NFC เข้าซื้อกิจการ"เอสซี แคริเออร์"100% มูลค่า 801 ลบ.ขยายเข้าธุรกิจขนส่ง-ออก NFC-W1 ให้ฟรีผถห.

ข่าวหุ้น-การเงิน Wednesday October 3, 2018 10:27 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นางบงกช รุ่งกรไพศาล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ด้านการเงินและบริหาร บมจ.เอ็นเอฟซี (NFC) เปิดเผยว่า คณะกรรมการบริษัทมีมติให้นำเสนอต่อที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาอนุมัติการซื้อหุ้นสามัญทั้งหมดของบริษัท เอส ซี แคริเออร์ จำกัด (SCC) จำนวน 4.5 ล้านหุ้นจากกลุ่มผู้ถือหุ้นเดิมคือ บริษัทเอส ซี ออโต (SCA), บริษัท เอส ซี ออฟชอร์ เซอร์วิส (SCOS) และนางสาวธัญญานุช รัตนสุวรรณทวี ในราคาหุ้นละ 178 บาท รวมเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 801 ล้านบาท

กลุ่มผู้ขาย ประกอบด้วยบริษัทเอส ซี ออโต (SCA) และบริษัท เอส ซี ออฟชอร์ เซอร์วิส (SCOS) และนางสาวธัญญานุช รัตนสุวรรณทวี (รวมเรียก "กลุ่มผู้ขาย") ถือเป็นบุคคลที่เกี่ยวโยงกันกับบริษัท

บริษัทฯ ได้แต่งตั้งให้บริษัทหลักทรัพย์ ไอ วี โกลบอล จากัด (มหาชน) ซึ่งเป็นที่ปรึกษาทางการเงินที่อยู่ในบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสานักงานคณะกรรมการกากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เป็นที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ เพื่อให้ความเห็นต่อการทารายการซื้อหุ้นสามัญทั้งหมดของ SCC ซึ่งเป็นการทารายการได้มาซึ่งสินทรัพย์และการทารายการที่เกี่ยวโยงกัน

นอกจากนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทได้อนุมัติให้นำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อพิจารณาอนุมัติการออกและเสนอขายใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญของบริษัทฯ ครั้งที่ 1 (NFC-W1) จำนวนไม่เกิน 108,783,306 หน่วย ให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ตามสัดส่วนการถือหุ้น (Rights Offering) ในอัตราส่วน 10:1 โดยไม่คิดมูลค่า

และอนุมัติให้นำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อพิจารณาอนุมัติการเพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัทฯ จำนวน 81,587,479.50 บาท จากทุนจดทะเบียนเดิมจำนวน 815,874,792 บาท เป็นทุนจดทะเบียนใหม่จานวน 897,462,271.50 บาท โดยการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนใหม่จำนวน 108,783,306 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.75 บาท เพื่อรองรับการใช้สิทธิตามใบสาคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญของบริษัทฯ ครั้งที่ 1 (NFC-W1)

ทั้งนี้ SCC ประกอบธุรกิจให้บริการขนส่งทางบกประเภทวัตถุอันตรายในกลุ่มปิโตรเลียมและเคมีภัณฑ์ เช่น ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ก๊าซธรรมชาติ (NGV) ก๊าซไนโตรเจน (N2) และน้ามันเชื้อเพลิง ซึ่ง SCC ได้ให้บริการขนส่งสินค้าแก่ลูกค้าซึ่งเป็นบริษัทพลังงานชั้นนารายใหญ่ของประเทศ เช่น ปตท. Shell และ ESSO เป็นต้น โดยสินทรัพย์หลักของ SCC ได้แก่ ยานพาหนะหรือรถบรรทุกที่ใช้ในการขนส่งสินค้า และที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งใช้เป็นจุดจอดพักรถตามโครงข่ายการขนส่งซึ่งกระจายอยู่ทั่วประเทศ

ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2561 SCC เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง 8 แห่ง ซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดชลบุรี กำแพงเพชร ลำปาง สระบุรี ปทุมธานี เชียงราย และราชบุรี เนื้อที่รวม 78 ไร่ 3 งาน 14 ตารางวา นอกจากนี้ SCC ยังมีสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินตามสัญญาเช่าอีก 7 แห่ง เนื้อที่รวม 48 ไร่ 0 งาน 6 ตารางวา ซึ่งใช้เป็นจุดจอดพักรถ ศูนย์ปฏิบัติการ และศูนย์ซ่อมบำรุงรักษารถขนส่ง มูลค่าตามบัญชี รวม 347 ล้านบาท และมูลค่ายุติธรรมรวม 412 ล้านบาท

และมียานพาหนะสาหรับขนส่งวัตถุอันตรายในกลุ่มปิโตรเลียมและเคมีภัณฑ์ ประกอบด้วย รถหัวลาก หางเทรลเลอร์ และหางแท็งค์สาหรับบรรทุกของเหลว จำนวนรวม 814 คัน ซึ่งผู้ประเมินมูลค่าทรัพย์สิน ได้ประเมินว่าทรัพย์สินดังกล่าวอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน และมีการดูแลรักษาอย่างดี โดยมีมูลค่าตามบัญชี ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2561 รวม 930 ล้านบาท และมูลค่ายุติธรรมรวม 1,581 ล้านบาท

บริษัทจะชำระค่าหุ้นสามัญของ SCC จำนวนรวม 801 ล้านบาท ด้วยกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน และเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน ซึ่งปัจจุบันบริษัทอยู่ระหว่างการเจรจากับสถาบันการเงินในการขอวงเงินสินเชื่อเพื่อรองรับการทำรายการดังกล่าว

ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2561 บริษัทมีเงินสดและเงินลงทุนชั่วคราวจำนวนรวม 387 ล้านบาท ไม่มีหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ย และมีอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนทุนเพียง 0.16 เท่า ในกรณีที่บริษัทกู้ยืมเงินจำนวนประมาณ 400 ล้านบาท เพื่อชำระค่าหุ้นส่วนที่เหลือจากเงินสดหรือเงินลงทุนชั่วคราวจะทำให้บริษัทมีอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนทุนเท่ากับ 1.25 เท่า คำนวณตามงบการเงินรวมเสมือนของบริษัท ซึ่งรวมบริษัทย่อยทั้งหมดและ SCC หรือในกรณีที่บริษัทใช้เงินกู้ยืมเป็นแหล่งเงินทุนทั้งจำนวน จะทำให้บริษัทมีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนเท่ากับ 1.55 เท่า

ทั้งนี้ อัตราส่วนหนี้สินต่อทุนดังกล่าวจะค่อยๆ ลดลงในแต่ละปี จากการทยอยชำระคืนเงินต้นด้วยกระแสเงินสดจากการดำเนินงานของบริษัทและ SCC นอกจากนี้ บริษัทได้ขออนุมัติผู้ถือหุ้นในการออกและเสนอขายใบสำคัญแสดงสิทธิ (NFC-W1) ซึ่งมีกำหนดการใช้สิทธิในปี 2562 - 2564 ภายหลังการใช้สิทธิในใบสำคัญแสดงสิทธิดังกล่าว จะส่งผลให้อัตราส่วนหนี้สินต่อทุนของบริษัทปรับตัวดีขึ้น ซึ่งจะไม่เป็นอุปสรรคต่อการลงทุนในโครงการอื่นของบริษัทในอนาคต

บริษัทมีนโยบายการดำเนินธุรกิจที่จะขยายการลงทุนโดยมุ่งเน้นไปยังธุรกิจใหม่ที่เอื้อประโยชน์ต่อการดำเนินธุรกิจหลักและส่งเสริมให้เกิดการใช้สินทรัพย์หลักของบริษัทในปัจจุบันให้เกิดประโยชน์สูงสุด และสามารถต่อยอดธุรกิจปัจจุบันเพื่อสร้างศักยภาพในการแข่งขันและสร้างโอกาสในการเติบโตของบริษัทในระยะยาว บริษัทจึงพิจารณาเข้าลงทุนใน SCC ซึ่งจะทาให้บริษัทจะได้รับประโยชน์ในด้านต่างๆ ดังนี้

1) เพิ่มประสิทธิภาพในการทำกำไรของธุรกิจจำหน่ายเคมีภัณฑ์

การเข้าลงทุนใน SCC จะทำให้บริษัทได้มาซึ่งพันธมิตรทางธุรกิจซึ่งเอื้อประโยชน์ต่อการให้บริการขนส่งแอมโมเนียซึ่งเป็นสินค้าหลักที่บริษัทจำหน่าย โดยในปัจจุบันบริษัทได้ใช้บริการรถขนส่งแอมโมเนียจาก SCC ซึ่งต้นทุนค่าขนส่งแอมโมเนียคิดเป็นประมาณร้อยละ 25 ของค่าใช้จ่ายในการการขายและบริหารของบริษัท การเข้าซื้อกิจการ SCC ซึ่งดาเนินธุรกิจให้บริการขนส่งสินค้าเคมีภัณฑ์รวมถึงแอมโมเนีย จะช่วยให้บริษัทสามารถบริหารจัดการค่าขนส่งสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยให้บริษัทสามารถทำกำไรจากธุรกิจจาหน่ายเคมีภัณฑ์ได้สูงขึ้น

2) เสริมสร้างรายได้และสภาพคล่องของบริษัท

ภายหลังการเข้าทำรายการในครั้งนี้ SCC จะมีสถานะเป็นบริษัทย่อยของบริษัท โดยบริษัทจะสามารถรับรู้รายได้จากการให้บริการขนส่งสินค้าของ SCC ได้โดยทันที ซึ่งในการจัดทางบการเงินของบริษัทจะสะท้อนภาพรวมของฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของทั้งบริษัทและ SCC ซึ่งจะทำให้บริษัทมีรายได้ที่สูงขึ้นและมีกระแสเงินสดและสภาพคล่องที่ดีขึ้น ส่งผลดีต่อการลงทุนพัฒนาโครงการอื่นของบริษัทในอนาคต

3) สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่บริษัทจากการลงทุนในบริษัทซึ่งเป็นผู้นำด้านการขนส่งสินค้าเคมีภัณฑ์และวัตถุอันตราย

บริษัท เอส ซี แคริเออร์ จากัด เป็นหนึ่งในผู้ให้บริการด้านการขนส่งทางบกประเภทวัตถุอันตรายในกลุ่มปิโตรเลียมและเคมีภัณฑ์อันดับต้นๆ ของประเทศ SCC ได้ให้บริการขนส่งสินค้ามากว่า 30 ปี โดยมีลูกค้ารายสาคัญ ได้แก่ กลุ่มผู้ค้าน้ามันตามมาตรา 7 ซึ่งเป็นบริษัทพลังงานชั้นนำรายใหญ่ของประเทศไทย ในปัจจุบัน SCC มีกลุ่มรถขนส่งขนาดใหญ่รวมกว่า 814 คัน และมีพนักงานขับรถขนส่งซึ่งเป็นพนักงานประจำที่มีประสบการณ์และความชำนาญสูง จึงทาให้ SCC เป็นที่ยอมรับและได้รับความไว้วางใจในการให้บริการงานขนส่งสินค้าแก่บริษัทชั้นนำในประเทศมาอย่างยาวนาน

การเข้าซื้อกิจการของ SCC จึงเป็นการลงทุนในธุรกิจที่มีแบรนด์และฐานลูกค้าที่แข็งแกร่ง นอกจากนี้ บริษัทยังสามารถนำทรัพย์สินประเภทหัวรถบรรทุก ตลอดจนบุคคลากรของ SCC มาใช้ต่อยอดสร้างโอกาสในการขยายธุรกิจโลจิสติกส์ของบริษัทให้เติบโตและครบวงจรได้ยิ่งขึ้นในอนาคต

4) สร้างโอกาสในการขยายสู่ธุรกิจอื่นที่เกี่ยวข้องในอนาคต

บริษัทมีแผนที่จะพัฒนาพื้นที่ว่างเปล่าบริเวณนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดเป็นคลังสินค้าเหลวเพิ่มเติม เพื่อรองรับการจัดเก็บสินค้าเคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีต่างๆ โดยกลุ่มลูกค้าของโครงการดังกล่าว ได้แก่ บริษัทผู้ค้าน้ามันตามมาตรา 7 และบริษัทในกลุ่มธุรกิจพลังงานและปิโตรเคมี ซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าที่ตรงกับฐานลูกค้าส่วนใหญ่ของ SCC ในปัจจุบัน การเข้าลงทุนใน SCC จึงทาให้บริษัทได้มาซึ่งพันธมิตรทางธุรกิจที่ช่วยเพิ่มโอกาสในการขยายธุรกิจให้บริการคลังสินค้าให้ประสบความสาเร็จตามแผนที่วางไว้

5) กระจายความเสี่ยงในการประกอบธุรกิจ

ปัจจุบันบริษัทประกอบธุรกิจหลักในการจำหน่ายเคมีภัณฑ์ประเภทแอมโมเนีย แอมโมเนียมไฮดรอกไซด์ และกรดกำมะถัน ซึ่งมีสัดส่วนรายได้กว่าร้อยละ 92 ของรายได้ทั้งหมด ในขณะที่รายได้จากการให้บริการด้านโลจิสติกส์และคลังสินค้า รวมถึงการให้บริการท่าเทียบเรือมีสัดส่วนรายได้เพียงร้อยละ 8 ของรายได้ทั้งหมดในปัจจุบัน

ภายหลังจากการเข้าทำรายการในครั้งนี้ จะทำให้บริษัทมีรายได้จากส่วนงานบริการเพิ่มขึ้น มีศักยภาพในการทำกำไรที่สูงขึ้น รวมทั้งมีกระแสเงินสดและสภาพคล่องที่ดีขึ้น อีกทั้งยังช่วยกระจายความเสี่ยงในการประกอบธุรกิจกรณีที่ธุรกิจจำหน่ายเคมีภัณฑ์ชะลอตัวลง บริษัทจะยังคงมีรายได้จากการให้บริการขนส่งสินค้าปิโตรเคมีอีกทางหนึ่ง

6) สร้างโอกาสในการเป็นผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ที่ครบวงจร

การเข้าทำรายการในครั้งนี้ จะช่วยให้บริษัทขยายสู่การให้บริการด้านโลจิสติกส์ได้อย่างครบวงจร ครอบคลุมตั้งแต่การให้บริการท่าเทียบเรือ คลังสินค้าเหลว จนถึงการให้บริการขนส่งสินค้าเหลวซึ่งจะดำเนินการโดย SCC เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกและรองรับความต้องการของกลุ่มลูกค้าในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ ซึ่งมีฐานการผลิตส่วนใหญ่ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ซึ่งถือเป็นการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันของบริษัทในระยะยาว

อย่างไรก็ตาม การเข้าทำรายการในครั้งนี้ จะทำให้บริษัทมีภาระหนี้สินและดอกเบี้ยจ่ายเพิ่มมากขึ้น จากการรับรู้หนี้สินของ SCC เข้ามาในงบการเงิน แต่สัดส่วนหนี้สินดังกล่าวจะทยอยลดลงจากการชำระคืนเงินต้นด้วยกระแสเงินสดจากการดำเนินงานของบริษัทและ SCC นอกจากนี้ การทำรายการอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงจากการพึ่งพิงลูกค้ารายใหญ่ที่ SCC ให้บริการขนส่งก๊าซธรรมชาติ (NGV) และก๊าซปิโตรเลียมเหลว(LPG) และน้ามัน ภายใต้สัญญาจ้างขนส่งสินค้าระยะยาว ซึ่งจะทยอยสิ้นสุดในปี 2565 และ 2566 ตามลำดับ โดย SCC มีรายได้จากลูกค้าดังกล่าวมากกว่าร้อยละ 30 ทำให้ในอนาคตหาก SCC ไม่ได้รับการต่อสัญญาดังกล่าว หรือความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติหรือก๊าซปิโตรเลียมเหลวลดลง อาจส่งผลกระทบต่อรายได้และผลการดำเนินงานของบริษัท

SCC ได้เริ่มให้บริการขนส่งก๊าซธรรมชาติและก๊าซปิโตรเลียมเหลว ตั้งแต่ปี 2539 ด้วยการบริหารจัดการงานขนส่งภายใต้มาตรฐานสากลและการมุ่งเน้นด้านความปลอดภัยอย่างสูงสุด ทำให้ SCC ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต SCC มีนโยบายขยายฐานลูกค้าไปยังผู้ประกอบการรายอื่นเพื่อลดการพึ่งพิงลูกค้ารายใหญ่ และเพิ่มประเภทเคมีภัณฑ์อื่นให้มากขึ้น โดยในปัจจุบัน SCC มีรายได้จากการให้บริการแก่ผู้ประกอบการรายอื่นในสัดส่วนที่สูงขึ้น จากในปี 2559 ที่รายได้จากผู้ประกอบการรายอื่นอยู่ที่ร้อยละ 37 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 42 ของรายได้จากการให้บริการในปี 2560


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ