ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สามของปี 2564 และแนวโน้มปี 2564 - 2565

ข่าวเศรษฐกิจ Monday November 15, 2021 10:12 —สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สามของปี 2564 และแนวโน้มปี 2564 - 2565

กองยุทธศาสตร์และการวางแผนเศรษฐกิจมหภาค แถลงข่าว วันจันทร์ที่ 15 พฤศจิกายน 2564 เวลา 09.30 น. เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สามของปี 2564 ปรับตัวลดลงร้อยละ 0.3 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 7.6 ในไตรมาสก่อนหน้า (%YoY) และเมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สามของปี 2564 ลดลงจากไตรมาสที่สองของปี 2564 ร้อยละ 1.1 (QoQ_SA) รวม 9 เดือนแรกของปี 2564 เศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 1.3 ด้านการใช้จ่าย การบริโภคภาคเอกชนและการลงทุนภาครัฐปรับตัวลดลง ขณะที่การส่งออกสินค้า การลงทุนภาคเอกชน และการใช้จ่ายภาครัฐขยายตัว ด้านการผลิต สาขาการผลิตอุตสาหกรรม สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร สาขาการก่อสร้าง สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้าและสาขาไฟฟ้าและก๊าซฯ ปรับตัวลดลง ขณะที่สาขาการขายส่งการขายปลีกและการซ่อมแซมฯ ขยายตัว และสาขาเกษตรกรรมขยายตัวเร่งขึ้น
แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2564 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.2 ปรับตัวดีขึ้นอย่างช้า ๆ จากการลดลงร้อยละ 6.1 ในปี 2563 อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ 1.2 และบัญชีเดินสะพัดขาดดุลร้อยละ 2.5 ของ GDP แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2565 คาดว่าจะขยายตัวในช่วงร้อยละ 3.5 - 4.5 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจาก (1) การฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศและภาคการผลิตตามสถานการณ์ การระบาดของโรคโควิด-19 ที่มีแนวโน้มคลี่คลายลงตามลำดับ (2) การฟื้นตัวอย่างช้า ๆ ของภาคท่องเที่ยวระหว่างประเทศภายใต้นโยบายการเปิดประเทศของภาครัฐ (3) การขยายตัวในเกณฑ์ดีของการส่งออกสินค้า (4) การขับเคลื่อนจากการเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐ และ (5) ฐานการขยายตัวที่ยังอยู่ในระดับต่ำ ทั้งนี้ คาดว่ามูลค่า การส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์ สรอ. จะขยายตัวร้อยละ 4.9 การอุปโภคบริโภคและ การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 4.3 และร้อยละ 4.2 ตามลำดับ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ในช่วงร้อยละ 0.9 - 1.9 และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 1.0 ของ GDP ประเด็นการบริหารนโยบายเศรษฐกิจในปี 2565 ควรให้ความสำคัญกับ (1) การป์องกันและควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดภายในประเทศให้อยู่ในวงจำกัด โดย (i) การดำเนินมาตรการป้องกันและควบคุมโรค (ii) การเร่งรัดกระจายวัคซีนให้เพียงพอและทั่วถึง (iii) การควบคุมดูแลกิจกรรมเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรค และ (iv) การเตรียมแผนการรองรับการกลับมาระบาดของโรค (2) การสนับสนุนการฟื้นตัวของภาคธุรกิจ ควบคู่ไปกับการดูแลภาคเศรษฐกิจที่ยังมีข้อจำกัด ในการฟื้นตัว โดย (i) การเร่งรัดติดตามมาตรการต่าง ๆ ทั้งด้านการเงินการคลังที่ได้ดำเนินการไปแล้วให้สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ และพิจารณามาตรการเพิ่มเติมสำหรับกลุ่มที่ยังมีข้อจำกัดในการเข้าถึงมาตรการความช่วยเหลือ (ii) การพิจารณามาตรการเพื่อช่วยเหลือแรงงานเพิ่มเติมสำหรับภาคเศรษฐกิจที่ยังมีข้อจำกัดในการฟื้นตัว และ (iii) การประชาสัมพันธ์มาตรการของภาครัฐให้ประชาชนและภาคธุรกิจมีความเข้าใจและสามารถใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพ (3) การรักษาแรงขับเคลื่อนจากการใช้จ่ายของภาคครัวเรือนและการท่องเที่ยวภายในประเทศ โดย (i) การติดตามและประเมินผลมาตรการต่าง ๆ ที่ดำเนินการไปแล้วและอยู่ระหว่างดำเนินการ ควบคู่ไปกับการปรับมาตรการและดำเนินมาตรการเพิ่มเติมอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์เศรษฐกิจโดยคำนึงถึงความเสี่ยงที่ยังมีอยู่ในระยะข้างหน้า (ii) การดูแลและแก้ไขปัญหาหนี้สินของครัวเรือน และ (iii) การดูแลรายได้เกษตรกร (4) การขับเคลื่อนการส่งออกสินค้า โดย (i) การขับเคลื่อนการส่งออกสินค้าสำคัญไปยังตลาดหลักที่มีการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ชัดเจน และการสร้างตลาดใหม่ให้กับสินค้าที่มีศักยภาพ (ii) การพัฒนาสินค้าเกษตร อาหาร และสินค้าอุตสาหกรรม (iii) การแก้ปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อระบบการขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ (iv) การใช้ประโยชน์จากกรอบความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ควบคู่ไปกับการเร่งรัดการเจรจาความตกลงการค้าเสรีที่กำลังอยู่ในขั้นตอนของการเจรจา และ (v) การป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนและการเพิ่มขึ้นของต้นทุนการผลิต (5) การส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชน โดย (i) การเร่งสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนต่อการควบคุมการระบาดของโรคภายในประเทศ (ii) การเร่งรัดให้ผู้ประกอบการที่ได้รับอนุมัติและออกบัตรส่งเสริมการลงทุนในช่วงปี 2561-2563 ให้เกิดการลงทุนจริง (iii) การแก้ไขปัญหาที่นักลงทุนและผู้ประกอบการต่างชาติเห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อการลงทุนและการประกอบธุรกิจ รวมทั้งการขาดแคลนแรงงานในภาคการผลิต (iv) การดำเนินมาตรการส่งเสริมการลงทุนเชิงรุกและอำนวยความสะดวกเพื่อดึงดูดนักลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย (v) การส่งเสริมการลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษต่าง ๆ (vi) การขับเคลื่อนการลงทุนพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งที่สำคัญ และ (vii) การพัฒนากำลังแรงงานทักษะสูงเพื่อรองรับกับอุตสาหกรรมที่เน้นเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้มข้นโดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ (6) การขับเคลื่อนการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ และ (7) การติดตามและเฝ์าระวัง ความผันผวนของภาคเศรษฐกิจต่างประเทศที่มีแนวโน้มจะส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และการดูแลเสถียรภาพทางการเมือง
เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สามของปี 2563 และแนวโน้มปี 2564 - 2565 เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สามของปี 2564 ปรับตัวลดลงร้อยละ 0.3 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 7.6 ในไตรมาสที่สองของปี 2564 เนื่องจากได้รับผลกระทบของ การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น ด้านการใช้จ่าย การบริโภคภาคเอกชนและการลงทุนภาครัฐปรับตัวลดลง ขณะที่การส่งออกสินค้า การลงทุนภาคเอกชน และการใช้จ่ายภาครัฐขยายตัว ด้านการผลิต สาขาการผลิตอุตสาหกรรม สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร สาขาการก่อสร้าง และสาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้าปรับตัวลดลง ขณะที่สาขาการขายส่งการขายปลีกและการซ่อมแซมฯ ขยายตัว และสาขาเกษตรกรรมขยายตัวเร่งขึ้น เมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สามของปี 2564 ลดลงจากไตรมาสที่สองของปี 2564 ร้อยละ 1.1 (QoQ_SA) รวม 9 เดือนแรกของปี 2564 เศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 1.3 เศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สามของปี 2564 %GDP (YoY) ( GDP 10.0

GDP (QoQ_ 5,000 5.0 4,000 -0.3 0.0 3,000 -5.0 -1.1

2,000 -10.0 1,000 -15.0 0Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3

59 60 61 62 63 64 ที่มา: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สามของปี 2564 1)การบริโภคภาคเอกชน ลดลงร้อยละ 3.2 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 4.8 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยมีสาเหตุจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น ทำให้ประชาชนระมัดระวังพฤติกรรมการใช้จ่าย ในขณะที่ภาครัฐมีความจำเป็นต้องยกระดับมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยการใช้จ่ายหมวดสินค้าคงทน ลดลงร้อยละ 14.1 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 13.3 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการลดลงของการใช้จ่ายเพื่อซื้อยานพาหนะร้อยละ 21.8 การใช้จ่ายหมวดบริการลดลงร้อยละ 4.9 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 9.1 ในไตรมาสก่อนหน้า และการใช้จ่ายหมวดสินค้ากึ่งคงทน ลดลงร้อยละ 8.3 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 7.3 ในไตรมาสก่อนหน้า ในขณะที่การใช้จ่ายหมวดสินค้าไม่คงทนขยายตัวร้อยละ 1.3 ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 2.3 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับยานพาหนะลดลงร้อยละ 15.6 อย่างไรก็ตาม กลุ่มสินค้าอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ขยายตัวร้อยละ 2.7 การปรับตัวลดลงของการบริโภคภาคเอกชนในไตรมาสนี้สอดคล้องกับการลดลงของดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับ ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมจากระดับ 38.8 ในไตรมาสก่อนหน้า เป็นระดับ 34.9 การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาล ขยายตัวร้อยละ 2.5 เร่งขึ้นจาก การขยายตัวร้อยละ 1.0 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยค่าตอบแทนแรงงาน (ค่าจ้าง เงินเดือน) ขยายตัวร้อยละ 1.0 และการโอนเพื่อสวัสดิการทางสังคมที่ไม่เป็น ตัวเงินสำหรับสินค้าและบริการขยายตัวสูงร้อยละ 47.1 ซึ่งเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายสำหรับการรักษาโรคโควิด-19 ส่วนรายจ่ายค่าซื้อสินค้าและบริการลดลงร้อยละ 3.6 สอดคล้องกับการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำของงบประมาณรายจ่ายประจำปี 638,677.9 ล้านบาท ซึ่งขยายตัวร้อยละ 23.0 คิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 23.8 (สูงกว่าอัตราเบิกจ่ายร้อยละ 20.6 ในไตรมาสก่อนหน้า และสูงกว่าร้อยละ 19.6 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน) และการเบิกจ่ายเงินกู้เพื่อแก้ไขปัญหาสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เป็นเงิน 219,741.3 ล้านบาท รวม 9 เดือนแรกของปี 2564 การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 0.4 และการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาลขยายตัวร้อยละ 1.9 2) การลงทุนรวม ลดลงร้อยละ 0.4 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 7.6 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการลงทุนภาครัฐที่ลดลงร้อยละ 6.0 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 4.1 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยเป็นผลจากการลดลงของการลงทุนรัฐบาล ขณะที่การลงทุนของรัฐวิสาหกิจขยายตัว สำหรับอัตราการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายลงทุนในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 24.0 (สูงกว่าอัตราเบิกจ่ายร้อยละ 20.5 ในไตรมาสก่อนหน้า แต่ต่ำกว่าร้อยละ 30.8 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน) ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 2.6 ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 9.2 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยการลงทุนในหมวดเครื่องจักรเครื่องมือ ขยายตัวร้อยละ 3.7 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 12.2 ในไตรมาสก่อนหน้า ส่วนการลงทุนในหมวดก่อสร้าง ลดลงร้อยละ 0.5 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 0.1 ในไตรมาสก่อนหน้า รวม 9 เดือนแรกของปี 2564 การลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 4.7 โดยการลงทุนภาคเอกชนและการลงทุนภาครัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 และร้อยละ 4.6 ตามลำดับ 3) การส่งออกสินค้า มีมูลค่า 67,249 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 15.7 ต่อเนื่องจากการขยายตัวร้อยละ 36.2 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยปริมาณ การส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.2 และราคาส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 สินค้าที่มีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้น เช่น เครื่องจักรและอุปกรณ์ (ร้อยละ 16.4) รถยนต์นั่ง (ร้อยละ 8.7) รถกระบะ (ร้อยละ 18.7) ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ยานยนต์ (ร้อยละ 25.3) ชิ้นส่วนและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (ร้อยละ 26.1) ผลิตภัณฑ์ยาง (ร้อยละ 10.4) อาหารสัตว์ (ร้อยละ 19.6) ยางพารา (ร้อยละ 99.5) มันสำปะหลัง (ร้อยละ 59.8) และข้าว (ร้อยละ 16.5) เป็นต้น สินค้าที่มีมูลค่าส่งออกลดลง เช่น ตู้เย็น (ร้อยละ 6.0) เครื่องดื่ม (ร้อยละ 5.2) ปลากระป๋องและปลาแปรรูป (ร้อยละ 24.7) และน้ำตาล (ร้อยละ 2.4) เป็นต้น การส่งออกสินค้าไปยังตลาดหลักส่วนใหญ่ขยายตัวต่อเนื่อง เมื่อหักการส่งออกทองคำที่ยังไม่ขึ้นรูปออกแล้ว มูลค่าการส่งออกสินค้าขยายตัวร้อยละ 24.2 และเมื่อคิดในรูปของเงินบาท มูลค่าการส่งออกสินค้าขยายตัวร้อยละ 21.6 รวม 9 เดือนแรกของปี 2564 การส่งออกสินค้ามีมูลค่า 199,014 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 17.9 โดยปริมาณและราคาส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.4 และร้อยละ 3.1 ตามลำดับ 4) สาขาเกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมง ขยายตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 4 ร้อยละ 4.3 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 1.9 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากสภาพอากาศและปริมาณน้ำที่เอื้ออำนวย สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรร้อยละ 8.1 โดยดัชนีผลผลิตพืชเกษตรสำคัญที่เพิ่มขึ้น เช่น กลุ่มไม้ผล (ร้อยละ 37.8) ข้าวเปลือก (ร้อยละ 12.1) ยางพารา (ร้อยละ 4.4) มันสำปะหลัง (ร้อยละ 11.9) และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (ร้อยละ 11.9) ส่วนผลผลิตพืชเกษตรสำคัญที่ลดลง เช่น กุ้งขาวแวนนาไม (ลดลงร้อยละ 6.7) เป็นต้น ด้านหมวดปศุสัตว์ขยายตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 15

ร้อยละ 2.2 ในขณะที่หมวดประมงลดลงร้อยละ 6.7 ดัชนีราคาสินค้าเกษตรปรับตัวลดลงครั้งแรกในรอบ 5 ไตรมาส ร้อยละ 4.5 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 12.7 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยสินค้าเกษตรสำคัญที่ดัชนีราคาปรับตัวลดลง เช่น ข้าวเปลือก (ลดลงร้อยละ 27.1) กลุ่มไม้ผล (ลดลงร้อยละ 20.2) สุกร (ลดลงร้อยละ 9.6) กุ้งขาวแวนนาไม (ลดลงร้อยละ 9.2) และไก่เนื้อ (ลดลงร้อยละ 1.8) เป็นต้น ส่วนสินค้าเกษตรที่ดัชนีราคาปรับตัวเพิ่มขึ้น เช่น ปาล์มน้ำมัน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 84.7) ยางพารา (เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.7) อ้อย (เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.3) มันสำปะหลัง (เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.1) และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4) เป็นต้น ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตร ส่งผลให้ดัชนีรายได้เกษตรกรโดยรวมเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 4 ร้อยละ 2.9 รวม 9 เดือนแรกของปี 2564 การผลิตสาขาเกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมงเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 เทียบกับการลดลงร้อยละ 5.3 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.1 ดัชนีราคาสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 และดัชนีรายได้เกษตรกรโดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.9 5) สาขาการผลิตอุตสาหกรรม ลดลงร้อยละ 1.4 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 16.9 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการลดลงของอุปสงค์ในประเทศ ผลกระทบ จากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในพื้นที่การผลิต และปัญหาข้อจำกัดในห่วงโซ่อุปทานโลก สอดคล้องกับการลดลงของดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมร้อยละ 0.8 โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่มีสัดส่วนการส่งออกในช่วงร้อยละ 30 - 60 ลดลงร้อยละ 1.0 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 28.3 ในไตรมาสก่อนหน้า และดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมกลุ่มการผลิตเพื่อบริโภคภายในประเทศ (สัดส่วนส่งออกน้อยกว่าร้อยละ 30) ลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 3 ไตรมาส ร้อยละ 4.2 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 9.6 ในไตรมาสก่อนหน้า ในขณะที่ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมกลุ่มการผลิตเพื่อส่งออก (สัดส่วนส่งออกมากกว่าร้อยละ 60)ขยายตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 ร้อยละ 4.3 สอดคล้องกับการส่งออกสินค้าที่ยังขยายตัวในเกณฑ์ดี อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 59.31 ต่ำกว่าร้อยละ 62.73 ในไตรมาสก่อนหน้า และต่ำกว่าร้อยละ 60.41 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมสำคัญ ๆ ที่ลดลง เช่น การผลิตคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง (ลดลงร้อยละ 11.2) การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม (ลดลงร้อยละ 5.9) และการผลิตจักรยานยนต์ (ลดลงร้อยละ 39.4) เป็นต้น ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมสำคัญ ๆ ที่เพิ่มขึ้น เช่น การผลิตน้ำตาล (ร้อยละ 61.2) การผลิตชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (ร้อยละ 14.1) และการผลิตยานยนต์ (ร้อยละ 2.4) เป็นต้น รวม 9 เดือนแรกของปี 2564 การผลิตสาขาการผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0 เทียบกับการลดลงร้อยละ 7.4 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 63.16 6) สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร ลดลงร้อยละ 18.7 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 14.6 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการลดลงของการท่องเที่ยว ในประเทศและการใช้จ่ายภาคครัวเรือน อย่างไรก็ตาม นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเริ่มเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศมากขึ้น โดยในไตรมาสนี้มี รายรับจากนักท่องเที่ยวชาวไทย 0.010 ล้านล้านบาท ลดลงร้อยละ 91.5 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 86.0 ในไตรมาสก่อนหน้า เนื่องจากสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกที่สามภายในประเทศขยายตัวเป็นวงกว้าง ประกอบกับมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดที่เข้มงวดมากขึ้น ส่วนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยในไตรมาสนี้มีจำนวน 45,398 คน (รวมนักท่องเที่ยวกลุ่ม Thailand Privilege Card) อัตราการเข้าพักเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 5.46 ต่ำกว่าร้อยละ 8.24 ในไตรมาสก่อนหน้า และต่ำกว่าร้อยละ 26.69 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน รวม 9 เดือนแรกของปี 2564 การผลิตสาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหารลดลงร้อยละ 17.2 เทียบกับการลดลงร้อยละ 37.1 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศ 9 เดือนแรกอยู่ที่ 85,845 คน ลดลงร้อยละ 98.7 และอัตราเข้าพักเฉลี่ย 9 เดือนแรกอยู่ที่ร้อยละ 9.95 7) สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า ลดลงร้อยละ 0.9 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 11.2 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการปรับตัวลดลงของดัชนีบริการขนส่งร้อยละ 3.2 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 20.9 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยมีสาเหตุหลักมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ โรคโควิด-19 ซึ่งทำให้บริการขนส่งทางบกและท่อลำเลียงลดลง สอดคล้องกับการลดลงของดัชนีบริการขนส่งทางบกและท่อลำเลียงร้อยละ 12.9 ในขณะที่บริการขนส่งทางน้ำและบริการขนส่งทางอากาศขยายตัวตามการขยายตัวในเกณฑ์ดีของการส่งออกสินค้า และการเริ่มฟื้นตัวของ การเดินทางระหว่างประเทศ สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นดัชนีบริการขนส่งทางน้ำและดัชนีบริการขนส่งทางอากาศร้อยละ 14.0 และร้อยละ 2.3 ตามลำดับ ส่วนบริการสนับสนุนการขนส่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.7 และบริการไปรษณีย์ขยายตัวในเกณฑ์สูงต่อเนื่องร้อยละ 23.2 รวม 9 เดือนแรกของปี 2564 การผลิตสาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้าลดลงร้อยละ 4.9 โดยบริการขนส่งลดลงร้อยละ 7.3 บริการสนับสนุนการขนส่งลดลงร้อยละ 1.8 ขณะที่บริการไปรษณีย์ขยายตัวร้อยละ 24.0 8) สาขาไฟฟ์า ก๊าซ และระบบปรับอากาศ ลดลงร้อยละ 2.6 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 0.8 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับกิจกรรมการผลิต ทั้งในภาคการผลิตและภาคบริการที่อยู่ในระดับต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยดัชนีการผลิตไฟฟ้าลดลงร้อยละ 0.3 ตามการปรับตัวลดลงของปริมาณการใช้ไฟฟ้าภาคธุรกิจร้อยละ 11.5 เป็นสำคัญ ในขณะที่ปริมาณการใช้ไฟฟ้าในภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 และปริมาณการใช้ไฟฟ้าภาคครัวเรือนเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.6 ส่วนดัชนีการผลิตก๊าซธรรมชาติลดลงร้อยละ 6.0 สอดคล้องกับการลดลงปริมาณก๊าซธรรมชาติที่ส่งเข้าโรงแยกก๊าซ และความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติเพื่อใช้ในการผลิตไฟฟ้า รวม 9 เดือนแรกของปี 2564 การผลิตสาขาไฟฟ้า ก๊าซ และระบบปรับอากาศลดลงร้อยละ 3.8 เทียบกับการลดลงร้อยละ 7.1 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยดัชนีการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 และดัชนีการผลิตก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 แนวโน้มเศรษฐกิจไทย ปี 2564 - 2565 แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2564 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.2 ปรับตัวดีขึ้นอย่างช้า ๆ จากการลดลงร้อยละ 6.1 ในปี 2563 อัตราเงินเฟ้อคาดว่า จะอยู่ที่ร้อยละ 1.2 และบัญชีเดินสะพัดขาดดุลร้อยละ 2.5 ต่อ GDP เทียบกับการเกินดุลร้อยละ 4.0 ต่อ GDP ในปี 2563 แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2565 คาดว่าจะขยายตัวในช่วงร้อยละ 0.7 - 1.2 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจาก (1) การฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศและ ภาคการผลิตตามสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ที่มีแนวโน้มคลี่คลายและความคืบหน้าของการกระจายวัคซีน (2) การฟื้นตัวอย่างช้า ๆ ของภาคท่องเที่ยวระหว่างประเทศภายใต้นโยบายการเปิดประเทศของภาครัฐ (3) การขยายตัวในเกณฑ์ดีของการส่งออกสินค้า (4) การขับเคลื่อนจาก การเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐ และ (5) ฐานการขยายตัวที่ยังอยู่ในระดับต่ำ ทั้งนี้ คาดว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์ สรอ. จะขยายตัว ร้อยละ 4.9 การอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 4.3 และร้อยละ 4.2 ตามลำดับ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยในช่วงร้อยละ 0.9 - 1.9 และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 1.0 ของ GDP 1. ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สามของปี 2564 ด้านการใช้จ่าย การบริโภคภาคเอกชน: ลดลงร้อยละ 3.2 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 4.8 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยมีสาเหตุจากการแพร่ระบาดระลอกใหม่ทำให้ประชาชนระมัดระวังพฤติกรรมการใช้จ่าย ในขณะที่ภาครัฐมีความจำเป็นต้องยกระดับมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจและการใช้จ่ายภายในประเทศปรับตัวลดลง โดยการใช้จ่ายหมวดสินค้าคงทน ลดลงร้อยละ 14.1 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 13.3 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการลดลงของการใช้จ่ายเพื่อซื้อยานพาหนะร้อยละ 21.8 การใช้จ่ายหมวดบริการลดลงร้อยละ 4.9 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 9.1 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการลดลงของการใช้จ่ายในกลุ่มโรงแรม และภัตตาคาร และกลุ่มโสตทัศนูปกรณ์ การถ่ายภาพและประมวลผลข้อมูล ร้อยละ 16.0 และร้อยละ 11.2 ตามลำดับ และการใช้จ่ายหมวดสินค้ากึ่งคงทน ลดลงร้อยละ 8.3 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 7.3 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการลดลงของการใช้จ่ายหมวดเครื่องเรือนและเครื่องตกแต่ง และหมวดเสื้อผ้าและรองเท้า ร้อยละ 6.6 และร้อยละ 9.0 ตามลำดับ ในขณะที่การใช้จ่ายหมวดสินค้าไม่คงทนขยายตัวร้อยละ 1.3 ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 2.3 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับยานพาหนะ ลดลงร้อยละ 15.6 อย่างไรก็ตาม กลุ่มสินค้าอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ขยายตัวร้อยละ 2.7 การลดลงของการบริโภคภาคเอกชนในไตรมาสนี้มีสาเหตุหลักมาจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้ภาครัฐต้องยกระดับมาตรการควบคุม การแพร่ระบาดของโรคตามการประกาศพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดจาก 10 จังหวัด เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม เป็น 13 จังหวัด และ 29 จังหวัด เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม และ 3 สิงหาคม 2564 ตามลำดับ สอดคล้องกับการลดลงของดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมมาอยู่ที่ระดับ 34.9 จากระดับ 38.8 ในไตรมาสก่อนหน้า

การบริโภคภาคเอกชนปรับตัวลดลงการบริโภคภาคเอกชนและเครื่องชี้ที่สำคัญ%YoY 8.0 80.0 %YoY

%YoY 6.0 70.0 8.0 4.0 60.0 6.0 40.0 2.0 50.0 4.0 20.0 0.0 40.0 2.0 0.0 -2.0 30.0

-2.0 -20.0 -4.0 20.0 -4.0

-40.0 -6.0 10.0 -6.0 -8.0 0.0 -8.0 -60.0 Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3 Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3 ที่มา: สศช. และ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยที่มา: สศช. ธนาคารแห่งประเทศไทย และกรมธุรกิจพลังงานการลงทุนภาคเอกชน: ขยายตัวร้อยละ 2.6 ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 9.2 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการชะลอตัวของการลงทุนในหมวดเครื่องจักรเครื่องมือและการปรับตัวลดลงต่อเนื่องของการลงทุน ในหมวดก่อสร้าง โดยการลงทุนในหมวดเครื่องจักรเครื่องมือขยายตัวร้อยละ 3.7 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 12.2 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องการขยายตัวของการนำเข้าสินค้าทุน ปริมาณการจำหน่ายเครื่องจักรและอุปกรณ์ในประเทศร้อยละ 21.9 และร้อยละ 12.7 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 24.5 และร้อยละ 44.2 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามลำดับ ในขณะที่ยอดจดทะเบียนยานยนต์ใหม่ลดลงร้อยละ 12.1 จากที่ขยายตัวได้ร้อยละ 20.3 ในไตรมาสก่อนหน้า ส่วนการลงทุนในหมวดก่อสร้างลดลงร้อยละ 0.5 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 0.1 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการลดลงของพื้นที่ได้รับอนุญาตก่อสร้างทั่วประเทศและดัชนีการจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง ในประเทศร้อยละ 5.5 และร้อยละ 9.8 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 9.4 และร้อยละ 3.6 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามลำดับ โดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการปิดสถานที่ก่อสร้างในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม 2564 ตามการระบาดของโรคโควิด-19 ทวีความรุนแรงมากขึ้น สอดคล้องกับการปรับตัวลดลงของดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจจากระดับ 45.2 ในไตรมาสก่อนหน้า เป็นระดับ 41.3 ในไตรมาสนี้

: การส่งออกสินค้าในไตรมาสที่สามของปี 2564 มีมูลค่า67,249 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 15.7 ต่อเนื่องจากการขยายตัวร้อยละ 36.2 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.2 ต่อเนื่องจากการเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.9 ในไตรมาสก่อนหน้า ในส่วนของปริมาณการส่งออกสินค้าเกษตร และสินค้าประมงขยายตัวร้อยละ 42.9 และร้อยละ 14.3 ตามลำดับ เร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่ปริมาณการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมขยายตัวในเกณฑ์ดีร้อยละ 18.0 ต่อเนื่องจากการขยายตัวร้อยละ 36.7 ในไตรมาสก่อนหน้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 ต่อเนื่องจากการเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยราคาส่งออกสินค้าเกษตร ประมง และอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 0.7 ร้อยละ 2.2 และร้อยละ 3.5 ตามลำดับ เมื่อหัก การส่งออกทองคำที่ยังไม่ขึ้นรูปออกแล้ว มูลค่าการส่งออกขยายตัวร้อยละ 24.2 ต่อเนื่องจากการขยายตัวร้อยละ 45.2 ในไตรมาสก่อนหน้า มีมูลค่า 2,214 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.6 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 33.6 ในไตรมาสก่อนหน้า

%YoY ดัชนีมูลค่า ปริมาณ และราคาส่งออก

%YoY สินค้าส่งออกจำแนกตามกิจกรรมการผลิต200.0 40.0 30.0 150.0 20.0

100.0 10.0

50.0 0.0 -10.0 0.0 -20.0

-50.0 Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3

Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3Q4Q1Q2Q3 ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทยที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 43.9 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 29.3 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 42.9 ตามการขยายตัวของปริมาณการส่งออกยางพารา มันสำปะหลัง และข้าว ขณะที่ราคาส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 ตามการเพิ่มขึ้นของราคาส่งออกยางพารา มันสำปะหลัง และน้ำตาล โดยมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 99.5 ตามการเพิ่มขึ้นของความต้องการใช้ยางพาราในการผลิตถุงมือยาง และอุตสาหกรรมรถยนต์ โดยเฉพาะในตลาดจีนและสหรัฐฯ และการเพิ่มขึ้นของราคายางพาราในตลาดโลก โดยปริมาณการส่งออกยางพาราเพิ่มขึ้นร้อยละ 48.3 และราคาส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.5 มูลค่า การส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 59.8 เนื่องจากอุปสงค์ของประเทศคู่ค้าหลักเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะตลาดจีนและญี่ปุ่น โดยปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 51.7 และราคาส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 มูลค่าการส่งออกกลับมาขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 5 ไตรมาส ร้อยละ 16.5 ตามการเพิ่มขึ้นของการส่งออกไปยังประเทศแอฟริกาใต้ จีน และฮ่องกง เป็นสำคัญ โดยปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 14 ไตรมาส ร้อยละ 41.7 ขณะที่ราคาส่งออกลดลงร้อยละ 17.8 มูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 2.4 ตามการลดลงของการส่งออกไปยังประเทศอินโดนีเซียและเวียดนาม เป็นสำคัญ โดยปริมาณการส่งออกลดลงร้อยละ 25.8 ส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากผลผลิตอ้อยเข้าสู่ตลาดลดลง ขณะที่ราคาส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.6 ขยายตัวร้อยละ 22.1 ต่อเนื่องจากการขยายตัวร้อยละ 41.8 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับอุปสงค์ประเทศคู่ค้าที่ยังขยายตัวในเกณฑ์ดีต่อเนื่อง โดยปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.0 และราคาส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 ต่อเนื่องจากการเพิ่มขึ้นร้อยละ 36.7 และร้อยละ 3.7 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามลำดับ มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมสำคัญที่ขยายตัว เช่น เครื่องจักรและอุปกรณ์ (ร้อยละ 16.4) รถยนต์นั่ง (ร้อยละ 8.7) รถกระบะ (ร้อยละ 18.7) ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ยานยนต์ (ร้อยละ 25.3) ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า (ร้อยละ 18.3) ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ (ร้อยละ 26.1) เคมีภัณฑ์ (ร้อยละ 52.5) ผลิตภัณฑ์ยาง (ร้อยละ 10.4) และอาหารสัตว์ (ร้อยละ 19.6) เป็นต้น ส่วนสินค้าส่งออกสำคัญอื่น ๆ ที่ลดลง เช่น ตู้เย็น (ร้อยละ 6.0) เครื่องดื่ม (ร้อยละ 5.2) และปลากระป๋องและปลาแปรรูป (ร้อยละ 24.7) เป็นต้น ขยายตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 2 ร้อยละ 16.9 โดยปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.3 และราคาส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ กุ้ง ปู กั้ง และล็อบสเตอร์ (ร้อยละ 25.0) และปลา (ร้อยละ 10.5) ลดลงร้อยละ 74.7 เป็นผลจากการลดลงของมูลค่าการส่งออกทองคำที่ยังไม่ขึ้นรูปร้อยละ 75.8 เป็นสำคัญ

โดยการส่งออกไปยังตลาดจีนขยายตัวร้อยละ 32.2 ตามการเพิ่มขึ้นของการส่งออกผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้ง เม็ดพลาสติก และเครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ เป็นสำคัญ การส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 19.6 ตามการขยายตัวของการส่งออกผลิตภัณฑ์ยาง รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เป็นสำคัญ การส่งออกไปยังตลาดญี่ปุ่นขยายตัวร้อยละ 15.3 ตามการขยายตัวของการส่งออกเคมีภัณฑ์ และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เป็นสำคัญ การส่งออกไปยังตลาดสหภาพยุโรป (27) ขยายตัวร้อยละ 16.4 ตามการขยายตัวของ การส่งออกรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง และเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เป็นสำคัญ การส่งออกไปยังตลาดอาเซียน (5) ขยายตัวร้อยละ 26.5 ตามการขยายตัวของการส่งออกไปยังตลาดมาเลเซียและฟิลิปปินส์ เป็นสำคัญ การส่งออกไปกลุ่มประเทศ CLMV ขยายตัวร้อยละ 8.1 (การส่งออกไปกัมพูชา เมียนมา และลาวขยายตัวร้อยละ 34.1 ร้อยละ 13.5 และร้อยละ 13.5 ตามลำดับ ขณะที่การส่งออกไปเวียดนามปรับตัวลดลงร้อยละ 7.9) การส่งออกไปยังตะวันออกกลาง (15) ขยายตัวร้อยละ 22.7 ตามการขยายตัวของการส่งออกรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และผลิตภัณฑ์ยาง เป็นสำคัญ ขณะที่การส่งออกไปยังตลาดออสเตรเลียกลับมาลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 4 ไตรมาส ร้อยละ 12.6 ตามการลดลงของการส่งออกรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เป็นสำคัญ

มีมูลค่า 57,985 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.8 เทียบกับ การขยายตัวร้อยละ 41.8 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.9 ต่อเนื่องจากการเพิ่มขึ้น ร้อยละ 31.9 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการเพิ่มขึ้นของปริมาณการนำเข้าในหมวดสินค้าวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลางร้อยละ 30.8 และการเพิ่มขึ้นของปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนและสินค้าอุปโภคบริโภคร้อยละ 20.8 และร้อยละ 14.1 ตามลำดับ ส่วนราคานำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.4 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยดัชนีราคานำเข้าวัตถุดิบเพิ่มขึ้นในเกณฑ์สูงร้อยละ 18.3 ต่อเนื่องจากการเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.8 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลก เช่น น้ำมัน และวัสดุที่ทำด้วยโลหะ เป็นต้น ทั้งนี้ หากไม่รวมการนำเข้าทองคำ มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.1 ต่อเนื่องจากการขยายตัวร้อยละ 40.5 ในไตรมาสก่อนหน้า

การนำเข้าสินค้ามีมูลค่ารวม 1,909 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.5 เทียบกับ การเพิ่มขึ้นร้อยละ 39.1 ในไตรมาสก่อนหน้า เมื่อพิจารณาในรายหมวด มูลค่าการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลาง สินค้าทุน สินค้าอุปโภคบริโภค และสินค้านำเข้าอื่น ๆ เพิ่มขึ้นทุกหมวดสินค้า ประกอบด้วยเพิ่มขึ้นร้อยละ 54.6 ต่อเนื่องจากการเพิ่มขึ้นร้อยละ 58.0 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.8 และราคานำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.3 สินค้าสำคัญที่มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น เช่น น้ำมันดิบ วัสดุที่ทำด้วยโลหะ และแผงวงจรรวมและชิ้นส่วน เป็นต้น เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.0 เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.0 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยปริมาณนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.8 และราคานำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 สินค้าสำคัญที่มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น เช่น เครื่องจักรกลอื่น ๆ และชิ้นส่วน หม้อแปลง เครื่องกำเนิดไฟฟ้า มอเตอร์ และเครื่องเก็บประจุไฟฟ้า และเครื่องชั่ง ตวง วัด เป็นต้น เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.5 เทียบกับ การเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.0 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.1 และราคานำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 สินค้าสำคัญที่มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น เช่น ยาและเวชภัณฑ์ และเครื่องประดับ (ยกเว้นไข่มุกและ อัญมณี) เป็นต้น เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.9 เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 76.0 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการเพิ่มขึ้นของการนำเข้าทองคำ (ไม่รวมทองรูปพรรณ) และยานยนต์ ร้อยละ 66.9 และร้อยละ 49.7 ตามลำดับ อัตราการค้า (Term of Trade) อยู่ที่ 109.8 โดยราคาส่งออกและราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 และ 3.0 ตามลำดับ เทียบกับระดับ 109.7 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และระดับ 108.4 ในไตรมาสก่อนหน้า ดุลการค้าเกินดุล ในไตรมาสที่สามของปี 2564 ดุลการค้าเกินดุล 9.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ต่ำกว่าการเกินดุล 9.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสก่อนหน้า และต่ำกว่าการเกินดุล 14.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เมื่อคิดในรูปเงินบาท ดุลการค้าเกินดุล 304.7 พันล้านบาท ใกล้เคียงกับการเกินดุล 304.6 พันล้านบาท ในไตรมาสก่อนหน้า แต่ต่ำกว่าการเกินดุล 442.2 พันล้านบาท ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของร้อยละ 8.1 โดยดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ (1) เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.8 โดยเฉพาะลำไย เนื่องจากพื้นที่ให้ผลผลิตมากขึ้น ประกอบกับสภาพอากาศเอื้ออำนวย (2) เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.1 เนื่องจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยและปริมาณน้ำที่เพียงพอต่อการเพาะปลูก (3) เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 เนื่องจากแรงจูงใจด้านราคาในช่วงที่ผ่านมาอยู่ในเกณฑ์ดี ส่งผลให้เกษตรกรมีการดูแลรักษาต้นยางพารามากขึ้น (4) เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.9 เนื่องจากในช่วง ที่ผ่านมาราคาอยู่ในเกณฑ์ดี จูงใจให้เกษตรกรขยายพื้นที่เพาะปลูก และ (5) เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.9 เนื่องจากแรงจูงใจด้านราคา ประกอบกับเกษตรกรมีการควบคุมและป้องกันโรคหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ กุ้งขาวแวนนาไม (ลดลงร้อยละ 6.7) เป็นต้น ปรับตัวลดลงครั้งแรกในรอบ 5 ไตรมาส ร้อยละ 4.5 ตามการลดลงของดัชนีราคาสินค้าเกษตรสำคัญ ๆ เช่น (1) ลดลงร้อยละ 27.1 ตามปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยและปริมาณน้ำเพียงพอต่อการเพาะปลูก (2) ลดลงร้อยละ 20.2 โดยเฉพาะทุเรียน เนื่องจากปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้น และความต้องการบริโภคทุเรียนในตลาดต่างประเทศปรับตัวลดลง ประกอบกับอุปสรรคด้านการขนส่งและความเข้มงวดในการตรวจสอบคุณภาพ (3) ลดลงร้อยละ 9.6 ตามปริมาณความต้องการบริโภคเนื้อสุกรที่ลดลงจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (4) ลดลงร้อยละ 9.2 ตามปริมาณความต้องการบริโภคภายในประเทศที่ปรับตัวลดลง เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (5) ลดลงร้อยละ 1.8 เนื่องจากไก่เนื้อมีขนาดใหญ่เกินมาตรฐานทำให้ราคาต่ำลงกว่าปกติและปัญหาการส่งออกที่ผู้ประกอบการฟาร์มไก่ไม่สามารถส่งไก่เข้าโรงเชือดได้ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในโรงเชือดไก่ อย่างไรก็ตาม ดัชนีราคาสินค้าเกษตรสำคัญบางรายการปรับตัวเพิ่มขึ้น เช่น ราคาปาล์มน้ำมัน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 84.7) ราคายางพารา (เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.7) ราคาอ้อย (เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.3) ราคามันสำปะหลัง (เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.1) และราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4) เป็นต้น การเพิ่มขึ้นของดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตร ส่งผลให้

เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 4 ร้อยละ 2.9

--สอดคล้องกับการลดลงของดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมร้อยละ 0.8 เป็นการลดลงครั้งแรกในรอบ 3 ไตรมาส โดย

ลดลงร้อยละ 1.0 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 28.3 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียมลดลงร้อยละ 5.9 เทียบกับ การขยายตัวร้อยละ 2.3 ในไตรมาสก่อนหน้า การผลิตจักรยานยนต์ลดลงร้อยละ 39.4 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 125.1 ในไตรมาสก่อนหน้า และการผลิตเครื่องใช้ในครัวเรือนลดลงร้อยละ 17.8 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 44.7 ในไตรมาสก่อนหน้า เป็นสำคัญ อย่างไรก็ตาม การผลิตน้ำตาลขยายตัวร้อยละ 61.2 และการผลิตยานยนต์ขยายตัวร้อยละ 2.4

ลดลงร้อยละ 4.2 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 9.6 ซึ่งเป็นการลดลงครั้งแรกในรอบ 3 ไตรมาส โดยการผลิตมอลต์และสุราที่ทำจากข้าวมอลต์ลดลงร้อยละ 23.9 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 68.5 ในไตรมาสก่อนหน้า การผลิตเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ น้ำแร่และน้ำดื่ม บรรจุขวดประเภทอื่น ๆ ลดลงร้อยละ 10.3 เทียบกับ การขยายตัวร้อยละ 10.4 ในไตรมาสก่อนหน้า และการผลิตผลิตภัณฑ์คอนกรีต ปูนซีเมนต์ และปูนปลาสเตอร์ ลดลงร้อยละ 10.0 เทียบกับการลดลงร้อยละ 0.9 ในไตรมาสก่อนหน้า เป็นสำคัญ อย่างไรตาม การผลิตเหล็กและเหล็กกล้าขั้นมูลฐานขยายตัวร้อยละ 8.5 ในขณะที่

ขยายตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 ร้อยละ 4.3 โดยการผลิตชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ขยายตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 4 ร้อยละ 14.1 การผลิตเครื่องจักรอื่น ๆ ที่ใช้งานทั่วไป ขยายตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 2 ร้อยละ 8.9 และการผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ ขยายตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 2 ร้อยละ 13.9 อย่างไรก็ตาม การผลิตคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง ลดลงร้อยละ 11.2 ในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 59.31 ต่ำกว่าร้อยละ 62.73 ในไตรมาสก่อนหน้า และต่ำกว่าร้อยละ 60.41 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยในอุตสาหกรรมสำคัญ 30 รายการ มีอุตสาหกรรมที่มีการใช้กำลังการผลิตสูงกว่าร้อยละ 80 จำนวน 4 อุตสาหกรรม ได้แก่ การผลิตพลาสติกและยางสังเคราะห์ขั้นต้น (ร้อยละ 99.10) การผลิตมะกะโรนี เส้นก๋วยเตี๋ยว และผลิตภัณฑ์อาหารจำพวกแป้งที่คล้ายกัน (ร้อยละ 83.87) การผลิตเยื่อกระดาษ กระดาษ และกระดาษแข็ง (ร้อยละ 83.86) และการผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์เสริมสำหรับยานยนต์ (ร้อยละ 82.10) ตามลำดับ

เช่น การผลิตคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง (ลดลงร้อยละ 11.2) การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม (ลดลงร้อยละ 5.9) การผลิตจักรยานยนต์ (ลดลงร้อยละ 39.4) การผลิตเครื่องใช้ในครัวเรือน (ลดลงร้อยละ 17.8) การผลิตมอลต์และสุราที่ทำจากข้าวมอลต์ (ลดลงร้อยละ 23.9) การผลิตเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ น้ำแร่และน้ำดื่ม บรรจุขวดประเภทอื่น ๆ (ลดลงร้อยละ 10.3) การผลิตของ ที่ทำจากลวด โซ่ สปริง สลักเกลียว และตะปูควง (ลดลงร้อยละ 0.1) การผลิตผลิตภัณฑ์คอนกรีต ปูนซีเมนต์ และปูนปลาสเตอร์ (ลดลงร้อยละ 10.0) การทอผ้า (ลดลงร้อยละ 15.3) และการผลิตผลิตภัณฑ์โลหะประดิษฐ์อื่น ๆ ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น (ลดลงร้อยละ 10.7) เป็นต้น

เช่น การผลิตน้ำตาล (ร้อยละ 61.2) การผลิตชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (ร้อยละ 14.1) การผลิตยานยนต์ (ร้อยละ 2.4) การผลิตเครื่องจักรอื่น ๆ ที่ใช้งานทั่วไป (ร้อยละ 8.9) การผลิตเหล็กและเหล็กกล้าขั้นมูลฐาน (ร้อยละ 8.5) การผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ (ร้อยละ 13.9) การผลิตผลิตภัณฑ์ยาสูบ (ร้อยละ 18.5) การผลิตเครื่องยนต์และเครื่องกังหัน (ยกเว้น เครื่องยนต์ที่ใช้ขับอากาศยาน ยานยนต์ และจักรยานยนต์) (ร้อยละ 23.6) การผลิตผลิตภัณฑ์เซรามิกชนิดพอร์ชเลนและผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น ๆ (ร้อยละ 17.2) และการผลิตพลาสติกและยางสังเคราะห์ขั้นต้น (ร้อยละ 6.7) เป็นต้น

โดยในไตรมาสนี้ ลดลงร้อยละ 91.5 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 86.0 ในไตรมาสก่อนหน้า เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกที่สามภายในประเทศขยายตัวเป็นวงกว้าง ส่งผลให้ต้องดำเนินมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดที่เข้มงวดมากขึ้น ส่วน

(รวมนักท่องเที่ยวกลุ่ม Thailand Privilege Card)ซึ่งได้รับปัจจัยสนับสนุน มาจากมาตรการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติในพื้นที่นำร่องจังหวัดภูเก็ต (Phuket Sandbox) เป็นสำคัญ สำหรับ ต่ำกว่าร้อยละ 8.24 ในไตรมาสก่อนหน้า และต่ำกว่าร้อยละ 26.69 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

  • และสอดคล้องกับการชะลอตัวของดัชนีรวมการขายส่ง การขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ โดย

ชะลอตัวลงจากการขยายตัวขึ้นร้อยละ 17.5 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยหมวดร้านขายปลีกอาหารเครื่องดื่มและยาสูบลดลงร้อยละ 4.9 และหมวดร้านขายปลีกสินค้าประเภทอื่น ๆ ลดลงร้อยละ 0.4 เป็นสำคัญ อย่างไรก็ตาม หมวดร้านขายปลีกอุปกรณ์อื่น ๆ ชนิดใช้ในครัวเรือนเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 ในขณะที่ เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 57.9 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยหมวดการขายยานยนต์ลดลงร้อยละ 26.5 และหมวดการขายการบำรุงรักษาและการซ่อมจักรยานยนต์ชิ้นส่วนและอุปกรณ์เสริมที่เกี่ยวเนื่องลดลงร้อยละ 34.9 เป็นสำคัญ อย่างไรก็ตาม หมวดการบำรุงรักษาและการซ่อมยานยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 ส่วน

เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.8 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยหมวดการขายส่งสินค้าเฉพาะประเภทอื่น ๆ ลดลงร้อยละ 6.9 (เช่น การขายส่งเชื้อเพลิงเหลว และการขายส่งอิฐหินปูนทรายและผลิตภัณฑ์คอนกรีต เป็นต้น) และหมวดการขายส่งอาหารเครื่องดื่มและยาสูบลดลงร้อยละ 10.6 เป็นสำคัญ อย่างไรก็ตาม หมวดการขายส่งสินค้าทั่วไปเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.3

-สอดคล้องกับการปรับตัวลดลงของดัชนีบริการขนส่งในไตรมาสนี้ที่ลดลงร้อยละ 3.2 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 20.9 ในไตรมาสก่อนหน้า ประกอบด้วย ลดลงร้อยละ 12.9 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 3.4 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการลดลงของดัชนีปริมาณการใช้น้ำมันดีเซลและน้ำมันเบนซิน โดยเป็นผลจากการลดลงของบริการขนส่งสินค้าทางบกและบริการขนส่งผู้โดยสารทางบกและทางราง เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 ร้อยละ 14.0 ตามการขยายตัวของดัชนีปริมาณตู้สินค้า สอดคล้องกับการขยายตัวต่อเนื่องในเกณฑ์สูงของการส่งออกสินค้า และ

ขยายตัวร้อยละ 2.3 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 121.8 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการเพิ่มขึ้นของดัชนีปริมาณขนส่งสินค้าทางอากาศ เป็นสำคัญ สำหรับบริการสนับสนุนการขนส่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.7 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 10.0 ในไตรมาสก่อนหน้า ส่วนบริการไปรษณีย์ที่ขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 23.2 สอดคล้องกับการขยายตัวต่อเนื่องของรายรับผู้ประกอบการ

โดยในไตรมาสนี้ดัชนีการผลิตไฟฟ้าและก๊าซธรรมชาติลดลงร้อยละ 0.6 ประกอบด้วย (1) ดัชนีการผลิตไฟฟ้าลดลงร้อยละ 0.3 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 5.8 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามปริมาณการใช้ไฟฟ้าภาคธุรกิจที่ปรับตัวลดลงร้อยละ 11.5 เป็นสำคัญ ประกอบกับปริมาณการใช้ไฟฟ้าในภาคอุตสาหกรรมชะลอตัวลงจากไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งเป็นผลมาจากกิจกรรมการผลิตในอุตสาหกรรมบางหมวดต้องหยุดการผลิตเนื่องจากการติดเชื้อภายในโรงงาน ขณะที่ปริมาณการใช้ไฟฟ้าภาคครัวเรือนกลับมาขยายตัวครั้งแรกในรอบ 3 ไตรมาส จากมาตรการควบคุมการระบาดที่เข้มงวดขึ้น (Lockdown) ที่ทำให้มี การ Work from Home มากขึ้น ประกอบกับอุณหภูมิเฉลี่ยสูงขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนหน้า และ (2) ดัชนี การผลิตก๊าซธรรมชาติลดลงร้อยละ 6.0 เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.9 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับปริมาณก๊าซธรรมชาติที่ส่งเข้าโรงแยกก๊าซ และความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติเพื่อใช้ในการผลิตไฟฟ้าที่ชะลอตัวลงจากไตรมาสก่อนหน้า

-โดยลดลงร้อยละ 6.2 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 7.0 ในไตรมาส ก่อนหน้า (การก่อสร้างของรัฐบาลลดลงร้อยละ 9.5 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 9.7 ในไตรมาสก่อนหน้า ส่วนการก่อสร้างของรัฐวิสาหกิจเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 1.2 ในไตรมาสก่อนหน้า) และลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 4 ร้อยละ 0.5 โดยเป็นผลมาจากการลดลงต่อเนื่องของการก่อสร้างอาคารที่อยู่อาศัย ประกอบกับการก่อสร้างในหมวดการบริการและขนส่ง และการก่อสร้างอื่น ๆ ชะลอตัวลงจากไตรมาสก่อนหน้า ในขณะที่ การก่อสร้างอาคารที่มิใช่ที่อยู่อาศัย (เช่น อาคารพาณิชย์ และอาคารโรงงาน) กลับมาขยายตัวในเกณฑ์สูง สำหรับดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 4 ร้อยละ 8.4 ตามการเพิ่มของดัชนีหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก (เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.9) หมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา (เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1) และหมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต (เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4) เป็นสำคัญ

ในไตรมาสที่สามของปี 2564 ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมรวมเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 2 ร้อยละ 43.9 ประกอบด้วย ผู้ประกันตนตามความสมัครใจ (มาตรา 40) เพิ่มขึ้นร้อยละ 204.0 และผู้ประกันตนตาม ความสมัครใจ (มาตรา 39) เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.9 โดยส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบอาชีพอิสระที่เป็นผู้ประกันตน มาตรา 39 (เคยเป็นลูกจ้างในระบบประกันสังคมมาตรา 33) และ มาตรา 40 (ไม่เคยเป็นลูกจ้างในระบบประกันสังคมตามมาตรา 33) ได้รับเงินช่วยเหลือรายละ 5,000 บาท ในขณะที่ผู้ประกันตน ภาคบังคับตาม มาตรา 33 ลดลงร้อยละ 0.5 แต่ปรับตัวดีขึ้นจากลดลงร้อยละ 1.7 ในไตรมาสก่อนหน้า แสดงถึง การเลิกจ้างหรือถูกให้ออกจากงานยังคงมีอยู่ต่อเนื่อง การปรับตัวดีขึ้นของการเลิกจ้างงานส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากมาตการช่วยเหลือผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมตามมาตรา 33 เพิ่มเติมรายละ 2,500 บาท และอีกส่วนหนึ่งจำต้องออกจากงานโดยได้รับเงินชดเชยกรณีว่างงานจากเหตุสุดวิสัยร้อยละ 50 ของค่าจ้างรายวัน รวมไม่เกิน 10,000 บาทต่อราย นอกจากนี้การคงอยู่ของผู้ประกันตนส่วนหนึ่งเกิดจากมาตรการช่วยเหลือนายจ้างหรือ สถานประกอบการที่มีลูกจ้างในระบบประกันสังคมได้รับเงินช่วยเหลือจำนวน 3,000 บาท ต่อแรงงาน 1 คน สูงสุดไม่เกิน 200 ราย ส่งผลให้สัดส่วนในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 2.5 ต่ำกว่าร้อยละ 2.8 ในไตรมาสก่อนหน้า และต่ำกว่าร้อยละ 4.4 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยมีผู้ประกันตนที่ได้รับประโยชน์กรณีว่างงานตามมาตรา 33 เฉลี่ยจำนวน 2.73 แสนคนเทียบกับจำนวน 4.88 แสนคนในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ด้านการคลัง การจัดเก็บรายได้รัฐบาล ในไตรมาสที่สี่ของปีงบประมาณ 2564 (กรกฎาคม - กันยายน 2564) รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 624,565.5 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 10.6 เป็นผลมาจาก (1) การจัดเก็บรายได้ของกรมสรรพากรลดลงร้อยละ 2.5 โดยการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาลดลงร้อยละ 14.0 และร้อยละ 7.6 เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกใหม่ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจลดลง และการลดอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย จากอัตราร้อยละ 3 เหลือร้อยละ 2 สำหรับการชำระภาษีผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Withholding) ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 - 31 ธันวาคม 2565 (2) การจัดเก็บรายได้ของ กรมสรรพสามิตลดลงร้อยละ 26.2 เป็นผลจากการดำเนินมาตรการขยายระยะเวลาการชำระภาษีน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันและภาษีเบียร์ในปี 2563 ทำให้ฐานการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตของสินค้าดังกล่าวในไตรมาสเดียวกันของปีก่อนอยู่ในเกณฑ์สูงกว่าปกติ โดย (i) การจัดเก็บภาษีน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันลดลงร้อยละ 32.4 เนื่องจากการขยายกำหนดเวลาการชำระภาษีให้แก่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมสินค้าน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันในปี 2563 เป็นระยะเวลา 3 เดือน (1 เมษายน 2563 ถึง 30 มิถุนายน 2563) โดยให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมยื่นแบบรายการภาษีและชำระภาษีภายในวันที่สิบห้าของเดือนถัดจากเดือนที่นำสินค้าน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันออกจาก โรงอุตสาหกรรมหรือคลังสินค้าทัณฑ์บน ทำให้รายได้ภาษีน้ำมันในเดือนกรกฎาคม 2563 สูงกว่าเดือนกรกฎาคม 2564 เนื่องจากวันรับชำระภาษีในปี 2563 เพิ่มขึ้น 21 วัน (one-time revenues) และ (ii) การจัดเก็บภาษีเบียร์ลดลงร้อยละ 37.1 เนื่องจากมาตรการขยายกำหนดเวลาการชำระภาษีให้แก่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมสุราแช่ที่ผลิตจากโรงงานอุตสาหกรรมสุราที่มีการติดตั้งระบบมาตรวัดและระบบคอมพิวเตอร์สื่อสารทางไกลของกรมสรรพสามิตเป็นระยะเวลา 3 เดือน (1 เมษายน 2563 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2563) โดยให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมยื่นแบบรายการภาษีและชำระภาษีภายในวันที่ 15 กรกฎาคม 2563 ส่งผลให้รายได้เดือนกรกฎาคม 2563 สูงกว่าปกติ รวมทั้งการดำเนินมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมลดกำลังการผลิตเพื่อบริหารสินค้าคงคลังในตลาดให้เหมาะสมกับปริมาณการบริโภค และ (3) ส่วนราชการอื่นมีการนำส่งรายได้ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 44.3 ตามการลดลงของ การนำส่งรายได้ค่าธรรมเนียมส่วนเกินจากการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล (Premium) และรายได้จากสัมปทานปิโตรเลียมเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตาม การจัดเก็บรายได้ของกรมศุลกากรเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.7 ต่อเนื่องจากร้อยละ 25.6 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการเพิ่มขึ้นของการจัดเก็บอากรขาเข้าในปีงบประมาณ 2564 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ จำนวน 2,369,926 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 307,074 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 11.5 และต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 0.7 เนื่องจาก การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลให้การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจลดลง รวมถึงความจำเป็นในการดำเนินนโยบายการคลังเพื่อดูแล แก้ไข และฟื้นฟูเศรษฐกิจในช่วงที่เกิดการระบาดของโรคโควิด-19 โดยการจัดเก็บรายได้ของกรมสรรพากร กรมสรรพสามิต กรมศุลกากร ส่วนราชการอื่น และกรมธนารักษ์ ต่ำกว่าประมาณการฯ ขณะที่การนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจสูงกว่าประมาณการฯ ร้อยละ 0.2

ในไตรมาสที่สี่ของปีงบประมาณ 2564 รัฐบาลมีการใช้จ่ายรวม 1,096,099.1 ล้านบาท1เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 27.4 จำแนกเป็น รายจ่ายประจำ 853,926.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 43.8 และรายจ่ายลงทุน 242,173.1 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 9.2 โดยมีรายละเอียดดังนี้ จำนวน783,624.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.5 อัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 23.8 สูงกว่าร้อยละ 21.6 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน แบ่งเป็น (i) รายจ่ายประจำ 638,677.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.0 โดยมีอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 23.8 สูงกว่าร้อยละ 19.6 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (ii) รายจ่ายลงทุน 144,946.5 ล้านบาท ลดลงจากร้อยละ 15.3 โดยมีอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 24.0 ต่ำกว่าร้อยละ 30.8 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีในปีก่อนหน้า

จำนวน 35,784.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 26.5 โดยมีอัตรา การเบิกจ่ายร้อยละ 16.6 ต่ำกว่าร้อยละ 18.5 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน(ไม่รวมบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน))จำนวน 61,613 ล้านบาท2 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 1.0 ตามการปรับเพิ่มแผนการลงทุนของการรถไฟแห่งประเทศไทย การประปานครหลวง และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย เป็นสำคัญ และ - 2564 จำนวน 219,741.3 ล้านบาท จำแนกเป็น รายจ่ายประจำ 210,734.6 ล้านบาท และรายจ่ายลงทุน 9,006.7 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 95.9 และร้อยละ 4.1 ของการเบิกจ่ายเงินกู้ภายใต้ พ.ร.ก. กู้เงินโควิด-19 ในไตรมาสนี้

รัฐบาลมีการใช้จ่ายรวมทั้งสิ้น 4,120,614.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 12.1 โดย จำนวน 3,012,144.8 ล้านบาท อัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 91.7 ต่ำกว่าร้อยละ 92.0 ของปีก่อน แบ่งเป็น รายจ่ายประจำ 2,583,787.5 ล้านบาท (อัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 96.4 ต่ำกว่าร้อยละ 97.4 ของปีก่อน) และรายจ่ายลงทุน 428,357.3 ล้านบาท (อัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 70.9 สูงกว่าร้อยละ 66.3 ของปีก่อน) 196,497.3 ล้านบาท อัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 91.1 (ไม่รวมบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)) 249,418.6 ล้านบาท3 และ - 2564 รวมทั้งสิ้น 679,471.9 ล้านบาท จำแนกเป็น รายจ่ายประจำ 669,068.2 ล้านบาท และรายจ่ายลงทุน 10,403.7 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 98.5 และร้อยละ 1.5 ของการเบิกจ่ายเงินกู้ภายใต้ พ.ร.ก. กู้เงินโควิด-19 ในปีงบประมาณนี้ หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนกันยายน 2564 มีมูลค่าทั้งสิ้น 9,337,543.0 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 58.0 ของ GDP และอยู่ภายใต้กรอบการบริหารหนี้สาธารณะของคณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐ (ร้อยละ 70.0 ของ GDP) ประกอบด้วย เงินกู้ภายในประเทศ 9,169,152.3 ล้านบาท (ร้อยละ 56.9 ของ GDP) และเงินกู้จากต่างประเทศ 168,390.7 ล้านบาท (ร้อยละ 1.0 ของ GDP) แบ่งเป็น (1) หนี้ของรัฐบาล 8,203,698.7 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 87.9 ของหนี้สาธารณะคงค้าง (2) หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 845,639.9 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 9.1 ของหนี้สาธารณะคงค้าง (3) หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) 281,041.6 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3.0 ของหนี้สาธารณะคงค้าง และ (4) หนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ 7,162.8 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.1 ของหนี้สาธารณะคงค้าง ฐานะการคลังของรัฐบาลในไตรมาสที่สี่ของปีงบประมาณ 2564 รัฐบาลขาดดุลงบประมาณ 125,679 ล้านบาท เมื่อรวมกับการเกินดุลเงินนอกงบประมาณ 119,478 ล้านบาท และการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล 134,582 ล้านบาท ทำให้รัฐบาลเกินดุลเงินสดสุทธิ 128,381 ล้านบาท และเมื่อรวมกับเงินคงคลัง ณ สิ้นไตรมาสที่สามของปีงบประมาณ 2564 จำนวน 460,366 ล้านบาท ส่งผลให้ฐานะเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนกันยายน 2564 มีจำนวนทั้งสิ้น 588,747 ล้านบาท รวมทั้งปีงบประมาณ 2564 รัฐบาลมีการขาดดุลงบประมาณ 767,188 ล้านบาท เกินดุลเงินนอกงบประมาณ 47,439 ล้านบาท และมีการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล 736,392 ล้านบาท ส่งผลให้รัฐบาลเกินดุลเงินสดหลังกู้สุทธิ 16,643 ล้านบาท ภาวะการเงิน อัตราดอกเบี้ยนโยบายทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 0.50 ต่อปี ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ครั้งที่ 5/2564 เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2564 และครั้งที่ 6/2564 เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2564 ที่ประชุมมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.50 ต่อปี โดย กนง. ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยในระยะต่อไปจะได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการกระจายวัคซีนที่มีความคืบหน้าต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้ การใช้มาตรการควบคุมการระบาดของโรคโควิด-19 อย่างเข้มงวดของภาครัฐมีความจำเป็นน้อยลง และสามารถดำเนินมาตรการที่เอื้อให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับมาใกล้เคียงปกติได้มากขึ้น นอกจากนั้น การประสานนโยบายของหน่วยงานภาครัฐจะมีความสำคัญต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และการดำเนินมาตรการการเงินจะมีประสิทธิผลมากกว่าการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ปัจจุบันอยู่ในระดับต่ำ ทั้งนี้ การดำเนินนโยบายการเงินของไทยสอดคล้องกับประเทศเศรษฐกิจหลักและประเทศในภูมิภาคที่คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ในระดับเดียวกับไตรมาสก่อนหน้า โดยธนาคารกลางสหรัฐฯ ยุโรป ญี่ปุ่น และอังกฤษ คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.00 - 0.25 ร้อยละ 0.00 ร้อยละ (-0.10) และร้อยละ 0.10 ต่อปี ตามลำดับ ในขณะที่ ธนาคารกลางรัสเซีย และธนาคารกลางเกาหลีใต้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากไตรมาสก่อนหน้าร้อยละ 1.25 และร้อยละ 0.25 ต่อปี มาอยู่ที่ร้อยละ 6.75 และ ร้อยละ 0.75 ต่อปี ตามลำดับ ล่าสุดเดือนตุลาคม 2564 ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ผ่อนคลายหลักเกณฑ์การกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่ออื่นที่เกี่ยวเนื่องกับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยเป็นการชั่วคราว เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านภาคอสังหาริมทรัพย์ ขณะที่ธนาคารกลางของรัสเซีย และนิวซีแลนด์ ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.75 และร้อยละ 0.25 ต่อปี ตามลำดับ

ในไตรมาสที่สามของปี 2564 ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมแก่ลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี (MLR) มาอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 5.49 ต่อปี เทียบกับเฉลี่ยร้อยละ 5.36 ต่อปีในไตรมาสก่อนหน้า และปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือนมาอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 0.45 ต่อปี เทียบกับเฉลี่ยร้อยละ 0.42 ต่อปีในไตรมาสก่อนหน้า ด้านธนาคารพาณิชย์ขนาดกลางปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย MLR มาอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 6.60 ต่อปี เทียบกับเฉลี่ยร้อยละ 6.13 ต่อปีในไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือนปรับลดลงมาอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 0.50 ต่อปี เทียบกับเฉลี่ยร้อยละ 0.55 ต่อปีในไตรมาสก่อนหน้า ส่วนสถาบันการเงินเฉพาะกิจคงอัตราดอกเบี้ย MLR ไว้ที่เฉลี่ยร้อยละ 6.13 ต่อปี ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือนปรับลดลงมาอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 0.93 ต่อปี เทียบกับเฉลี่ยร้อยละ 0.96 ต่อปีในไตรมาสก่อนหน้า สำหรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่แท้จริงและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MLR ที่แท้จริงเฉลี่ยปรับตัวเพิ่มขึ้น ตามการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่เป็นสำคัญ ทั้งนี้ ในไตรมาสที่สามของปี 2564 ได้มีการควบรวมกิจการระหว่างธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคาร ธนชาต จำกัด (มหาชน) เป็นธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) ทำให้ธนาคารพาณิชย์ที่จัดตั้งขึ้นมาใหม่ มีสถานะเป็นธนาคารพาณิชย์ที่มีความสำคัญต่อระบบการเงินไทย (Domestic Systemically Important Banks: D-SIBs) ตามนัยยะการกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย เพิ่มเติมจากเดิมที่มีอยู่ 5 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

ธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจคงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ไว้ในระดับเดียวกับเดือนก่อนหน้า

ณ สิ้นไตรมาสที่สามของปี 2564 ยอดสินเชื่อ คงค้างภาคเอกชนของสถาบันรับฝากเงินขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 4.4 เร่งขึ้นจากการขยายตัว ร้อยละ 3.7 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยสินเชื่อธุรกิจขยายตัวร้อยละ 5.2 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 1.5 ในไตรมาสก่อนหน้า ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการปล่อยสินเชื่อตามมาตรการสนับสนุนการให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบธุรกิจ (มาตรการสินเชื่อฟื้นฟู) วงเงิน 250,000 ล้านบาท ที่มีความคืบหน้ามากขึ้น โดย ณ วันที่ 25 ตุลาคม 2564 ได้มี การอนุมัติสินเชื่อแล้วทั้งสิ้น 119,155 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 47.7 ของวงเงินมาตรการ ด้านสินเชื่อครัวเรือนขยายตัวร้อยละ 3.9 ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 5.0 ในไตรมาสก่อนหน้า สำหรับ

ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3.7 ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 4.6 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการชะลอลงของสินเชื่อครัวเรือนที่ขยายตัวร้อยละ 3.9 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 5.0 ในไตรมาส ก่อนหน้า ขณะที่สินเชื่อธุรกิจขยายตัวร้อยละ 4.5 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 0.2 ในไตรมาสก่อนหน้า ด้านขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 4.9 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 3.8 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการขยายตัวเร่งขึ้นของสินเชื่อธุรกิจที่ขยายตัวร้อยละ 5.3 เทียบกับ การขยายตัวร้อยละ 1.6 ในไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่สินเชื่อครัวเรือนขยายตัวร้อยละ 4.5 ชะลอลงจากการขยายตัว ร้อยละ 6.1 ในไตรมาสก่อนหน้า สำหรับสินเชื่อคงค้างในสาขาสำคัญ ๆ ที่ขยายตัว ได้แก่ สาขาการบริหารราชการ การป้องกันประเทศ และการประกันสังคมภาคบังคับ (ขยายตัวร้อยละ 59.2) สาขาการก่อสร้าง (ขยายตัวร้อยละ 9.6) สาขาการขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ (ขยายตัวร้อยละ 6.9) สาขาการผลิต (ขยายตัวร้อยละ 4.7) สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร (ขยายตัวร้อยละ 4.5) และสาขาไฟฟ้า ก๊าซ ไอน้ำ และระบบปรับอากาศ (ขยายตัวร้อยละ 1.7) ในส่วนของสินเชื่อคงค้างในสาขาสำคัญ ๆ ที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ สาขาข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร (ลดลงร้อยละ 7.7) และสาขากิจกรรมอสังหาริมทรัพย์ (ลดลงร้อยละ 7.3) ขณะที่สินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลขยายตัวร้อยละ 4.2 ชะลอตัวลงจากการขยายตัวร้อยละ 5.7 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการชะลอตัวลงของสินเชื่อเพื่อการจัดหาที่อยู่อาศัย และสินเชื่อเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล รวมทั้ง การปรับตัวลดลงของสินเชื่อเพื่อการซื้อหรือเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ทั้งนี้ สินเชื่อคงค้างในระบบธนาคารพาณิชย์ที่ให้กู้ยืมแก่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ไม่รวมกิจกรรมทางการเงินและประกันภัย) ปรับตัวลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 0.6 สำหรับสินเชื่อคงค้างในสาขาสำคัญ ๆ ที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ สาขากิจกรรมอสังหาริมทรัพย์ และสาขาไฟฟ้า ก๊าซ ไอน้ำและระบบปรับอากาศ ขณะที่สินเชื่อคงค้างในสาขาสาขาสำคัญ ๆ ที่ขยายตัว ได้แก่ สาขาการผลิต สาขาการก่อสร้าง และสาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร

ในไตรมาสที่สามของปี 2564 ค่าเงินบาทเฉลี่ยอยู่ที่ 32.92 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ปรับตัวอ่อนค่าลงจากค่าเฉลี่ย 31.36 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสก่อนหน้า หรือคิดเป็นร้อยละ 4.99 สอดคล้องกับสถานะการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของไทย และสถานะขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติทั้งในตลาดตราสารหนี้และตราสารทุน รวมทั้งการปรับตัวแข็งค่าขึ้นของค่าเงินดอลลาร์ สรอ. เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักอื่น ๆ โดยดัชนีเงินดอลลาร์ สรอ. (Dollar Index) เฉลี่ยอยู่ที่ 92.76 เพิ่มขึ้นจากระดับ 91.01 ในไตรมาสก่อนหน้า ทั้งนี้ ในไตรมาสที่สามของปี 2564 ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวผันผวน โดยในช่วงเดือนกรกฎาคมและสิงหาคมค่าเงินบาทปรับตัวอ่อนค่าลงตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้า ทั้งภายในและหลายประเทศทั่วโลกที่มีแนวโน้มรุนแรงขึ้น ทำใหนักลงทุนหันมาถือครองเงินดอลลาร์ สรอ. ในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยมากขึ้น รวมถึงการส่งสัญญาณปรับลดวงเงินตามมาตรการผ่อนคลาย เชิงปริมาณ (QE) ของธนาคารกลางสหรัฐฯ ขณะที่ในช่วงเดือนกันยายนอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อดอลลาร์ สรอ. โดยเฉลี่ยปรับตัวแข็งค่าขึ้น ตามการอ่อนค่าลงของค่าเงินดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากความกังวลต่อประเด็นเพดาน หนี้สาธารณะของสหรัฐฯ ประกอบกับการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดของโรคโควิด-19 ภายในประเทศ การอ่อนค่าของเงินบาทสอดคล้องกับการอ่อนค่าของสกุลเงินในภูมิภาค อาทิ ค่าเงินของประเทศฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ มาเลเซีย สิงค์โปร์ ญี่ปุ่น อินเดีย ฮ่องกง และจีน อ่อนค่าลงจากไตรมาสก่อนหน้าร้อยละ 4.0 ร้อยละ 3.2 ร้อยละ 1.6 ร้อยละ 1.5 ร้อยละ 0.6 ร้อยละ 0.5 ร้อยละ 0.2 และร้อยละ 0.2 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ค่าเงินของประเทศไต้หวัน และอินโดนีเซีย ปรับตัวแข็งค่าขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าร้อยละ 0.4 และร้อยละ 0.2 ตามลำดับ เป็นต้น ทั้งนี้ ค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับประเทศคู่ค้า/คู่แข่งอื่น ๆ เคลื่อนไหวอ่อนค่าลง สะท้อนจากดัชนีค่าเงินบาท (NEER) เฉลี่ยในไตรมาสที่สามอยู่ที่ 114.81 จุด ลดลงจากค่าเฉลี่ยในไตรมาสก่อนหน้าร้อยละ 3.75

ค่าเงินบาทเฉลี่ยอยู่ที่ 33.48 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงร้อยละ 1.37 จากค่าเฉลี่ย 33.03 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในเดือนก่อนหน้า ตามการแข็งค่าขึ้นของค่าเงินดอลลาร์ สรอ. เมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลหลักอื่น ๆ ซึ่งสอดคล้องกับการปรับตัวเพิ่มขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ซึ่งเป็นผลจาก การคาดการณ์ของนักลงทุนเกี่ยวกับทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินของประเทศเศรษฐกิจหลักและผลกระทบจากปัญหาการผิดนัดชำระหนี้ของบริษัทอสังหาริมทรัพย์ของประเทศจีน อย่างไรก็ดี ในช่วงปลายเดือนค่าเงินบาทกลับมาเคลื่อนไหวในทิศทางแข็งค่าขึ้น ภายหลังรัฐบาลผ่อนคลายมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และการประกาศแผนเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติโดยไม่ต้องกักตัว

ในไตรมาสที่สามของปี 2564 ดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์เคลื่อนไหวผันผวน โดยในช่วงต้นไตรมาสดัชนีราคาหลักทรัพย์ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง เนื่องจากนักลงทุนมีความกังวลต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้าภายในประเทศที่ มีความรุนแรงมากขึ้น และส่งผลให้มีการดำเนินมาตรการเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคที่เข้มงวดมากขึ้น รวมทั้งสัญญาณการปรับลดวงเงินภายใต้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ของธนาคารกลางสหรัฐฯ เร็วกว่า การคาดการณ์ของตลาด และสถานการณ์การผิดนัดชำระหนี้ของบริษัทด้านอสังหาริมทรัพย์ของประเทศจีน อย่างไรก็ดี ในช่วงกลางไตรมาส ดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ทยอยปรับตัวเพิ่มขึ้นสอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของ โรคโควิด-19 ภายในประเทศที่เริ่มปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชาชนที่ได้รับวัคซีน การผ่อนคลายมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค และการส่งออกที่ปรับตัวดีขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ส่งผลให้ดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ ณ สิ้นไตรมาสปิดที่ 1,606 จุด เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.13 จากไตรมาสก่อนหน้า โดยบัญชีบริษัทหลักทรัพย์เป็นผู้ซื้อสุทธิต่อเนื่อง ขณะที่นักลงทุนต่างชาติมีสถานะขายสุทธิในตลาดหลักทรัพย์ไทยติดต่อกันเป็นไตรมาสที่สาม สำหรับกลุ่มธุรกิจสำคัญ ๆ ที่ดัชนีฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 กลุ่มเทคโนโลยีเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 กลุ่มธุรกิจการเงินเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 ขณะที่กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคลดลงร้อยละ 12.9 กลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารลดลงร้อยละ 2.4 และกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้างลดลง ร้อยละ 1.5 สำหรับดัชนีตลาดหลักทรัพย์ของประเทศสำคัญๆ ในภูมิภาคที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ อินโดนีเซีย (เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0) และมาเลเซีย (เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3) ขณะที่ดัชนีหลักทรัพย์ของประเทศสำคัญๆ ที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ฮ่องกง (ลดลงร้อยละ 14.8) เกาหลีใต้ (ลดลงร้อยละ 6.9) สิงคโปร์ (ลดลงร้อยละ 1.4) และจีน (ลดลงร้อยละ 0.7)

ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายน 2564 ร้อยละ 1.1 มาอยู่ที่ 1,623 จุด สอดคล้องกับจำนวนผู้ป่วยจากโรคโควิด-19 รายใหม่และผู้เสียชีวิตที่ปรับตัวลดลง ส่งผลให้มีการผ่อนคลายมาตรการป้องกันการระบาดของโรคอย่างต่อเนื่อง โดยนักลงทุนต่างชาติและบัญชีบริษัทหลักทรัพย์เป็นผู้ซื้อสุทธิ ขณะที่นักลงทุนสถาบันในประเทศและนักลงทุนรายย่อยขายสุทธิในตลาดหลักทรัพย์ไทย

ในช่วงไตรมาสที่สามของปี 2564 อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นเคลื่อนไหวใกล้เคียงกับไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวปรับตัวเพิ่มขึ้นสอดคล้องกับ การเพิ่มขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลของสหรัฐฯ โดยเฉพาะภายหลังธนาคารกลางสหรัฐฯ ส่งสัญญาณ ปรับลดวงเงินภายใต้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ท่ามกลางการปรับตัวดีขึ้นของเศรษฐกิจสหรัฐฯ รวมทั้งสอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของปริมาณพันธบัตรภายใต้แผนการออกพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวของไทยในปงบประมาณ 2565 และการปรับกรอบสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP เป็นไม่เกินร้อยละ 70 ทั้งนี้ ณ สิ้นไตรมาสที่สามของปี 2564 อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอ้างอิงอายุ 1 ปี ณ สิ้นไตรมาสอยู่ที่ร้อยละ 0.51 ต่อปี เทียบกับร้อยละ 0.48 ต่อปี ณ สิ้นไตรมาสก่อนหน้า และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอ้างอิงอายุ 10 ปี ณ สิ้นไตรมาสอยู่ที่ร้อยละ 1.89 ต่อปี เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.78 ต่อปี ณ สิ้นไตรมาสก่อนหน้า โดย นักลงทุนต่างชาติมีสถานะขายสุทธิ 7.7 พันล้านบาท เทียบกับสถานะซื้อสุทธิ 72.8 พันล้านบาทในไตรมาสก่อนหน้า สำหรับการระดมทุนใหม่ผ่านตลาดตราสารหนี้มีมูลค่าทั้งสิ้น 469.3 พันล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการระดมทุนของกลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ กลุ่มพลังงานและสาธารณูปโภค และกลุ่มเงินทุนและหลักทรัพย์

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นของไทยเคลื่อนไหวใกล้เคียงกับเดือนก่อนหน้า ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวปรับตัวเพิ่มขึ้น ตามการเพิ่มขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความกังวลต่อภาวะเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอ้างอิงอายุ 1 ปี และอายุ 10 ปี ณ สิ้นเดือนตุลาคมอยู่ที่ร้อยละ 0.52 ต่อปี และร้อยละ 1.98 ต่อปี ตามลำดับ โดยนักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 8.9 พันล้านบาท เทียบกับการขายสุทธิ 45.2 พันล้านบาท ในเดือนก่อนหน้า

ในไตรมาสที่สองของปี 2564 เงินทุนไหลออกสุทธิ 0.81 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ต่อเนื่องจากการไหลออกสุทธิ 5.14 พันล้านดอลลาร์ฯ ในไตรมาสก่อนหน้า เป็นผลมาจากการนำเงินออกไปลงทุน ในต่างประเทศของนักลงทุนไทย โดยเฉพาะการลงทุนในตลาดตราสารทุน และการลงทุนโดยตรง อย่างไรก็ดี ยังมีเงินไหลเข้าอย่างต่อเนื่องจากการนำเงินเข้ามาลงทุนโดยตรงและการลงทุนในตลาดตราสารหนี้ของนักลงทุนต่างชาติ รวมทั้งการลงทุนอื่น ๆ (ประกอบด้วยเงินกู้ สินเชื่อการค้า เงินฝาก และบัญชีลูกหนี้ และเจ้าหนี้อื่น ๆ)

ในไตรมาสที่สามของปี 2564 ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล 4.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (143.3 พันล้านบาท) เทียบกับการเกินดุล 7.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (239.8 พันล้านบาท) ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และการขาดดุล 4.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (137.2 พันล้านบาท) ในไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งเป็นผลมาจาก การขาดดุลบริการ รายได้ปฐมภูมิ และรายได้ทุติยภูมิ 13.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (เทียบกับการขาดดุล 6.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน) เป็นสำคัญ ขณะที่ดุลการค้าเกินดุล 9.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (ต่ำกว่าการเกินดุล 14.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน)

ณ สิ้นเดือนกันยายน 2564 อยู่ที่ 244.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจาก 251.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ณ สิ้นเดือนกันยายน 2563 อย่างไรก็ตาม เมื่อคิดในรูปเงินบาท เงินสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนกันยายน 2564 อยู่ที่ 8,293.6 พันล้านบาท สูงกว่า 7,949.3 พันล้านบาท ณ สิ้นเดือนกันยายน 2563

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทยในไตรมาสที่สามของปี 2564 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 0.7 เทียบกับร้อยละ 2.4 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยดัชนีราคาในลดลงร้อยละ 1.0 เทียบกับ การเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ในไตรมาสก่อนหน้า ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการลดลงของดัชนีราคากลุ่มข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้ง กลุ่มผักและผลไม้ และกลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ ร้อยละ 6.8 ร้อยละ 5.2 และร้อยละ 0.9 ตามลำดับ ส่วนดัชนีราคาในเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 ชะลอตัวลงจากการเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการชะลอตัวของดัชนีราคาหมวดพลังงานจากการเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.5 ในไตรมาส ก่อนหน้า เป็นการเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.6 ในไตรมาสนี้ และการลดลงของดัชนีราคาหมวดเคหสถานร้อยละ 4.0

4 ตามการดำเนินมาตรการลดค่าครองชีพของภาครัฐ ส่วนเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 0.1

ในไตรมาสที่สามของปี 2564 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามดัชนีราคาที่เพิ่มขึ้นในหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และหมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง เป็นสำคัญ โดย

เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของราคากลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียมที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 53.5 และเคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.0 ส่วนเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.8 เร่งขึ้นจาก การเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามราคาปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติ ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.3 เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 ในไตรมาสก่อนหน้าขณะที่ลดลงร้อยละ 3.0 เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 ในไตรมาสก่อนหน้า ส่วนหนึ่งมาจากปริมาณผลผลิตทางการเกษตรออกสู่ตลาดมากกว่าปีก่อน ขณะที่ความต้องการของตลาดชะลอตัว5

ในไตรมาสที่สามของปี 2564 ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกเฉลี่ย 4 ตลาด (ดูไบ เบรนท์ โอมาน และเวสท์เท็กซัส) อยู่ที่ 71.9 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้นร้อยละ 69.1 จากราคาเฉลี่ย 42.5 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ในช่วงเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2 จากราคาเฉลี่ย 67.7 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ในไตรมาสก่อนหน้า การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกในไตรมาสนี้มีสาเหตุมาจาก (1) ผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ ทำให้บริษัทขุดเจาะน้ำมันหลายแห่งต้องหยุดดำเนินการผลิตรวมทั้งบริการท่อส่งน้ำมันที่ได้รับความเสียหาย (2) ปริมาณน้ำมันดิบสำรองทางการค้าของสหรัฐฯ ในไตรมาสที่สามของปี 2564 เฉลี่ยอยู่ที่ 431 ล้านบาร์เรล ลดลงร้อยละ 16.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และ (3) สมาชิกบางส่วนของกลุ่มโอเปกพลัส ประสบปัญหา ในการเพิ่มกำลังการผลิตเนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และกลุ่มโอเปกพลัสมีแนวโน้มคงระดับการเพิ่มกำลังการผลิตอย่างค่อยเป็นค่อยไป

3. เศรษฐกิจโลกไตรมาสที่สามของปี 2564

เศรษฐกิจโลกในไตรมาสที่สามของปี 2564 ขยายตัวอย่างต่อเนื่องแต่มีทิศทางการฟื้นตัวที่แตกต่างกันระหว่างกลุ่มประเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรมหลักและกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่และกาลังพัฒนาโดยเฉพาะ ในอาเซียน โดยเศรษฐกิจกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมหลัก อาทิ สหรัฐฯ ยูโรโซน สหราชอาณาจักร และประเทศอุตสาหกรรมใหม่ (NIEs) ยังคงขยายตัวได้ต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้า ตามความคืบหน้าในการกระจายวัคซีนที่ทาให้มีการผ่อนคลายมาตรการล็อคดาวน์และการจากัดการเดินทาง ซึ่งส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจและการใช้จ่ายภายในประเทศขยายตัว ประกอบกับแรงสนับสนุนจากมาตรการทางเศรษฐกิจของภาครัฐ แม้ว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งเป็นผลเนื่องจากหลายประเทศเผชิญกับการระบาดที่เริ่มรุนแรงอีกครั้ง ประกอบกับปัญหาการชะงักงันของห่วงโซ่อุปทาน (Supply Disruption) และผลของฐานการขยายตัวในปี 2563 ที่สูงขึ้น เช่นเดียวกับเศรษฐกิจจีนที่เผชิญกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจจากนโยบายการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจผ่านการดาเนินนโยบายสินเชื่อที่เข้มงวดเพื่อชะลอการลงทุนและการแก้ไขปัญหาผิดนัดชาระหนี้ในภาคอสังหาริมทรัพย์ ขณะที่กลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่และกาลังพัฒนาในเอเชียยังเผชิญกับสถานการณ์การแพร่ระบาดระลอกใหม่ที่ทวีความรุนแรงมากจากไวรัสสายพันธุ์ใหม่ขณะที่มีอัตราส่วนประชากรที่ได้รับวัคซีนครบโดสแล้วอยู่ในระดับต่า ส่งผลให้รัฐบาลประเทศต่าง ๆ ต้องกลับมาบังคับใช้มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดอย่างเข้มงวดอีกครั้ง โดยเฉพาะประเทศในภูมิภาคอาเซียน อาทิ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และเวียดนาม ปัจจัยดังกล่าวทาให้การฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศและภาคบริการเป็นไปอย่างล่าช้า และส่งผลให้เศรษฐกิจอาเซียนหลายประเทศในไตรมาสที่ 3 มีแนวโน้มลดลง ท่ามกลางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมหลัก ประกอบกับเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์และราคาพลังงานในตลาดโลก ได้สร้างแรงกดดันด้านเงินเฟ้อให้เร่งตัวสูงขึ้นมากกว่าเป้าหมายนโยบายการเงินในหลายประเทศ ส่งผลให้ธนาคารกลางสาคัญ ๆ อาทิ ธนาคารกลางสหรัฐฯ และธนาคารกลางยุโรป เริ่มส่งสัญญาณของการชะลอการขยายมาตรการทางการเงิน ขณะที่ธนาคารกลางแคนาดาได้ปรับลดวงเงินเข้าซื้อพันธบัตร และธนาคารกลางบางประเทศเริ่มปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ได้แก่ เกาหลีใต้ บราซิล และเม็กซิโก เพื่อลดความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อที่เร่งขึ้นมาก เศรษฐกิจสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 4.9 (Advance Estimate) ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 12.2 ในไตรมาสก่อนหน้า และเมื่อปรับผลของฤดูกาลแล้ว เศรษฐกิจสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 2.0 (%QoQ saar.) ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 6.7 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ได้รับแรงสนับสนุนจากการปรับตัวดีขึ้นของการผลิตภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ สะท้อนจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการในไตรมาสที่สามที่ระดับ 61.7 และ 56.6 เทียบกับระดับ 52.4 และ 53.2 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลาดับ สอดคล้องกับการขยายตัวของการใช้จ่ายภาคครัวเรือน อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงเนื่องจากมีข้อจากัดจากปัญหาการชะงักงันของห่วงโซ่อุปทาน6 รวมทั้งการสิ้นสุดของมาตรการทางการคลัง7 เพื่อสนับสนุนกาลังซื้อของประชาชน ซึ่งส่งผลให้การใช้จ่ายของรัฐบาลกลางปรับตัวลดลง ภายใต้การฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของอุปสงค์ภายในประเทศส่งผลให้แรงกดดันด้านเงินเฟ้อยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core PCE inflation) ในไตรมาสที่สามเฉลี่ยอยู่ที่ ร้อยละ 3.6 เร่งขึ้นจากร้อยละ 3.4 ในไตรมาสก่อนหน้า และถือเป็นระดับสูงที่สุดนับตั้งแต่ไตรมาสที่สองของปี 2534 ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากค่าแรงที่เพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากภาวะตลาดแรงงานที่ตึงตัวมากขึ้น สอดคล้องกับอัตราการว่างงานลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 5.1 ในไตรมาสที่สาม เทียบกับร้อยละ 8.8 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน แม้ว่าจะยังคงสูงกว่าช่วงก่อนการแพร่ระบาดที่เฉลี่ยร้อยละ 3.7 ในปี 2562 ส่งผลให้คณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FOMC) ในการประชุมเมื่อวันที่ 21 - 22 กันยายน 2564 ยังคงมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.00 ? 0.25 ต่อไป แต่เริ่มส่งสัญญาณการลดระดับการผ่อนคลายนโยบายการเงินลงในการประชุมครั้งถัดไปในเดือนพฤศจิกายน และคาดว่าจะสามารถยุติมาตรการการขยายปริมาณเงิน ในระดับสูงได้ภายในครึ่งปีแรกของปี 25658

เศรษฐกิจยูโรโซน ขยายตัวร้อยละ 3.7 ชะลอลงจากร้อยละ 14.2 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยเป็นผลมาจากการ

ชะลอลงของเศรษฐกิจทุกประเทศสมาชิกตามฐานการขยายตัวในปีก่อนที่สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม เมื่อปรับผลของ

ฤดูกาลแล้ว เศรษฐกิจยูโรโซนขยายตัวร้อยละ 2.2 (%QoQ swda.) ใกล้เคียงกับร้อยละ 2.1 ในไตรมาสก่อนหน้า

โดยการขยายตัวของเศรษฐกิจยูโรโซนได้รับแรงขับเคลื่อนหลักจากอุปสงค์ภายในประเทศ สะท้อนจาก

การขยายตัวอย่างต่อเนื่องของดัชนีการค้าปลีกสอดคล้องกับความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวดีขึ้นอยู่ใน

ระดับสูงสุดในรอบ 13 ไตรมาส นอกจากนี้ ยังได้รับแรงสนับสนุนจากการผลิตภาคอุตสาหกรรมและบริการ

ที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง โดยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมและบริการเฉลี่ยในไตรมาสที่สามอยู่ที่

ระดับ 60.9 และ 58.4 สูงขึ้นจากระดับ 52.4 และ 51.1 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่อัตราเงินเฟ้อเร่งตัว

ขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 2.8 สูงสุดในรอบ 39 ไตรมาส สาหรับการดาเนินมาตรการทางเศรษฐกิจที่สาคัญในช่วง

ไตรมาสที่สามนี้ ประกอบด้วย คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) ได้เบิกจ่ายเงินมาตรการ

ฟื้นฟูเศรษฐกิจของสหภาพยุโรป (Recovery and Resilience Facility) ให้กับ 16 ประเทศ มูลค่าประมาณ

5.15 หมื่นล้านยูโร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวงเงินเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจภายใต้ Next Generation EU Recovery

and Resilience Facility มูลค่า 6.725 แสนล้านยูโร ขณะที่ในการประชุมเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2564

ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ยังคงมีมติดาเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายต่อไป โดยการคงอัตราดอกเบี้ย

นโยบายที่ร้อยละ 0.0 และยังคงดาเนินมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณอื่น ๆ เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัว

ของเศรษฐกิจต่อไป9

เศรษฐกิจญี่ปุ่น มีแนวโน้มชะลอตัวลงเนื่องจากผลกระทบของการแพร่ระบาดในระลอกใหม่ที่รุนแรงมากขึ้น

ส่งผลให้ต้องมีการดาเนินมาตรการควบคุมการระบาดที่เข้มงวดอีกครั้งและขยายระยะเวลาการประกาศ

สถานการณ์ฉุกเฉิน (State of Emergency) ในพื้นที่ที่มีการระบาดรุนแรงซึ่งรวมถึงกรุงโตเกียว ออกไปจนถึง

วันที่ 30 กันยายน 2564 ขณะที่อัตราการได้รับวัคซีนครบโดสของประชากรยังคงอยู่ในระดับต่า รัฐบาลจึงได้เร่ง

กระจายวัคซีนในอัตราเร่งขึ้นในช่วงไตรมาสที่สาม10 การแพร่ระบาดและการดาเนินมาตรการควบคุมที่เข้มงวด

ดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายภายในประเทศ ดังจะเห็นได้จากมูลค่าการค้าปลีกในไตรมาสที่ 3

ที่ปรับตัวลดลงร้อยละ 0.6 สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ลดลงมาอยู่ที่ 37.9 และดัชนีผู้จัดการฝ่าย

จัดซื้อภาคบริการเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 46.0 เป็นการอยู่ในระดับต่ากว่า 50.0 ติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 8 อย่างไรก็ดี

เศรษฐกิจยังได้รับแรงสนับสนุนจากการขยายตัวของภาคการผลิตและการส่งออก โดยมูลค่าการส่งออกสินค้า

ขยายตัวร้อยละ 25.4 เช่นเดียวกับดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมที่ระดับ 52.4 เทียบกับระดับ 46.7

ในช่วงเดียวกันของปีก่อน สาหรับการดาเนินมาตรการทางเศรษฐกิจ รัฐบาลได้ดาเนินมาตรการทางการคลังโดย

การให้ความช่วยเหลือแก่ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาด โดยเฉพาะธุรกิจในภาคบริการ ได้แก่

อาหารและเครื่องดื่ม การท่องเที่ยว รวมทั้งการออกกฎหมายปรับค่าจ้างขั้นต่าขึ้นอีก 28 เยน นอกจากนี้

ในการประชุมเมื่อวันที่ 27 - 28 ตุลาคม 2564 ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) มีมติยังคงดาเนินนโยบายการเงิน

แบบผ่อนคลาย โดยคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายระยะสั้นไว้ที่ร้อยละ -0.1 และรักษาระดับอัตราผลตอบแทน

พันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่น (JGBs) ช่วงอายุ 10 ปี ให้อยู่ที่ระดับร้อยละ 0.0 (Yield Curve Control) เพื่อสนับสนุน

การฟื้นตัวของเศรษฐกิจต่อไป

เศรษฐกิจจีน ขยายตัวร้อยละ 4.9 ชะลอลงจากร้อยละ 7.9 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับเครื่องชี้ทาง

เศรษฐกิจที่สาคัญทางด้านการผลิตและการส่งออกที่ชะลอตัว โดยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่

49.8 ลดลงต่ากว่า 50.0 เป็นครั้งแรกในรอบ 6 ไตรมาส ขณะที่การส่งออกสินค้าขยายตัวร้อยละ 23.9 ชะลอลง

จากร้อยละ 30.4 ในไตรมาสก่อน โดยภาคการผลิตและการส่งออกของจีนเผชิญกับข้อจากัดทางด้านอุปทาน

เนื่องจากการปิดท่าเรือขนส่งสินค้าในหลายพื้นที่ซึ่งทาให้ประสบปัญหาความล่าช้าในการขนส่งและต้นทุน

ค่าระวางขนส่งทางเรือสูงขึ้นมาก รวมทั้งปัญหาการขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์และตู้คอนเทนเนอร์ และปัญหา

การขาดแคลนไฟฟ้าจนส่งผลให้โรงงานต้องปรับลดกาลังการผลิตลงในช่วงไตรมาสที่ 3 นอกจากนกี้ รชะลอตวั ลง

ของเศรษฐกิจยังเป็นผลมาจากนโยบายปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจให้มีเสถียรภาพและมีการแข่งขันที่เป็นธรรมมากขึ้น11

ซึ่งส่วนหนึ่งนาไปสู่การเพิ่มความเข้มงวดของการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์เพื่อชะลอการลงทุน

และการแก้ไขปัญหาผิดนัดชาระหนี้ในภาคอสังหาริมทรัพย์ ขณะที่ธนาคารกลางจีน ( PBOC) ยังคงดาเนิน

นโยบายทางการเงินแบบผ่อนคลายอย่างต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจ โดยในการประชุม

เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2564 ธนาคารกลางจีนมีมติปรับลด RRR อยู่ที่ร้อยละ 8.9 ลดลงจากร้อยละ 9.4

ในเดือนก่อน เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2564

ธนาคารกลางจีนมีมติให้ขยายเวลามาตรการช่วยเหลือธุรกิจขนาดเล็กเพิ่มเติมไปจนถึงสิ้นปี 2564 12

อาทิ มาตรการส่งเสริมสภาพคล่อง มาตรการขยายเวลาการชาระหนี้ให้แก่ธุรกิจ SMEs

เศรษฐกิจในกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมใหม่ (NIEs) ขยายตัวตามภาคการส่งออกและการผลิตเนื่องจาก

การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก แม้จะชะลอลงตามฐานการขยายตัวในปีก่อนที่เพิ่มขึ้น โดยเศรษฐกิจสิงคโปร์

ขยายตัวร้อยละ 6.5 ชะลอลงจากร้อยละ 15.2 ในไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่เมื่อปรับผลของปัจจัยฤดูกาลออกแล้ว

ขยายตัวร้อยละ 0.8 เทียบกับการลดลงร้อยละ 1.4 ในไตรมาสก่อน เป็นการขยายตัวตามการขยายตัวของ

ภาคการผลิตโดยเฉพาะในกลุ่มเคมีภัณฑ์และอุตสาหกรรมสาขาอิเล็กทรอนิกส์และสาขาวิศวกรรมการผลิต

ความแม่นยาสูง (Precision Engineering) และการเร่งขึ้นของภาคการก่อสร้าง สอดคล้องกับดัชนีผู้จัดการฝ่าย

จัดซื้อภาคการผลิตที่เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 54.2 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 12 ไตรมาส ประกอบกับการฟื้นตัวของ

ภาคบริการตามการผ่อนคลายมาตรควบคุมการแพร่ระบาด เศรษฐกิจเกาหลีใต้ขยายตัวร้อยละ 4.0 ชะลอลง

จากร้อยละ 6.0 ในไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่เมื่อปรับผลของปัจจัยฤดูกาลออกแล้ว ขยายตัวร้อยละ 0.3

เทียบกับร้อยละ 0.8 ในไตรมาสก่อน ตามการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของการส่งออกสินค้า โดยสินค้าส่งออกที่มี

การขยายตัวในเกณฑ์สูง ได้แก่ หมวดผลิตภัณฑ์สารกึ่งตัวนา (Semiconductor) และผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี ทั้งนี้

ในการประชุมเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2564 ธนาคารกลางเกาหลีใต้ได้มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย

ที่ร้อยละ 0.50 เป็นร้อยละ 0.75 ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปี ที่มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย

เพื่อลดแรงกดดันทางด้านอุปสงค์และความเสี่ยงทางการเงิน เศรษฐกิจฮ่องกงขยายตัวร้อยละ 5.4 ชะลอลงจาก

ร้อยละ 7.6 ในไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่เมื่อปรับผลของปัจจัยฤดูกาลออกแล้ว ขยายตัวร้อยละ 0.1 เทียบกับ

การลดลงร้อยละ 0.9 ในไตรมาสก่อน โดยเป็นการขยายตัวตามมูลค่าการส่งออกและการผลิต สะท้อนจาก

ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตที่เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 52.1 นับเป็นระดับสูงสุดในรอบ 12 ไตรมาส

ขณะที่เศรษฐกิจไต้หวันขยายตัวร้อยละ 3.8 ชะลอจากร้อยละ 7.4 ในไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่เมื่อปรับผลของ

ปัจจัยฤดูกาลออกแล้ว ขยายตัวร้อยละ 0.6 เทียบกับการลดลงร้อยละ 1.1 ในไตรมาสก่อน โดยเป็นการขยายตัว

ตามการส่งออกสินค้าและการลงทุนรวมที่ขยายตัวร้อยละ 14.1 และร้อยละ 28.0 ตามลาดับ โดยการลงทุนรวม

ขยายตัวสูงสุดในรอบ 44 ไตรมาส

เศรษฐกิจกลุ่มประเทศอาเซียน มีแนวโน้มเผชิญกับข้อจากัดในการฟื้นตัวเนื่องจากการแพร่ระบาด

ภายในประเทศที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นจากไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ส่งผลให้รัฐบาลประเทศต่าง ๆ ต้องดาเนิน

มาตรการควบคุมอย่างเข้มงวด ท่ามกลางสัดส่วนประชากรที่ได้รับวัคซีนยังอยู่ในระดับต่า ซึ่งทาให้การใช้จ่าย

ภายในประเทศและภาคบริการได้รับผลกระทบ นอกจากนี้ยังมีฐานการผลิตบางส่วนที่ต้องหยุดดาเนินการ

ชั่วคราวเนื่องจากการแพร่ระบาดที่ส่งผลต่อการผลิตและการส่งออก โดย เศรษฐกิจอินโดนีเซียและเศรษฐกิจ

ฟิลิปปินส์ขยายตัวร้อยละ 3.5 และร้อยละ 7.1 ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 7.1 และร้อยละ 12.0

ในไตรมาสก่อนหน้า ในขณะที่เศรษฐกิจมาเลเซียลดลงร้อยละ 4.5 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 16.1

ในไตรมาสก่อนหน้า และเศรษฐกิจเวียดนามลดลงร้อยละ 6.2 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 6.6 ในไตรมาสก่อนหน้า

ซึ่งเป็นการลดลงครั้งแรกของเศรษฐกิจเวียดนามเนื่องมาจากการปิดโรงงานและเขตเศรษฐกิจพิเศษที่สาคัญ

อย่างเข้มงวดในหลายพื้นที่เพื่อควบคุมการแพร่ระบาด ในส่วนของการดาเนินนโยบายเศรษฐกิจ หลายประเทศ

ยังคงมีการดาเนินมาตรการทางการคลังเพื่อบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง 13 เช่นเดียวกับ

ธนาคารกลางเวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ในระดับต่าอย่างต่อเนื่อง14

4. แนวโน้มเศรษฐกิจโลกในปี 2565

เศรษฐกิจโลกในปี 2565 มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องจากครึ่งหลังของปี 2564 ตามการฟื้นตัวของกลุ่มประเทศเศรษฐกิจหลักนาโดยสหรัฐฯ

ยูโรโซน สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย และกลุ่มเศรษฐกิจอุตสาหกรรมใหม่ (NIEs) ที่มีการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาด

อย่างต่อเนื่อง ประกอบกับแนวโน้มความคืบหน้าในการกระจายวัคซีนและการคิดค้นยาต้านไวรัสที่จะช่วยสร้างความเชื่อมั่นมากขึ้น ส่งผลให้

อุปสงค์ภายในประเทศและระดับกิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับมาเป็นปกติมากขึ้นตามลาดับ อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจหลักมีแนวโน้มชะลอลงตาม

ฐานการขยายตัวที่สูงในปีก่อน ประกอบกับการลดลงของแรงสนับสนุนจากมาตรการทางการคลังภายหลังหลายมาตรการสิ้นสุดลงในปี 2564

รวมทั้งข้อจากัดจากสถานการณ์การแพร่ระบาดจากไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่เริ่มกลับมารุนแรงอีกครั้งซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของอุปสงค์

และภาคบริการ เช่นเดียวกับเศรษฐกิจจีนที่มีแนวโน้มชะลอตัวตามแนวนโยบายการปฏิรูปโครงสร้างและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และปัญหา

การชะงักงันของห่วงโซ่อุปทานจากการปิดท่าเรือและการขาดแคลนวัตถุดิบที่อาจยังคงยืดเยื้อโดยเฉพาะในช่วงครึ่งแรกของปี ขณะที่คาดว่า

กลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่และประเทศกาลังพัฒนาโดยเฉพาะในกลุ่มอาเซียนจะขยายตัวเร่งขึ้นในปี 2565 ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

อุตสาหกรรมหลักที่มีแนวโน้มช่วยสนับสนุนกลุ่มเศรษฐกิจเกิดใหม่และประเทศกาลังพัฒนาที่เศรษฐกิจพึ่งพิงการส่งออกให้ฟื้นตัวตาม

การส่งออกและการผลิตภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งแนวโน้มการเร่งขึ้นของอุปสงค์ภายในประเทศตามการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่

ระบาดและมาตรการเดินทางระหว่างประเทศที่คาดว่าจะมีมากขึ้นตามความคืบหน้าของการกระจายวัคซีน

ทั้งนี้ แนวโน้มเศรษฐกิจโลกในกรณีฐานตั้งอยู่บนเงื่อนไขและสมมติฐานที่สาคัญ ดังนี้ (1) ไม่มีการแพร่ระบาดอย่างรุนแรงเป็นวงกว้างแล

ยืดเยื้อ รวมถึงการกลายพันธุ์ของไวรัสไม่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของวัคซีนให้ลดลงอย่างมีนัยสาคัญ และนาไปสู่การแพร่ระบาดระลอกใหม่

ที่รุนแรงโดยเฉพาะการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงและผู้เสียชีวิต จนทาให้รัฐบาลประเทศต่าง ๆ ต้องบังคับใช้มาต รการ

ควบคุมการแพร่ระบาดอย่างเข้มงวดและจากัดการเดินทางระหว่างประเทศที่เข้มงวดมากขึ้นอีกครั้ง (2) การเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ

ในประเทศเศรษฐกิจหลักยังอยู่ภายใต้ขีดความสามารถในการควบคุมดูแลโดยนโยบายการเงินที่ยังเอื้ออานวยต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

และการเปลี่ยนแปลงในตลาดพันธบัตรของประเทศเศรษฐกิจหลักไม่นาไปสู่การเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยที่รุนแรง และ (3) การปฏิรูป

โครงสร้างและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของจีนไม่ส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจจีน รวมถึงไม่ก่อให้เกิดความผันผวน

ในตลาดเงินตลาดทุน ภายใต้เงื่อนไขดังกล่าว ในกรณีฐานคาดว่าเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลกในปี 2565 มีแนวโน้มที่จะขยายตัว

ร้อยละ 4.8 และร้อยละ 6.5 ชะลอลงจากร้อยละ 5.6 และร้อยละ 8.0 ในปี 2564 ตามลาดับ โดยมีแนวโน้มเศรษฐกิจประเทศสาคัญ ๆ ดังนี้

เศรษฐกิจสหรัฐฯ คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.0 ในปี 2565 เทียบกับร้อยละ 5.8 ในปี 2564 โดยมีแรงสนับสนุนจากแนวโน้มการฟื้นตัวของ

อุปสงค์ภายในประเทศภายหลังจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาด รวมทั้งความคืบหน้าในการกระจายวัคซีนและการคิดค้น

ยาต้านไวรัสที่มีประสิทธิภาพที่สามารถช่วยบรรเทาผลกระทบจากไวรัสกลายพันธุ์ได้ทั้งการลดอาการเจ็บป่วยรุนแรงและอัตราการเสียชีวิต

ซึ่งจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นมากขึ้น นอกจากนี้ การฟื้นตัวของตลาดแรงงานเป็นปัจจัยสาคัญที่จะช่วยสนับสนุนการเพิ่มขึ้นของรายได้ครัวเรือน

และการใช้จ่ายภายในประเทศ สะท้อนจากตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม (Nonfarm payroll) ในเดือนตุลาคมซึ่งอยู่ที่ 148 ล้านตาแหน่ง

ปรับตัวดีขึ้นมากจากปี 2563 และสูงขึ้นจนใกล้เคียงระดับก่อนหน้าการแพร่ระบาดที่ 151 ล้านตาแหน่ง ในเดือนตุลาคม 2562 ขณะเดียวกัน

เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังจะได้รับแรงสนับสนุนจากการใช้จ่ายของรัฐบาลภายใต้แผนการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน ( Infrastructure

Investment and Jobs act.) และโครงการลงทุน Build Back Better1 5 วงเงินงบประมาณรวม 5.5 แสนล้านดอลลาร์ สรอ.

และ 1.75 ล้านล้านดอลลาร์ สรอ. ตามลาดับ อย่างไรก็ตาม การขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลงตามฐานการขยายตัว

ที่สูงในปี 2564 การลดลงของแรงสนับสนุนจากมาตรการทางการคลังภายหลังหลายมาตรการเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจเริ่มสิ้นสุดลง

ในปี 2564 ขณะที่คาดว่าแรงกดดันด้านเงินเฟ้อจะเริ่มผ่อนคลายลงในช่วงครึ่งหลังของปี 2565 ตามการลดลงของแรงกดดันจากปัจจัยชั่วคราว

อาทิ ราคาสนิ คา โภคภณั ฑ์ตามปัญหาดา นอุปทานทเ รมิ่ คลคี่ ลาย รวมถงึ การปรบั ทศิ ทางการดาเนินนโยบายการเงนิ ทเ ขม้ งวดมากขนึ้ ของธนาคารกลางสหรฐั ฯ

ภายหลังจากเริ่มลดขนาดการเข้าซื้อสินทรัพย์ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินล่าสุดเมื่อวันที่ 2 ? 3 พฤศจิกายน 256416

เศรษฐกิจยูโรโซน คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.2 ในปี 2565 เทียบกับร้อยละ 4.9 ในปี 2564 โดยมีแรงสนับสนุนจากแนวโน้มการขยายตัว

อย่างต่อเนื่องของการผลิตภาคอุตสาหกรรมตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกรวมทั้งปัจจัยสนับสนุนจากการที่สหภาพยุโรปสามารถบรรลุ

ข้อตกลงกับสหรัฐฯ ในการลดอัตราภาษีนาเข้าเหล็กและอะลูมิเนียม ขณะเดียวกันอุปสงค์ภายในประเทศและภาคบริการมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่าง

ต่อเนื่องภายหลังจากรัฐบาลประเทศต่าง ๆ ได้ผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดนับตั้งแต่กลางปี 2564 และการเปิดให้มีการเดินทาง

ระหว่างประเทศสมาชิกภายในยูโรโซน เนื่องจากความคืบหน้าในการกระจายวัคซีนให้กับประชาชน17 นอกจากนี้ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจยูโร

โซนยังได้รับแรงสนับสนุนจากการดาเนินมาตรการทางการคลังขนาดใหญ่ในระยะปานกลางของสหภาพยุโรป 18 วงเงินรวม 1.361 ล้านล้าน

ดอลลาร์ สรอ. ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 10.5 ต่อ GDP อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจยูโรโซนมีแนวโน้มที่จะชะลอลงตามการฟื้นตัวอย่างช้า ๆ ของอุปสงค์

ภายในประเทศที่ยังมีแนวโน้มเผชิญกับข้อจากัด ประกอบกับการดาเนินนโยบายการเงินที่ยังผ่อนคลาย 19 จากสถานการณ์การแพร่ระบาด

ในหลายประเทศสมาชิก

เศรษฐกิจญี่ปุ่น มีแนวโน้มที่จะขยายตัวร้อยละ 3.0 ในปี 2565 เทียบกับร้อยละ 2.8 ในปี 2564 โดยได้รับแรงสนับสนุนสาคัญจากการฟื้นตัว

ของเศรษฐกิจโลกทาให้การส่งออกและการผลิตภาคอุตสาหกรรมมีแนวโน้มที่จะขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดดัชนีผู้จัดการฝ่ายซื้อ

ภาคอุตสาหกรรมในเดือนตุลาคมเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 53.2 จากระดับ 45.9 ในไตรมาสที่สาม และเป็นระดับสูงสุดในรอบ 7 เดือน ขณะเดียวกัน

คาดว่ารัฐบาลญี่ปุ่นจะเริ่มผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง ภายหลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดเริ่มดีขึ้น

และมีความคืบหน้าในการกระจายวัคซีนในอัตราเร่งขึ้นมาก20 จนรัฐบาลสามารถยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินซึ่งเริ่มมาตั้งแต่

วันที่ 4 เมษายน 2564 จนสิ้นสุดในวันที่ 30 กันยายน 2564 ประกอบกับการเริ่มให้มีการเปิดรับการเดินทางระหว่างประเทศในบางกลุ่ม

เป็นการเฉพาะ อาทิ นักเรียนนักศึกษา นักวิจัย และนักลงทุน นับตั้งแต่ 8 พฤศจิกายน 2564 ส่งผลให้อุปสงค์ภายในประเทศและภาคบริการ

มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น สอดคล้องกับดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการในเดือนตุลาคมเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 50.7 ซึ่งอยู่ในระดับ ที่สูงกว่า 50

เป็นครั้งแรกในรอบ 20 เดือน นอกจากนี้ เศรษฐกิจยังจะได้รับแรงสนับสนุนจากการใช้จ่ายรัฐบาลซึ่งมีกรอบงบประมาณของปีงบประมาณ

2565 อยู่ที่ 111.66 ล้านล้านเยน ถือเป็นวงเงินงบประมาณที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์ และเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 จากปีงบประมาณ 2564

ขณะเดียวกัน ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ยังคงดาเนินนโยบายทางการเงินแบบผ่อนคลายเพื่อสนับสนุนสภาพคล่องให้กับเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง21

เศรษฐกิจกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมใหม่ (NIEs) มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีแรงสนับสนุนจากการฟื้นตัวของการผลิต

ภาคอุตสาหกรรมและภาคการส่งออกสินค้าตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและการค้าโลก เช่นเดียวกับอุปสงค์ภายในประเทศที่มีแนวโน้ม

ขยายตัวดีขึ้นตามสถานการณ์การแพร่ระบาดที่ปรับตัวดีขึ้น นอกจากนี้ ยังมีแรงขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจจากการดาเนินมาตรการกระตุ้น

เศรษฐกิจ อาทิ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของฮ่องกง วงเงินประมาณ 1.55 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ. มาตรการกระตุ้นอุปสงค์ภายในประเทศ

ของไต้หวัน วงเงิน 5.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. และโครงการช่วยเหลือแรงงานและภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบของสิงคโปร์ วงเงิน

1.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ.22 ทั้งนี้ ในปี 2565 คาดว่าเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ ฮ่องกง ไต้หวันและสิงคโปร์จะขยายตัวร้อยละ 3.2 ร้อยละ 3.2

ร้อยละ 3.3 และร้อยละ 4.5 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 4.1 ร้อยละ 6.4 ร้อยละ 6.0 และร้อยละ 6.6 ในปี 2564 ตามลาดับ

เศรษฐกิจกลุ่มประเทศอาเซียน มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น ตามสถานการณ์การแพร่ระบาดภายในประเทศที่คาดว่าจะมีแนวโน้มผ่อนคลายลง

สอดคล้องกับสัดส่วนผู้ได้รับวัคซีนที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องส่งผลให้รัฐบาลสามารถผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดได้มากขึ้นตามลาดับ

นอกจากนี้ การผลิตภาคอุตสาหกรรมและการส่งออกสินค้ามีแนวโน้มที่จะขยายตัวตามเศรษฐกิจและการค้าโลก เช่นเดียวกับอุปสงค์

ภายในประเทศที่คาดว่าจะฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องโดยได้รับแรงสนับสนุนจากมาตรการทางการคลังเพิ่มเติมของรัฐบาล 23 ควบคู่กับการดาเนิน

นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายต่อเนื่องจากปี 2564 ส่งผลให้ในปี 2565 คาดว่าเศรษฐกิจอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม

จะขยายตัวร้อยละ 5.5 ร้อยละ 5.8 ร้อยละ 6.5 และร้อยละ 6.7 เรง่ ขนึ้ จากการขยายตวั รอ้ ยละ 3.8 รอ้ ยละ 4.5 รอ้ ยละ 4.2 และรอ้ ยละ 2.8 ตามลาดบั

แม้กระนั้นก็ตาม ยังมีปัจจัยเสี่ยงสาคัญที่จะทาให้เศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลกในปี 2565 ขยายตัวต่ากว่าที่คาดการณ์ในกรณีฐาน ได้แก่

(1) สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสซึ่งอาจส่งผลต่อ

ประสิทธิภาพของวัคซีนที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน จนอาจจะนาไปสู่การระบาดระลอกใหม่และทาให้ต้องดาเนินมาตรการควบคุมการระบาดและ

การจากัดการเดินทางระหว่างประเทศที่เข้มงวดมากขึ้น รวมถึงความล่าช้าของการกระจายวัคซีนและข้อจากัดในการจัดหาวัคซีน

ในกลุ่มประเทศกาลังพัฒนาและประเทศรายได้น้อยที่อาจจะส่งผลให้การแพร่ระบาดยังคงมีความรุนแรงและจานวนผู้เสียชีวิตเพิ่มสูงขึ้น

จนทาให้เป็นอุปสรรคต่อการดาเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจเข้าสู่ในระดับเดิม (2) ความเสี่ยงจากแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นเร็วกว่าที่คาด

ที่อาจนาไปสู่การปรับทิศนโยบายการเงินและภาวะทางการเงินที่ตึงตัว โดยเฉพาะการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์และราคาพลังงาน

ในตลาดโลก ควบคู่ไปกับการเพิ่มขึ้นของต้นทุนค่าขนส่งระหว่างประเทศ และการปรบั ตวั สงู ขนึ้ ของอัตราคา จา งเนอื่ งจากปัญหาการขาดแคลนแรงงาน

ซึ่งหากแรงกดดันด้านเงินเฟ้อมีแนวโน้มยืดเยื้ออาจสร้างแรงกดดันให้ธนาคารกลางสาคัญ ๆ ลดระดับการผ่อนคลายนโยบายการเงินลงเร็วขึ้น

และปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเร็วกว่าที่คาดการณ์ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดสภาวะตึงตัวทางการเงิน และส่งผลต่อความสามารถในการชาระหนี้

และความเสี่ยงในการผิดนัดชาระหนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่และประเทศกาลังพัฒนาที่มีสัดส่วนหนี้สินเป็น

เงินตราสกุลต่างประเทศมาก (3) ความยืดเยื้อของปัญหาภาวะชะงักงันของห่วงโซ่อุปทาน (Supply Disruption) ซึ่งจะทาให้การฟื้นตัว

ของเศรษฐกิจเป็นไปอย่างจากัดและสร้างแรงกดดันเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น โดยเป็นผลเนื่องจาก (i) สถานการณ์การแพร่ระบาดในหลายประเทศที่

กระทบกับพื้นที่การผลิต จนทาให้ต้องมีการปิดโรงงานและหยุดการผลิตในหลายประเทศโดยเฉพาะประเทศผู้ผลิตสินค้าวัตถุดิบและสินค้าทุน

(ii) การขาดแคลนวัตถุดิบโดยเฉพาะอย่างยิ่งการขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ที่มีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม

ที่อยู่ในห่วงโซ่การผลิตที่สาคัญ อาทิ ยานยนต์ คอมพิวเตอร์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ จักรยานยนต์ และเครื่องใช้ในครัวเรือน และ (iii) การปิดท่าเรือ

ขนาดใหญ่ของจีนและการบริหารจัดการตู้คอนเทนเนอร์ที่ส่งผลกระทบต่อความล่าช้าในการขนส่งและทาให้ค่าระวางขนส่งสินค้าทางเรือสูงขึ้นต่อเนื่อง

(4) ความเสี่ยงของการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน ซึ่งอาจส่งผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและการค้าโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเศรษฐกิจของ

ประเทศเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่ในเอเชียที่มีความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจจีนสูง ทั้งนี้ ในกรณีฐานคาดว่าการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจของจีน

จะเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไปและมีผลกระทบในวงจากัด อีกทั้งปัญหาการขาดแคลนพลังงานไฟฟ้าจะเป็นเพียงปัจจัยชั่วคราว (5) ความผันผวน

ในตลาดการเงินโลก เนื่องจากความเสี่ยงต่าง ๆ ทั้งความไม่แน่นอนของสถานการณ์การแพร่ระบาดที่จะส่งผลต่อความผันผวนของเงินลงทุน

ระหว่างประเทศและอัตราแลกเปลี่ยน รวมทั้งการปรับทิศทางการดาเนินนโยบายของเศรษฐกิจหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้ข้อจากัดของพื้นที่

ในการดาเนินนโยบายการคลัง (Fiscal space) ท่ามกลางหนี้สาธารณะที่อยู่ในระดับสูงของประเทศเศรษฐกิจหลัก และการผิดนัดชาระหนี้ของ

บริษัทอสังหาริมทรัพย์ในจีนซึ่งจะนามาซึ่งความผันผวนของราคาสินทรัพย์ และ (6) ความขัดแย้งต่าง ๆ ทั้งในเชิงภูมิรัฐศาสตร์ที่ก่อให้เกิดความไม่สงบ

ภายในประเทศ อาทิ ความขัดแย้งภายในอัฟกานิสถาน รวมทั้งความขัดแย้งในตะวันออกกลางที่จะส่งผลกระทบต่อความผันผวนของราคาพลังงาน

และความขัดแย้งระหว่างประเทศทางการค้าและเทคโนโลยี ระหว่างสหรัฐฯ และจีน ที่จะส่งผลต่อการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ

แรงกดดันด้านอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ท่ามกลางการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน

ในปี 2564 เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้นชัดเจนนาโดยเศรษฐกิจอุตสาหกรรมหลักเนื่องจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาด

และความคืบหน้าของการกระจายวัคซีน ส่งผลให้อุปสงค์ภายในประเทศฟื้นตัวและทาให้แรงกดดันด้านเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้น ควบคู่ไปกับปัญหา

ด้านอุปทานทั้งจากปัญหาในภาคการขนส่งโลจิสติกส์ ปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบ รวมไปถึงการเพิ่มขึ้นของระดับราคาน้ามันส่งผลให้

อัตราเงินเฟ้อในหลายประเทศเพิ่มขึ้นสูงกว่ากรอบเป้าหมายนโยบายการเงิน โดยเมื่อพิจารณาองค์ประกอบของอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน

(Core Inflation) พบว่าในส่วนของราคาที่อยู่อาศัยและราคารถยนต์มือสองเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสาคัญ และมีแนวโน้มที่จะสร้างแรงกดดัน

ด้านเงินเฟ้อที่ถาวร (Permanent Inflationary Pressure) ดังนั้นธนาคารกลางของประเทศสาคัญ ๆ มีแนวโน้มจะดาเนินนโยบายการเงินกลับ

สู่ปกติ (Policy Normalization) เร็วขึ้นกว่าที่คาดการณ์ ขณะเดียวกัน เมื่อพิจารณาแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจพบว่าเป็นการฟื้นตัว

อย่างไม่ทั่วถึงและแตกต่างกันในแต่ละประเทศ (Uneven recovery) จากแผนภาพ (Scatter Plot) เปรียบเทียบระดับเครื่องชี้ทางเศรษฐกิจ

ที่สาคัญในไตรมาสที่ 3 ปี 2562 ซึ่งเป็นช่วงก่อนการแพร่ระบาด และไตรมาสที่ 3 ของปี 2564 จะเห็นได้ว่าหลายประเทศโดยเฉพาะ

ประเทศพัฒนาแล้วมีการผลิตภาคอุตสาหกรรม และมูลค่าการค้าปลีกฟื้นตัวมาอยู่ในระดับที่สูงกว่าช่วงก่อนวิกฤต ขณะกลุ่มประเทศเศรษฐกิจ

ตลาดเกิดใหม่บางประเทศการฟื้นตัวยังอยู่ในระดับต่ากว่าช่วงก่อนการแพร่ระบาด ทั้งนี้หากธนาคารประเทศกลางมีการปรับทิศนโยบาย

การเงินเพื่อลดแรงกดดันจากเงินเฟ้อ ก่อนที่เศรษฐกิจจะฟื้นตัวอย่างเต็มที่ก็จะอาจนาไปสู่ภาวะการเงินตึงตัว ความสามารถในการชาระหนี้

ที่ลดลง รวมไปถึงการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจ

มาตรการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานและมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจของสหรัฐฯ

ประธานาธิบดีโจ ไบเดนของสหรัฐฯ ได้ลงนามในแผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ( Infrastructure Investment and Jobs Act: IIJA) เมื่อวันที่ 15

พฤศจิกายน 2564 โดยแผนดังกล่าวมีมูลค่ารวมประมาณ 5.50 แสนล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งเมื่อรวมกับแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเดิมจะมีมูลค่ารวม

ทั้งหมดกว่า 1.2 ล้านล้านดอลลาร์ สรอ. กรอบระยะเวลาดาเนินการ 10 ปี (2565 ? 2574) ซึ่งครอบคลุมทั้งแผนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน

ภายในประเทศขนาดใหญ่ และงบประมาณสาหรบั การเตรยี มพรอ้ มรบั มอื กบั การเปลยี่ นแปลงสภาพภมู อิ กาศโลก โดยมอี งคป์ ระกอบสาคญั ของนโยบาย1/ ดังนี้

มาตรการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานและมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจของสหรัฐฯ

หมายเหตุ 1/ ทาเนียบขาว สหรัฐฯ (2564). ข้อมูลสรุป The Bipartisan Infrastructure Deal. เว็บไซต์ https://www.whitehouse.gov/briefing-room/

statements-releases/2021/11/06/fact-sheet-the-bipartisan-infrastructure-deal/

2 / Moody?s (2564). บทวิเ คร ห์ Macroeconomic Consequences of the Infrastructure Investment and Jobs Act & Build Back Better

Framework. เ ว็ บ ไ ซ ต์ https://www.moodysanalytics.com/-/media/article/2021/macroeconomic-consequences-of-the-infrastructureinvestment-

and-jobs-act-and-build-back-better-framework.pdf

3/ สานักงบประมาณแห่งรัฐสภาสหรัฐฯ (2564). บทวิเคราะห์ Effects of Physical Infrastructure Spending on the Economy and the Budget

Under Two Illustrative Scenarios. เว็บไซต์ https://www.cbo.gov/publication/57327

โดยบริษัทวิเคราะห์ Moody?s2/ ได้ประเมินว่าการดาเนินมาตรการเศรษฐกิจ American Rescue Plan และ IIJA จะช่วยให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ขยายตัว

เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 2.0 ต่อปีในช่วงปี 2565 ? 2574 และจะสร้างตาแหน่งงานนอกภาคเกษตรประมาณปีละ 1.54 ล้านตาแหน่งต่อปี ขณะที่สานัก

งบประมาณแห่งรัฐสภาสหรัฐฯ (Congressional Budget Office) ประเมินว่าการดาเนินมาตรการ IIJA จะส่งผลให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อย

ละ 0.05 ? 0.11 ในกรอบระยะเวลา 30 ปี หรือ ณ สิ้นปี 2051 โดยประเมินว่าการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าวจะช่วยเพิ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

และการจ้างงานซึ่งนาไปสู่การเพิ่มขึ้นของการจัดเก็บรายได้จากภาษีของภาครัฐและช่วยชดเชยภาระงบประมาณจนไม่ก่อให้เกิดภาระทางการคลัง

อย่างไรก็ดี ยังคงมีความเป็นไปได้ของการเปลี่ยนแปลงนโยบายด้านภาษีในอนาคต โดยเฉพาะแนวโน้มการเพิ่มอัตราภาษีเงินได้สาหรับกลุ่มผู้มีรายได้สูง

และภาษีจากกาไรส่วนต่างการลงทุน (Capital Gains Tax)3/

นอกจากนี้ รัฐบาลสหรัฐฯ ยังอยู่ระหว่างการผลักดันมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจของสหรัฐฯ (Build Back Better Framework) มูลค่ารวมประมาณ 1.75

ล้านล้าน ดอลลาร์ สรอ. หรือคิดเป็นร้อยละ 9.5 ของ GDP ซึ่งในปัจจุบันคาดว่าจะเข้าสู่ขั้นตอนการพิจารณาของรัฐสภาสหรัฐฯ ในช่วงวันที่ 15 ? 19

พฤศจิกายน 2564 โดยมาตรการดังกล่าวมุ่งเน้นการยกระดับสวัสดิการทางสังคม ทั้งด้านสาธารณสุขและด้านการศึกษา รวมทั้งด้านที่อยู่อาศัย ควบคู่ไป

กับการลงทุนด้านพลังงานสะอาดและการจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ โดยมีองค์ประกอบสาคัญของนโยบาย ดังนี้

5. แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2564

เศรษฐกิจไทยในปี 2564 มีแนวโน้มที่จะขยายตัวร้อยละ 1.2 จากการลดลงร้อยละ 6.1 ในปี 2563 ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 1.2

และบัญชีเดินสะพัดมีแนวโน้มขาดดุลร้อยละ 2.5 ต่อ GDP เทียบกับการเกินดุลร้อยละ 4.0 ต่อ GDP ในปี 2563

ในการแถลงข่าววันที่ 15 พฤศจิกายน 2564 สานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) คาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2564

จะขยายตัวร้อยละ 1.2 เท่ากับขอบบนของการประมาณการครั้งก่อนที่ร้อยละ 0.7 ? 1.2 ในการแถลงข่าวเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2564

โดยมีการปรับองค์ประกอบของการขยายตัวทางเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับข้อมูลจริงในช่วงสามไตรมาสแรกของปี 2564 และการปรับเปลี่ยน

สมมติฐานการประมาณการที่สาคัญ ๆ ดังนี้

1) การปรับเพิ่มสมมติฐานรายรับและจานวนนักท่องเที่ยวในปี 2564 ตามการผ่อนคลายมาตรการป้องกันและควบคุมการระบาด

และการดาเนินนโยบายเปิดประเทศเพื่อรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ได้รับวัคซีนครบถ้วนแล้วจาก 63

ประเทศ ให้เดินทางเข้ามาในประเทศได้โดยไม่ต้องกักตัวและสามารถเดินทางไปยังพื้นที่นาร่องการท่องเที่ยวได้ภายใต้เงื่อนไขและมาตรการ

ทางสาธารณสุข ซึ่งเริ่มดาเนินการนับตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2564 ส่งผลให้คาดว่าจานวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในช่วง 2 เดือน

สุดท้ายของปี 2564 เพิ่มขึ้นมากกว่าที่คาดการณ์ และทาให้คาดว่าจานวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในปี 2564 จะอยู่ที่ 2 แสนคน และมีรายรับ

จากนักท่องเที่ยวต่างชาติรวมประมาณ 1.3 แสนล้านบาท เป็นการเพิ่มขึ้นจากจานวน 1.5 แสนคนและรายรับ 1.2 แสนล้านบาท ในสมมติฐาน

การประมาณครั้งก่อน ส่งผลให้ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการในปี 2564 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 10.0 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับ

ร้อยละ 9.6 ในการประมาณการครั้งก่อน

2) การปรับประมาณการการขยายตัวของการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนให้สอดคล้องกับการลดลงน้อยกว่าที่คาดในไตรมาสที่สาม

และแนวโน้มการขยายตัวดีขึ้นในไตรมาสที่สี่ของปี 2564 โดยมีแรงสนับสนุนจาก (1) การผ่อนคลายมาตรการป้องกันและควบคุมการระบาด

ของภาครัฐเพิ่มเติม (2) การดาเนินมาตรการของภาครัฐเพื่อรักษาแรงขับเคลื่อนของการบริโภคอย่างต่อเนื่อง ทั้งมาตรการเยียวยา

และการส่งเสริมกาลังซื้อของประชาชน อาทิ โครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 โครงการเพิ่มกาลังซื้อของผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ

รวมทั้งมาตรการช่วยเหลือด้านการจ้างงาน อาทิ โครงการเยียวยาผู้ประกันตนมาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40 และโครงการเพื่อส่งเสริม

และรักษาระดับการจ้างงานให้แก่ธุรกิจ SMEs และ (3) การเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติในไตรมาสสุดท้ายของปี ทาให้คาดว่าการอุปโภค

บริโภคภาคเอกชนในปี 2564 มีแนวโน้มที่จะขยายตัวร้อยละ 1.2 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับร้อยละ 1.1 ในการประมาณการครั้งก่อน

5. แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2564

6. แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2565

เศรษฐกิจไทยในปี 2565 มีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวอย่างชัดเจนต่อเนื่องจากฐานการขยายตัวที่อยู่ในเกณฑ์ต่าในปี 2564 โดยมีแรงสนับสนุน

ที่สาคัญจากการปรับตัวดีขึ้นของอุปสงค์ภายในประเทศภายหลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดคลี่คลายและการกระจายวัคซีนครอบคลุม

มากขึ้นต่อเนื่อง ประกอบกับแนวโน้มการฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยวจากการผ่อนคลายมาตรการเพื่อเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ

และการขยายตัวของภาคการส่งออกและการผลิตอุตสาหกรรมตามการฟื้นตัวต่อเนื่องของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก นอกจากนี้

เศรษฐกิจไทยยังมีแรงขับเคลื่อนจากภาครัฐทั้งจากการเบิกจ่ายของภาครัฐและกรอบการใช้จ่ายภายใต้พระราชกาหนดเงินกู้ฯ เพิ่มเติม

อย่างไรก็ดี ยังมีข้อจากัดและปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในปี 2565 ให้ขยายตัวได้ต่ากว่าที่คาดไว้ในกรณีฐาน

อันเป็นผลจากความไม่แน่นอนของสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ท่ามกลางการกลายพันธุ์ของไวรัส รวมทั้งข้อจากัดจากเงื่อนไข

ด้านฐานะทางการเงินของภาคครัวเรือนและธุรกิจ ขณะเดียวกัน แรงขับเคลื่อนจากการขยายตัวของภาคการส่งออกและการผลิต

ภาคอุตสาหกรรมยังมีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบจากความยืดเยื้อของปัญหาข้อจากัดในห่วงโซ่การผลิตและโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ

และความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจและการเงินโลกท่ามกลางแรงกดดันอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น

1) การปรับตัวดีขึ้นของอุปสงค์ภายในประเทศ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดภายในประเทศที่คลี่คลายลงสะท้อนจากจานวนผู้ติดเชื้อ

รายใหม่และจานวนผู้เสียชีวิตที่ลดลง ประกอบกับการเร่งกระจายวัคซีนที่มีความครอบคลุมมากขึ้น ทาให้รัฐบาลสามารถผ่อนคลายมาตรการ

ควบคุมการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง24 จนทาให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจและการจับจ่ายใช้สอยมีแนวโน้มที่จะกลับมาดาเนินได้เป็นปกติมากขึ้น

ต่อเนื่องจากในไตรมาสสุดท้ายของปี 2564 นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยสนับสนุนจากความสามารถในการปรับพฤติกรรมของครัวเรือนและภาคธุรกิจ

ต่อแนวทางการปฏิบัติตัวเพื่อดูแลและป้องกันการระบาดของโรคที่กลายเป็นแนวโน้มปกติใหม่มากขึ้น รวมทั้งแรงสนับสนุนจากการดาเนิน

นโยบายเพื่อส่งเสริมกาลังซื้อและมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจของรัฐบาลซึ่งจะช่วยสนับสนุนการขยายตัวของการอุปโภคบริโภคของภาคเอกชน

ขณะเดียวกัน การลงทุนของภาคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัวได้ต่อเนื่องในเกณฑ์ดีตามการขยายตัวของภาคผลิตและการส่งออก

2) การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการดาเนินมาตรการเปิดประเทศนับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 ซึ่งอนุญาตให้

นักท่องเที่ยวที่ได้รับวัคซีนครบถ้วนแล้วจาก 63 ประเทศ สามารถเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยได้โดยไม่ต้องเข้ารับการกักตัว (Test

and go) และสอดคล้องกับแนวทางการกาหนดพื้นที่นาร่องการท่องเที่ยว (พื้นที่สีฟ้า) ซึ่งมีการผ่อนคลายมาตรการควบคุมเป็นการเฉพาะเพื่อ

24 ในวันที่ 13 พฤศจิกายน 2564 ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ประกาศปรับลดจานวนจังหวัดที่ถูกกาหนดให้เป็นพื้นที่

ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดเหลือเพียง 6 จังหวัด โดยครอบคลุมร้อยละ 3.8 ของ GDP เทียบกับตามประกาศของ ศบค. เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2564 ที่กาหนดให้ 29

จังหวัดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 77.6 ของ GDP

ปัจจัยสนับสนุน

กองยุทธศาสตร์และการวางแผนเศรษฐกิจมหภาค 15 พฤศจิกายน 2564 32

Economic Outlook NESDC

ดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ25 นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยสนับสนุนจากการปรับตัวดีขึ้นของสถานการณ์การแพร่ระบาดใน

ประเทศต้นทางของนักท่องเที่ยวที่สาคัญ ทาให้รัฐบาลประเทศต่าง ๆ มีการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการเดินทางระหว่างประเทศเป็นลาดับ

ซึ่งส่งผลให้คาดว่านักท่องเที่ยวต่างชาติจะเดินทางมายังประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสาคัญโดยเฉพาะในช่วงครึ่งหลังของปี 2565 สอดคล้อง

กับการคาดการณ์ขององค์กรการท่องเที่ยวโลกแห่งสหประชาชาติ (UNWTO) ที่คาดว่าจานวนนักท่องเที่ยวระหว่างประเทศจะขยายตัว

ได้ร้อยละ 60 ในปี 2565

3) การขยายตัวต่อเนื่องของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก นาโดยการขยายตัวต่อเนื่องของกลุ่มเศรษฐกิจอุตสาหกรรมหลัก อาทิ สหรัฐฯ

ยูโรโซน ญี่ปุ่น และจีน โดยมีปัจจัยสนับสนุนสาคัญจากสถานการณ์การแพร่ระบาดที่คลี่คลายและความคืบหน้าในการกระจายวัคซีน

ซึ่งจะส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งภาคการผลิต ภาคบริการ และอุปสงค์ภายในประเทศมีแนวโน้มที่จะขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับ

แรงขับเคลื่อนจากการส่งออกซึ่งมีแนวโน้มที่จะทาให้ปริมาณการค้าโลกขยายตัว และจะช่วยสนับสนุนให้เศรษฐกิจในกลุ่มประเทศอุตสาหกรรม

ใหม่และกลุ่มประเทศอาเซียนรวมทั้งไทยที่พึ่งพิงรายได้จากการส่งออกเป็นหลักขยายตัวได้ โดยคาดว่าการส่งออกสินค้าสาคัญ ๆ ที่คาดว่า

จะยังคงมีแนวโน้มขยายตัวดี อาทิ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับประโยชน์จากการ Work-from-home ยานยนต์และ

ชนิ้ ส่วนตามอปุ สงคท์ เ พมิ่ ขนึ้ และผลิตภณั ฑ์จากปิโตรเลยี่ มทจี่ เพมิ่ ขนึ้ ตามราคาน้ามนั เช่น พลาสตกิ เคมภี ณั ฑ์ เป็นตน้ นอกจากนี้การสง่ ออก

ของไทยยังมีปัจจัยสนับสนุนจากการเข้าร่วมยื่นสัตยาบันความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive

Economic Partnership: RCEP) ซึ่งจะมีผลในวันที่ 1 มกราคม 2565 ที่คาดว่าจะสร้างโอกาสทางการค้าในการส่งออกสินค้าสาคัญ ๆ ของไทยมากขึ้น

4) แรงขับเคลื่อนจากภาครัฐทั้งจากการเบิกจ่ายภายใต้กรอบงบประมาณประจาปี งบรัฐวิสาหกิจ และกรอบการใช้จ่ายภายใต้

พระราชกาหนดเงินกู้ฯ เพิ่มเติม ที่จะยังช่วยสนับสนุนการขยายตัวของการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ แม้จะมีแนวโน้มชะลอลงตามฐาน

การขยายตัวที่สูงในปีก่อน ประกอบด้วย (1) การเบิกจ่ายภายใต้กรอบงบประมาณประจาปี 2565 ในกรณีฐานคาดว่าจะมีการเบิกจ่าย ณ

สิ้นปีงบประมาณ 2565 อยู่ที่ร้อยละ 93.4 ของงบประมาณทั้งหมด โดยแบ่งเป็น งบประมาณรายจ่ายประจาที่ร้อยละ 98.0 และงบประมาณ

รายจ่ายลงทุนที่ร้อยละ 75.0 ส่งผลให้ทั้งปีงบประมาณ 2565 คาดว่าจะมีการใช้จ่ายงบประมาณทั้งสิ้น 2.782 ล้านล้านบาท ส่วนงบประมาณ

เหลื่อมปี 2564 คาดว่าจะมีการเบิกจ่ายทั้งสิ้นร้อยละ 82.9 ของวงเงินงบประมาณ หรือคิดเป็นวงเงินทั้งสิ้น 1.967 แสนล้านบาท

(2) การเบิกจ่ายภายใต้งบลงทุนรัฐวิสาหกิจในปีงบประมาณ 2565 โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนในโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่สาคัญ

โดยคาดว่าจะมีอัตราการเบิกจ่าย ร้อยละ 70.0 จากวงเงินลงทุนรวม 468,833 ล้านบาท (รวมรัฐวิสาหกิจที่เป็นบริษัทมหาชน) เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3

จากวงเงิน 432,937 ล้านบาท (3) การเบิกจ่ายภายใต้พระราชกาหนดเงินกู้ฯ พ.ศ. 2563 วงเงิน 1 ล้านล้านบาท คาดว่าจะมีการเบิกจ่าย

ในปีงบประมาณ 2565 ทั้งสิ้น 1.311 แสนล้านบาท (ร้อยละ 13.1 ของวงเงินกู้) ส่งผลให้มีการเบิกจ่ายครบวงเงินกู้ภายในสิ้นปีงบประมาณ

2565 ภายในไตรมาสที่ 2 ของปีงบประมาณ 2565 (4) การเบิกจ่ายภายใต้พระราชกาหนดเงินกู้ฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 วงเงิน 5 แสนล้านบาท

คาดว่าจะมีการเบิกจ่ายในปีงบประมาณ 2565 ทั้งสิ้น 3.902 แสนล้านบาท (ร้อยละ 78.0 ของวงเงินกู้)

5) การปรับตัวตามฐานการขยายตัวที่ต่าในปี 2563 และ 2564 จากผลกระทบของการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยเฉพาะอย่างยิ่งส่งผลให้

เศรษฐกิจไทยในปี 2563 ลดลงร้อยละ 6.1 ซึ่งเป็นการถดถอยครั้งแรกในรอบ 11 ปี ก่อนที่กลับมาขยายตัวร้อยละ 1.2 ในปี 2564 การฟื้นตัว

ของเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านโดยเฉพาะอย่างยิ่งอุปสงค์ภายในประเทศยังมีข้อจากัดจากการแพร่ระบาด ภายใต้เงื่อนไขดังกล่าวจะเป็น

ปัจจยั สนับสนุนเศรษฐกจิ ไทยในปี 2565 สามารถกลับมาขยายตวั ไดภ้ ยใตแ นวโน้มการฟนื้ ตวั ของอปุ สงคภ์ ยในประเทศและการส่งออกสินคา

ข้อจากัดและปัจจัยเสี่ยง

1) ความไม่แน่นอนของสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ท่ามกลางการกลายพันธุ์ของไวรัสที่ทาให้เชื้อสามารถแพร่ระบาดได้

รวดเร็วมากขึ้น และมีแนวโน้มที่จะส่งผลต่อประสิทธิภาพของวัคซีนในการป้องกันการติดเชื้อ ซึ่งอาจเป็นความเสี่ยงของการแพร่ระบาด

ระลอกใหม่ที่รุนแรงมากขึ้นจนทาให้รัฐบาลประเทศต่าง ๆ มีแนวโน้มที่จะกลับมาบังคับใช้มาตรการควบคุมอย่างเข้มงวด และส่งผลต่อ

แผนการเปิดให้มีการเดินทางระหว่างประเทศโดยเฉพาะในประเทศที่เป็นต้นทางนักท่องเที่ยวของไทยให้มีความล่าช้าออกไปกว่าที่คาด

นอกจากนี้ ความล่าช้าในการกระจายวัคซีนให้กับประชาชนโดยเฉพาะในกลุ่มประเทศกาลังพัฒนาและประเทศรายได้น้อยจะส่งผลกระทบ

ต่อความเชื่อมั่นและเป็นข้อจากัดต่อการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศและเศรษฐกิจโดยรวม เช่นเดียวกับสถานการณ์การแพร่ระบาด

ภายในประเทศของไทยที่เผชิญกับการแพร่ระบาดของไวรัสกลายพันธุ์ ซึ่งยังจาเป็นต้องติดตามสถานการณ์และมาตรการการควบคุมอย่าง

ใกล้ชิด โดยเฉพาะภายหลังการผ่อนคลายมาตรการควบคุมต่าง ๆ และการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ควบคู่ไปกับการติดตามความพร้อม

ของการกระจายวัคซีน ยา และเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ให้มีความเพียงพอต่อการรับมือกับการแพร่ระบาดของไวรัสกลายพันธุ์ได้

โดยเฉพาะความสามารถในการควบคุมจานวนผู้ติดเชื้อให้ลดลงอยู่ในวงจากัด รวมทั้งลดอัตราการป่วยที่มีอาการรุนแรงหรือเสียชีวิตให้อยู่

ในระดับต่าในระดับที่ไม่เกินศักยภาพของระบบสาธารณสุขที่จะรองรับได้

25 แนวทางการกาหนดพื้นที่นาร่องการท่องเที่ยว แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 1-30 พฤศจิกายน 2564 จานวน 17 จังหวัด คือ กรุงเทพมหานคร กระบี่

ชลบุรี (ตาบลพัทยา ตาบลบางละมุง ตาบลนาจอมเทียน และตาบลบางเสร่) เชียงใหม่ (อาเภอเมือง อาเภอแม่ริม อาเภอแม่แตง และอาเภอดอยเต่า) ตราด (อาเภอเกาะ

ช้าง) บุรีรัมย์ (อาเภอเมือง) ประจวบคีรีขันธ์ (ตาบลหัวหิน และตาบลหนองแก) พังงา (ทั้งจังหวัด) เพชรบุรี (เทศบาลเมืองชะอา) ภูเก็ต ระนอง (เกาะพยาม) ระยอง (เกาะ

เสม็ด) เลย (อาเภอเชียงคาน) สมุทรปราการ (พื้นที่ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ) สุราษฎร์ธานี (เกาะสมุย เกาะพงัน และเกาะเต่า) หนองคาย (อาเภอเมืองหนองคาย

อาเภอสังคม อาเภอศรีเชียงใหม่ และ อาเภอท่าบ่อ) และจังหวัดอุดรธานี (อาเภอเมืองอุดรธานี อาเภอบ้านดุง อาเภอกุมภวาปี อาเภอนายูง อาเภอหนองหาน และ อาเภอ

ประจักษศ์ ลิ ปาคม) โดยใชเ กณฑเ ปน็ เมอื งหลกั หรือจังหวดั ทมี่ สี ดั สว่ นรายไดจ้ กนกั ท่องเทยี่ วตา งชาติ ไมน่ อ้ ยกวา ร้อยละ 15 ของรายไดจ้ กการท่องเทยี่ ว ระยะที่ 2 จานวน

20 จังหวดั ตงั้ แตว่ นั ที่ 1-31 ธนั วาคม 2564 โดยใชเ กณฑก์ หนดพนื้ ทนี่ รอ่ งดา นเศรษฐกจิ เปน็ เมอื งหลกั หรอื จังหวดั ทมี่ สี ดั สว่ นรายไดจ้ กนักท่องเทยี่ วไมน่ อยกวา รอ้ ยละ

15 ของรายไดจ้ กการทอ่ งเทยี่ วทงั้ หมด โดยมสี นิ คา การทอ่ งเทยี่ ว ดา นศลิ ปวฒั นธรรม และเปน็ จังหวดั ทมี่ พี รมแดนตดิ ประเทศเพอื่ นบา น และระยะที่ 3 จานวน 13 จังหวดั

ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 เป็นต้นไป โดยใช้เกณฑ์กาหนดพื้นที่นาร่องด้านเศรษฐกิจจังหวัด ที่มีพรมแดนติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน

กองยุทธศาสตร์และการวางแผนเศรษฐกิจมหภาค 15 พฤศจิกายน 2564 33

Economic Outlook NESDC

2) เงื่อนไขด้านฐานะทางการเงินของภาคครัวเรือนและธุรกิจ โดยเฉพาะการเพิ่มขึ้นของภาระหนี้สินภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจที่เพิ่มขึ้น

มากเมื่อเทียบกับช่วงก่อนการแพร่ระบาด สะท้อนจากสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ในไตรมาสที่สองของปี 2564 อยู่ที่ร้อยละ 89.3

เทียบกับร้อยละ 78.4 ในไตรมาสเดียวกันของปี 2562 ขณะที่สัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-Performing Loans: NPLs)

และสัดส่วนสินเชื่อจัดชั้นกล่าวถึงพิเศษ (Special Mentioned Loans: SMLs) ต่อสินเชื่อรวมของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

(SMEs) ในไตรมาสที่ 2 ปี 2564 ยังคงอยู่ในระดับสูงโดยอยู่ที่ร้อยละ 7.3 และร้อยละ 12.4 เทียบกับร้อยละ 4.5 และร้อยละ 3.2

ในไตรมาสเดียวกันของปี 2562 ภาระหนี้สินภาคเอกชนที่อยู่ในระดับสูงจะเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ

และความสามารถในการชาระหนี้ในระยะต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้ตลาดแรงงานที่ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่เมื่อเทียบกับช่วงก่อนระบาด

ดังจะเห็นได้จากจานวนผู้ประกันตนที่รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานจากกองทุนประกันสังคม ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2564

อยู่ที่ 273,157 คน แม้จะลดลงจาก 307,883 คนในไตรมาสก่อนหน้า แต่ยังสูงกว่า 172,412 คนในไตรมาสเดียวกันของปี 2562

3) แรงขับเคลื่อนจากการขยายตัวของภาคการส่งออกและการผลิตภาคอุตสาหกรรมยังมีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบจากปัญหา

ข้อจากัดในห่วงโซ่การผลิตและโลจิสติกส์ระหว่างประเทศที่ยังคงยืดเยื้อ และการขาดแคลนแรงงานต่างด้าว ดังนี้ (1) ปัญหาชะงักงันของห่วงโซ่

การผลิตโลก อันเนื่องมาจากการบริหารจัดการตู้คอนเทนเนอร์และการปิดท่าเรือของจีนที่ส่งผลต่อต้นทุนค่าขนส่งสินค้า รวมทั้งการขาดแคลน

เซมิคอนดักเตอร์ หากยังคงมีแนวโน้มยืดเยื้อไปจนถึงช่วงแรกของปี 2565 จะเป็นข้อจากัดสาคัญต่อห่วงโซ่การผลิตทั่วโลกและเป็นความเสี่ยงต่อ

การฟื้นตัวของภาคการส่งออกของไทย และ (2) การขาดแคลนแรงงานต่างด้าว โดยพบว่าข้อมูลสถานการณ์การจ้างแรงงานต่างด้าวของ

สานักบริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ในเดือนกันยายน 2564 ระบุว่ามีแรงงานต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทางาน

ในประเทศไทยอย่างถูกกฎหมายจานวนทั้งสิ้น 2,374,501 คน ต่ากว่า 2,424,490 คนและ 3,090,825 คนในเดือนกันยายน 2563 และ 2562

ตามลาดับ สะท้อนให้เห็นการลดลงของแรงงานต่างด้าวเนื่องจากผลกระทบของการแพร่ระบาดที่ทาให้ต้องเดินทางกลับประเทศ

และยังไม่สามารถกลับมาทางานในประเทศไทยได้ ซึ่งปัญหาการขาดแคลนดังกล่าวหากยืดเยื้อมีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรม

การผลิตที่อาศัยแรงงานต่างด้าวเป็นหลัก อาทิ อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร เสื้อผ้าสาเร็จรูป รวมทั้งภาคบริการต่าง ๆ

4) ความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจและการเงินโลกที่อาจส่งผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจและเสถียรภาพเศรษฐกิจไทย

โดยมีเงื่อนไขในเศรษฐกิจโลกที่จะต้องติดตามและประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ประกอบด้วย (1) ความไม่แน่นอนจากการแพร่ระบาด

ของโควิด-19 ท่ามกลางการกลายพันธุ์ของไวรัสที่ส่งผลให้การแพร่ระบาดเป็นไปอย่างรวดเร็วและอาจส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของ

วัคซีนที่มีในปัจจุบัน (2) การปรับตัวเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ การปรับทิศทางในการดาเนินนโยบายการเงิน และการเปลี่ยนแปลงในตลาด

พันธบัตรของประทศเศรษฐกิจหลัก (3) ความผันผวนในตลาดการเงินโลกและเงินลงทุนระหว่างประเทศ เนื่องจากความเสี่ยงต่าง ๆ

ทงั้ ความไมแ น่นอนของสถานการณก์ รแพรร่ บาดของไวรสั กลายพนั ธทุ์ จี่ ส่งผลตอ่ ความผันผวนของอตั ราแลกเปลยี่ นและการเคลอื่ นยา ยเงินทนุ

รวมทั้งการปฏิรูปการกากับดูแลธุรกิจของรัฐบาลจีนและการผิดนัดชาระหนี้ของบริษัทอสังหาริมทรัพย์ในจีนที่อาจทาให้เศรษฐกิจจีนชะลอ

ตัวเร็วกว่าที่คาดและส่งผลต่อความผันผวนของราคาสินทรัพย์ (4) ทิศทางการดาเนินนโยบายของประเทศเศรษฐกิจหลักโดยเฉพาะ

นโยบายการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐฯ และจีน รวมถึงจุดยืนของสหรัฐฯ จีน และไต้หวัน ในการเข้าร่วมความตกลงหุ้นส่วนทาง

เ ศ ร ษ ฐ กิจ ภ ค พื้น แ ป ซิฟิก ( Comprehensive and Progressive Agreement of Trans-Pacific Partnership: CPTPP)

และ (5) ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ อาทิ ความขัดแย้งระหว่างไต้หวันและจีน ความขัดแย้งภายในอัฟกานิสถาน ความขัดแย้งใน

ตะวันออกกลางที่ส่งผลต่อความผันผวนของราคาพลังงาน และความขัดแย้งระหว่างประเทศออสเตรเลียและกลุ่มประเทศเอเชียแปซิฟิก

ในกรณีการซื้อเรือดาน้าของออสเตรเลีย

ที่มา: สานักงานประกันสังคม และกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน

0.0

0.5

1.0

1.5

2.0

2.5

3.0

3.5

4.0

ม.ค. 61

เม.ย. 61

ก.ค. 61

ต.ค. 61

ม.ค. 62

เม.ย. 62

ก.ค. 62

ต.ค. 62

ม.ค. 63

เม.ย. 63

ก.ค. 63

ต.ค. 63

ม.ค. 64

เม.ย. 64

ก.ค. 64

ผู้ประกันตนที่รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน จาแนกตามหมวดอุตสาหกรรม

การผลิต การขายส่งและการขายปลีก การขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร อื่น ๆ

แสนราย

0.0

0.5

1.0

1.5

2.0

2.5

3.0

ต.ค. 62

ม.ค. 63

เม.ย. 63

ก.ค. 63

ต.ค. 63

ม.ค. 64

เม.ย. 64

ก.ค. 64

0.0

1.0

2.0

3.0

4.0

5.0

6.0

แสนคน พันแห่ง

ลูกจ้างและสถานประกอบการที่หยุดกิจการชั่วคราว (มาตรา 5)

จานวนสถานประกอบการที่หยุดกิจการบางส่วน (แกนขวา) จานวนสถานประกอบการที่หยุดกิจการทั้งหมด (แกนขวา)

จานวนลูกจ้าง

กองยุทธศาสตร์และการวางแผนเศรษฐกิจมหภาค 15 พฤศจิกายน 2564 34

Economic Outlook NESDC

สถานการณ์การแพร่ระบาดภายในประเทศและทั่วโลก และความคืบหน้าของการกระจายวัคซีน

สถานการณ์การแพร่ระบาดภายในประเทศที่มีการปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยจานวนผู้ติดเชื้อรายใหม่เฉลี่ย 7 วัน ณ วันที่

10 พฤศจิกายน 2564 อยู่ที่ 7,719 คน ต่อวัน ลดลงจาก 21,784 คนต่อวัน ในช่วงวันที่ 17 สิงหาคม 2564 สอดคล้องกับจานวนผู้ป่วย

โควิด-19 ที่ยังอยู่ระหว่างการรักษาตัวที่โรงพยาบาล ที่ลดลงจากจุดสูงสุดที่ 212,893 คน ในวันที่ 10 สิงหาคม 2564 เหลือ 97,307 คน ณ

วันที่ 10 พฤศจิกายน 2564 นอกจากนี้ยังมีความคืบหน้าในการกระจายวัคซีนให้กับประชาชน โดยประชาชนที่ได้รับวัคซีนครบโดส ณ วันที่ 10

พฤศจิกายน 2564 อยู่ที่ 35,505,934 คน หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 49.29 ของจานวนประชากรทั้งหมด โดยครอบคลุมร้อยละ 59.2

และร้อยละ 56.5 ของประชากรกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มผู้สูงอายุ ตามลาดับ ปัจจัยดังกล่าวทาให้จานวนผู้ติดเชื้อที่มีอาการรุนแรงและผู้เสียชีวิตต่อ

จานวนผู้ติดเชื้อลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดมีจานวนผู้เสียชีวิต 62 ราย ลดลงจาก 312 ราย ณ 18 สิงหาคม 2564 เช่นเดียวกับสถานการณ์

การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ภายนอกประเทศเริ่มคลี่คลายลงอย่างต่อเนื่อง โดยจานวนผู้ติดเชื้อทั่วโลกเฉลี่ย 7 วัน ในวันที่

10 พฤศจิกายน 2564 อยู่ที่ 449,022 คน ลดลงอย่างต่อเนื่องจากที่เคยมีจานวนผู้ติดเชื้อรายใหม่เฉลี่ย 7 วันสูงสุดที่ 817,495 คนต่อวัน

ในวันที่ 26 เมษายน 2564 อย่างไรก็ตาม การแพร่ระบาดในภูมิภาคยุโรปมีความรุนแรงมากขึ้น โดยมีจานวนผู้ติดเชื้อรายใหม่สูงสุดที่ 333,543

คน ในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2564 สูงที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 7 มกราคม 2564 โดยประเทศที่มีจานวนผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มสูงมาก ได้แก่ เยอรมนี

สหราชอาณาจักร รัสเซีย ยูเครน และโปแลนด์

อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงที่จะมีการแพร่ระบาดรุนแรงลดลงมากจากความคืบหน้าในการกระจายวัคซีนให้กับประชาชนของประเทศต่าง ๆ

ที่ทาให้จานวนผู้ติดเชื้อที่มีอาการเจ็บป่วยรุนแรงและผู้ที่เสียชีวิตลดลง รวมถึงความก้าวหน้าในการทดลองยาต้านไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่

โดยเฉพาะอย่างยิ่งยาโมลนูพิราเวียร์ (molnupiravir) ของบริษัทเมอร์ค (Merck) ที่มีผลการทดลองเป็นที่น่าพอใจ รวมถึงทางบริษัทได้

ประกาศให้บริษัทยาในประเทศกาลังพัฒนาและประเทศรายได้น้อยจานวน 105 ประเทศซึ่งรวมถึงประเทศไทยสามารถผลิตยาได้ตามเห็นชอบ

ของทางบริษัทโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย (royalty-free license) รวมถึงยาแพกซ์โลวิด (Paxlovid) ของบริษัทไฟเซอร์ที่ผลการทดลองเบื้องต้น

สามารถลดอาการป่วยรุนแรงและการเสียชีวิตได้ นอกจากนี้ยังมีแนวโน้มที่ภาคเอกชนรายอื่น ๆ จะมีความก้าวหน้าในการพัฒนายาต้านไวรัส

โควิด-19 เพิ่มขึ้นทาให้แนวโน้มที่จะทาให้ประเทศต่าง ๆ มีศักยภาพในการรับมือการแพร่ระบาดได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้รัฐบาลประเทศต่าง ๆ

สามารถผ่อนคลายมาตรการควบคุมและเปิดให้มีการเดินทางระหว่างประเทศมากขึ้น

0

0.2

0.4

0.6

0.8

1

1.2

1.4

0

40

80

120

160

200

240

280

ม.ค. 63 เม.ย. 63 ก.ค. 63 ต.ค. 63 ม.ค. 64 เม.ย. 64 ก.ค. 64 ต.ค. 64

จานวนผู้ติดเชื้อสะสมและผู้ติดเชื้อใหม่รายกลุ่มประเทศ (ล้านคน) Western Pacific

African

South-East Asia

Mediterranean

European

America

จานวนผู้ติดเชื้อใหม่

(แกนขวา)

หมายเหตุ: ค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 7 วัน ที่มา: CEIC

0

50

100

150

200

250

300

350

ก.ค. 64 ส.ค. 64 ก.ย. 64 ต.ค. 64 พ.ย. 64

จานวนผู้ติดเชื้อใหม่กลุ่มประเทศในยุโรป (พันคน)

ประเทศอื่น ๆ

สหราชอาณาจักร

ฝรั่งเศส

สเปน

เยอรมัน

เนเธอร์แลนด์

โปแลนด์

รัสเซีย

ยูเครน

หมายเหตุ: ค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 7 วัน ที่มา: CEIC

AUS

CAN

CHL

ESP

FRA

GBR

HKG

IND

ISR

ITA

JPN

KOR

LAO

MYS

PHL

SGP

SWE

SWZ

THA

TWN

USA

VNM

0

1

2

3

4

5

6

0 10 20 30 40 50 60 70 80 90 100

อัตราการเสียชีวิต (ร้อยละ)

จานวนคนที่ได้รับวัคซีนครบโดสต่อประชากร 100 คน

อัตราการ ดวัคซีนครบโดส และอัตราการเสียชีวิต (ข้อมูลเดือนตุลาคม 2564)

จากแผนภาพแสดงให้เห็นว่าประเทศที่มีสัดส่วนประชากรได้รับ

วัคซีนครบโดสมากกว่ามีแนวโน้มที่จะมีอัตราการเสียชีวิตที่ต่ากว่า

ที่มา: Our World in Data ณ วันที่ 10 พฤศจิกายน 2564

0

50

100

150

200

250

0

5

10

15

20

25

30

ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย.

เข้าข่ายติดเชื้อ (ATK)

จานวนผู้ติดเชื้อรายใหม่

จานวนผู้ป่วยรักษาหาย

จานวนผู้ป่วยกาลังรักษา (แกนขวา)

สถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศ (พันคน)

0

7

14

21

28

35

42

49

56

63

70

0

5

10

15

20

25

30

35

40

45

50

ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค.

ต่อประชากร 100 คน

ล้านโดส

โดสแรก

โดสที่สอง

ความคืบหน้าการ ดวัคซีนป้องกันโควิด 19 ในประเทศไทย ปี 2564

กองยุทธศาสตร์และการวางแผนเศรษฐกิจมหภาค 15 พฤศจิกายน 2564 35

Economic Outlook NESDC

ข้อสมมติฐานการประมาณการเศรษฐกิจปี 2564 และปี 2565

1) สมมติฐานด้านการแพร่ระบาด การประมาณการครั้งนี้ตั้งอยู่บนสมมติฐานในกรณีฐานที่สาคัญ ดังนี้ (1) สถานการณ์การแพร่ระบาด

ภายในประเทศในปี 2565 อยู่ในวงจากัดไม่เกินศักยภาพของระบบสาธารณสุขที่จะบริหารจัดการได้ โดยพิจารณาจากจานวนผู้ป่วยอาการ

รุนแรงและผู้เสียชีวิตลดลงอยู่ในระดับต่า ส่งผลให้รัฐบาลสามารถผ่อนคลายการบังคับใช้มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดได้ต่อเนื่องจนทา

ให้ระดับกิจกรรมการทางเศรษฐกิจกลับมาดาเนินได้เป็นปกติมากขึ้น (2) ไม่มีการแพร่ระบาดระลอกใหม่จากไวรัสกลายพันธุ์ที่มีความ

รุนแรงมากขึ้นกว่าในระดับปัจจุบันทั้งการแพร่ระบาดในต่างประเทศและภายในประเทศ จนส่งผลให้ต้องบังคับใช้มาตรการควบคุมการ

แพร่ระบาดอย่างเข้มข้นในระดับที่กระทบกิจกรรมทางเศรษฐกิจและจากัดการเดินทางระหว่างประเทศอีกครั้ง (3) การกระจายวัคซีน

เป็นไปได้อย่างต่อเนื่องและครอบคลุมสัดส่วนประชาชนอย่างเพียงพอในระดับที่สามารถช่วยลดจานวนผู้ป่วยอาการรุนแรงและผู้เสียชีวิต

ให้อยู่ในระดับต่า และ (4) การกลายพันธุ์ของไวรัสโควิด-19 ไม่ส่งผลให้ประสิทธิภาพของวัคซีนในการสร้างภูมิคุ้มกัน และยังคงสามารถ

ลดอัตราการเจ็บป่วยอาการรุนแรงและการเสียชีวิตลงได้อย่างมีนัยสาคัญ

2) เศรษฐกิจโลกและปริมาณการค้าโลกในปี 2565 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.8 และร้อยละ 6.5 ต่อเนื่องจากการขยายตัวร้อยละ 5.6

และร้อยละ 8.0 ตามลาดับ ในปี 2564 ตามแนวโน้มการขยายตัวดีของทั้งเศรษฐกิจประเทศหลัก อาทิ สหรัฐฯ ยูโรโซน

สหราชอาณาจักร และออสเตรเลีย เนื่องจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดและความคืบหน้าในการกระจายวัคซีน

และการคิดค้นยาต้านไวรัสที่จะช่วยสร้างความเชื่อมั่นมากขึ้น ส่งผลให้อุปสงค์ภายในประเทศและระดับกิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับมาเป็น

ปกติมากขึ้นตามลาดับ รวมทั้งแรงสนับสนุนจากมาตรการทางการคลังเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ ขณะเดียวกัน คาดว่ากลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิด

ใหม่และประเทศอาเซียนจะขยายตัวเร่งขึ้นในปี 2565 ตามแนวโน้มการฟื้นตัวของการส่งออกและการผลิตภาคอุตสาหกรรม รวมถึง

สถานการณ์การแพร่ระบาดภายในประเทศที่คลี่คลายและความคืบหน้าของการกระจายวัคซีนที่ทาให้อุปสงค์ภายในประเทศฟื้นตัวดีขึ้น

3) ค่าเงินบาทเ ลี่ยในปี 2565 คาดว่าจะเ ลี่ยอยู่ในช่วง 32.0 ? 33.0 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงจาก 31.9 บาทต่อดอลลาร์

สรอ. ในปี 2564 ตามแนวโน้มการเพิ่มขึ้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ และการปรับทิศทางนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ

4) ราคาน้ามันดิบดูไบเ ลี่ยในปี 2565 คาดว่าจะอยู่ในช่วง 6 .0 ? 77.0 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล สูงขึ้นเล็กน้อยจาก 0.0 ดอลลาร์

สรอ. ต่อบาร์เรล ในปี 2564 โดยปัจจัยสนับสนุนการเพิ่มขึ้นของราคาน้ามันดิบในปี 2565 ที่สาคัญ ได้แก่ (1) ความต้องการใช้น้ามัน

ทั่วโลกเพิ่มขึ้นตามแนวโน้มการฟื้นตัวต่อเนื่องของเศรษฐกิจโลกภายหลังจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดและการเปิดให้มี

การเดินทางระหว่างประเทศมากขึ้น สอดคล้องกับการคาดการณ์ของสานักบริหารสารสนเทศพลังงานสหรัฐฯ (US Energy Information

Administration: EIA) ที่คาดว่าในปี 2565 ความต้องการใช้น้ามันทั่วโลกอยู่ที่ 101.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน เพิ่มขึ้นจาก 95.9 ล้านบาร์เรล

ต่อวันในปี 2564 (2) ปริมาณน้ามันดิบคงคลังของสหรัฐฯ อยู่ในระดับต่าต่อเนื่อง โดย EIA คาดการณ์ว่าในปี 2565 ปริมาณน้ามันดิบ

คงคลังของสหรัฐฯ จะอยู่ที่ 1,267 ล้านบาร์เรล ใกล้เคียงกับ 1,268 ล้านบาร์เรลในปี 2564 อย่างไรก็ตาม ยังคงมีปัจจัยที่อาจฉุดรั้งอตั รา

การเพิ่มขึ้นของราคาน้ามันไม่ให้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ได้แก่ (1) ความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนของสถานการณ์การแพร่ระบาด

(2) ปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้นตามการเพิ่มกาลังการผลิตของกลุ่ม OPEC+ และประเทศอเมริกาเหนือทั้งสหรัฐฯ และแคนาดาที่มีจานวน

แท่นขุดเจาะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และ (3) ปัญหาการชะลอตัวของเศรษฐกิจและการผิดนัดชาระหนี้ในบริษัทอสังหาริมทรัพย์ของประเทศ

จีนที่จะส่งผลต่อความต้องการน้ามัน

ตารางสมมติฐานการประมาณการเศรษฐกิจปี 2564 - 2565

ข้อมูลจริง ประมาณการ

2562 2563

2564 2565

ณ 16 ส.ค. 2564 ณ 15 พ.ย. 2564 ณ 15 พ.ย. 2564

อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจโลก (%)1/ 3.0 -3.2 6.0 5.6 4.8

สหรัฐอเมริกา 2.2 -3.5 7.0 5.8 5.0

ยูโรโซน 1.3 -6.7 4.7 4.9 4.2

ญี่ปุ่น 0.3 -4.8 2.8 2.8 3.0

จีน 6.0 2.3 8.7 8.5 5.5

อัตราการขยายตัวปริมาณการค้าโลก (%) 0.9 -9.6 8.5 8.0 6.5

อัตราแลกเปลี่ยน 31.0 31.3 31.3 ? 32.3 31.9 32.0 ? 33.0

ราคาน้ามัน (ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล) 63.3 42.1 62.0 ? 72.0 70.0 67.0 ? 77.0

ราคาส่งออก (%) 0.3 -0.7 2.5 ? 3.5 3.5 0.0 ? 1.0

ราคานาเข้า (%) 0.2 -3.4 4.0 ? 5.0 5.0 0.5 ? 1.5

รายรับจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ (ล้านล้านบาท) 1.88 0.43 0.12 0.13 0.44

หมายเหตุ: 1/ เศรษฐกิจโลกคานวณ Trade weight เฉพาะ 15 เศรษฐกิจคู่ค้าสาคัญ ในปี 2562

ที่มา: สานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ณ วันที่ 15 พฤศจิกายน 2564

กองยุทธศาสตร์และการวางแผนเศรษฐกิจมหภาค 15 พฤศจิกายน 2564 36

Economic Outlook NESDC

5) ราคาสินค้าส่งออกและราคาสินค้านาเข้าในรูปดอลลาร์ สรอ. คาดว่าในปี 2565 ราคาสินค้าส่งออกและราคาสินค้านาเข้าเ ลี่ยจะ

เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.0 ? 1.0 และร้อยละ 0.5 ? 1.5 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 3.5 และร้อยละ 5.0 ในปี 2564 สอดคล้องกับสมมติฐาน

ราคาน้ามันดิบในตลาดโลก แนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก รวมทั้งแนวโน้มค่าระวางเรือสาหรับการขนส่ง

ระหว่างประเทศที่คาดว่าลดลงอย่างค่อยเป็นค่อยไปตามการปรับตัวดีขึ้นของห่วงโซ่อุปทานโลก และฐานการขยายตัวที่สูงในปี 2564

6) รายรับจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศปี 2565 คาดว่าจะมีรายรับจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ 0.44 ล้านล้านบาท และมีจานวน

นักท่องเที่ยวต่างชาติ 5 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากที่คาดว่าจะอยู่ที่ 0.13 ล้านล้านบาท และ 2 แสนคน ในปี 2564 โดยในกรณีฐาน คาดว่า

แผนการเปิดประเทศเพื่อรับนักท่องเที่ยวต่างชาติและการผ่อนคลายมาตรการในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศสามารถดาเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง

และไม่เกิดการแพร่ระบาดจนนาไปสู่การดาเนินมาตรการควบคุมการเดินทางระหว่างประเทศที่เข้มงวดมากขึ้นจากในปัจจุบัน

) การเบิกจ่ายงบประมาณ ประกอบด้วย (1) การเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจาปีงบประมาณ 2565 ในกรณีฐาน คาดว่าอัตราการ

เบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายรวมอยู่ที่ร้อยละ 93.4 ของวงเงินงบประมาณทั้งหมด (เทียบกับร้อยละ 91.5 ในปีงบประมาณ 2564)

โดยแบ่งเป็นอัตราการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจาร้อยละ 98.0 (เทียบกับร้อยละ 98.0) และรายจ่ายลงทุนร้อยละ 75.0 เทียบกับ

ร้อยละ 65.0) (2) อัตราการเบิกจ่ายงบประมาณเหลื่อมปี 2565 อยู่ที่ร้อยละ 82.9 เทียบกับร้อยละ 85.0 ในปีงบประมาณ 2564

(3) อัตราการเบิกจ่ายงบลงทุนรัฐวิสาหกิจอยู่ที่ร้อยละ 70 ของเงินงบประมาณ (4) การเบิกจ่ายภายใต้พระราชกาหนดเงินกู้ฯ

วงเงิน 1 ล้านล้านบาท คาดว่าจะมีการเบิกจ่ายในปีงบประมาณ 2565 ทั้งสิ้น 1.311 แสนล้านบาท (ร้อยละ 13.1 ของวงเงินกู้) ส่งผลให้มี

การเบิกจ่ายครบวงเงินกู้ภายในสิ้นปีงบประมาณ 2565 และ (5) การใช้เงินภายใต้พระราชกาหนดเงินกู้ฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564

วงเงิน 5 แสนล้านบาท คาดว่าจะมีการเบิกจ่ายเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจในปีงบประมาณ 2565 รวม 3.9 แสนล้านบาท (ร้อยละ 78.0

ของวงเงินกู้) และเมื่อรวมกับการเบิกจ่ายที่ดาเนินการไปแล้วในปีงบประมาณ 2564 รวม 1.1 แสนล้านบาท (ร้อยละ 22.0 ของวงเงินกู้)

ส่งผลให้คาดว่าจะมีการเบิกจ่ายครบวงเงินภายในปีงบประมาณ 2565

ความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนเข็มที่ 1 จาแนกตามจังหวัด ผลการดาเนินงานถึงวันที่ 11 พฤศจิกายน 2564

ความครอบคลุมประชากรทั้งหมด

ต่ากว่าร้อยละ 40

(3 จังหวัด)

ร้อยละ 40-49

(35 จังหวัด)

ร้อยละ 50-69

(30 จังหวัด)

ตั้งแต่ร้อยละ 0

(9 จังหวัด)

จังหวัดปริมณฑล นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรสาคร

ภาคใต้ 4 จังหวัด นราธิวาส ปัตตานี ยะลา สงขลา

จังหวัดพื้นที่สีฟ้า 1

จังหวัด

หนองคาย

ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ระยอง

ตราด เลย อุดรธานี บุรีรัมย์

สุราษฎร์ธานี กระบี่ พังงา ระนอง

เชียงใหม่ กรุงเทพ สมุทรปราการ

ชลบุรี ภูเก็ต

จังหวัดอื่น ๆ นครพนม บึงกาฬ หนองบัวลาภู

น่าน แพร่ แม่ฮ่องสอน ลาปาง ตาก

พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัย

กาแพงเพชร ชัยนาท พิจิตร อุทัยธานี

นครนายก ลพบุรี อ่างทอง ราชบุรี

สมุทรสงคราม สุพรรณบุรี สระแก้ว

กาฬสินธุ์ ขอนแก่น มหาสารคาม

สกลนคร ร้อยเอ็ด ชัยภูมิ สุรินทร์

มุกดาหาร ยโสธร ศรีสะเกษ

อานาจเจริญ อุบลราชธานี ชุมพร

เชียงราย พะเยา ลาพูน อุตรดิตถ์

นครสวรรค์ พระนครศรีอยุธยา

สระบุรี สิงห์บุรี กาญจนบุรี จันทบุรี

ปราจีนบุรี นครราชสีมา

นครศรีธรรมราช ตรัง พัทลุง สตูล

ฉะเชิงเทรา

ที่มา: ศูนย์บริหารสถานการณ์ โควิด-19 (ศบค.) ข้อมูล ณ วันที่ 12 พฤศจิกายน 2564

กองยุทธศาสตร์และการวางแผนเศรษฐกิจมหภาค 15 พฤศจิกายน 2564 37

Economic Outlook NESDC

ในการแถลงข่าววันที่ 15 พฤศจิกายน 2564 สานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) คาดว่าเศรษฐกิจไทยปี 2565

จะขยายตัวร้อยละ 3.5 ? 4.5 โดยมีค่ากลางการประมาณการอยู่ที่ร้อยละ 4.0 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 1.2 ในปี 2564 สาหรับ

อัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะอยู่ในช่วงร้อยละ 0.9 ? 1.9 เทียบกับร้อยละ 1.2 ในปี 2564 และบัญชีเดินสะพัดเกินดุลที่ร้อยละ 1.0 ต่อ GDP

เทียบกับการขาดดุลร้อยละ 2.5 ต่อ GDP ในปี 2564

ประมาณการเศรษฐกิจปี 2565

องค์ประกอบของการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

1) การใช้จ่ายเพื่ออุปโภคบริโภค (1) การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.3 เร่งขึ้นจากร้อยละ 1.2

ในปี 2564 ตามการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2564 สอดคล้องกับ

สถานการณ์การแพร่ระบาดที่มีแนวโน้มผ่อนคลายลง และสัดส่วนผู้ได้รับวัคซีนที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ความเชื่อมั่นของประชาชน

ในการจับจ่ายใช้สอยดีขึ้น ประกอบกับการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวข้องตามมาตรการการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ

รวมทั้งแรงสนับสนุนจากการดาเนินมาตรการของภาครัฐเพิ่มเติม (2) การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคภาครัฐบาล คาดว่าจะขยายตัว

ร้อยละ 0.3 ชะลอลงจากร้อยละ 2.3 ในปี 2564 โดยเป็นผลจากการลดลงของกรอบรายจ่ายประจาภายใต้กรอบงบประมาณประจาปี

2565 วงเงิน 2,360,543 ล้านบาท เทียบกับกรอบวงเงิน 2,681,654 ล้านบาทในปีงบประมาณ 2564 แต่ยังมีแรงสนับสนุนให้การใช้จ่าย

รัฐบาลขยายตัวได้จากงบประมาณจากพระราชกาหนดเงินกู้ฯ 1 ล้านล้านบาท และพระราชกาหนดเงินกู้ฯ เพิ่มเติม 5 แสนล้านบาท

ที่คาดว่าจะมีการเบิกจ่ายเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจมากขึ้นในปี 2565

2) การลงทุนรวม คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.3 เทียบกับร้อยละ 4.4 ในปี 2564 โดยการลงทุนภาคเอกชน คาดว่าจะขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

ร้อยละ 4.2 เทียบกับร้อยละ 4.3 ในปี 2564 สอดคล้องกับแนวโน้มการฟื้นตัวของภาคการผลิตและการส่งออกตามการขยายตัวต่อเนื่อง

ของเศรษฐกิจและการค้าโลก ขณะที่การลงทุนภาครัฐคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.6 ต่อเนื่องจากร้อยละ 4.8 ในปี 2564 สอดคล้องกับ

กรอบรายจ่ายลงทุนภายใต้กรอบงบประมาณประจาปี 2565 วงเงิน 624,340 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากกรอบวงเงิน 604,308 ล้านบาท

ในปีงบประมาณ 2564 และกรอบงบลงทุนรัฐวิสาหกิจในปี 2565 วงเงิน 468,833 ล้านบาท (รวมรัฐวิสาหกิจที่เป็นบริษัทมหาชน)

เพิ่มขึ้นจากกรอบวงเงิน 432,937 ล้านบาท ในปีงบประมาณ 2564

3) มูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.9 เทียบกับร้อยละ 16.8 ในปี 2564 โดยคาดว่าปริมาณ

การส่งออกสินค้าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 ชะลอลงจากร้อยละ 13.3 ในปี 2564 ตามฐานการขยายตัวที่ปรับเข้าสู่แนวโน้มปกติมากขึ้น

ส่วนราคาสินค้าส่งออกคาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.0 ? 1.0 เทียบกับร้อยละ 3.5 ในปี 2564 สอดคล้องกับสมมติฐานราคาน้ามันดิบ

ขณะที่ การส่งออกบริการมีแนวโน้มฟื้นตัวตามการดาเนินมาตรการเปิดประเทศและการปรับตัวดีขึ้นของสถานการณ์การแพร่ระบาด

ทั้งในประเทศไทยและประเทศต้นทางนักท่องเที่ยว โดยในกรณีฐานคาดว่ารายรับจากนักท่องเที่ยวต่างชาติในปี 2565 จะอยู่ที่ 4.4

แสนล้านบาทเทียบกับ 1.3 แสนล้านบาทในปี 2564 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 238.0 ส่งผลให้โดยรวมคาดว่าปริมาณการส่งออกสินค้าและ

บริการในปี 2565 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.0 เทียบกับร้อยละ 10.0 ในปี 2564

4) มูลค่าการนาเข้าสินค้าในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.7 เทียบกับร้อยละ 23.2 ในปี 2564 โดยคาดว่าปริมาณ

การนาเข้าจะขยายตัวร้อยละ 4.7 เทียบกับร้อยละ 18.2 ในปีก่อน เป็นการขยายตัวตามอุปสงค์ภายในประเทศและภาคการส่งออก

แต่มีแนวโน้มชะลอลงตามฐานการขยายตัวที่เร่งขึ้นมากในปี 2564 ทั้งการนาเข้าสินค้าทุน สินค้าวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลาง ส่วนราคา

สินค้านาเข้าคาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ? 1.5 เทียบกับร้อยละ 5.0 ในปี 2564 สอดคล้องกับแนวโน้มการชะลอตัวของราคาน้ามัน

ขณะที่การนาเข้าบริการคาดว่าจะชะลอตัวลงจากที่ขยายตัวสูงในปีก่อนหน้า โดยรวมคาดว่าปริมาณการนาเข้าสินค้าและบริการในปี

2565 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 เทียบกับร้อยละ 17.4 ในปี 2564

5) ดุลการค้า คาดว่าจะเกินดุล 3.57 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ. ใกล้เคียงกับการเกินดุล 3.59 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ. ในปี 2564 ทั้งนี้

เมื่อรวมกับการขาดดุลบริการ คาดว่าจะส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลประมาณ 5.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. หรือคิดเป็นร้อยละ 1.0

ของ GDP เทียบกับการขาดดุล 1.27 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ. หรือคิดเป็นการขาดดุลร้อยละ 2.5 ของ GDP ในปี 2564

6) เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยทั้งปี 2565 จะอยู่ในช่วงร้อยละ 0.9 ? 1.9 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับ

ร้อยละ 1.2 ในปี 2564 ตามแรงกดดันของอุปสงค์ภายในประเทศที่มีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้น

กองยุทธศาสตร์และการวางแผนเศรษฐกิจมหภาค 15 พฤศจิกายน 2564 38

Economic Outlook NESDC

เศรษฐกิจไทยในปี 2565 มีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวอย่างชัดเจนต่อเนื่องจากฐานการขยายตัวที่อยู่ในเกณฑ์ต่าในปี 2564 ภายหลังจากสถานการณ์

การแพร่ระบาดคลี่คลายและการกระจายวัคซีนมากขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ นอกจากนี้ เศรษฐกิจ

ยังจะได้รับแรงสนับสนุนสาคัญจากการฟื้นตัวของภาคบริการโดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวอันเนื่องมาจากการผ่อนคลายมาตรการเพื่อเปิดรับ

นักท่องเที่ยวต่างชาติ อย่างไรก็ดี ยังมีข้อจากัดและปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในปี 2565 ให้ขยายตัวได้ต่ากว่าที่คาดไว้

ในกรณีฐาน อันเป็นผลจากความไม่แน่นอนของสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 ท่ามกลางการกลายพันธุ์ของไวรัส

รวมทั้งข้อจากัดจากเงื่อนไขด้านฐานะทางการเงินของภาคครัวเรือนและธุรกิจ ขณะเดียวกัน แรงขับเคลื่อนจากการขยายตัวของภาคการส่งออก

และการผลิตภาคอตุ สาหกรรมยงั มคี วามเสยี่ งทจี่ ไดร้ บั ผลกระทบจากความยดื เยอื้ ของปัญหาขอ้ จากดั ในหว่ งโซก่ รผลิตและโลจสิ ตกิ ส์ระหวา งประเทศ

และความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจและการเงินโลกท่ามกลางแรงกดดันอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น

ภายใต้แนวโน้มดังกล่าว การบริหารนโยบายเศรษฐกิจมหภาคในปี 2565 จึงควรให้ความสาคัญกับ

1) การป้องกันและควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดภายในประเทศให้อยู่ในวงจากัด และไม่นาไปสู่การกลับมาระบาดใหม่อีกครั้ง

โดยให้ความสาคัญกับ (1) การดาเนินมาตรการป้องกันและควบคุมโรคตามระดับพื้นที่สถานการณ์ โดยมุ่งเน้นการเพิ่มความเข้มข้น

ในการควบคุมและกากับติดตามอย่างเคร่งครัดตามมาตรการ COVID-free setting สาหรับองค์กรและหน่วยงาน และมาตรการ

Universal prevention สาหรับบุคคล (2) การเร่งรัดกระจายวัคซีนให้เพียงพอและทั่วถึงควบคู่ไปกับการเตรียมจัดหายา เวชภัณฑ์

และอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้เพียงพอต่อความต้องการและสารองไว้พร้อมใช้หากมีความจาเป็น (3) การดูแลควบคุมกิจกรรมเสี่ยงต่อ

การแพร่ระบาดของโรคและการลักลอบเข้าเมืองที่ผิดกฎหมาย (4) การเตรียมความพร้อมของแผนการดาเนินงานเพื่อรับมือหากมี

การระบาดรุนแรงอีกครั้ง

2) การสนับสนุนให้ภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบกลับมาฟื้นตัวได้ ควบคู่ไปกับการดูแลภาคเศรษฐกิจที่ยังมีข้อจากัดในการฟื้นตัวท่ามกลาง

ผลกระทบจากปัญหาชะงักงันของห่วงโซ่อุปทานและแนวโน้มต้นทุนการผลิตที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะภาคธุรกิจขนาดย่อมที่ยังประสบ

ปัญหาสภาพคล่องและภาระหนี้สิน โดยให้ความสาคัญกับ (1) การเร่งรัดติดตามมาตรการต่าง ๆ ทั้งด้านการเงินการคลังที่ได้

ดาเนินการไปแล้วให้สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่แท้จริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ และพิจารณามาตรการเสริมสภาพคล่องเพิ่มเติม

โดยเฉพาะในกลุ่มที่ยังมีข้อจากัดในการเข้าถึง อาทิ การปรับเงื่อนไขในมาตรการสินเชื่อฟื้นฟูเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ การเร่งรัดใ ห้

สถาบันการเงินช่วยเหลือด้านสภาพคล่องให้รวดเร็วและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายให้มากขึ้น และการพิจารณาวงเงินสินเชื่อเพิ่มเติมผ่าน

ธนาคารเฉพาะกิจของรัฐสาหรับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เพื่อให้สามารถเริ่มดาเนินธุรกิจได้ในระยะต่อไป

(2) การพิจารณามาตรการเพื่อช่วยเหลือแรงงานเพิ่มเติม โดยมุ่งเน้นการเสริมสร้างสมรรถนะกาลังแรงงานผ่านการยกระดับ (Upskill)

และปรับศักยภาพ (Reskill) เพื่อช่วยเหลือแรงงานในสาขาที่ได้รับผลกระทบซึ่งอาจต้องเปลี่ยนสายงานสายอาชีพใหม่ รวมทั้งแรงงานใน

กลุ่มผู้ประกอบการ SMEs และผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นเพื่อลดปัญหาการเลิกจ้างในระยะต่อไป (3) การประชาสัมพันธ์มาตรการ

ของภาครัฐให้ประชาชนและธุรกิจมีความเข้าใจและสามารถใช้ประโยชน์จากมาตรการที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ

3) การรักษาแรงกระตุ้นเศรษฐกิจจากการใช้จ่ายของภาคครัวเรือนและการท่องเที่ยวภายในประเทศ เพื่อให้เกิดเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบ

เศรษฐกิจและกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจในพื้นที่ต่าง ๆ ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง โดยให้ความสาคัญกับ (1) การติดตามและประเมินผล

มาตรการต่าง ๆ ที่ดาเนินการไปแล้วและอยู่ระหว่างดาเนินการ ควบคู่ไปกับการปรับมาตรการและดาเนินมาตรการเพิ่มเติมอย่างเหมาะสม

เพื่อให้สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป (2) การดูแลและแก้ไขปัญหา

หนี้สินของครัวเรือน เพื่อไม่ให้เป็นข้อจากัดของการขยายตัว โดยผลักดันมาตรการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ระยะยาวให้แก่ลูกหนี้ที่ได้รับ

ผลกระทบเพื่อให้สอดคล้องกับคาดการณ์รายได้และปัญหาของลูกหนี้แต่ละราย/กลุ่มเป็นสาคัญ ควบคู่ไปกับการสนับสนุนให้มีการลดภาระ

ดอกเบี้ยและสร้างแรงจูงใจในการรวมหนี้ รวมทั้งการดาเนินมาตรการเพิ่มเติมเพื่อบรรเทาภาระหนี้สินด้านการศึกษา การเช่าซื้อ และหนี้สินที่

เกิดจากการบริโภค และ (3) การดูแลรายได้ของเกษตรกรโดยเฉพาะในกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากราคาสินค้าเกษตรตกต่า

4) การขับเคลื่อนการส่งออกสินค้า ให้สามารถสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้อย่างต่อเนื่องควบคู่ไปกับการรักษาระดับการจ้างงาน

ในภาคการผลิต โดยให้ความสาคัญกับ (1) การขับเคลื่อนการส่งออกสินค้าสาคัญไปยังตลาดหลักที่มีการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ชัดเจน

และการสร้างตลาดใหม่ให้กับสินค้าที่มีศักยภาพ (2) การพัฒนาสินค้าเกษตร อาหาร และสินค้าอุตสาหกรรม ให้มีคุณภาพและมาตรฐาน

ตรงตามข้อกาหนดของประเทศผู้นาเข้า (3) การแก้ปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อระบบการขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์โดยเฉพาะการแก้ไข

ปัญหาการบริหารจัดการเรื่องการขนถ่ายสินค้าระหว่างท่าเรือกับจุดรับส่งสินค้าเพื่อลดระยะเวลาและต้นทุนการขนส่งให้แก่ผู้ประกอบการ

(4) การใช้ประโยชน์จากกรอบความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ควบคู่ไปกับการเร่งรัดการเจรจาความตกลงการค้า

เสรีที่กาลังอยู่ในขั้นตอนของการเจรจา และเตรียมศึกษาเพื่อเจรจากับประเทศคู่ค้าสาคัญใหม่ ๆ รวมทั้งการเร่งรัดกระบวนการพิจารณา

ในการตัดสินใจเข้าร่วมความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) โดยมุ่งเน้นผลประโยชน์ของประเทศเป็นสาคัญ

(5) การปกป้องความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนและการเพิ่มขึ้นของต้นทุนการผลิต

. ประเด็นการบริหารนโยบายเศรษฐกิจมหภาค

กองยุทธศาสตร์และการวางแผนเศรษฐกิจมหภาค 15 พฤศจิกายน 2564 39

Economic Outlook NESDC

5) การส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชน โดยให้ความสาคัญกับ (1) การเร่งสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนต่อแนวทางการควบคุมการระบาด

ภายในประเทศ (2) การเร่งรัดให้ผู้ประกอบการที่ได้รับอนุมัติและออกบัตรส่งเสริมการลงทุนในช่วงปี 2561 -2563 ให้เกิดการลงทุนจริง

โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการลงทุนที่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย (3) การแก้ไขปัญหาที่นักลงทุนและผู้ประกอบการต่างชาติเห็นว่า

เป็นอุปสรรคต่อการลงทุนและการประกอบธุรกิจ รวมทั้งปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคการผลิต (4) การดาเนินมาตรการส่งเสริม

การลงทุนเชิงรุกและอานวยความสะดวกเพื่อดึงดูดนักลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายให้เข้ามาลงทุนในไทยมากขึ้น (5) การส่งเสริม

การลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษต่าง ๆ ที่ได้ดาเนินการไปแล้ว รวมถึงขับเคลื่อนการเกิดของ

พื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษใน 4 ภาค (6) การขับเคลื่อนการลงทุนพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง

ที่สาคัญ ๆ ให้เป็นไปตามแผนที่กาหนดไว้ และ (7) การพัฒนากาลังแรงงานทักษะสูงเพื่อรองรับกับอุตสาหกรรมที่เน้นเทคโนโลยี

และนวัตกรรมเข้มข้นโดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่

6) การขับเคลื่อนการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ ประกอบด้วย (1) การเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจาปี 2565 ให้ได้ไม่น้อยกว่า

ร้อยละ 93.4 ของกรอบงบประมาณทั้งหมด และงบลงทุนรัฐวิสาหกิจให้ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของงบประมาณทั้งหมด

รวมทั้งการเบิกจ่ายโครงการตามพระราชกาหนดฯ เงินกู้วงเงิน 1 ล้านล้านบาท และ 5 แสนล้านบาทในส่วนที่เหลือ (2) การขับเคลื่อน

การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของภาครัฐทั้งในด้านการลงทุนพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง

ให้เป็นไปตามแผนงาน โดยเฉพาะการเร่งรัดดาเนินการในโครงการที่สาคัญ ๆ ที่ได้มีการอนุมัติให้ดาเนินการแล้ว อาทิ โครงการก่อสร้าง

รถไฟทางคู่ โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน โครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง เพื่อสร้างโอกาสและยกระดับคุณภาพชีวิตไปในเขต

ชานเมืองและภูมิภาคของประเทศ รวมทั้งมุ่งเน้นโครงการลงทุนสาคัญด้านพลังงานโดยเฉพาะการลงทุนโครงข่ายสายส่งไฟฟ้าอัจฉริยะ

และการสร้างความมั่นคงทางพลังงานสะอาด เป็นต้น

) การติดตามและเ ระวังความผันผวนของภาคเศรษฐกิจต่างประเทศที่มีแนวโน้มจะสร้างแรงกดดันและส่งผลกระทบซ้าเติมต่อ

เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และการดูแลเสถียรภาพทางการเมืองเพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อความเชื่อมั่นและการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ยังมี

ความเปราะบาง

ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ