA ลงวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2554 ระหว่าง BFKT และ บริษัท กสท โทรคมนาคม จากัด (มหาชน) (รวมทั้งที่แก้ไขเพิ่มเติม) จะครบกำหนดอายุของสัญญา

อนึ่ง ราคาขายของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินและสิทธิในการรับประโยชน์จากรายได้สุทธิที่ขายให้แก่กองทุนเป็นจานวนรวมประมาณ 58,080 ล้านบาท

นอกจากนี้ ธุรกรรมเช่า ดำเนินการ และ บริหารจัดการ บริษัทย่อยของบริษัทฯ ประกอบด้วย TUC และ บริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จากัด (“เรียลฟิวเจอร์") ได้เข้าทาสัญญาเช่า ดาเนินการ บารุงรักษา และบริหารจัดการหลัก กับกองทุนแยกต่างหากรายละฉบับ โดยสัญญาแต่ละฉบับลงวันที่ 24 ธันวาคม 2556 เพื่อการเช่า ดำเนินการ บารุงรักษา และบริหารจัดการ ทรัพย์สิน ดังต่อไปนี้

1.ทรัพย์สินที่เรียลฟิวเจอร์ เช่า ดำเนินการ บารุงรักษา และบริหารจัดการ ประกอบด้วย พื้นที่ (slots) บนเสาโทรคมนาคม และทรัพย์สินสิ่งอานวยความสะดวกประเภท Passive ที่เกี่ยวข้องกับเสาโทรคมนาคมบางเสา

2. ทรัพย์สินที่ TUC เช่า ดำเนินการ บารุงรักษา และบริหารจัดการ ประกอบด้วย ระบบ FOC หลัก ความยาวประมาณ 5,112 กิโลเมตร , อุปกรณ์ระบบสื่อสัญญาณที่เกี่ยวข้องกับระบบ FOC หลัก, ระบบบรอดแบนด์ในเขตพื้นที่ต่างจังหวัดซึ่งเป็นอุปกรณ์โทรคมนาคมประเภท Passive (สาหรับการใช้แต่เพียงผู้เดียวของ TUC เว้นแต่ TUC ตกลงเป็นอย่างอื่นหลังจากระยะเวลา 5 ปีแรก) และระบบบรอดแบนด์ในเขตพื้นที่ต่างจังหวัดซึ่งเป็นอุปกรณ์โทรคมนาคมประเภท Active (สาหรับการใช้แต่เพียงผู้เดียวของ TUC)


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ