นิคเคอิจัดสัมมนาครั้งใหญ่ระดับโลก THE FUTURE OF ASIA ครั้งที่ 26 ถกบทบาทของเอเชียที่มีต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก

ข่าวทั่วไป Tuesday May 11, 2021 11:34 —ThaiPR.net

นิคเคอิจัดสัมมนาครั้งใหญ่ระดับโลก THE FUTURE OF ASIA ครั้งที่ 26  ถกบทบาทของเอเชียที่มีต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก
  • เชิญผู้นำจากหลายประเทศเสวนาอนาคตของเอเชีย
  • ดึงผู้บริหารแชร์วิสัยทัศน์โฉมหน้าเอเชียหลังโควิด-19
  • งานจัด 20-21 พ.ค.นี้ รับชมการถ่ายทอดสดจากญี่ปุ่นได้ทางเว็บไซต์

งานสัมมนานานาชาติครั้งสำคัญระดับโลก THE FUTURE OF ASIA ครั้งที่ 26 รวบรวมสุดยอดผู้นำในเอเชียด้านการเมือง เศรษฐกิจ ร่วมหารือเพื่อก้าวข้ามยุคแห่งความไม่แน่นอนหลังการระบาดของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 (โควิด-19) และความร่วมมือระดับสากลในอนาคต ถ่ายทอดสดจากโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น วันที่ 20-21 พฤษภาคม 2564 และสามารถรับชมย้อนหลังได้ทาง Video Archive บนเว็บไซต์

THE FUTURE OF ASIA ครั้งที่ 26 (The 26th International Conference on THE FUTURE OF ASIA) กลับมาจัดอย่างยิ่งใหญ่อีกครั้งในธีม "Shaping the post-COVID era: Asia's role in the global recovery" รวมสุดยอดผู้นำในเอเชียด้านการเมือง เศรษฐกิจ เช่น นายมาฮาดีร์ บิน โมฮัมหมัด อดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศมาเลเซีย นายอิมราน ข่าน นายกรัฐมนตรีของประเทศปากีสถาน นายเฮง สวี เกียต รองนายกรัฐมนตรีของประเทศสิงคโปร์ นายสุพรหมณยัม ชัยศังกร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศอินเดีย รวมถึงพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย

การสัมมนานานาชาติ THE FUTURE OF ASIA ครั้งนี้ จะเป็นเวทีแห่งการพูดคุยและร่วมหารือกันว่า ท่ามกลางการระบาดของไวรัสโควิด-19ที่กำลังเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าของเอเชีย ความวิตกกังวลเกี่ยวกับการแพร่กระจายของไวรัส และความไม่มั่นคงทางการเมือง ภูมิภาคเอเชียจะสามารถก้าวข้ามยุคแห่งความไม่แน่นอนนี้ไปได้อย่างไร รวมถึงความสามารถในการปูแนวทางของผู้นำในเอเชียสำหรับช่วงเวลาหลังการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยยังคงไว้ซึ่งสันติภาพ เสถียรภาพ และความหลากหลาย ได้หรือไม่ และจะมีแนวทางในการร่วมมือระดับสากลอย่างไรในอนาคต ซึ่งรวมถึงกรณีการเกิดโรคระบาดครั้งใหม่ด้วย

นอกจากนี้ยังมีการอภิปรายโดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากหลากหลายสาขา ในหัวข้อต่างๆ เช่น เอเชียและการบริหารใหม่ของสหรัฐฯ (Asia and the new US administration) ความร่วมมือระดับสากลเพื่อต่อสู้กับโรคระบาด (International cooperation to fight the pandemic) นวัตกรรมในยุคโควิด-19 (Innovation in the COVID-19 era) และการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมในยุคโควิด-19 (Cultural exchange in the COVID-19 era) เป็นต้น

งานสัมมนานานาชาติ THE FUTURE OF ASIA ครั้งที่ 26 จัดขึ้นในวันที่ 20-21 พฤษภาคม 2564 โดยนิคเคอิ ถ่ายทอดสดผ่านเว็บไซต์จากโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น และสามารถรับชมย้อนหลังได้ทาง Video Archive บนเว็บไซต์

ทั้งนี้การสัมมนา THE FUTURE OF ASIA เป็นการรวมกลุ่มของผู้นำระดับประเทศด้านการเมือง เศรษฐกิจ และนักวิชาการในภูมิภาคเอเชีย มีการพูดคุยและหารือกันในหัวข้อต่างๆ อย่างตรงไปตรงมา งามสัมมนานี้จัดขึ้นโดยนิคเคอิ ตั้งแต่ปี 2538 และถือเป็นงานสัมมนาสำคัญระดับโลกที่ถูกจัดขึ้นในเอเชีย แต่ในปี 2563 ถูกยกเลิกไปเนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19

ผู้สนใจสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://futureofasia.net/asia2021/eng/index หรือซื้อบัตรเพื่อเข้าร่วมงานได้ที่ https://futureofasia.net/asia2021/eng/register.html โดยสามารถใช้ Promo code เพื่อรับส่วนลดได้จากแบนเนอร์ด้านบน

รายชื่อผู้บรรยาย

มาฮาดีร์ บิน โมฮัมหมัด
อดีตนายกรัฐมนตรี ประเทศมาเลเซีย
ได้รับเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรีที่มีอายุมากที่สุดในโลก (95 ปี) หลังจากชนะการเลือกตั้งในปี 2561 และยังคงมีบทบาททางการเมืองใน

ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี ประเทศไทย
ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในปี 2557 จากนั้นได้ประกาศแผนเศรษฐกิจ ประเทศไทย 4.0 และชนะการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการอีกครั้งในปี 2562

มรอน ข่าน
นายกรัฐมนตรี ประเทศปากีสถาน
จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด สาขาศิลปศาสตร์บัณฑิต เดิมเป็นนักกีฬาคริกเก็ต ก่อนที่จะมาลงเล่นการเมือง และได้รับการสนับสนุนจากประชาชนจากนโยบายต่อต้าน

เคพี ชาร์มา โอลิ
นายกรัฐมนตรี ประเทศเนปาล
ได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีครั้งแรกในปี 2561 และขับเคลื่อนความมั่นคงทางการทูตระหว่างจีนและอินเดีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีชายแดนติดทั้งเหนือและใต้ของเนปาล

สุพรหมณยัม ชัยศังกร
รมต.กระทรวงต่างประเทศ สาธารณรัฐอินเดีย
ได้รับเลือกให้เป็นรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศในรัฐบาลโมดิ สมัยที่ 2 ซึ่งได้เป็นบุคคลสำคัญทางการทูตระหว่างอินเดีย-สหรัฐอเมริกา และ อินเดีย-จีน

เฮง สวี เกียต
รองนายกรัฐมนตรี ประเทศสิงคโปร์
ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีที่สำคัญมากมาย และในเดือนเมษายนนี้ ได้ประกาศว่าจะไม่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนถัดไป

อับดุลลาห์ ชาฮิด
รมต.กระทรวงต่างประเทศ สาธารณรัฐมัลดีฟส์
ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศครั้งแรกในปี 2560 ในขณะที่การเมืองภายในประเทศมีการเปลี่ยนแปลง

มาริ แพงเกสตู
กรรมการผู้จัดการ ธนาคารโลก
ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี กระทรวงการค้าและกระทรวงการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ของประเทศอินโดนีเซีย และยังได้รับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการของธนาคารโลกในปี 2563

เคนอิจิโร ซาซาเอะ
ประธานสถาบันนานาชาติญี่ปุ่น (JIIA)
ได้รับเลือกให้เป็นตัวแทนผู้นำของญี่ปุ่นในการเจรจาหกฝ่าย (Six-Party) เกี่ยวกับอาวุธนิวเคลียร์ของสาธารณรัฐเกาหลีเหนือ และเป็นผอ.การเมืองของการประชุมสุดยอดผู้นำ G8


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ