ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสแรก และแนวโน้มปี 2556

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday May 21, 2013 17:03 —สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

                                                            ประมาณการเศรษฐกิจปี 2556
  (% YOY)                                 2555                              2556
                             Q3            Q4          ทั้งปี            Q1            ทั้งปีf

GDP (ณ ราคาคงที่)              3.1          19.1         6.5           5.3          4.2-5.2
การลงทุนรวม (ณ ราคาคงที่)      15.5          22.9        13.2           6.0              7.9
ภาคเอกชน                    16.2          20.9        14.4           3.1              6.3
ภาครัฐ                       13.2          31.1         8.9          18.8             13.8
การบริโภครวม (ณ ราคาคงที่)      6.8          12.4         6.8           3.9              3.2
ภาคเอกชน                     6.0          12.4         6.7           4.2              3.3
ภาครัฐบาล                    10.0          12.5         7.5           2.2              2.6
มูลค่าการส่งออกสินค้า            -3.0          18.2         3.2           4.5              7.6
ปริมาณ                       -2.9          17.0         2.6           4.1              6.1
มูลค่าการนำเข้าสินค้า            -2.5          14.9         7.8           7.1              7.6
ปริมาณ                       -2.0          15.4         6.1           9.1              7.1
ดุลบัญชีเดินสะพัด ต่อ GDP (%)      3.1           1.0         0.8           1.2              0.9
เงินเฟ้อทั่วไป                   2.9           3.2         3.0           3.1          2.3-3.3
อัตราการว่างงาน                0.6           0.5         0.7           0.7              0.7

   - เศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกของปี 2556 ขยายตัวร้อยละ 5.3 และเมื่อปรับผลของฤดูกาลออก หดตัวร้อยละ 2.2 เทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (% QoQ SA)
          - ในด้านการผลิต การขยายตัวมีปัจจัยสนับสนุนจากสาขาการโรงแรมและภัตตาคาร และการก่อสร้าง ในขณะที่การผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวจากฐานที่ต่ำ ในด้านการใช้จ่ายมีปัจจัยสนับสนุนจากการใช้จ่ายของภาคครัวเรือนตามแรงสนับสนุนจากมาตรการคืนภาษีรถยนต์คันแรก การลงทุนภาครัฐที่ขยายตัวในเกณฑ์สูง และการขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชน ในขณะที่การส่งออก
ขยายตัวช้ากว่าการคาดการณ์
          - การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในช่วงที่เหลือของปี 2556 ยังมีปัจจัยสนับสนุนจากแนวโน้มการปรับตัวดีขึ้นของภาวะการค้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลก การลงทุนภาคเอกชนที่ยังมีปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และการดำเนินการตามแผนการลงทุนที่สำคัญของภาครัฐ อย่างไรก็ตาม ความล่าช้าในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและราคาสินค้าในตลาดโลก การแข็งค่าของเงินบาทและการลดลงของแรงส่งจากมาตรการคืนภาษีให้กับผู้ซื้อรถยนต์คันแรก ยังมีแนวโน้มที่จะเป็นข้อจำกัดต่อการขยายตัวในช่วงที่เหลือของปี
          - เศรษฐกิจไทยในปี 2556 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.2 - 5.2  โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าจะขยายตัวร้อยละ 7.6 การบริโภคของครัวเรือนและการลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 3.3 และ 7.9 ตามลำดับ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 2.3 - 3.3 และบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 0.9 ของ GDP
          - ประเด็นการบริหารนโยบายเศรษฐกิจในปี 2556  ประกอบด้วย 1) การดำเนินนโยบายการเงินที่สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ และการดูแลอัตราแลกเปลี่ยนให้มีการเคลื่อนไหวอย่างมีเสถียรภาพและสอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐาน 2) การดูแลรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการดูแลราคาสินค้าสำคัญๆ เช่น สินค้าในกลุ่มเชื้อเพลิง วัสดุก่อสร้าง และวัตถุดิบทางการเกษตร เพื่อลดแรงกดดันด้านต้นทุนและราคาสินค้าและสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจ รวมทั้งการป้องกันความผันผวนในตลาดสำคัญๆ ที่อาจได้รับผลกระทบจากความผันผวนของเงินทุนเคลื่อนย้าย 3) การบริหารจัดการให้เศรษฐกิจขยายตัวอย่างต่อเนื่องเพื่อลดผลกระทบจากการลดลงของแรงส่งจากมาตรการคืนภาษีให้แก่ผู้ซื้อรถยนต์คันแรก โดยเฉพาะการเร่งรัดผลักดันการส่งออก การเร่งรัดให้เม็ดเงินที่ได้รับการอนุมัติส่งเสริมการลงทุนให้สามารถดำเนินโครงการลงทุนได้โดยเร็ว  การเตรียมการงบประมาณปี 2557 ให้มีความพร้อมและเร่งรัดเบิกจ่ายเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจได้ในไตรมาสสุดท้ายของปีที่ฐานการขยายตัวสูง 4) การแก้ไขปัญหาและบรรเทาผลกระทบให้กับ SMEs โดยเฉพาะปัญหาที่เกิดจากการแข็งค่าของเงินบาท การเพิ่มขึ้นของต้นทุนค่าแรง และความยืดเยื้อในการหดตัวของเศรษฐกิจยุโรป 5) การเร่งรัดโครงการลงทุนภายใต้แผนบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ แผนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้งการเร่งรัดแผนการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ เพื่อสร้างแรงขับเคลื่อนการขยายตัวทางเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปีและเพิ่มศักยภาพการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะยาว

          เศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกของปี 2556 และแนวโน้มปี 2556
          เศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกของปี 2556 ขยายตัวร้อยละ 5.3 ชะลอตัวจากร้อยละ 19.1 ในไตรมาสที่สี่  ปี 2555 การขยายตัวในด้านการผลิตจากฐานที่ต่า มีปัจจัยสนับสนุนส่าคัญจากสาขาการโรงแรมและภัตตาคาร การก่อสร้าง และอุตสาหกรรม ด้านการใช้จ่าย มีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของการใช้จ่ายภาคครัวเรือน และการลงทุนภาคเอกชน ในขณะที่การส่งออกขยายตัวช้ากว่าคาดการณ์ การขยายตัวของเศรษฐกิจ เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสสี่ของปี 2555 และปรับผลของฤดูกาลออก หดตัวร้อยละ 2.2

          เศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรก ปี 2556
          (1) การใช้จ่ายภาคครัวเรือน ขยายตัวร้อยละ 4.2 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 2.9 ในไตรมาสแรกของ ปี 2555 และร้อยละ 12.4 ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2555 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากมาตรการคืนภาษีให้กับผู้ซื้อรถยนต์คันแรกเป็นสำคัญ สะท้อนจากยอดจำหน่ายรถยนต์นั่งที่ขยายตัวในเกณฑ์สูงร้อยละ 121.8 ในขณะที่การใช้จ่ายในหมวดอื่นๆ ชะลอตัว ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ที่ ระดับ 73.8 เพิ่มขึ้นจากระดับ 69.4 ในไตรมาสก่อน เป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นติดต่อกัน 5 ไตรมาส และ เป็นระดับที่สูงที่สุดในรอบ 6 ปี
          (2) การลงทุนรวม ขยายตัวร้อยละ 6.0 เร่งตัวขึ้นจากร้อยละ 5.2 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ชะลอตัวจาก ร้อยละ 22.9 ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2555 โดยการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 3.1 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 20.9 ในไตรมาสก่อน ตามการชะลอตัวของการลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักรและการก่อสร้าง  ส่วนการลงทุนภาครัฐขยายตัวร้อยละ 18.8 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 31.1 ในไตรมาสก่อน โดยในไตรมาสนี้ มีการนำเข้าเครื่องบินเพื่อการพาณิชย์ของบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน 2 ลำ มูลค่า 11,943  ล้านบาท ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจอยู่ที่ระดับ 52.2 เพิ่มขึ้นจาก 50.6 ในไตรมาสก่อนหน้า ในขณะที่ ยอดขอรับการส่งเสริมการลงทุนอยู่ที่ 275 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.3
          (3) การส่งออก มีมูลค่าการส่งออกสินค้าเท่ากับ 56,181 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 4.5 เทียบกับ การหดตัวร้อยละ 1.4 ในไตรมาสแรกของปี 2555 และการขยายตัวร้อยละ 18.2 ในไตรมาสสุดท้ายของ ปี 2555 ซึ่งเป็นการขยายตัวในเกณฑ์ต่ำตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและการแข็งค่าของเงินบาท  การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 8.1 ในขณะที่การส่งออกสินค้าเกษตรขยายตัวร้อยละ 3.2
          สินค้าส่งออกที่ขยายตัว ได้แก่ ยานยนต์ (ร้อยละ16.8) เครื่องใช้ไฟฟ้า (ร้อยละ 13.4) ผลิตภัณฑ์โลหะ  (ร้อยละ 55.9) ข้าว (ร้อยละ 8.6) และมันสำปะหลัง (ร้อยละ 34.9) การส่งออกไปตลาดหลัก เช่นสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป (15) และญี่ปุ่น ขยายตัวในเกณฑ์ต่ำร้อยละ 2.6 8.7 และ 1.5 ตามลำดับ ในขณะที่การส่งออกไปยังอาเซียน (9) จีน ฮ่องกง และออสเตรเลีย ยังขยายตัวในเกณฑ์ที่น่าพอใจร้อยละ 5.9 7.3  11.2 และ 33.6 ตามลำดับ
          (4) ภาคอุตสาหกรรม ขยายตัวจากฐานที่ต่ำร้อยละ 4.8 เทียบกับการหดตัวที่ร้อยละ 4.3 ในไตรมาสแรก และการขยายตัวที่ร้อยละ 37.0 ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2555 โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัว ร้อยละ 2.9 ซึ่งได้รับปัจจัยสนับสนุนจากอุตสาหกรรมที่มีสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 30 - 60 ขยายตัวสูงร้อยละ 26.6 ตามการขยายตัวของการผลิตรถยนต์ ในขณะที่อุตสาหกรรมที่มีสัดส่วนการส่งออกต่ำกว่าร้อยละ 30 หดตัวร้อยละ 0.8 ตามการชะลอตัวของการใช้จ่ายครัวเรือนในหมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่สินค้าคงทน  ส่วนอุตสาหกรรมที่มีสัดส่วนการส่งออกมากกว่าร้อยละ 60 หดตัวร้อยละ 5.4 สอดคล้องกับการส่งออกที่ขยายตัวต่ำกว่าคาดการณ์ อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 66.8
          (5) ภาคเกษตรกรรม ขยายตัวร้อยละ 0.5 ชะลอตัวจากร้อยละ 3.4 ในไตรมาสแรก และร้อยละ 3.1 ใน ไตรมาสสุดท้ายของปี 2555  ตามการชะลอตัวของผลผลิตข้าวเปลือกนาปี ซึ่งเร่งเก็บเกี่ยวไปก่อนหน้า ในขณะที่ผลผลิตยางพารา อ้อย และปศุสัตว์ยังขยายตัวได้ดี ราคาสินค้าเกษตรสำคัญลดลงต่อเนื่อง โดยเฉพาะราคาปาล์มน้ำมัน และยางพารา เนื่องจากผลผลิตเพิ่มขึ้น ปริมาณสินค้าคงคลังสูง และความ ซบเซาของราคาสินค้าในตลาดโลก ส่งผลให้รายได้เกษตรกรลดลงร้อยละ 2.2
          (6) สาขาโรงแรมและภัตตาคาร ขยายตัวในเกณฑ์ดีร้อยละ 14.8 เทียบกับการขยายตัวที่ร้อยละ 5.6 ในไตรมาสแรก และชะลอตัวจากร้อยละ 25.7 ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2555  ตามจำนวนนักท่องเที่ยว ที่สูงเป็นประวัติการณ์ถึง 6.8 ล้านคน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.9 โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากเอเชียตะวันออก และยุโรป ที่ขยายตัวร้อยละ 28.5 และ 10.3 ตามลำดับ อัตราการเข้าพักเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 70.5 เทียบกับร้อยละ 66.4 ในไตรมาสแรกของปีก่อน นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มขึ้น 3 อันดับแรก ประกอบด้วย จีน รัสเซีย และญี่ปุ่น ตามลำดับ
          (7) สาขาการก่อสร้าง ขยายตัวร้อยละ 10.5 เทียบกับการขยายตัวที่ร้อยละ 0.8 ในไตรมาสแรก แต่ชะลอตัวจากร้อยละ 14.1 ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2555 ตามการขยายตัวของการก่อสร้างภาครัฐและการก่อสร้างภาคเอกชนที่ขยายตัวสูงร้อยละ 13.4 และ 8.9 ตามลำดับ สะท้อนจากปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์และผลิตภัณฑ์เหล็กที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.1 และร้อยละ 10.6

        แนวโน้มเศรษฐกิจไทย ปี 2556
          เศรษฐกิจไทยในปี 2556 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.2 - 5.2  โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าจะขยายตัวร้อยละ 7.6 การบริโภคของครัวเรือนและการลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 3.3 และ 7.9  ตามลำดับ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 2.3 - 3.3 และบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 0.9 ของ GDP

1. ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกของปี 2556 ในด้านต่างๆ เป็นดังนี้
          - ด้านการใช้จ่าย
          การใช้จ่ายภาคครัวเรือน: ในไตรมาสแรกของปี 2556 ขยายตัวร้อยละ 4.2 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 2.9 ในไตรมาสแรกของปี 2555 และร้อยละ 12.4 ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2555 โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักจากมาตรการคืนภาษีรถยนต์คันแรก สะท้อนจากค่าใช้จ่ายในสินค้าคงทนในไตรมาสนี้ที่ขยายตัวร้อยละ 43.6 โดยปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งขยายตัวในเกณฑ์สูงที่ร้อยละ 121.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามการเร่งส่งมอบรถยนต์คันแรก การเร่งทำการตลาดของผู้ประกอบการ และฐานการขยายตัวที่ต่ำใน ไตรมาสแรกของปี 2555 การบริโภคสินค้าในหมวดอื่นๆ ชะลอตัวลงค่อนข้างมาก ทั้งเมื่อเทียบกับไตรมาสแรก และไตรมาสสุดท้ายของปี 2555 แม้ว่าจะได้รับปัจจัยสนับสนุนจากอัตราการว่างงาน เงินเฟ้อ ดอกเบี้ย ที่อยู่ในระดับต่ำ และมาตรการปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำก็ตาม โดยส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากฐานการขยายตัวที่สูงเนื่องจากในไตรมาสเดียวกันของปี 2555 รายจ่ายเพื่อการบริโภคเร่งตัวขึ้นตามการจับจ่ายใช้สอยเพื่อชดเชยความเสียหายจากภาวะอุทกภัย แม้กระนั้นก็ตาม ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นระดับ 73.8 จากระดับ 69.4 ในไตรมาสก่อนหน้า เป็นการเพิ่มขึ้นติดต่อกัน 5 ไตรมาส และเป็นระดับที่สูงที่สุดในรอบ 6 ปี แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มจะปรับตัวดีขึ้น

         การลงทุนภาคเอกชน: ขยายตัวร้อยละ 3.1 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 9.2 ในไตรมาสแรก และร้อยละ 20.9  ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2555 ตามการชะลอตัวของการลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักรและการก่อสร้าง โดยการลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักรขยายตัวร้อยละ 1.5 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 24.1 ในไตรมาสก่อนหน้า สะท้อนจากการนำเข้าสินค้าทุนที่ลดลงร้อยละ 1.6 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 32.6 ในไตรมาสก่อนหน้า เนื่องจาก มีการเร่งนำเข้าสินค้าทุนเพื่อฟื้นฟูกำลังการผลิตในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ในประเทศขยายตัวร้อยละ 17.1 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 285.5 ในไตรมาส ก่อนหน้า เช่นเดียวกับการลงทุนก่อสร้างที่ขยายตัวร้อยละ 8.9 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 10.6 ในไตรมาส ก่อนหน้า โดยปริมาณการจำหน่ายเหล็กและปูนซีเมนต์ขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลงร้อยละ 10.6 และ 15.1 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามการลงทุนใหม่มีแนวโน้มที่จะขยายตัวในเกณฑ์ดี ซึ่งเห็นได้จากยอดขอรับการส่งเสริมการลงทุนผ่าน BOI ที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คิดเป็นมูลค่าเงินลงทุน 275 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.3  เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าและดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในไตรมาสนี้เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 52.2 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งอยู่ที่ระดับ 51.6 เช่นเดียวกับดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ 3 เดือน ข้างหน้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 55.5 ในไตรมาสก่อนหน้า มาอยู่ที่ระดับ 56.6 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการที่ปรับตัวดีขึ้น

          การส่งออก: มูลค่าการส่งออกสินค้าในไตรมาสแรกของปี 2556 คิดเป็นมูลค่า 56,181 ล้านดอลลาร์ สรอ. (1,673,585 ล้านบาท) ขยายตัวร้อยละ 4.5 เทียบกับการหดตัวร้อยละ 1.4 ในไตรมาสแรกของ ปี 2555 และการขยายตัวร้อยละ 18.2 ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2555 โดยการส่งออกในไตรมาสนี้เป็นการขยายตัวจากฐานการขยายตัวที่ต่ำในไตรมาสแรกของปี 2555 ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและการแข็งค่าของเงินบาท อย่างไรก็ดี ปริมาณการส่งออกในไตรมาสแรกยังขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 4.1 แต่ราคาสินค้าส่งออกเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.4 เมื่อหักการส่งออกทองคำที่ ยังไม่ขึ้นรูปออกแล้ว จะทำให้มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.3  และเมื่อคิดในรูปของเงินบาท มูลค่า การส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 16.9 ในไตรมาสก่อนหน้า

          มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรขยายตัวร้อยละ 3.2 โดยปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 ในขณะที่ราคาส่งออกลดลงตามภาวะราคาสินค้าในตลาดโลก โดยการส่งออกข้าวมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 8.6 จากการเร่งส่งออก และมูลค่าฐานที่ต่ำในช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า จากปัญหาอุทกภัยในประเทศ ส่วนการส่งออก มันส่าปะหลังขยายตัวจากปริมาณการส่งออกที่เพิ่มขึ้น แต่ราคาส่งออกยังคงหดตัว ในขณะที่การส่งออกยางพาราหดตัว แม้ว่าจะมีปัจจัยสนับสนุนจากฐานที่ต่ำ โดยมีสาเหตุที่สำคัญมาจากการลดลงของราคาส่งออก เช่นเดียวกับการส่งออกน่าตาลปรับตัวลดลงจากราคาและปริมาณการส่งออก ซึ่งส่งผลให้ราคาส่งออกสินค้าเกษตรโดยภาพรวมลดลงร้อยละ 3.0 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมชะลอตัวลงทั้งปริมาณและมูลค่า  โดยปริมาณขยายตัวเพียงร้อยละ 7.0 ชะลอลงจากร้อยละ 0.4 ในไตรมาสแรกของปี 2555 และร้อยละ 23.6  ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2555 เช่นเดียวกับมูลค่าที่ขยายตัวร้อยละ 8.1 เทียบกับร้อยละ 2.0 และ 25.4  ในไตรมาสแรกของปี 2555 และไตรมาสสุดท้ายของปี 2555 ตามลำดับ สินค้าที่ขยายตัวได้ดี ได้แก่ ยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์โลหะ และเคมีภัณฑ์ ขยายตัวร้อยละ 16.8 13.4 55.9 15.9 ตามลำดับ โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนสำคัญมาจากฐานที่ต่ำในไตรมาสแรกของปี 2555 ซึ่งภาวะการผลิตยังไม่ฟื้นตัวจากปัญหาอุทกภัย

         การลงทุนภาคเอกชน: ขยายตัวร้อยละ 3.1 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 9.2 ในไตรมาสแรก และร้อยละ 20.9  ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2555 ตามการชะลอตัวของการลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักรและการก่อสร้าง โดยการลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักรขยายตัวร้อยละ 1.5 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 24.1 ในไตรมาสก่อนหน้า สะท้อนจากการนำเข้าสินค้าทุนที่ลดลงร้อยละ 1.6 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 32.6 ในไตรมาสก่อนหน้า เนื่องจาก มีการเร่งนำเข้าสินค้าทุนเพื่อฟื้นฟูกำลังการผลิตในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ในประเทศขยายตัวร้อยละ 17.1 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 285.5 ในไตรมาส ก่อนหน้า เช่นเดียวกับการลงทุนก่อสร้างที่ขยายตัวร้อยละ 8.9 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 10.6 ในไตรมาส ก่อนหน้า โดยปริมาณการจำหน่ายเหล็กและปูนซีเมนต์ขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลงร้อยละ 10.6 และ 15.1 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามการลงทุนใหม่มีแนวโน้มที่จะขยายตัวในเกณฑ์ดี ซึ่งเห็นได้จากยอดขอรับการส่งเสริมการลงทุนผ่าน BOI ที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คิดเป็นมูลค่าเงินลงทุน 275 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.3  เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าและดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในไตรมาสนี้เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 52.2 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งอยู่ที่ระดับ 51.6 เช่นเดียวกับดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ 3 เดือน ข้างหน้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 55.5 ในไตรมาสก่อนหน้า มาอยู่ที่ระดับ 56.6 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการที่ปรับตัวดีขึ้น

          การส่งออก: มูลค่าการส่งออกสินค้าในไตรมาสแรกของปี 2556 คิดเป็นมูลค่า 56,181 ล้านดอลลาร์ สรอ. (1,673,585 ล้านบาท) ขยายตัวร้อยละ 4.5 เทียบกับการหดตัวร้อยละ 1.4 ในไตรมาสแรกของ ปี 2555 และการขยายตัวร้อยละ 18.2 ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2555 โดยการส่งออกในไตรมาสนี้เป็นการขยายตัวจากฐานการขยายตัวที่ต่ำในไตรมาสแรกของปี 2555 ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและการแข็งค่าของเงินบาท อย่างไรก็ดี ปริมาณการส่งออกในไตรมาสแรกยังขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 4.1 แต่ราคาสินค้าส่งออกเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.4 เมื่อหักการส่งออกทองคำที่ ยังไม่ขึ้นรูปออกแล้ว จะทำให้มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.3  และเมื่อคิดในรูปของเงินบาท มูลค่า การส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 16.9 ในไตรมาสก่อนหน้า

          มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรขยายตัวร้อยละ 3.2 โดยปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 ในขณะที่ราคาส่งออกลดลงตามภาวะราคาสินค้าในตลาดโลก โดยการส่งออกข้าวมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 8.6 จากการเร่งส่งออก และมูลค่าฐานที่ต่ำในช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า จากปัญหาอุทกภัยในประเทศ ส่วนการส่งออก มันส่าปะหลังขยายตัวจากปริมาณการส่งออกที่เพิ่มขึ้น แต่ราคาส่งออกยังคงหดตัว ในขณะที่การส่งออกยางพาราหดตัว แม้ว่าจะมีปัจจัยสนับสนุนจากฐานที่ต่ำ โดยมีสาเหตุที่สำคัญมาจากการลดลงของราคาส่งออก เช่นเดียวกับการส่งออกน่าตาลปรับตัวลดลงจากราคาและปริมาณการส่งออก ซึ่งส่งผลให้ราคาส่งออกสินค้าเกษตรโดยภาพรวมลดลงร้อยละ 3.0 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมชะลอตัวลงทั้งปริมาณและมูลค่า  โดยปริมาณขยายตัวเพียงร้อยละ 7.0 ชะลอลงจากร้อยละ 0.4 ในไตรมาสแรกของปี 2555 และร้อยละ 23.6  ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2555 เช่นเดียวกับมูลค่าที่ขยายตัวร้อยละ 8.1 เทียบกับร้อยละ 2.0 และ 25.4  ในไตรมาสแรกของปี 2555 และไตรมาสสุดท้ายของปี 2555 ตามลำดับ สินค้าที่ขยายตัวได้ดี ได้แก่ ยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์โลหะ และเคมีภัณฑ์ ขยายตัวร้อยละ 16.8 13.4 55.9 15.9 ตามลำดับ โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนสำคัญมาจากฐานที่ต่ำในไตรมาสแรกของปี 2555 ซึ่งภาวะการผลิตยังไม่ฟื้นตัวจากปัญหาอุทกภัย

         การลงทุนภาคเอกชน: ขยายตัวร้อยละ 3.1 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 9.2 ในไตรมาสแรก และร้อยละ 20.9  ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2555 ตามการชะลอตัวของการลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักรและการก่อสร้าง โดยการลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักรขยายตัวร้อยละ 1.5 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 24.1 ในไตรมาสก่อนหน้า สะท้อนจากการนำเข้าสินค้าทุนที่ลดลงร้อยละ 1.6 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 32.6 ในไตรมาสก่อนหน้า เนื่องจาก มีการเร่งนำเข้าสินค้าทุนเพื่อฟื้นฟูกำลังการผลิตในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ในประเทศขยายตัวร้อยละ 17.1 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 285.5 ในไตรมาส ก่อนหน้า เช่นเดียวกับการลงทุนก่อสร้างที่ขยายตัวร้อยละ 8.9 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 10.6 ในไตรมาส ก่อนหน้า โดยปริมาณการจำหน่ายเหล็กและปูนซีเมนต์ขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลงร้อยละ 10.6 และ 15.1 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามการลงทุนใหม่มีแนวโน้มที่จะขยายตัวในเกณฑ์ดี ซึ่งเห็นได้จากยอดขอรับการส่งเสริมการลงทุนผ่าน BOI ที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คิดเป็นมูลค่าเงินลงทุน 275 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.3  เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าและดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในไตรมาสนี้เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 52.2 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งอยู่ที่ระดับ 51.6 เช่นเดียวกับดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ 3 เดือน ข้างหน้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 55.5 ในไตรมาสก่อนหน้า มาอยู่ที่ระดับ 56.6 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการที่ปรับตัวดีขึ้น

          การส่งออก: มูลค่าการส่งออกสินค้าในไตรมาสแรกของปี 2556 คิดเป็นมูลค่า 56,181 ล้านดอลลาร์ สรอ. (1,673,585 ล้านบาท) ขยายตัวร้อยละ 4.5 เทียบกับการหดตัวร้อยละ 1.4 ในไตรมาสแรกของ ปี 2555 และการขยายตัวร้อยละ 18.2 ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2555 โดยการส่งออกในไตรมาสนี้เป็นการขยายตัวจากฐานการขยายตัวที่ต่ำในไตรมาสแรกของปี 2555 ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและการแข็งค่าของเงินบาท อย่างไรก็ดี ปริมาณการส่งออกในไตรมาสแรกยังขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 4.1 แต่ราคาสินค้าส่งออกเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.4 เมื่อหักการส่งออกทองคำที่ ยังไม่ขึ้นรูปออกแล้ว จะทำให้มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.3  และเมื่อคิดในรูปของเงินบาท มูลค่า การส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 16.9 ในไตรมาสก่อนหน้า

          มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรขยายตัวร้อยละ 3.2 โดยปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 ในขณะที่ราคาส่งออกลดลงตามภาวะราคาสินค้าในตลาดโลก โดยการส่งออกข้าวมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 8.6 จากการเร่งส่งออก และมูลค่าฐานที่ต่ำในช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า จากปัญหาอุทกภัยในประเทศ ส่วนการส่งออก มันส่าปะหลังขยายตัวจากปริมาณการส่งออกที่เพิ่มขึ้น แต่ราคาส่งออกยังคงหดตัว ในขณะที่การส่งออกยางพาราหดตัว แม้ว่าจะมีปัจจัยสนับสนุนจากฐานที่ต่ำ โดยมีสาเหตุที่สำคัญมาจากการลดลงของราคาส่งออก เช่นเดียวกับการส่งออกน่าตาลปรับตัวลดลงจากราคาและปริมาณการส่งออก ซึ่งส่งผลให้ราคาส่งออกสินค้าเกษตรโดยภาพรวมลดลงร้อยละ 3.0 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมชะลอตัวลงทั้งปริมาณและมูลค่า  โดยปริมาณขยายตัวเพียงร้อยละ 7.0 ชะลอลงจากร้อยละ 0.4 ในไตรมาสแรกของปี 2555 และร้อยละ 23.6  ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2555 เช่นเดียวกับมูลค่าที่ขยายตัวร้อยละ 8.1 เทียบกับร้อยละ 2.0 และ 25.4  ในไตรมาสแรกของปี 2555 และไตรมาสสุดท้ายของปี 2555 ตามลำดับ สินค้าที่ขยายตัวได้ดี ได้แก่ ยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์โลหะ และเคมีภัณฑ์ ขยายตัวร้อยละ 16.8 13.4 55.9 15.9 ตามลำดับ โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนสำคัญมาจากฐานที่ต่ำในไตรมาสแรกของปี 2555 ซึ่งภาวะการผลิตยังไม่ฟื้นตัวจากปัญหาอุทกภัย

         การลงทุนภาคเอกชน: ขยายตัวร้อยละ 3.1 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 9.2 ในไตรมาสแรก และร้อยละ 20.9  ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2555 ตามการชะลอตัวของการลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักรและการก่อสร้าง โดยการลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักรขยายตัวร้อยละ 1.5 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 24.1 ในไตรมาสก่อนหน้า สะท้อนจากการนำเข้าสินค้าทุนที่ลดลงร้อยละ 1.6 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 32.6 ในไตรมาสก่อนหน้า เนื่องจาก มีการเร่งนำเข้าสินค้าทุนเพื่อฟื้นฟูกำลังการผลิตในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ในประเทศขยายตัวร้อยละ 17.1 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 285.5 ในไตรมาส ก่อนหน้า เช่นเดียวกับการลงทุนก่อสร้างที่ขยายตัวร้อยละ 8.9 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 10.6 ในไตรมาส ก่อนหน้า โดยปริมาณการจำหน่ายเหล็กและปูนซีเมนต์ขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลงร้อยละ 10.6 และ 15.1 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามการลงทุนใหม่มีแนวโน้มที่จะขยายตัวในเกณฑ์ดี ซึ่งเห็นได้จากยอดขอรับการส่งเสริมการลงทุนผ่าน BOI ที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คิดเป็นมูลค่าเงินลงทุน 275 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.3  เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าและดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในไตรมาสนี้เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 52.2 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งอยู่ที่ระดับ 51.6 เช่นเดียวกับดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ 3 เดือน ข้างหน้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 55.5 ในไตรมาสก่อนหน้า มาอยู่ที่ระดับ 56.6 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการที่ปรับตัวดีขึ้น

          การส่งออก: มูลค่าการส่งออกสินค้าในไตรมาสแรกของปี 2556 คิดเป็นมูลค่า 56,181 ล้านดอลลาร์ สรอ. (1,673,585 ล้านบาท) ขยายตัวร้อยละ 4.5 เทียบกับการหดตัวร้อยละ 1.4 ในไตรมาสแรกของ ปี 2555 และการขยายตัวร้อยละ 18.2 ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2555 โดยการส่งออกในไตรมาสนี้เป็นการขยายตัวจากฐานการขยายตัวที่ต่ำในไตรมาสแรกของปี 2555 ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและการแข็งค่าของเงินบาท อย่างไรก็ดี ปริมาณการส่งออกในไตรมาสแรกยังขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 4.1 แต่ราคาสินค้าส่งออกเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.4 เมื่อหักการส่งออกทองคำที่ ยังไม่ขึ้นรูปออกแล้ว จะทำให้มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.3  และเมื่อคิดในรูปของเงินบาท มูลค่า การส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 16.9 ในไตรมาสก่อนหน้า

          มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรขยายตัวร้อยละ 3.2 โดยปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 ในขณะที่ราคาส่งออกลดลงตามภาวะราคาสินค้าในตลาดโลก โดยการส่งออกข้าวมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 8.6 จากการเร่งส่งออก และมูลค่าฐานที่ต่ำในช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า จากปัญหาอุทกภัยในประเทศ ส่วนการส่งออก มันส่าปะหลังขยายตัวจากปริมาณการส่งออกที่เพิ่มขึ้น แต่ราคาส่งออกยังคงหดตัว ในขณะที่การส่งออกยางพาราหดตัว แม้ว่าจะมีปัจจัยสนับสนุนจากฐานที่ต่ำ โดยมีสาเหตุที่สำคัญมาจากการลดลงของราคาส่งออก เช่นเดียวกับการส่งออกน่าตาลปรับตัวลดลงจากราคาและปริมาณการส่งออก ซึ่งส่งผลให้ราคาส่งออกสินค้าเกษตรโดยภาพรวมลดลงร้อยละ 3.0 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมชะลอตัวลงทั้งปริมาณและมูลค่า  โดยปริมาณขยายตัวเพียงร้อยละ 7.0 ชะลอลงจากร้อยละ 0.4 ในไตรมาสแรกของปี 2555 และร้อยละ 23.6  ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2555 เช่นเดียวกับมูลค่าที่ขยายตัวร้อยละ 8.1 เทียบกับร้อยละ 2.0 และ 25.4  ในไตรมาสแรกของปี 2555 และไตรมาสสุดท้ายของปี 2555 ตามลำดับ สินค้าที่ขยายตัวได้ดี ได้แก่ ยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์โลหะ และเคมีภัณฑ์ ขยายตัวร้อยละ 16.8 13.4 55.9 15.9 ตามลำดับ โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนสำคัญมาจากฐานที่ต่ำในไตรมาสแรกของปี 2555 ซึ่งภาวะการผลิตยังไม่ฟื้นตัวจากปัญหาอุทกภัย

         การลงทุนภาคเอกชน: ขยายตัวร้อยละ 3.1 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 9.2 ในไตรมาสแรก และร้อยละ 20.9  ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2555 ตามการชะลอตัวของการลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักรและการก่อสร้าง โดยการลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักรขยายตัวร้อยละ 1.5 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 24.1 ในไตรมาสก่อนหน้า สะท้อนจากการนำเข้าสินค้าทุนที่ลดลงร้อยละ 1.6 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 32.6 ในไตรมาสก่อนหน้า เนื่องจาก มีการเร่งนำเข้าสินค้าทุนเพื่อฟื้นฟูกำลังการผลิตในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ในประเทศขยายตัวร้อยละ 17.1 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 285.5 ในไตรมาส ก่อนหน้า เช่นเดียวกับการลงทุนก่อสร้างที่ขยายตัวร้อยละ 8.9 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 10.6 ในไตรมาส ก่อนหน้า โดยปริมาณการจำหน่ายเหล็กและปูนซีเมนต์ขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลงร้อยละ 10.6 และ 15.1 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามการลงทุนใหม่มีแนวโน้มที่จะขยายตัวในเกณฑ์ดี ซึ่งเห็นได้จากยอดขอรับการส่งเสริมการลงทุนผ่าน BOI ที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คิดเป็นมูลค่าเงินลงทุน 275 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.3  เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าและดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในไตรมาสนี้เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 52.2 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งอยู่ที่ระดับ 51.6 เช่นเดียวกับดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ 3 เดือน ข้างหน้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 55.5 ในไตรมาสก่อนหน้า มาอยู่ที่ระดับ 56.6 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการที่ปรับตัวดีขึ้น

          การส่งออก: มูลค่าการส่งออกสินค้าในไตรมาสแรกของปี 2556 คิดเป็นมูลค่า 56,181 ล้านดอลลาร์ สรอ. (1,673,585 ล้านบาท) ขยายตัวร้อยละ 4.5 เทียบกับการหดตัวร้อยละ 1.4 ในไตรมาสแรกของ ปี 2555 และการขยายตัวร้อยละ 18.2 ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2555 โดยการส่งออกในไตรมาสนี้เป็นการขยายตัวจากฐานการขยายตัวที่ต่ำในไตรมาสแรกของปี 2555 ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและการแข็งค่าของเงินบาท อย่างไรก็ดี ปริมาณการส่งออกในไตรมาสแรกยังขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 4.1 แต่ราคาสินค้าส่งออกเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.4 เมื่อหักการส่งออกทองคำที่ ยังไม่ขึ้นรูปออกแล้ว จะทำให้มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.3  และเมื่อคิดในรูปของเงินบาท มูลค่า การส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 16.9 ในไตรมาสก่อนหน้า

          มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรขยายตัวร้อยละ 3.2 โดยปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 ในขณะที่ราคาส่งออกลดลงตามภาวะราคาสินค้าในตลาดโลก โดยการส่งออกข้าวมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 8.6 จากการเร่งส่งออก และมูลค่าฐานที่ต่ำในช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า จากปัญหาอุทกภัยในประเทศ ส่วนการส่งออก มันส่าปะหลังขยายตัวจากปริมาณการส่งออกที่เพิ่มขึ้น แต่ราคาส่งออกยังคงหดตัว ในขณะที่การส่งออกยางพาราหดตัว แม้ว่าจะมีปัจจัยสนับสนุนจากฐานที่ต่ำ โดยมีสาเหตุที่สำคัญมาจากการลดลงของราคาส่งออก เช่นเดียวกับการส่งออกน่าตาลปรับตัวลดลงจากราคาและปริมาณการส่งออก ซึ่งส่งผลให้ราคาส่งออกสินค้าเกษตรโดยภาพรวมลดลงร้อยละ 3.0 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมชะลอตัวลงทั้งปริมาณและมูลค่า  โดยปริมาณขยายตัวเพียงร้อยละ 7.0 ชะลอลงจากร้อยละ 0.4 ในไตรมาสแรกของปี 2555 และร้อยละ 23.6  ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2555 เช่นเดียวกับมูลค่าที่ขยายตัวร้อยละ 8.1 เทียบกับร้อยละ 2.0 และ 25.4  ในไตรมาสแรกของปี 2555 และไตรมาสสุดท้ายของปี 2555 ตามลำดับ สินค้าที่ขยายตัวได้ดี ได้แก่ ยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์โลหะ และเคมีภัณฑ์ ขยายตัวร้อยละ 16.8 13.4 55.9 15.9 ตามลำดับ โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนสำคัญมาจากฐานที่ต่ำในไตรมาสแรกของปี 2555 ซึ่งภาวะการผลิตยังไม่ฟื้นตัวจากปัญหาอุทกภัย

          ตลาดส่งออก: ชะลอตัวลงทั้งตลาดหลักและตลาดศักยภาพสูง โดยการส่งออกไปยังตลาดหลัก เช่น สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป (15) และญี่ปุ่น ขยายตัวในเกณฑ์ต่ำร้อยละ 2.6 8.7 และ 1.5 ตามลำดับ แม้ว่าจะได้รับปัจจัยสนับสนุนจากฐานที่ต่ำก็ตาม สอดคล้องกับการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ สรอ. และเงินเยน รวมทั้งเศรษฐกิจยุโรปที่ยังอยู่ในภาวะหดตัวอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่การส่งออกไปยังอาเซียน จีน ฮ่องกง  ตะวันออกกลาง และออสเตรเลียยังขยายตัวในเกณฑ์ที่น่าพอใจร้อยละ 5.9 7.3 11.2 5.4 และ 33.6 ตามลำดับ ตามภาวะเศรษฐกิจที่ยังอยู่ในเกณฑ์ดี

          การน่าเข้า: มูลค่าการนำเข้าสินค้าในไตรมาสแรกของปี 2556 คิดเป็นมูลค่า 56,402 ล้านดอลลาร์ สรอ. (1,681,475 ล้านบาท) ขยายตัวร้อยละ 7.1 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 9.7 และ 14.9 ในไตรมาสแรกของปี 2555 และไตรมาสสุดท้ายของปี 2555 ตามลำดับ ปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.1 ชะลอตัวจากร้อยละ 15.4 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยปริมาณการนำเข้าชะลอตัวในทุกหมวด โดยเฉพาะสินค้าทุน สินค้าวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลาง ในขณะที่ราคานำเข้าลดลงต่อเนื่องร้อยละ 1.8 จากที่หดตัวร้อยละ 0.4 ในไตรมาสก่อนหน้า  ตามการปรับตัวลดลงของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ทองคำ และอัญมณี เมื่อคิดในรูปของเงินบาท มูลค่าการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 3.1  เมื่อปรับปัจจัยฤดูกาลออกแล้ว และพิจารณาเป็นรายหมวด พบว่า มูลค่าสินค้านำเข้าทุกหมวดขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลง โดยมูลค่าการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลาง ขยายตัวร้อยละ 1.0 ชะลอตัวจากร้อยละ 13.5 ในไตรมาสก่อนหน้า สินค้าที่มีมูลค่าการนำเข้าลดลง เช่น ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า ชิ้นส่วนและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ แผงวงจรรวมและชิ้นส่วน และน้ำมันดิบ สินค้าทุน มูลค่าการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 6.9 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 44.7 ในไตรมาสก่อนหน้า สินค้านำเข้าที่ขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลง ได้แก่ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคม เครื่องจักรกลอื่นๆ และชิ้นส่วน อากาศยาน และรถไฟ สินค้าอุปโภคบริโภค มูลค่าการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 10.2 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 14.1 ในไตรมาสก่อนหน้า  ตามการชะลอตัวของการนำเข้าสินค้าคงทนโดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน เครื่องประดับ (ยกเว้นไข่มุกและ อัญมณี) และเครื่องดนตรี รวมทั้งฐานที่สูงในช่วงเดียวกันของปีที่แล้วหลังเกิดวิกฤติอุทกภัย
          อัตราการค้า (Term of Trade) ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า โดยราคาส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ขณะที่ราคานำเข้าหดตัวร้อยละ 1.8 ทำให้อัตราการค้าในไตรมาสแรกของปี 2556 อยู่ที่ 101.4 เทียบกับ 100.9 ในไตรมาสก่อนหน้า
          ดุลการค้า: ขาดดุล 221 ล้านดอลลาร์ สรอ. (7,890 ล้านบาท) เทียบกับการเกินดุล 765 ล้านดอลลาร์ สรอ. (23,464 ล้านบาท) ในไตรมาสก่อนหน้า หากไม่รวมทองคำ ดุลการค้าเกินดุล 5,853 ล้านดอลลาร์ สรอ. (176,251 ล้านบาท)

ด้านการผลิต:
          สาขาเกษตรกรรมขยายตัวร้อยละ 0.5 ชะลอตัวจากร้อยละ 3.4 ในไตรมาสแรก และ ร้อยละ 3.1  ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2555 เนื่องจากการชะลอตัวของผลผลิตข้าวนาปีที่เร่งเก็บเกี่ยวไปแล้วในไตรมาสก่อนหน้า ในขณะที่ผลผลิตสินค้าเกษตรอื่นยังคงขยายตัวได้ดี ทั้งนี้เป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของ เพลี้ยแป้งในมันสำปะหลังเริ่มลดลง เนื้อที่ให้ผลผลิตยางพาราในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ และเนื้อที่ให้ผลผลิตปาล์มน้ำมันเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับผลผลิตปศุสัตว์ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 เนื่องจากการขยาย การผลิตไก่เนื้อและสุกรเพื่อรองรับความต้องการบริโภคทั้งในตลาดภายในและต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น ทำให้ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรขยายตัวร้อยละ 1.9 อย่างไรก็ตาม ดัชนีราคาสินค้าเกษตรยังคงลดลงร้อยละ 4.0 ตามราคายางพาราและปาล์มน้ำมันที่ลดลงเนื่องจากภาวะความซบเซาของราคาในตลาดโลกและปริมาณสินค้าคงคลังของประเทศผู้ซื้อ และผู้ผลิตสำคัญซึ่งอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้ดัชนีรายได้เกษตรกรลดลงร้อยละ 2.2 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และลดลงร้อยละ 5.7 เทียบกับไตรมาสก่อนหน้า
          สาขาอุตสาหกรรมขยายตัวในเกณฑ์ต่าที่ร้อยละ 4.8 เทียบกับการหดตัวร้อยละ 4.3 ในไตรมาสแรก และการขยายตัวร้อยละ 37.0 ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2555 และเมื่อปรับปัจจัยฤดูกาลแล้วหดตัวจากไตรมาสก่อนร้อยละ 5.9 โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวเพียงร้อยละ 2.9 แม้จะได้รับปัจจัยสนับสนุนจากฐานที่ต่ำก็ตาม การขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมในไตรมาสนี้ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมการผลิตที่มีสัดส่วนการส่งออกต่ำกว่าร้อยละ 60 เป็นหลัก โดยเฉพาะยานยนต์ซึ่งขยายตัว ร้อยละ 47.5 เช่นเดียวกับสิ่งทอ และผลิตภัณฑ์ยางซึ่งขยายตัวร้อยละ 7.7 และ 2.2 ตามลำดับ ในขณะที่อุตสาหกรรมที่มีสัดส่วนการส่งออกมากกว่าร้อยละ 60 หดตัวร้อยละ 5.4 ซึ่งเป็นการหดตัวจากฐานที่ต่ำ โดยเฉพาะการหดตัวของอุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์น้ำ (ร้อยละ 6.9) เสื้อผ้าสำเร็จรูป (ร้อยละ 14.3) อิเล็กทรอนิกส์ (ร้อยละ 7.4) และฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ (ร้อยละ 7.3) ทำให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมในภาพรวมขยายตัวในเกณฑ์ต่ำ อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 66.8 เทียบกับร้อยละ 66.9 ในไตรมาสก่อน
          สาขาก่อสร้าง ขยายตัวร้อยละ 10.5 ชะลอตัวเล็กน้อยจากร้อยละ 14.1 ในไตรมาสก่อน ตามการชะลอตัวของก่อสร้างภาคเอกชน การก่อสร้างภาครัฐที่เร่งดำเนินการไปก่อนหน้า และฐานการขยายตัวที่เริ่มสูงขึ้น โดยการก่อสร้างภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 8.9 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 10.6 ในไตรมาสก่อน ซึ่งสะท้อนจากเครื่องชี้ทั้งปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ ผลิตภัณฑ์เหล็ก และพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างที่ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงที่ร้อยละ 15.1  10.6 และ 3.3 ตามลำดับ เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 20.6  49.5 และ 16.5 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามลำดับ ในขณะที่การก่อสร้างภาครัฐขยายตัวได้ดีร้อยละ 13.4  ตามงบลงทุนของภาครัฐที่มีการเบิกจ่ายเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจได้มากขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 เร่งตัวขึ้นจากร้อยละ 1.4 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามต้นทุน การผลิตที่สูงขึ้น
          สาขาอสังหาริมทรัพย์ ขยายตัวร้อยละ 4.4 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 8.0 ในไตรมาสก่อน โดยความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยยังคงขยายตัว สะท้อนจากยอดคงค้างสินเชื่อส่วนบุคคลเพื่ออสังหาริมทรัพย์ของธนาคารพาณิชย์ที่ขยายตัวร้อยละ 12.4 และการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลที่ขยายตัวร้อยละ 14.1 สอดคล้องกับการขยายตัวของเครื่องชี้ด้านอุปทาน โดยยอดคงค้างสินเชื่อผู้ประกอบการของธนาคารพาณิชย์และจำนวนโครงการอสังหาริมทรัพย์เปิดตัวใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.4 และ 6.9 ตามลำดับ เป็นไปในทิศทางเดียวกับดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการที่อยู่ในระดับสูง ในขณะที่ระดับราคายังคงเพิ่มขึ้น ทั้งราคาอาคารชุด ราคาทาวน์เฮ้าส์พร้อมที่ดิน ราคาที่ดิน และราคาบ้านเดี่ยวพร้อมที่ดิน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 8.8  6.9  5.1 และ 4.4 ตามลำดับ
          สาขาโรงแรมและภัตตาคาร ขยายตัวในเกณฑ์ดีร้อยละ 14.8 โดยมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติจำนวน 6.8 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.9 สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ ส่งผลให้มีรายรับจากการท่องเที่ยวต่างชาติทั้งสิ้น 352,120 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.6 ซึ่งสอดคล้องกับอัตราการเข้าพักเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 70.5 เทียบกับร้อยละ 66.4 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน
นักท่องเที่ยวต่างชาติที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นมากที่สุดในไตรมาสนี้เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2555 ได้แก่ นักท่องเที่ยวจากจีน เพิ่มขึ้น 542,409 คน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 93.5 รองลงมา คือ รัสเซียและญี่ปุ่น เพิ่มขึ้น 120,597 และ 73,782 คน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.0 และ 22.1 ตามลำดับ โดยมีปัจจัยสำคัญประกอบด้วย 1) การท่องเที่ยวช่วงวันหยุดในเทศกาลตรุษจีน และอิทธิพลจากภาพยนตร์จีนเรื่อง "Lost in Thailand"  2) สถานการณ์พิพาทในคาบสมุทรเกาหลีและหมู่เกาะในทะเลจีนตะวันออก 3) เสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเมืองในรัสเซียปรับตัวดีขึ้น 4) ความไม่สงบทางการเมืองในอียิปต์ ที่ทำให้นักท่องเที่ยวรัสเซียเดินทางไปยังภูมิภาคอื่นมากขึ้น และ 5) การขยายตัวของเที่ยวบินแบบเหมาลำและเที่ยวบินตรงสู่ภูเก็ตและเกาะสมุย
           สาขาการค้าส่งค้าปลีก ขยายตัวร้อยละ 5.0 ชะลอตัวจากร้อยละ 7.6 ในไตรมาสก่อน เป็นการขยายตัวต่อเนื่องตามฐานการบริโภคที่เริ่มปรับตัวเข้าสู่ภาวะปกติ โดยเฉพาะหมวดอาหารและเครื่องดื่ม รถยนต์ เชื้อเพลิง และสินค้าคงทน โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น การก่อสร้างภาครัฐที่ ยังขยายตัว อัตราดอกเบี้ยในระบบเศรษฐกิจที่ยังอยู่ในระดับที่เอื้ออำนวยต่อการขยายตัวของอุปสงค์ และค่าจ้างที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งมาตรการคืนภาษีให้กับผู้ซื้อรถยนต์คันแรก
          การจ้างงาน ไตรมาสแรก ปี 2556 มีการจ้างงาน 38.55 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 1.3 ตามการจ้างงานของสาขาก่อสร้าง ค้าส่งและค้าปลีก โรงแรมและภัตตาคาร และเกษตร เป็นสำคัญ โดย 1) สาขาก่อสร้าง มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นจำนวน 175,920 คน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7 สอดคล้องกับการขยายตัวของภาคการก่อสร้าง ทั้งภาครัฐและเอกชน 2) สาขาค้าส่งและค้าปลีก มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นจำนวน 175,810 คน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 ตามภาวะการค้าที่ยังขยายตัว จากยอดขายในหมวดยานยนต์ อาหารและเครื่องดื่ม และการก่อสร้าง 3) สาขาโรงแรมและภัตตาคาร มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นจำนวน 136,970 คน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 สอดคล้องกับการขยายตัวของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ และ 4) ภาคเกษตร มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นจำนวน 128,253 คน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 ตามการเพิ่มขึ้นของพื้นที่ให้ผลผลิตยางพาราและปาล์มน้ำมัน  สำหรับผู้ว่างงานเฉลี่ยในไตรมาสนี้มีจำนวน 278,867 คน ลดลง 6,283 คน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 0.7 ตลาดแรงงานยังคงอยู่ในภาวะตึง โดยสัดส่วนของตำแหน่งงานว่างทั้งประเทศต่อผู้สมัครงานใหม่ยังคงที่ที่ระดับ 0.9

ภาวะการคลัง
          การจัดเก็บรายได้: ในไตรมาส 2 ของปีงบประมาณ 2556 (มกราคม - มีนาคม 2556) รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้สุทธิ 470,726.4  ล้านบาท เพิ่มขึ้น 57,910.5 ล้านบาทจากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว หรือร้อยละ 14.0 และสูงกว่าเป้าหมาย 24,423.6 ล้านบาท หรือร้อยละ 5.5 ซึ่งเป็นผลมาจาก (1) ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจัดเก็บได้สูงกว่าเป้าหมาย 9,496.9 ล้านบาท หรือร้อยละ 11.4 ตามการขยายตัวของรายได้ครัวเรือน (2) ภาษีสรรพสามิตรถยนต์ จัดเก็บได้สูงกว่าเป้าหมาย 8,485.4 ล้านบาท หรือร้อยละ 27.6 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากมาตรการภาษีรถยนต์คันแรกของรัฐบาล และ (3) การนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจสูงกว่าประมาณการ 9,417.8 ล้านบาท หรือร้อยละ 46.7 เนื่องจากธนาคารออมสินนำส่งรายได้จากกำไรสุทธิประจำปี 2555 และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) นำส่งเงินปันผลจากกำไรสุทธิประจำปี 2554 ที่สูงกว่าประมาณการ 3,209.4 ล้านบาท และ 2,870 ล้านบาท ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม มีการจัดเก็บรายได้ต่ำกว่าประมาณการในรายการที่สำคัญ ประกอบด้วย (1) ภาษีมูลค่าเพิ่ม จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 2,523.5 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.4 ซึ่งเป็นผลจากการชะลอตัวของมูลค่าการนำเข้า และ (2) ภาษีเงินได้ นิติบุคคล จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 1,443 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.3 เนื่องจากผลประกอบการของ นิติบุคคลต่ำกว่าประมาณการ
          การเบิกจ่ายงบประมาณ ในไตรมาส 2 ของปีงบประมาณ 2556 รัฐบาลมีการเบิกจ่ายงบประมาณทั้งสิ้น 593,797.9 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 24.5 เนื่องจากพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 มีผลใช้บังคับในเดือนกุมภาพันธ์ 2555 ส่งผลให้ ส่วนราชการมีการเร่งการเบิกจ่ายในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม  2555 เป็นจำนวนมาก โดยการเบิกจ่าย ในไตรมาสนี้ จำแนกเป็น (1) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2556 จำนวน 512,808.2 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 21.4 ของวงเงินงบประมาณ (ต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ร้อยละ 24 และ ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 30) โดยแบ่งเป็น รายจ่ายประจำจำนวน 422,105.3 ล้านบาท (ต่ำกว่าไตรมาสเดียวกันของปีงบประมาณที่แล้วร้อยละ 35.2) และรายจ่ายลงทุนจำนวน 90,702.8 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 22.6 ของวงเงินงบประมาณ (สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ร้อยละ 15 และสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 10.9)  เนื่องจากการเร่งรัดการเบิกจ่ายตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ (2) งบประมาณกันไว้เบิกจ่ายเหลื่อมปี จำนวน 72,727 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 24.2 ของรายจ่ายกันไว้เบิกจ่ายเหลื่อมปีทั้งหมด  (3) เงินกู้ภายใต้โครงการไทยเข้มแข็ง 2555 จำนวน 1,723.1 ล้านบาท (4) เงินกู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐาน (Development Policy Loan: DPL) จำนวน 4,124.5 ล้านบาท (แบ่งเป็นการเบิกจ่ายโครงการ DPL ภายใต้โครงการไทยเข้มแข็ง 2555 (TKK) 2,576.8 ล้านบาท และเป็นการเบิกจ่ายโครงการ DPL ที่อยู่นอกโครงการ TKK 1,547.7 ล้านบาท) และ (5) เงินกู้เพื่อวางระบบบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ. 2555 จำนวน 2,415.1 ล้านบาท (เบิกจ่ายสะสม ณ สิ้นไตรมาส 2 ของปีงบประมาณ 2556 รวม 6,960.3 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 27.6 ของงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรจำนวน 25,193.2 ล้านบาท) นอกจากนี้ ในไตรมาส 2 ของปีงบประมาณ 2556 รัฐวิสาหกิจ (รวมบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ) มี การเบิกจ่ายงบลงทุนจำนวน 90,015.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 32,675.8 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันของปีงบประมาณที่แล้ว หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 57 โดยส่วนใหญ่เป็นการเบิกจ่ายของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) การรถไฟแห่งประเทศไทย และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
          ฐานะการคลัง ในไตรมาส 2 ของปีงบประมาณ 2556 รัฐบาลขาดดุลการคลังตามระบบกระแสเงินสด จำนวน 125,805.0 ล้านบาท เป็นการขาดดุลเงินงบประมาณ 131,579 ล้านบาท และเกินดุล เงินนอกงบประมาณ 5,774 ล้านบาท ทั้งนี้ รัฐบาลได้มีการกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล จำนวน 60,822.2  ล้านบาท ส่งผลให้สถานะเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2556 มีจำนวน 194,153 ล้านบาท สูงกว่า ช่วงเดียวกันของปีก่อน 119,619 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 160.5
          หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2556 มีจำนวน 5,073,976.6 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 44.1  ของ GDP (เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม 2556 จำนวน 30,635.5 ล้านบาท และเพิ่มขึ้นจาก ณ สิ้นปีงบประมาณ ที่แล้ว (เดือนกันยายน 2555) 136,738.2 ล้านบาท) โดยแบ่งออกเป็น หนี้ของรัฐบาล 3,555,634.6 ล้านบาท  หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน 1,072,414.1 ล้านบาท  และหนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) 437,874.4 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 70.1 21.1 และ 8.6 ของหนี้สาธารณะคงค้าง ตามลำดับ

ภาวะการเงิน
          อัตราดอกเบี้ยนโยบายทรงตัวต่อเนื่อง ไตรมาสแรกของปี 2556 อัตราดอกเบี้ยนโยบายทรงตัวอยู่ในระดับเดียวกับไตรมาสก่อนหน้าที่ร้อยละ 2.75 ต่อปี เนื่องจากคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ประเมินว่าอัตราดอกเบี้ยปัจจุบันยังเป็นระดับที่เหมาะสมในการสนับสนุนให้เศรษฐกิจเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง  อย่างไรก็ตาม ความล่าช้าในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและการดำเนินมาตรการผ่อนคลายทางการเงินของประเทศอุตสาหกรรมหลัก ส่งผลให้ประเทศต่างๆ ผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติม โดยอินเดียและเวียดนามได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในไตรมาสแรกลงร้อยละ 0.5 และร้อยละ 1 ต่อปี ตามลำดับ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่คาดว่าจะชะลอตัวลง ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายของอินเดียและเวียดนามอยู่ที่ร้อยละ 7.5 และ 8 ต่อปี ตามลำดับ ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายของประเทศอุตสาหกรรมหลัก เช่น สหรัฐฯ สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ยังทรงตัวในระดับต่ำอย่างต่อเนื่อง และในเดือนเมษายน 2556  กนง. มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 2.75 ต่อปี พร้อมทั้งประกาศว่าจะติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด
          ล่าสุดในเดือนพฤษภาคม2556 ประเทศต่างๆ ยังคงดำเนินนโยบายการเงินผ่อนคลายต่อเนื่อง โดย ธนาคารกลางอินเดีย ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่ยังคงมีความเสี่ยงจากการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดที่สูงเป็นประวัติการณ์ ธนาคารกลางยุโรป ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25 ต่อปี เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่ยังคงอ่อนแอ ธนาคารกลางออสเตรเลีย ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25 ต่อปี เนื่องจากเศรษฐกิจภายในประเทศได้รับผลกระทบจากการแข็งค่าของ เงินดอลลาร์ออสเตรเลียและรองรับความเสี่ยงจากแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ธนาคารกลางเกาหลีใต้ ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25 ต่อปี เพื่อรองรับความเสี่ยงจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและลดผลกระทบจากมาตรการผ่อนคลายทางการเงินของญี่ปุ่น ธนาคารกลางเวียดนามปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีกร้อยละ 1 ต่อปี เพื่อสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มชะลอตัว ส่งผลให้ ณ ปัจจุบัน อัตราดอกเบี้ยนโยบายของอินเดีย สหภาพยุโรป ออสเตรเลีย เกาหลีใต้ และเวียดนามอยู่ที่ร้อยละ 7.25 ร้อยละ 0.5 ร้อยละ 2.75 ร้อยละ 2.5 และ ร้อยละ 7 ต่อปี ตามลำดับ
          อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 4 แห่งทรงตัว ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ในระดับใกล้เคียงกับไตรมาสก่อนหน้า ในไตรมาสแรกของปี 2556 อัตราดอกเบี้ย MLR เฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 4 แห่งทรงตัวตลอดทั้งไตรมาสที่ร้อยละ 7 ต่อปี เช่นเดียวกับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ขนาดกลางและธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย ที่ทรงตัวอยู่ในระดับเดียวกันกับไตรมาสที่แล้ว ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือนเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 4 แห่ง อยู่ที่ร้อยละ 2.45 ต่อปี ใกล้เคียงกับไตรมาสก่อนหน้า แต่ธนาคารพาณิชย์ขนาดกลางและธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลงเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม ธนาคารพาณิชย์หลายแห่งมีการออกผลิตภัณฑ์เงินฝากพิเศษที่ให้อัตราดอกเบี้ยสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือน เพื่อรองรับการขยายตัวของสินเชื่อที่มีแนวโน้มจะเติบโตได้ดีในอนาคต ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อที่ชะลอตัวลงมาอยู่ที่ร้อยละ 2.69 ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ที่แท้จริงของธนาคารพาณิชย์ ขนาดใหญ่ 4 แห่ง ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ -0.24 และ 4.31 ต่อปี ตามลำดับ ล่าสุด ณ สิ้นเดือนเมษายน 2556  อัตราดอกเบี้ย MLR และอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือนยังทรงตัวต่อเนื่อง
          เงินฝากและการลงทุนในตั๋วแลกเงิน (B/E) ของธนาคารพาณิชย์ขยายตัวร้อยละ 10 ชะลอลงจาก  ร้อยละ 10.7 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยเงินฝากขยายตัวร้อยละ 22.9 ชะลอลงจากร้อยละ 28 ในไตรมาสก่อน ซึ่งเป็นผลมาจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ที่ยังทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ ประกอบกับมี การออกผลิตภัณฑ์การออมและการลงทุนที่เป็นทางเลือกใหม่ทั้งในตลาดทุนและตลาดเงิน ในส่วนของ ตั๋วแลกเงิน (B/E) ยังคงหดตัวอย่างต่อเนื่องจากร้อยละ 76.9 มาอยู่ที่ร้อยละ 73.3 ในไตรมาสนี้
          สินเชื่อภาคเอกชน (ไม่รวมดอกเบี้ยค้างรับ) ชะลอตัวลงเล็กน้อยจากการขยายตัวร้อยละ 15.7 ในไตรมาส 4/2555 มาอยู่ที่ร้อยละ 15.6 ในไตรมาสนี้ตามการชะลอตัวของสินเชื่อธุรกิจซึ่งขยายตัวร้อยละ 10.2 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 10.9 ในไตรมาสก่อน  อย่างไรก็ตาม สินเชื่อครัวเรือนยังคงขยายตัวในอัตราเร่งขึ้นจาก ร้อยละ 20.3 ในไตรมาสก่อนเป็นร้อยละ 20.7 ซึ่งเป็นผลมาจากการเร่งส่งมอบรถยนต์ภายใต้มาตรการคืนภาษีรถยนต์คันแรก ทำให้สินเชื่อการซื้อหรือเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ยังคงขยายตัวสูงร้อยละ 33.7  ในขณะที่ จำนวนบัตรเครดิตยังคงขยายตัวสูงขึ้น แต่ยอดสินเชื่อคงค้างชะลอตัวจากร้อยละ 14.3 ในไตรมาสก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 11.6 สอดคล้องกับการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตของคนไทยที่ชะลอตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งมีการใช้จ่ายสูงอันเป็นผลมาจากภาวะอุทกภัยในปี 2554 ในขณะที่สัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs 1) ต่อสินเชื่อคงค้างลดลงต่อเนื่องจากร้อยละ 1 ในไตรมาสก่อนหน้าเป็นร้อยละ 0.96 ในไตรมาสนี้
          สภาพคล่องในระบบธนาคารพาณิชย์ตึงตัวขึ้น โดยสัดส่วนสินเชื่อ (ไม่รวมเงินให้กู้ยืมผ่านธุรกรรมซื้อคืนพันธบัตร) ต่อเงินฝากที่รวมตั๋วแลกเงินของธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 99.1 จากร้อยละ 97.2 ในไตรมาสก่อนหน้าเนื่องจากเงินฝากรวมตั๋วแลกเงินชะลอตัวลงอันเป็นผลมาจากอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ที่ทรงตัวอยู่ในระดับต่ำอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาสสุดท้ายของปีก่อน ในขณะที่สินเชื่อไม่รวม RP ยังคงขยายตัวในระดับเดิม
          อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ย ไตรมาสแรกของปี 2556 เท่ากับ 29.8 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นร้อยละ 2.9 และร้อยละ 3.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าและช่วงเดียวกันของปีก่อน การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในไตรมาสแรกเคลื่อนไหวแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องจากอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ย 30.63 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ณ สิ้นเดือน ธ.ค. 2555  เป็น 29.77  29.81 และ 29.31 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ณ สิ้นเดือนมกราคม กุมภาพันธ์ และมีนาคม ตามลำดับ ตามการเคลื่อนย้ายสภาพคล่องส่วนเกินที่ยังสะสมอยู่ไปยังระบบเศรษฐกิจโลกและการขยายปริมาณเงินเพิ่มเติมในประเทศอุตสาหกรรมหลักเข้ามายังภูมิภาคเอเชีย โดยเงินทุนส่วนใหญ่เข้ามาลงทุนในตลาดทุนและพันธบัตรระยะสั้นในช่วงแรกก่อนที่จะปรับเปลี่ยนเป็นการลงทุนในพันธบัตรระยะยาวมากขึ้นในช่วงเดือนมีนาคม และเมษายน อย่างไรก็ตาม ค่าเงินบาทแข็งค่าเร็วกว่าสกุลอื่นๆ ในภูมิภาค เนื่องจากความแตกต่างของผลตอบแทนที่ยังอยู่ในเกณฑ์สูง และความเสี่ยงจากการดำเนินมาตรการแทรกแซงค่าเงินยังอยู่ในระดับต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นในภูมิภาค
          ค่าเงินบาทปรับตัวแข็งค่าขึ้นมากเมื่อเทียบกับค่าเงินของประเทศคู่ค้า/คู่แข่ง โดย ณ สิ้นไตรมาสแรกของ ปี 2556 ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) อยู่ที่ 110.2 จุด แข็งค่าขึ้นถึงร้อยละ 6.9 และร้อยละ 7.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าและช่วงเวลาเดียวกันของปี 2555 ตามลำดับ สอดคล้องกับดัชนีค่าเงินบาทที่แท้จริง (REER) ที่แข็งค่าขึ้นร้อยละ 6.4 และร้อยละ 7.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าและช่วงเวลาเดียวกันของปี 2555 โดยค่าเงินในภูมิภาคมีแนวโน้มอ่อนค่าลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งค่าเงินเยน ในขณะที่ค่าเงินบาทยังคงแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง
          เงินทุนเคลื่อนย้ายไหลเข้าสุทธิอย่างต่อเนื่อง2 ในไตรมาสแรกมีเงินทุนเคลื่อนย้ายไหลเข้าสุทธิ 4.78 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งเป็นการไหลเข้าสุทธิต่อเนื่องจาก 4.03 และ 4.46 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในสองไตรมาสก่อนหน้า โดยเป็นการไหลเข้าสุทธิในภาคธนาคารแห่งประเทศไทย ภาครัฐ และภาคธนาคาร ยกเว้นภาคอื่นๆ เป็น          การไหลออกสุทธิ ทั้งนี้ การลงทุนในตลาดตราสารหนี้มีมูลค่า 4.73 พันล้านดอลลาร์ สรอ.ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการเข้ามาลงทุนในตราสารภาครัฐและพันธบัตรธนาคารกลาง ส่งผลให้การลงทุนในตราสารหนี้ในไตรมาสนี้เพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบทั้งปี 2555 ที่ 1.47 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยการเพิ่มขึ้นดังกล่าวเป็นผลจากการดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนปรนเป็นพิเศษอย่างต่อเนื่องของประเทศอุตสาหกรรมหลักและอัตราผลตอบแทนที่จูงใจของตลาดตราสารหนี้ไทย ในขณะที่การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศไหลเข้าสุทธิชะลอลงเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนหน้า และการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวเป็นการไหลออก
          ดุลบัญชีเดินสะพัด เกินดุล 1,267 ล้านดอลลาร์ สรอ. (หรือเท่ากับ 36,657 ล้านบาท) เทียบกับไตรมาสก่อนที่เกินดุล 923 ล้านดอลลาร์ สรอ. (หรือเท่ากับ 28,306 ล้านบาท แม้ว่าขาดดุลการค้าจะขาดดุล 221 ล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งเป็นผลจากการนำเข้าเครื่องบินเพื่อการพาณิชย์ จำนวน 2 ลำ มูลค่า 11,943  ล้านบาท ก็ตาม แต่ดุลบริการ รายได้ปฐมภูมิ และรายได้ทุติยภูมิเกินดุล 1,488 ล้านดอลลาร์ สรอ.
          เงินส่ารองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนเมษายน 2556 เท่ากับ 178.37 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (และมี  net forward position อีก 23.60 พันล้านดอลลาร์ สรอ.) ซึ่งคิดเป็นประมาณ 2.9 เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น (ณ สิ้นไตรมาสสี่ ปี 2555) และเทียบเท่ามูลค่าการนำเข้า 9.5 เดือน (มูลค่าการนำเข้าเฉลี่ยในไตรมาสแรก ปี 2556)
          อัตราเงินเฟ้อทั่วไป ในไตรมาสแรกของปี 2556 อยู่ที่ร้อยละ 3.1 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 3.2 ในไตรมาสก่อนหน้า เป็นผลมาจากการชะลอตัวของราคาพลังงานเป็นสำคัญ โดยดัชนีราคาในหมวดที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 3.3 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ขายปลีกในประเทศที่ปรับตัวลดลงตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก รวมทั้งฐานที่สูงเนื่องจากการกลับมาทยอยจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในเดือนมกราคม 2555 ในขณะที่ดัชนีราคาในหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 เร่งตัวขึ้นจากร้อยละ 3.1 ในไตรมาสก่อนหน้า เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของราคาผักและผลไม้ เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดน้อยลงจากสภาพอากาศที่ร้อนจัด รวมทั้งการเพิ่มขึ้นของราคาเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ โดยเฉพาะในเดือนกุมภาพันธ์ซึ่งเป็นช่วงเทศกาลตรุษจีน ส่วนอัตรา เงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 1.5 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 1.8 ในไตรมาสก่อนหน้า3 ดัชนีราคาผู้ผลิตในไตรมาสแรกของปี 2556 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ชะลอตัวจากร้อยละ 0.9 ในไตรมาสก่อนหน้า เป็นผลมาจากการชะลอตัวของราคาผลผลิตเกษตรกรรมและการลดลงของราคาผลิตภัณฑ์จากเหมือง โดยราคาผลผลิตเกษตรกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 ชะลอตัวจากร้อยละ 3.2 ในไตรมาสก่อนหน้า ในขณะที่ราคาผลิตภัณฑ์จากเหมืองลดลงร้อยละ 5.0 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการลดลงของราคาลิกไนต์ ปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติ  เมื่อพิจารณาดัชนีราคาผู้ผลิตจำแนกตามขั้นตอนการผลิตพบว่า แรงกดดัน ด้านต้นทุนการผลิตมีแนวโน้มทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ4
          ดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ (SET index) ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง ณ สิ้นไตรมาสแรก SET index ปิดที่ 1,561.1 จุด เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.2 จากสิ้นปี 2555 ปรับตัวสูงขึ้นเป็นอันดับที่ 5 ในภูมิภาค มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันปรับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจาก 35.1 พันล้านบาทในไตรมาสก่อนหน้า เป็น 60.6 พันล้านบาท ในไตรมาสนี้ โดยการดำเนินมาตรการขยายปริมาณเงินและนโยบายดอกเบี้ยต่ำของประเทศอุตสาหกรรมหลักยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการปรับตัวสูงขึ้นของตลาดหลักทรัพย์ไทยและภูมิภาค ประกอบกับ แรงซื้อจากนักลงทุนสถาบันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างชัดเจน ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของผลิตภัณฑ์ การลงทุนรูปแบบใหม่ เช่น กองทุน Trigger Fund เป็นต้น อย่างไรก็ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ยังมีความผันผวนจากปัญหาในภาคการเงินของไซปรัส และความกังวลต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ประกอบกับดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติเริ่มลดระดับการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์และเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในตลาดตราสารหนี้ ซึ่งสะท้อนจาก ยอดซื้อสุทธิที่ลดลงมาที่ระดับ 3.9 พันล้านบาท เมื่อเทียบกับ 11.4 พันล้านบาท ในไตรมาสก่อนหน้า
          ในเดือนเมษายน 2556  ดัชนียังคงปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง มาปิดที่ 1,597.9 จุด มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน ปรับลดลงมาอยู่ที่ 51.8 พันล้านบาท จาก 68.5 พันล้านบาท ในเดือนมีนาคม โดยนักลงทุนต่างชาติปรับตัวเป็นการขายสุทธิสูงถึง 19.8 พันล้านบาท ซึ่งการลดระดับการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์อย่างต่อเนื่องสะท้อนถึงความกังวลที่มีต่อการชะลอลงของเศรษฐกิจโลกที่เริ่มชัดเจนขึ้น รวมทั้งสถานการณ์ความไม่สงบในคาบสมุทรเกาหลี ยังคงเป็นปัจจัยลบต่อการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ในภูมิภาค สอดคล้องกับทิศทาง การลงทุนของนักลงทุนสถาบันที่มียอดซื้อสุทธิปรับลดลงมาอยู่ที่ 6.3 พันล้านบาท แต่เนื่องจากยังมีแรงส่งจากการปรับตัวในไตรมาสแรก ทำให้ดัชนีราคายังคงปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องมาปิดที่ 1,597.9 จุด ณ สิ้นเดือนเมษายน 2556 ล่าสุดตั้งแต่วันที่ 1- 17 พฤษภาคม ดัชนีปรับตัวสูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้า โดยนักลงทุนต่างชาติเริ่มกลับมามียอดซื้อสุทธิที่ 8.1 พันล้านบาท ตามการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายของประเทศต่างๆ และผลประกอบการของบริษัทใน S&P500 ที่ออกมาดีกว่าคาดการณ์
          มูลค่าซื้อขายพันธบัตรและยอดซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติเพิ่มขึ้นมาก มูลค่าซื้อขายเฉพาะธุรกรรมซื้อขายขาด (Outright Transaction) เฉลี่ยต่อวันในไตรมาสแรก เท่ากับ 97.1 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 74.3 พันล้านบาท ในไตรมาสสี่ ปี 2555 โดยนักลงทุนต่างชาติมียอดซื้อสุทธิเพิ่มขึ้นอย่างมากเป็น 281.8  พันล้านบาท เทียบกับยอดซื้อสุทธิที่ 139.0 พันล้านบาท ในไตรมาสก่อนหน้า สำหรับปัจจัยที่ทำให้กระแสเงินลงทุนจากต่างประเทศไหลเข้าสู่ตลาดตราสารหนี้ไทยอย่างมากในไตรมาสนี้ เกิดจาก (1) การคาดการณ์ปริมาณของพันธบัตรรัฐบาลที่จะออกใหม่มากขึ้นในปี 2556 (2) การได้รับการปรับอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศเพิ่มขึ้น และ (3) นักลงทุนมีการย้ายเงินลงทุนจากสินทรัพย์เสี่ยงมาสู่ตลาดตราสารหนี้มากขึ้นจากความกังวลต่อปัญหาในภาคธนาคารของประเทศไซปรัสที่กระทบความเชื่อมั่นในระบบการเงินโลก จึงทำให้อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาล (Yield) โดยเฉพาะระยะสั้นปรับลดลง
          ในเดือนเมษายน 2556  มูลค่าซื้อขายเฉพาะธุรกรรมซื้อขายขาดเฉลี่ยต่อวันเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 106.8  พันล้านบาท เทียบกับ 100.8 พันล้านบาทในเดือนมีนาคม นักลงทุนต่างชาติยังคงมียอดซื้อสุทธิต่อเนื่องที่ 84.5 พันล้านบาท ตามเงินทุนไหลเข้าสู่ภูมิภาคเอเชียภายหลังธนาคารกลางญี่ปุ่นประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเพิ่มมากขึ้น และเหตุการณ์ความไม่สงบในคาบสมุทรเกาหลี ประกอบกับการคาดการณ์ถึงการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารแห่งประเทศไทย ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยปรับตัวลดลงเกือบทุกช่วงอายุ
          การระดมทุนในตลาดแรกของภาครัฐยังคงอยู่ในระดับสูงจากการออกพันธบัตรเพื่อการบริหารจัดการหนี้ ในไตรมาสนี้มีพันธบัตรรัฐบาลและพันธบัตรรัฐวิสาหกิจออกใหม่ 225.1 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 164.9 พันล้านบาทในไตรมาสก่อนหน้า ส่วนพันธบัตรออกใหม่ของธนาคารแห่งประเทศไทยลดลงต่อเนื่องจาก ไตรมาสก่อนหน้า สำหรับการระดมทุนของภาคเอกชนในไตรมาสนี้ มีมูลค่ารวม 409.6 พันล้านบาท ลดลงจาก 513.1 พันล้านบาท และ 492.4 พันล้านบาท ในไตรมาสสี่ ปี 2555 และเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า ตามลำดับ โดยส่วนใหญ่เป็นการระดมทุนผ่านหุ้นกู้ ในสาขาตัวกลางทางการเงิน สาขา การผลิต สาขาอสังหาริมทรัพย์ และสาขาการทำเหมืองแร่และเหมืองหิน

2. ความเคลื่อนไหวราคาน่ามันไตรมาสแรกและแนวโน้มปี 2556
          สถานการณ์ราคาน่ามันในไตรมาสแรกของปี 2556 ราคาน่ามันดิบในตลาดโลกเฉลี่ยปรับตัวลดลงจากไตรมาสก่อนหน้า โดยในไตรมาสแรกของปี 2556 ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกเฉลี่ย 4 ตลาด (ดูไบ เบรนท์ โอมาน และ WTI) อยู่ที่ 106.02 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 5.9 เทียบกับการลดลงร้อยละ 0.8 ในไตรมาสก่อนหน้า เป็นการปรับตัวลดลงในทุกตลาด โดยราคาน้ำมันดิบดูไบ เบรนท์ และโอมานลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 6.1  4.1 และ 6.7 เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 0.9 และ 0.3 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามลำดับ ในขณะที่ราคาน้ำมัน WTI ปรับตัวลดลงติดต่อกันสองไตรมาส โดยลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 6.6 เทียบกับไตรมาสก่อนหน้าที่ลดลงร้อยละ 6.2 ทั้งนี้ การปรับตัวลดลงของราคาน้ำมันดิบดังกล่าวเป็นผลมาจากความล่าช้าในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะเศรษฐกิจจีนที่ขยายตัวต่ำกว่าการคาดการณ์ และเศรษฐกิจยุโรปซึ่งอยู่ในภาวะหดตัวและยังไม่มีสัญญาณการฟื้นตัวที่ชัดเจน รวมทั้งการเพิ่มขึ้นของปริมาณน้ำมันดิบสำรองของสหรัฐฯ

แนวโน้มราคาน่ามันปี 2556
          ในช่วงที่เหลือของปี 2556 ราคาน้ำมันดิบดูไบยังคงมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ จาก ณ ระดับราคาปัจจุบันเนื่องจาก (1) เศรษฐกิจโลกในไตรมาสที่สองยังมีแนวโน้มชะลอตัว ก่อนที่จะฟื้นตัวในอัตราเร่งขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี (2) แนวโน้มเงินดอลลาร์ สรอ. (Trade weighted)ที่ยังอยู่ในช่วงทรงตัวและมีแนวโน้มที่จะแข็งค่าขึ้นตามแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่จะเร่งตัวขึ้น และการคาดการณ์การปรับลดขนาดมาตรการขยายปริมาณเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (3) การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของปริมาณการผลิตและการส่งออกน้ำมันของสหรัฐฯ เมื่อรวมกับการลดลงของราคาน้ำมันในไตรมาสแรก เงื่อนไขดังกล่าวทำให้หน่วยงานต่าง ๆ ปรับลดประมาณการราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก โดย Energy Information Administration (EIA) ประเทศสหรัฐอเมริกา ปรับลดประมาณการราคาน้ำมัน WTI จาก 105.0 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ในการประมาณการครั้งก่อน (กุมภาพันธ์ 2556) มาอยู่ที่ 94.0 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ในการประมาณการครั้งล่าสุด (เมษายน 2556) เช่นเดียวกับ Goldman Sachs ที่ปรับลดประมาณการราคาน้ำมัน WTI จาก 102.5 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ในการประมาณการครั้งก่อน (มกราคม 2556) มาอยู่ที่ 96.5 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ในการประมาณการครั้งล่าสุด (เมษายน 2556)  ในขณะที่ สศช. คาดการณ์ว่าราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยทั้งปี 2556 จะอยู่ในช่วง  105 - 110 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล เทียบกับ 108.8 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรลในปี 2555 ซึ่งเป็นการปรับลดการคาดการณ์จาก 108 - 113 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ในการประมาณการครั้งที่ผ่านมา

3. เศรษฐกิจโลกในไตรมาสแรก ปี 2556
          เศรษฐกิจโลกในไตรมาสแรกของปี 2556 ยังฟื้นตัวอย่างล่าช้า โดยเศรษฐกิจสหรัฐฯ ปรับตัวดีขึ้นแต่ยังขยายตัวต่ำกว่าที่คาดการณ์ เศรษฐกิจยูโรโซนยังอยู่ในช่วงหดตัว เศรษฐกิจจีนขยายตัวต่ำกว่าการคาดการณ์และต่ำกว่าการขยายตัวในไตรมาสที่ 4/2555 เช่นเดียวกับเศรษฐกิจอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียที่ส่วนใหญ่ขยายตัวในอัตราชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้า แรงกดดันด้านเงินเฟ้อยังอยู่ในภาวะผ่อนคลายตามการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ รวมทั้งความซบเซาของราคาน้ำมันและราคาสินค้าขั้นปฐมในตลาดโลก ความล่าช้าในการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ และการลดลงของแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ ทำให้ประเทศต่างๆ ดำเนินนโยบายการเงินแบบ ผ่อนคลายต่อเนื่อง
          เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา ในไตรมาสแรกของปี 2556 ขยายตัวร้อยละ 1.8 (%YoY) เทียบกับร้อยละ 1.7  ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2555 และเมื่อพิจารณาไตรมาสแรกของปี 2556 เทียบกับไตรมาสก่อนหน้าโดยปรับผลของฤดูกาลแล้ว เศรษฐกิจสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 2.5 (%QoQ saar.) เร่งตัวขึ้นจากร้อยละ 0.4 ในไตรมาสก่อน โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งของอุปสงค์ภาคเอกชนภายในประเทศ ทั้งนี้ การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนสนับสนุนให้เศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 2.2 และร้อยละ 1.6 ตามลำดับ (Contribution to Growth) สอดคล้องกับการปรับตัวดีขึ้นของเครื่องชี้ทางเศรษฐกิจที่สำคัญๆ โดยเฉพาะ ยอดการก่อสร้างบ้านใหม่และยอดขายบ้านใหม่ในเดือนมีนาคมซึ่งขยายตัวร้อยละ 7.0 และ 1.5 ตามลำดับ ในขณะที่อัตราการว่างงานลดลงอย่างต่อเนื่องจากร้อยละ 7.9 และร้อยละ 7.7 ในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์เป็นร้อยละ 7.6 ในเดือนมีนาคม อย่างไรก็ตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจในภาพรวมได้รับ แรงกดดันจากการตัดลดงบประมาณของรัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งงบประมาณด้านการทหารที่ทำให้ GDP หดตัวร้อยละ 0.6 (Contribution to growth)
          เศรษฐกิจกลุ่มประเทศยูโรโซน ในไตรมาสแรกของปี 2556 หดตัวร้อยละ 1.0 (%YoY) ต่อเนื่องจากการหดตัวร้อยละ 0.9 ในไตรมาสก่อนหน้าและเป็นการหดตัวต่อเนื่องกันเป็นไตรมาสที่ 5 สอดคล้องกับดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรมที่อยู่ในระดับต่ำกว่า 50 อย่างต่อเนื่องนับจากเดือนกรกฎาคม 2554 เช่นเดียวกับดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่ปรับลดลงจาก -10.8 ในเดือนกุมภาพันธ์มาเป็น -11.6 ในเดือนมีนาคม รวมทั้งอัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเข้าสู่ระดับสูงเป็นประวัติการณ์ที่ร้อยละ 10.8 ในเดือนมีนาคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่ประสบปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจรุนแรง เช่น อิตาลี สเปน และโปรตุเกส ซึ่งมีอัตราการว่างงานสูงถึงร้อยละ 11.5  ร้อยละ 26.7 และร้อยละ 17.5 ตามลำดับ การฟื้นตัวอย่างล่าช้าของเศรษฐกิจรวมถึงการแข็งค่าของเงินดอลลาร์ สรอ. และเงินเยนเริ่มส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจประเทศหลักโดยเศรษฐกิจเยอรมนีและฝรั่งเศสในไตรมาสแรกหดตัวร้อยละ 0.3 และร้อยละ 0.4 ตามลำดับ เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 0.3 และการหดตัวร้อยละ 0.3 ในไตรมาสก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม ภาคการเงินการธนาคารเริ่มมีเสถียรภาพมากขึ้น จากการแก้ปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจของไซปรัสและการดำเนินมาตรการแก้ไขปัญหาภาคการเงิน  รวมทั้งความสำเร็จในการจัดตั้งรัฐบาลของอิตาลี
          เศรษฐกิจจีน ในไตรมาสแรกของปี 2556 ขยายตัวร้อยละ 7.7 (%YoY) ต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาดและต่ำกว่าอัตราการขยายตัวร้อยละ 7.9 ในไตรมาสก่อนหน้า อันเป็นผลมาจากการชะลอตัวของการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและการแข็งค่าของเงินหยวน รวมทั้งการลดลงของแรงส่งจากการลงทุน โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าในไตรมาสแรกของปี 2556 ขยายตัวร้อยละ 18.3 แม้ว่าจะเร่งตัวขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 4.5 และร้อยละ 9.4 ในไตรมาสที่ 3 และ 4 ของปี 2555  แต่ยังต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาด เครื่องชี้เศรษฐกิจในประเทศชะลอตัวลงโดยมูลค่าเพิ่มจากอุตสาหกรรม 3 เดือนแรกของปี 2556 ขยายตัวร้อยละ 9.5 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 13.9 และร้อยละ 10.0 ในปี 2554 และ ปี 2555 การค้าปลีกสินค้าบริโภคใน 3 เดือนแรกขยายตัวร้อยละ 12.4 ชะลอลงจากร้อยละ 17.1 และร้อยละ14.3 ในปี 2554 และ ปี 2555 ตามลำดับ ในขณะที่ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้นเป็น 50.9 ในเดือนมีนาคมจากระดับ 50.1 ในเดือนกุมภาพันธ์แต่ยังต่ำกว่าระดับ 53.1 ในเดือนมีนาคมของปีก่อน ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อในไตรมาสที่อยู่ที่ร้อยละ 2.4 เทียบกับร้อยละ 2.1 ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2555
          เศรษฐกิจญี่ปุ่น ในไตรมาสแรกของปี 2556 ขยายตัวร้อยละ 0.2 (%YoY) เทียบกับร้อยละ 0.5 ในไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า เศรษฐกิจญี่ปุ่นขยายตัวร้อยละ 0.9 (%QoQ sa) เร่งตัวขึ้นจาก ร้อยละ 0.3 ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2555 และเป็นการขยายตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 2 ทั้งนี้ อุปสงค์ภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 0.5 เทียบกับร้อยละ 0.1 ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2555 การส่งออกสินค้าและบริการขยายตัวร้อยละ 3.8 เทียบกับการหดตัวร้อยละ 2.9 ในไตรมาสก่อน โดยมีปัจจัยสนับสนุนจาก การอ่อนค่าของเงินเยน เช่นเดียวกับเครื่องชี้ทางเศรษฐกิจอื่นๆ ที่เริ่มส่งสัญญาณของการปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมและดัชนีการค้าส่งค้าปลีก
           เศรษฐกิจกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมใหม่ (NIEs) ในไตรมาสแรกของปี 2556 ขยายตัวในเกณฑ์ต่ำโดยเศรษฐกิจเกาหลีใต้ ไต้หวันและฮ่องกงขยายตัวร้อยละ 1.5 ร้อยละ 1.5 และร้อยละ 2.8 ตามลำดับ เทียบกับร้อยละ 1.5 ร้อยละ 3.7 และร้อยละ 2.8 ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2555 ในขณะที่เศรษฐกิจสิงคโปร์หดตัวร้อยละ 0.6 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 1.1 ในไตรมาสก่อน ทั้งนี้เศรษฐกิจกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมใหม่ได้รับผลกระทบจากการ ฟื้นตัวที่ช้ากว่าที่คาดการณ์ของเศรษฐกิจโลกและการอ่อนค่าของค่าเงินสกุลหลักซึ่งส่งผลกระทบต่อการส่งออกและการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม โดยการส่งออกสินค้าของฮ่องกง เกาหลีใต้และไต้หวันในไตรมาสที่ 1 ขยายตัวเพียงร้อยละ 3.9 ร้อยละ 0.5 และร้อยละ 1.0 ตามลำดับ ในขณะที่มูลค่าการส่งออกสินค้าของสิงคโปร์ ในไตรมาสแรกหดตัวร้อยละ 8.7 สอดคล้องกับการหดตัวของดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมของเกาหลีใต้และสิงคโปร์ร้อยละ 1.7 และร้อยละ 6.8 ตามลำดับ เทียบกับ ร้อยละ 0.1 และร้อยละ 0.2 ในไตรมาสก่อน ในขณะที่ ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของไต้หวันในไตรมาสแรกของปี 2556 ขยายตัวในอัตราต่ำลงอย่างชัดเจนร้อยละ 0.8 เทียบกับร้อยละ 4.2 ในไตรมาสก่อนหน้า

4. แนวโน้มเศรษฐกิจโลกปี 2556
          เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 3.6 เทียบกับร้อยละ 3.2 ในปี 2555 โดยเศรษฐกิจโลกในไตรมาสที่สองยังมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างช้าๆ เนื่องจากการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังมีแรงต้านจากการปรับลดรายจ่ายภาครัฐบาล ในขณะที่ภาคเศรษฐกิจจริงของเศรษฐกิจกลุ่มประเทศยูโรโซนยังไม่มีสัญญาณการปรับตัวดีขึ้นอย่างชัดเจน แม้ว่าจะเริ่มมีเสถียรภาพและบรรยากาศทางเศรษฐกิจการเงินจะปรับตัวดีขึ้นก็ตาม  การขยายตัวของเศรษฐกิจจีนยังมีข้อจำกัดจากการหดตัวของเศรษฐกิจยูโรโซนรวมทั้งการอ่อนค่าของเงินเยนและดอลลาร์ สรอ.
          สัญญาณเศรษฐกิจที่ยังอ่อนตัวและการฟื้นตัวอย่างล่าช้าในไตรมาสแรก ทำให้ประเทศสำคัญๆ ดำเนินนโยบายการเงินผ่อนคลายต่อเนื่อง ญี่ปุ่นประกาศมาตรการขยายปริมาณเงินและเปลี่ยนแปลงแนวทางนโยบายการเงินครั้งประวัติศาสตร์ ธนาคารกลางยุโรปปรับลดดอกเบี้ย ในขณะที่สหรัฐฯ ขยายปริมาณเงินต่อเนื่อง ซึ่งคาดว่าจะช่วยสนับสนุนให้เศรษฐกิจโลกขยายตัวเร่งขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี อย่างไรก็ตามการขยายปริมาณเงินของสหรัฐฯ และญี่ปุ่นเมื่อรวมกับสภาพคล่องส่วนเกินสะสมในช่วงก่อนหน้า ยังมีแนวโน้มที่จะสร้างแรงกดดันต่อการแข็งค่าของสกุลเงินและการส่งออกของเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งส่งผลให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจกลุ่มประเทศยูโรโซนมีความล่าช้าและเป็นเงื่อนไขที่อาจจะพัฒนาไปสู่การปะทุของวิกฤติการณ์เศรษฐกิจและการเมืองในประเทศสมาชิก
          เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา ข้อมูลในเดือนเมษายนยังคงแสดงให้เห็นถึงการฟื้นตัวของภาคเศรษฐกิจเอกชน ทั้งในด้านการจ้างงานนอกภาคเกษตร ซึ่งส่งผลให้อัตราการว่างงานลดลงอย่างต่อเนื่องเป็นร้อยละ 7.5 ในเดือนเมษายน ในขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเพิ่มขึ้นอีก 6.2 จุด ภาคอสังหาริมทรัพย์ก็มีสัญญาณของการฟื้นตัวต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ดัชนี ISM ภาคอุตสาหกรรมปรับตัวลดลง 0.6 จุด เป็น 50.7 เช่นเดียวกับดัชนี ISM นอกภาคอุตสาหกรรมปรับตัวลดลง 1.3 จุด เป็น 53.1 เช่นเดียวกับยอดขายรถยนต์ที่ลดลงร้อยละ 2.3 อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 1.5 ต่ำกว่าขอบล่างของเป้าหมายนโยบายการเงิน ซึ่งสะท้อนถึงสัญญาณการอ่อนตัวของพลวัตรการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ เมื่อรวมกับการปรับลดงบประมาณรายจ่ายภาครัฐคาดว่าจะทำให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่สองชะลอตัวลงจากไตรมาสแรกสอดคล้องกับคำแถลงของคณะกรรมการนโยบายการเงินสหรัฐฯ ในการประชุมเมื่อวันที่ 30 เมษายนถึง 1 พฤษภาคม 2556 ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ พร้อมที่จะปรับเปลี่ยนขนาดของมาตรการการซื้อสินทรัพย์ตามแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของตลาดแรงงานและอัตราเงินเฟ้อ อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังยังมีแนวโน้มจะเร่งตัวขึ้น โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจาก (1) การฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของภาคอสังหาริมทรัพย์ ทั้งในด้านราคา
การก่อสร้างและการจำหน่าย (2) การเพิ่มขึ้นของการจ้างงานซึ่งส่งผลให้การว่างงานลดลงอย่างต่อเนื่อง และ (3) การขยายตัวของการบริโภคภาคครัวเรือนที่ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวของตลาดแรงงาน การเพิ่มขึ้นของราคาที่อยู่อาศัยและราคาหลักทรัพย์ตลอดจนภาระหนี้สินต่อรายได้ ที่อยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 30 ปี ภายใต้แนวโน้มดังกล่าวคาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปี 2556 จะขยายตัวได้ประมาณร้อยละ 2.2 เท่ากับปี 2555
          เศรษฐกิจยูโรโซน แม้ว่าเศรษฐกิจในไตรมาสแรกจะหดตัวในอัตราที่ช้าลงและบรรยากาศทางเศรษฐกิจและการเงินจะปรับตัวดีขึ้นตามความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาวิกฤติการไซปรัสและความชัดเจนในการจัดตั้งรัฐบาลของอิตาลีก็ตาม แต่เครื่องชี้ภาคเศรษฐกิจจริงยังไม่มีสัญญาณการขยายตัวอย่างชัดเจน ล่าสุดดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรมของกลุ่มประเทศยูโรโซนเดือนเมษายนอยู่ที่ระดับ 46.7 แม้ว่าจะเริ่มมีเสถียรภาพเมื่อเทียบกับการลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วงครึ่งหลังของปี 2555 แต่ก็ยังแสดงถึงการหดตัวของภาคการผลิต ในขณะที่ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรมของเยอรมนีปรับตัวลดลง สัญญาณความล่าช้าในการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจดังกล่าว ทำให้ธนาคารกลางยุโรปประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ย Refinance rate ลงอีกร้อยละ 0.25 ในวันที่ 2 พฤษภาคม 2556 และขยายระยะเวลาการให้สินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องโดยไม่จำกัดจำนวนจนถึงกลางปี 2557 รวมทั้งการให้คำมั่นสัญญาว่าพร้อมที่จะทำทุกอย่างในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจถ้ามีความจำเป็น เมื่อรวมกับการปรับตัวดีขึ้นของบรรยากาศทางเศรษฐกิจและการเงิน หลังความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาวิกฤติการณ์ไซปรัส และความ
          เศรษฐกิจญี่ปุ่น แม้ว่าเครื่องชี้ทางเศรษฐกิจในไตรมาสแรกจะยังอยู่ในภาวะอ่อนตัวก็ตาม แต่การอ่อนค่าของเงินเยนอย่างต่อเนื่องนับจากเดือนกันยายน 2555 ทำให้เครื่องชี้สำคัญๆ ปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้นอย่างชัดเจนสะท้อนจากการปรับตัวดีขึ้นของดัชนี PMI ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็น 51.1 ในเดือนเมษายนซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 13 เดือน ในขณะที่อัตราการว่างงานลดลงจากร้อยละ 4.3 เป็นร้อยละ 4.1 ในเดือนเมษายน แม้กระนั้นก็ตามเพื่อเป็นกระตุ้นเศรษฐกิจที่อยู่ในภาวะชะงักงันมาเป็นเวลานานธนาคารกลางญี่ปุ่นประกาศขยายปริมาณเงินและปรับเปลี่ยนทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินครั้งประวัติศาสตร์ในวันที่ 4 เมษายน 2556 ซึ่งทำให้ค่าเงินเยนอ่อนตัวลงอย่างต่อเนื่องอีกร้อยละ 7 เมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ. ในช่วงเดือนเมษายนถึงวันที่ 15 พฤษภาคม และหากนับรวมตั้งแต่เดือนกันยายน 2555 ค่าเงินเยนอ่อนค่าแล้วทั้งสิ้นร้อยละ 32 ในขณะที่บรรยากาศทางเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้น ซึ่งคาดว่าจะสามารถสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นในช่วงที่เหลือของปีและส่งผลให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นทั้งปี 2556 ขยายตัวประมาณร้อยละ 1.6
          เศรษฐกิจจีน เครื่องชี้ทางเศรษฐกิจในเดือนเมษายน ยังแสดงถึงการอ่อนตัวของพลวัตรทางเศรษฐกิจ โดยดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรมลดลง จากระดับ 50.9 ในเดือนมีนาคม เป็นระดับ 50.6 ในขณะที่ดัชนี PMI  นอกภาคอุตสาหกรรมลดลงจากระดับ 55.6 ในเดือนมีนาคมเป็น 54.5 มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.6 แต่ต่ำกว่าการขยายตัวร้อยละ 23.4 ในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2556 นอกจากนั้น การส่งออกไปสหรัฐฯ ยูโรโซน และญี่ปุ่นหดตัวร้อยละ 0.1 ร้อยละ 6.4 และร้อยละ 1.2 ตามลำดับ ในขณะที่การส่งออกไปฮ่องกง ไต้หวัน เกาหลีใต้ และอาเซียนขยายตัวร้อยละ 57.2 ร้อยละ 49.2 ร้อยละ 7.2 และร้อยละ 37.2 ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่าการส่งออกยังมีข้อจำกัดจากการหดตัวของเศรษฐกิจยูโรโซนรวมทั้งการอ่อนค่าของเงินเยนและดอลลาร์ สรอ. ซึ่งทำให้โครงสร้างการส่งออกจีนปรับเปลี่ยนมาพึ่งพิงการค้าในภูมิภาคมากขึ้นโดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจในเอเชียและเงินหยวนที่ยังแข็งอย่างช้าๆ เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค อย่างไรก็ตามเงินหยวนตกอยู่ภายใต้แรงกดดันจากการแข็งค่ามากขึ้น ทำให้ State Administration of Foreign Exchange ใช้มาตรการจำกัดการปล่อยสินเชื่อในรูปดอลลาร์ สรอ. ให้กับภาคธุรกิจเอกชน รวมทั้งการเพิ่มความเข้มงวดด้านเอกสารส่งออกนำเข้า นอกจากนั้นความวิตกกังวลต่อภาวะฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์ทำให้ทางการจีนดำเนินมาตรการควบคุมเพิ่มเติมเช่นการขึ้นอัตราเงินดาวน์ การควบคุมและจำกัดการซื้อบ้านหลังที่สอง การใช้ภาษีกำไรจากการขายหลักทรัพย์ (Capital gain tax) สำหรับกำไรที่ได้รับจากการขายบ้านหลังที่สอง ภายใต้เงื่อนไขดังกล่าว คาดว่าเศรษฐกิจจีนในปี 2556  จะขยายตัวประมาณร้อยละ 8.0 เทียบกับร้อยละ 7.8 ในปี 2555

5. แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2556
          การขยายตัวทางเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปียังมีปัจจัยสนับสนุนจากแนวโน้มการปรับตัวดีขึ้นของภาวะการค้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลก การลงทุนภาคเอกชน ที่ยังมีปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวต่อเนื่อง และการเบิกจ่ายงบประมาณภายใต้แผนการลงทุนของภาครัฐ อย่างไรก็ตาม การขยายตัวในช่วงที่เหลือของปียังมีข้อจำกัดจากความล่าช้าในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ความล่าช้าในการฟื้นตัวของราคาสินค้าในตลาดโลก แรงกดดันต่อการแข็งค่าของเงินบาท รวมทั้งฐานการขยายตัวที่เพิ่มสูงขึ้นและการลดลงของแรงส่งจากมาตรการคืนภาษีให้กับผู้ซื้อรถยนต์คันแรกซึ่งมีแนวโน้มที่จะทำให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปีชะลอลง เมื่อรวมกับการขยายตัวในเกณฑ์ต่ำของเศรษฐกิจในไตรมาสแรก เงื่อนไขดังกล่าวทำให้เศรษฐกิจไทยมีความเสี่ยงที่จะขยายตัวในทางต่ำของช่วงการประมาณการเศรษฐกิจครั้งที่ผ่านมา และมีความเสี่ยงที่จะชะลอตัวเร็วกว่าการคาดการณ์ หากปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ในประเทศต่ำกว่าปีที่ผ่านมา การส่งออกไม่สามารถฟื้นตัวอย่างมีนัยสำคัญ หรือการดำเนินการตามแผนการลงทุนของภาครัฐมีความล่าช้า

ปัจจัยสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ
          1) การปรับตัวดีขึ้นของภาวะการค้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลก ในปีที่ผ่านมาการผลิตและการส่งออกได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากปัญหาอุทกภัย  การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและการชะลอตัวของการบริโภคใน ช่วงก่อนการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ซึ่งส่งผลให้ปริมาณสินค้าคงคลังในประเทศต่างๆ ปรับตัวลดลง อย่างไรก็ตาม ในไตรมาสแรกภาวะการค้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลกเริ่มมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นซึ่งจะเห็นได้จากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของ Book to bill ratio ของอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ในสหรัฐฯ เข้าสู่ระดับ 1.14 ในเดือนมีนาคม 2556 สถานการณ์ดังกล่าวคาดว่าจะสนับสนุนการฟื้นตัวและการขยายตัวของการผลิตและส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในช่วงที่เหลือของปี

          2) การลงทุนภาคเอกชนยังมีแนวโน้มที่จะขยายตัวต่อเนื่อง โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจาก (1) การลงทุนผ่าน BOI ที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมในปี 2555 มีจำนวนสูงถึง 2,262 โครงการ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.2) คิดเป็นมูลค่าเงินลงทุนทั้งสิ้น 983.9 พันล้านบาท (เพิ่มขึ้นร้อยละ 119.9) ซึ่งคาดว่าจะมีการเริ่มดำเนินการโครงการมากขึ้น (2) อัตราดอกเบี้ยที่ยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ และ (3) ความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่ยังอยู่ในเกณฑ์ดีสะท้อนจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของดัชนีความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจจากอย่างต่อเนื่องจากระดับ 51.1 ในเดือนมกราคม เป็นระดับ 54.4 ในเดือน มีนาคม ในขณะที่มูลค่าโครงการที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนในไตรมาสแรกยังขยายตัวสูงอย่างต่อเนื่องร้อยละ 24.3
          3) การเบิกจ่ายงบประมาณและการด่าเนินการตามแผนการบริหารจัดการทรัพยากรน่า 3.5 แสนล้านบาท และการด่าเนินการตามแผนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานมูลค่า 2 ล้านล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะมีความคืบหน้าและสามารถเริ่มเบิกจ่ายเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจในช่วงครึ่งหลังของปี

ปัจจัยเสี่ยงและข้อจ่ากัด
          1) ความล่าช้าในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและการฟื้นตัวในครึ่งปีหลัง ที่น่าโดยสหรัฐฯ และญี่ปุ่นซึ่งค่าเงินอ่อนลงเมื่อเทียบกับเงินบาท ทั้งนี้ความล่าช้าในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและการเปลี่ยนแปลงของค่าเงินสกุลหลักเป็นข้อจำกัดที่สำคัญต่อการขยายตัวของภาคการส่งออกและ การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรก แม้ว่าเศรษฐกิจโลกยังมีแนวโน้มที่จะปรับตัวดีขึ้นในครึ่งปีหลัง แต่เป็นการฟื้นตัวที่นำโดยสหรัฐฯ และญี่ปุ่นที่ควบคู่ไปกับการอ่อนค่าลงของเงินเยนและดอลลาร์ สรอ. อาจจะไม่สามารถสนับสนุนการฟื้นตัวของการส่งออกสินค้าไทยในช่วงที่เหลือของปีได้มากนัก เนื่องจากราคาสินค้าไทยจะมีราคาแพงขึ้นในตลาดสหรัฐฯ และญี่ปุ่น ตามการเปลี่ยนแปลงของค่าเงิน ในทางตรงกันข้าม การอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ สรอ. และเงินเยนมีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจอื่นๆ ที่เป็นตลาดส่งออกของไทยโดยเฉพาะเศรษฐกิจที่พึ่งพิงการส่งออกสูงในภูมิภาคเอเชีย นอกจากนั้น การอ่อนค่าของค่าเงินดอลลาร์ สรอ. และเยน มีแนวโน้มที่จะทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจยุโรปมีความล่าช้าและมีความเสี่ยงที่จะทำให้วิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจในประเทศสมาชิกที่มีปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจอ่อนแอกลับมาทวีความรุนแรง ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ยังต้องติดตามและประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด
          2) ความล่าช้าในการฟื้นตัวของราคาสินค้าในตลาดโลก ทั้งนี้ในช่วงไตรมาสแรก ราคาส่งออกในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.4 ต่ำกว่าการเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 5.2 ในช่วงปี 2545 - 2555 ซึ่งมีสาเหตุมาจากความล่าช้าในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและค่าเงินดอลลาร์ สรอ. (Trade Weighted) เริ่มกลับมามีเสถียรภาพมากขึ้นในช่วงที่เหลือของปี ความล่าช้าในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก การขยายปริมาณเงินของญี่ปุ่นและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีแนวโน้มที่จะทำให้ค่าเงินดอลลาร์ สรอ. (Trade Weighted) มีแนวโน้มแข็งค่ามากขึ้น เมื่อรวมกับเศรษฐกิจจีนที่ยังขยายตัวต่ำกว่าการคาดการณ์ คาดว่าจะทำให้ราคาสินค้าในตลาดโลกและราคาสินค้าส่งออกของไทยยังเพิ่มขึ้นช้าๆ
          3) การแข็งค่าของเงินบาทซึ่งส่งผลกระทบต่อรายรับในรูปเงินบาทของผู้ประกอบการและลดขีดความสามารถในการแข่งขันด้านราคาของภาคการส่งออก แม้ว่าค่าเงินบาทจะเริ่มปรับตัวอ่อนค่าลงในช่วงต้นเดือนพฤษภาคมก็ตาม ในช่วงที่เหลือของปีค่าเงินบาทยังคงมีแรงกดดันต่อการแข็งค่าอย่างต่อเนื่องตามการใช้มาตรการขยายปริมาณเงินในญี่ปุ่นและในสหรัฐฯ ความแตกต่างของผลตอบแทนการลงทุนยังอยู่ในเกณฑ์สูง
          4) ฐานการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่เริ่มสูงขึ้นและการลดลงของแรงส่งจากมาตรการคืนภาษีให้กับผู้ซื้อรถยนต์คันแรกซึ่งมีแนวโน้มที่จะท่าให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปีชะลอตัวและมีความเสี่ยงที่จะส่งผลให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจทั้งปีต่ากว่าการคาดการณ์หากการส่งออกขยายตัวต่ากว่าเป้าหมายและการเบิกจ่ายงบประมาณภายใต้แผนการลงทุนของภาครัฐ มีความล่าช้า ทั้งนี้เศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกของปี 2555 ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.4 แต่เร่งตัวขึ้นเป็นร้อยละ 4.4 ร้อยละ 3.1 และร้อยละ 19.1 ในไตรมาสที่ 2 3 และ 4 ตามลำดับ โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐโดยเฉพาะมาตรการคืนภาษีรถยนต์คันแรก ในขณะที่การลงทุนภาคเอกชนได้รับแรงส่งจากการลงทุนเพื่อฟื้นฟูกำลังการผลิต ปัจจัยดังกล่าวทำให้อุปสงค์ภาคเอกชนในปีที่ที่ผ่านมาขยายตัวในเกณฑ์สูงซึ่งทำให้เป็นข้อจำกัดต่อการขยายตัวของอุปสงค์ในประเทศในปี 2556 ในทางกลับกันการส่งออกและการผลิตเพื่อการส่งออกขยายตัวในเกณฑ์ต่ำซึ่งจะเป็นปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวในปีนี้ อย่างไรก็ตาม การส่งออกและการผลิตเพื่อการส่งออกในไตรมาสแรกของปี 2556 ยังคงขยายตัวในเกณฑ์ต่ำ และการขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชนยังคงพึ่งพิงมาตรการคืนภาษีรถยนต์คันแรก สถานการณ์ดังกล่าวทำให้การขยายตัวในช่วงที่เหลือของปีมีแรงต้านจากฐานการขยายตัวที่สูงขึ้นและมีความเสี่ยงที่ชะลอตัวลงรุนแรงหากการจำหน่ายรถยนต์ในประเทศต่ำกว่าในปีที่ผ่านมา การส่งออกไม่สามารถฟื้นตัวอย่างมีนัยสำคัญ หรือการเบิกจ่ายงบลงทุนจากแผนบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและแผนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานมีความล่าช้า

สมมติฐานการประมาณการเศรษฐกิจ
          1) เศรษฐกิจโลกในปี 2556 ขยายตัวร้อยละ 3.6 เทียบกับร้อยละ 3.2 ในปี 2555 ซึ่งเป็นการปรับลดจากสมมติฐานการขยายตัวร้อยละ 3.8 ใน การประมาณการเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2556 ตามการปรับลดอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ กลุ่มประเทศยูโรโซน และจีนจากเดิมร้อยละ 2.3 ร้อยละ 0.0 และร้อยละ 8.3 ในการประมาณการครั้งก่อนหน้า เป็นร้อยละ 2.2 ร้อยละ -0.2 และร้อยละ 8.0 ในการประมาณการครั้งนี้ รวมทั้งการปรับลดอัตราการขยายตัวของประเทศสำคัญอื่นๆ ตามการขยายตัวที่ต่ำกว่าการคาดการณ์ในไตรมาสแรกและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของค่าเงิน
          2) ราคาน้ำมันดิบ (ดูไบ) เฉลี่ยทั้งปีที่ 105 - 110 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรลเทียบกับเฉลี่ย 108.8 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรลในปี 2555 ซึ่งเป็น การปรับลดจากสมมติฐาน 108 - 113  ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรลในการประมาณการครั้งที่ผ่านมาที่ 108-113 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ทั้งนี้ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ย 4 เดือนแรกของปี 2556 อยู่ที่ 106.5 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ในช่วงที่เหลือของปี ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกยังคงมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ เนื่องจากความล่าช้าในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะการปรับลดการคาดการณ์ของอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจจีน และยุโรป รวมทั้งการเพิ่มขึ้นของขีดความสามารถในการผลิตและการส่งออกน้ำมันของสหรัฐฯ และการเปลี่ยนแปลงของค่าเงินเยนซึ่งส่งผลให้เงินดอลลาร์ สรอ. เริ่มมีเสถียรภาพมากขึ้น
          3) ค่าเงินบาทเฉลี่ยทั้งปี 2556 อยู่ที่ 28.8 - 29.8 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. เทียบกับเฉลี่ย 31.1 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในปี 2555 ทั้งนี้ในช่วงไตรมาสแรก เงินบาทแข็งค่าอย่างต่อเนื่องจาก 30.63 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2555 เป็น 29.77 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. 29.81 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. และ 29.31 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ณ สิ้นเดือนมกราคม กุมภาพันธ์ และมีนาคม ตามลำดับ ส่งผลให้ค่าเงินบาทในไตรมาสแรกอยู่ที่เฉลี่ย 29.8 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อย่างไรก็ตาม ในช่วงปลายเดือนเมษายนเงินบาทอ่อนค่าลงเป็น 29.32 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. และทรงตัวอยู่ในช่วง 29.40 - 29.77 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในครึ่งแรกของเดือนพฤษภาคม เฉลี่ยนับจากต้นปีจนถึงวันที่ 17 พฤษภาคม 2556 เงินบาทอยู่ที่เฉลี่ย 29.63 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในช่วงครึ่งหลังของปี การแข็งค่าของเงินบาทยังมีแรงกดดันจากการขยายปริมาณเงินของสหรัฐฯ และญี่ปุ่น ซึ่งคาดว่าจะต่อเนื่องไปจนถึงสิ้นปี ในขณะที่ผลตอบแทนการลงทุนยังอยู่ในเกณฑ์สูงเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค อย่างไรก็ตามคาดว่าเงินบาทจะไม่แข็งค่ารุนแรง เนื่องจาก (1) การขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ต่ำกว่าการคาดการณ์ในไตรมาสแรก จะส่งผลต่อการคาดการณ์ทิศทางอัตราดอกเบี้ยและแนวโน้มค่าเงินของนักลงทุน (2) ความวิตกกังวลต่อการใช้มาตรการแทรกแซงของภาครัฐ และ (3) แนวโน้มการปรับลดมาตรการขยายปริมาณเงินของสหรัฐฯ ในช่วงครึ่งหลังของปี ซึ่งคาดว่าการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจะมีความชัดเจนและแข็งแกร่งมากขึ้น
          4) ราคาสินค้าส่งออกในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 เทียบกับร้อยละ 0.6 ในปี 2555 ซึ่งเป็นการปรับลดจากร้อยละ 4.0 ในการประมาณการครั้งที่ผ่านมา ทั้งนี้ ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2556 ราคาส่งออกสินค้าในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.4 ในขณะที่การฟื้นตัวของราคาสินค้าตลาดโลกในช่วงที่เหลือของปียังมีแนวโน้มอ่อนตัวตามความล่าช้าในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและค่าเงินดอลลาร์ สรอ. (Trade Weighted) ที่เริ่มมีเสถียรภาพมากขึ้น
          5) ราคานำเข้าในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 เทียบกับร้อยละ 1.6 ในปี 2555 ซึ่งเป็นการปรับลดจากร้อยละ 3.5 ในการประมาณการครั้งที่ผ่านมา โดยในช่วงไตรมาสแรก ราคาสินค้านำเข้าในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 1.8 และในช่วงที่เหลือของปีคาดว่าราคานำเข้าจะขยายตัวอย่างช้าๆ ตามราคาน้ำมันที่ยังอยู่ในระดับต่ำและการแข็งค่าของเงินบาทซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการนำเข้า โดยเฉพาะการอ่อนค่าของเงินเยน ซึ่งทำให้ราคานำเข้าสินค้าวัตถุดิบและสำเร็จรูป และเครื่องจักรอุปกรณ์ลดลง
          6) จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยรวม 24.7 ล้านคน เทียบกับ 22.3 ล้านคนในปี 2555 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.7 ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มจากสมมติฐาน 24.2 ล้านคนในการประมาณการครั้งที่ผ่านมา ตามจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่สูงกว่าการคาดการณ์ในไตรมาสแรกซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 6.8 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 18.9
          7) ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ในประเทศทั้งปี 2556 ไม่ต่ำกว่า 1.4 ล้านคัน เทียบกับปริมาณการจำหน่ายทั้งปี 2555 ที่ 1.25 ล้านคัน
          8) การเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐทั้งปีไม่ต่ำกว่าร้อยละ 94 ของวงเงินงบประมาณและการเบิกจ่ายงบประมาณจากแผนบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและแผนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานไม่ต่ำกว่า 67,000 ล้านบาท และ 10,000 ล้านบาท ตามลำดับ
ประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2556
          เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวในช่วงร้อยละ 4.2 - 5.2 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 6.5 ในปี 2555 อัตราเงินเฟ้อร้อยละ 2.3ต3.3 เทียบกับร้อยละ 3.0 ในปี 2555 และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 0.9 ของ GDP เทียบกับการเกินดุลร้อยละ 0.8 ของ GDP ในปี 2555
          ในการแถลงข่าววันที่ 20 พฤษภาคม 2556 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ปรับลดประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจจากเดิมร้อยละ 4.5 - 5.5 ในการแถลงข่าวเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2556 เป็นการขยายตัวร้อยละ 4.2 - 5.2 โดยมีเหตุผลหลักของการปรับลดประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ประกอบด้วย
          1) อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาสแรกขยายตัวต่ำกว่าการคาดการณ์ ทั้งนี้ในการประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในช่วงร้อยละ 4.5 - 5.5 ในการประมาณการครั้งก่อนตั้งอยู่บนสมมติฐานการขยายตัวของเศรษฐกิจในไตรมาสแรกที่ร้อยละ 6.0 - 7.0 อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเศรษฐกิจในไตรมาสแรกขยายตัวเพียงร้อยละ 5.3 ทำให้ความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจไทยทั้งปีจะขยายตัวเกินร้อยละ 5.2 ลดลง
          2) การปรับลดสมมติฐานการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่สำคัญๆ โดยเฉพาะ (1) การปรับลดสมมติฐานด้านการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกจากร้อยละ 3.8 ในการประมาณการเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2556 เป็นร้อยละ 3.6 ในการประมาณการครั้งนี้ และ (2) การปรับลดสมมติฐานด้านราคาสินค้าส่งออกจากร้อยละ 4.0 เป็นร้อยละ 1.5 ส่งผลให้รายได้จากการส่งออกลดลงจากการประมาณการครั้งที่ผ่านมา
          3) การขยายตัวในช่วงที่เหลือของปียังมีปัจจัยเสี่ยงที่จะขยายตัวในเกณฑ์ต่ำ (Downside Risk) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขยายตัวของเศรษฐกิจในไตรมาสแรกที่ยังพึ่งพิงแรงขับเคลื่อนจากมาตรการคืนภาษีให้แก่ผู้ซื้อรถยนต์คันแรกทั้งในด้านการขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชนและการผลิตภาคอุตสาหกรรม ในขณะที่การใช้จ่ายและการผลิตภาคอุตสาหกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการในประเทศยังอยู่ในภาวะอ่อนตัว ดังนั้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจในช่วงครึ่งหลังของปี จำเป็นต้องพึ่งพาแรงส่งจากการฟื้นตัวของภาคการส่งออกเนื่องจากแรงส่งจากมาตรการคืนภาษีให้แก่ผู้ซื้อรถยนต์คันแรกมีแนวโน้มลดลงตามลำดับ อย่างไรก็ตามการขยายตัวของการส่งออกยังมีปัจจัยเสี่ยงจากแรงกดดันการแข็งค่าของเงินบาทรวมทั้งการปรับตัวดีขึ้นของเศรษฐกิจโลกที่นำโดยการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และญี่ปุ่นมีแนวโน้มที่จะไม่สามารถสนับสนุนให้ภาคการส่งออกของไทยขยายตัวอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ สรอ. และเงินเยนทำให้สินค้าไทยในสหรัฐฯ และญี่ปุ่นมีราคาแพงขึ้น รวมทั้งมีแนวโน้มที่จะทำให้เศรษฐกิจของประเทศอื่นๆ ที่เป็นตลาดส่งออกของไทยขยายตัวช้าลง เงื่อนไขดังกล่าว ยังเป็นความเสี่ยงที่จะ ทำให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจต่ำกว่าขอบล่างของประมาณการ หากการส่งออกไม่สามารถฟื้นตัว การจำหน่ายรถยนต์ต่ำกว่าปีที่ผ่านมา หรือการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐมีความล่าช้า

องค์ประกอบการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
          1) การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภครวมขยายตัวร้อยละ 3.2 ชะลอตัวลงจากการขยายตัวสูงร้อยละ 6.8 ในปี 2555 และเป็นการปรับลดจาก
          การขยายตัวร้อยละ 3.5 ในการประมาณการเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2556 ตามการปรับลดประมาณการการขยายตัวของการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนจากร้อยละ 3.5 ในการประมาณการครั้งก่อนหน้า เป็นการขยายตัวร้อยละ 3.3 ในการประมาณการครั้งนี้ โดยมีสาเหตุสำคัญมาจากการขยายตัวในไตรมาสแรกต่ำกว่าการคาดการณ์ ตลอดจนการปรับสมมติฐานราคาสินค้าส่งออกตลอดจน การแข็งค่าของเงินบาทส่งผลให้ราคาสินค้าเกษตรและรายได้ครัวเรือนต่ำกว่าในการประมาณการครั้งที่ผ่านมา ในขณะที่การใช้จ่ายเพื่อ การอุปโภคและการบริโภคภาครัฐขยายตัวร้อยละ 2.6 ปรับลดลงจากร้อยละ 3.5 ในการประมาณการครั้งก่อนหน้าเนื่องจากอัตรา การขยายตัวในไตรมาสแรกต่ำกว่าการคาดการณ์
          2) การลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 7.9 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 13.2 ในปี 2555 ซึ่งเป็นการปรับลดจากการขยายตัวร้อยละ 8.9 ในการประมาณการครั้งที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลมาจากการปรับลดอัตราการขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชนจากเดิมร้อยละ 8.0 ในการประมาณการเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2556 เป็นการขยายตัวร้อยละ 6.3 ในการประมาณการครั้งนี้ ซึ่งเป็นการปรับลดตามข้อมูลจริงในไตรมาสแรกที่การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวต่ำกว่าการคาดการณ์ ในขณะที่การลงทุนภาครัฐขยายตัวร้อยละ 13.8  ปรับเพิ่มจากร้อยละ 12.0 ในการประมาณการครั้งก่อนหน้าตามการขยายตัวเกณฑ์สูงในไตรมาสแรก
          3) มูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 7.6 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 3.2 ในปี 2555 ซึ่งเป็นการปรับลดจากการขยายตัวร้อยละ 11.0 ในการประมาณการครั้งก่อนหน้าตามการปรับลดสมมติฐานการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกจากเดิมร้อยละ 3.8 ในการประมาณการครั้งก่อนหน้าเป็นร้อยละ 3.6 ในการประมาณการครั้งนี้ และการปรับสมมติฐานด้านอัตราแลกเปลี่ยนจากเฉลี่ย 29.0 - 30.0 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. เป็นเฉลี่ย 28.8 - 29.8 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ซึ่งส่งผลให้ปริมาณการส่งออกสินค้าขยายตัวร้อยละ 6.1  ต่ำกว่าการขยายตัวร้อยละ 7.0 ในการประมาณการครั้งก่อน รวมทั้งการปรับลดสมมติฐานการขยายตัวของราคาสินค้าส่งออกจากเดิม ร้อยละ 4.0 เป็นร้อยละ 1.5 ในการประมาณการครั้งนี้ อย่างไรก็ตาม การปรับสมมติฐานด้านจำนวนนักท่องเที่ยวส่งผลให้ปริมาณ การส่งออกบริการขยายตัวสูงขึ้นกว่าการประมาณการครั้งที่ผ่านมา
          4) มูลค่าการนำเข้าสินค้าในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 7.6 เทียบกับร้อยละ 7.8 ในปี 2555 และเป็นการปรับลดจากการขยายตัวร้อยละ 11.3 ในการประมาณการครั้งที่ผ่านมาตามการปรับลดการขยายตัวของภาคส่งออก การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนซึ่งส่งผลให้ปริมาณความต้องการนำเข้าลดลงจากการประมาณการครั้งก่อนหน้า รวมทั้งการปรับสมมติฐานด้านราคานำเข้าจากเดิมร้อยละ 3.5 เป็นร้อยละ 0.5 ในการประมาณการครั้งนี้
          5) ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 3.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับการเกินดุล 2.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในปี 2555 และเป็นการปรับเพิ่มจากการเกินดุล 3.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในการประมาณการครั้งที่แล้ว โดยดุลการค้าเกินดุลเพิ่มขึ้นจาก 8.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในการประมาณการครั้งก่อนหน้าเป็น 8.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในการประมาณการครั้งนี้ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการปรับสมมติฐานราคาสินค้าส่งออกและนำเข้าซึ่งส่งผลให้อัตราการค้า (Terms of trade) ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับประมาณการครั้งก่อนหน้า เช่นเดียวกับการปรับสมมติฐานด้านการขยายตัวของจำนวนนักท่องเที่ยวที่ส่งผลให้ดุลบริการปรับตัวดีขึ้นจากการประมาณการครั้งที่ผ่านมา
          6) อัตราเงินเฟ้ออยู่ในช่วงร้อยละ 2.3 - 3.3 เทียบกับร้อยละ 2.5 - 3.5 ในการประมาณการครั้งก่อนหน้า ซึ่งเป็นผลมาจากการปรับลดประมาณการราคาสินค้านำเข้า การแข็งค่าของเงินบาทและการปรับลดประมาณการการขยายตัวของอุปสงค์ในประเทศ

6. ประเด็นการบริหารเศรษฐกิจในปี 2556
          ความล่าช้าในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก การเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างค่าเงินสกุลหลัก รวมทั้งความผันผวนและการแข็งค่าที่เร็วกว่าปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจของค่าเงินบาทส่งผลให้เศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกขยายตัวในเกณฑ์ต่ำและเป็นข้อจำกัดที่สำคัญต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในช่วงที่เหลือของปี ในขณะเดียวกันการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งหลังของปีจะเริ่มเผชิญกับฐานการขยายตัวใน ปีที่ผ่านมาที่เพิ่มสูงขึ้น เงื่อนไขดังกล่าวทำให้การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในช่วงที่เหลือของปีมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลงตามลำดับ โดยเฉพาะในกรณีที่การส่งออกไม่สามารถฟื้นตัวและขยายตัวได้ตามเป้าหมายและ การเบิกจ่ายภายใต้แผนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานมีความล่าช้า ดังนั้นการบริหารนโยบายเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปีจึงควรให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการเศรษฐกิจ ให้สามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องและเต็มศักยภาพ โดยเฉพาะการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจมหภาคที่สอดคล้องกับสัญญาณการอ่อนตัวของพลวัตรทางเศรษฐกิจและแรงกดดันการแข็งค่าของเงินบาท การดูแลเร่งรัดการส่งออก รวมทั้งการเร่งรัดดำเนินการตามแผนบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและเพิ่มศักยภาพการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะยาว
          1) การด่าเนินนโยบายการเงินที่สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจและเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มชะลอตัวลงอย่างชัดเจน และการดูแลอัตราแลกเปลี่ยนให้มีการเคลื่อนไหวอย่างมีเสถียรภาพและสอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศไทยเมื่อเปรียบเทียบกับปัจจัยพื้นฐานและนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนของประเทศต่างๆ ในภูมิภาค โดยเฉพาะประเทศที่เป็นคู่แข่งขันด้านการส่งออกที่สำคัญๆ
          2) การดูแลรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการดูแลให้ราคาสินค้าส่าคัญๆ เช่น สินค้าในกลุ่มเชื้อเพลิง วัสดุก่อสร้าง และวัตถุดิบทางการเกษตร มีการเปลี่ยนแปลงที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าในตลาดโลกเพื่อลดแรงกดดันด้านต้นทุนและราคาสินค้าและให้การแข็งค่าของเงินบาทสนับสนุนการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจ รวมทั้งการป้องกันความผันผวนในตลาดส่าคัญๆ ที่อาจได้รับผลกระทบจากความผันผวนของเงินทุนเคลื่อนย้าย ทั้งตลาดเงิน ตลาดทุน และตลาดอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่อัตราดอกเบี้ยยังมีแนวโน้มที่จะอยู่ในระดับต่ำอย่างต่อเนื่อง
          3) การบริหารจัดการให้เศรษฐกิจขยายตัวอย่างต่อเนื่องเพื่อลดผลกระทบจากการลดลงของแรงส่งจากมาตรการคืนภาษีให้แก่ผู้ซื้อรถยนต์คันแรกโดยเฉพาะการเร่งรัดผลักดันการส่งออกให้สามารถฟื้นตัวและขยายตัวได้ตามเป้าหมายการเร่งรัดให้เม็ดเงินที่ได้รับการอนุมัติส่งเสริมการลงทุนให้สามารถด่าเนินโครงการลงทุนได้โดยเร็วตลอดจนการเตรียมการงบประมาณปี 2557 ให้มีความพร้อมและสามารถเร่งรัดการเบิกจ่ายเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจได้อย่างเต็มที่ในไตรมาสสุดท้ายของปี ซึ่งการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยมีแรงต้านจากฐานการขยายตัวที่สูงผิดปกติ
          4) การแก้ไขปัญหาและบรรเทาผลกระทบให้กับ SMEs  โดยเฉพาะปัญหาที่เกิดจากการแข็งค่าของเงินบาท การเพิ่มขึ้นของต้นทุนค่าแรง และความยืดเยื้อในการหดตัวของเศรษฐกิจยุโรป 5) การเร่งรัดโครงการลงทุนภายใต้แผนบริหารจัดการทรัพยากรน่า แผนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานรวมทั้งการเร่งรัดแผนการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ เพื่อสร้างแรงขับเคลื่อนการขยายตัวทางเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปีและเพิ่มศักยภาพการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะยาว รวมทั้งการเร่งรัดแก้ไขปัญหาอุปสรรคด้านการค้าการลงทุนและการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการภาครัฐเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการบริหารจัดการของระบบเศรษฐกิจโดยภาพรวม

          --สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ