(ต่อ4)ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสสอง และแนวโน้มปี 2551

ข่าวเศรษฐกิจ Friday September 5, 2008 15:36 —สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

                    - ค่าเงินบาทเฉลี่ยไตรมาสสองแข็งค่าขึ้นแต่ดัชนีค่าเงินบาทอ่อนค่าลง ค่าเงินบาทในไตรมาสที่สองมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 32.28 
บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.32 และ 6.81 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าและระยะเดียวกันของปี 2550 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม
ค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ. มีแนวโน้มอ่อนค่าลงอย่างรวดเร็วในช่วงเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน จากปัจจัยสำคัญ 3 ประการ คือ 1)
เครื่องชี้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ชี้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ หลีกเลี่ยงภาวะถดถอยได้ในช่วงครึ่งแรกของปีและมีการขยายตัวได้ดีกว่าที่ตลาดคาดการณ์ ในขณะเดียว
กันก็ประเทศอื่น ๆ นั้นได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันและการชะลอตัวของการส่งออกมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ โดยเฉพาะเศรษฐกิจญี่ปุ่น ยูโรโซน และ
สหราชอาณาจักร ทำให้นักลงทุนส่วนหนึ่งเริ่มพิจารณาว่าสหรัฐฯ เริ่มกลับมาเป็น save-heaven ของการลงทุนโดยเฉพาะเมื่อเทียบกับญี่ปุ่นและยุโรป
2) ดุลการชำระเงินของไทยลดลง อันเป็นผลจากการขาดดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลลดลงซึ่งสะท้อนถึงความอ่อนแอของโครงสร้างเศรษฐกิจ
ไทย ในขณะเดียวกันก็มีการเคลื่อนย้ายเงินทุนออกสุทธิโดยนักลงทุนต่างชาติที่โยกเงินกลับเพื่อชดเชยความเสียหายจากการลงทุนในตลาดยุโรปและ
สหรัฐฯ รวมทั้งมีการชำระหนี้ต่างประเทศของภาคเอกชนเพิ่มขึ้นนอกจากนี้ยังมีการคาดการณ์ว่าค่าเงินบาทจะอ่อนลงต่อเนื่องอันเนื่องมาจากภาวะเงิน
เฟ้อที่สูง การพึ่งพิงน้ำมันนำเข้าจำนวนมาก และแนวโน้มฐานะดุลบัญชีเดินสะพัดที่อ่อนแอลง และ 3) แนวโน้มความอ่อนแอของค่าเงินในภูมิภาค โดย
เฉพาะค่าเงินวอน ค่าเงินเปโซ และค่าเงินรูปี อันเนื่องมาจากปัญหาเงินเฟ้อ การพุ่งขึ้นของราคาน้ำมันและความอ่อนแอของดุลการค้า ซึ่งเหตุผลทั้ง
สองประการส่งผลให้ตลาดคาดการณ์ว่าค่าเงินในภูมิภาคมีแนวโน้มอ่อนค่าลง และกดดันให้ค่าเงินบาทอ่อนลงตาม เมื่อพิจารณาค่าเงินบาทเทียบกับค่าเงิน
สกุลต่าง ๆ พบว่าค่าเงินบาทแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักและสกุลภูมิภาคบางสกุล แต่อ่อนค่าลงเมื่อเทียบค่าเงินเยนค่าเงินหยวน ค่าเงินยูโร และ
ค่าเงินสิงคโปร์ดอลลาร์ ทำให้ดัชนีค่าเงินบาท (Nominal Effective Exchange Rate) เฉลี่ยในไตรมาสที่สองอ่อนค่าลงที่ร้อยละ 0.72 แต่
อัตราเงินเฟ้อของไทยที่เพิ่มขึ้นเร็วกว่าในหลายประเทศ ทำให้ดัชนีค่าเงินบาทที่แท้จริง (Real Effective Exchange Rate) เฉลี่ยในไตรมาสที่
สองแข็งค่าขึ้นที่ร้อย ละ 1.98 ในเดือนกรกฎาคม 2551 ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงอีก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 33.45 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.หรืออ่อนค่าลง
ร้อยละ 0.91 จากค่าเฉลี่ยเดือนมิถุนายนจากแรงซื้อเงินดอลลาร์ฯ ของผู้นำเข้าและนักลงทุนต่างชาติ และความอ่อนแอของสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาค
- ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องมูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์เฉลี่ยต่อวันเท่ากับ 20.0 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น
จาก 18.8 พันล้านบาทในไตรมาสหนึ่ง ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปิด ณ สิ้นไตรมาสที่ 768.6 จุด ลดลงจาก 817.0 จุด ณ สิ้นไตรมาสหนึ่ง หรือลดลง
ร้อยละ 5.9 นักลงทุนต่างชาติมียอดขายสุทธิ 36.1 พันล้านบาท ในช่วงต้นไตรมาสดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากผลประกอบการของ
ธุรกิจกลุ่มพลังงานและธนาคารสูงกว่าคาดการณ์ ตามการเพิ่มขึ้นของระดับราคาน้ำมันในตลาดโลก ทำให้ดัชนีหลักทรัพย์ปิดตัวสูงสุดในช่วงกลางไตรมาส
ที่ 884.19 จุด ในช่วงครึ่งหลังของไตรมาส ดัชนีราคาและมูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์ปรับตัวลดลงอย่างรุนแรงเนื่องจากแรงเทขายของนักลงทุนต่าง
ชาติ จากสถานการณ์ความไม่แน่นอนทางการเมืองในประเทศ อีกทั้งการชะลอตัวทางเศรษฐกิจโลกจากปัญหาเงินเฟ้อ และระดับราคาน้ำมัน
และสินค้าโภคภัณฑ์ที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้นักลงทุนย้ายเงินลงทุนไปที่ตลาดตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงต่ำกว่า ซึ่งการปรับตัวลดลงของตลาดหุ้นไทยเป็นไปในทิศ
ทางเดียวกับตลาดหุ้นในภูมิภาค แต่ยังลดลงในระดับที่น้อยกว่าประเทศอื่นๆ ในเดือนกรกฎาคม 2551 ภาวะการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ยังลดลงต่อ
เนื่อง ทั้งมูลค่าการซื้อขายและดัชนีราคา จากปัญหาการเมืองในประเทศ และความไม่ชัดเจนในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของภาครัฐประกอบกับ
เศรษฐกิจของสหรัฐมีความเสี่ยงต่อการล้มละลายของสถาบันการเงินหลัก ซึ่งเป็นผลมาจากปัญหา sub-prime
- มูลค่าซื้อขายตราสารหนี้เพิ่มขึ้น มูลค่าซื้อขายเฉพาะธุรกรรม outright เฉลี่ยต่อวัน เพิ่มขึ้นจาก 62.8 พันล้าน
บาทในไตรมาสแรก เป็น 78.2 พันล้านบาท ในไตรมาสที่สอง โดยนักลงทุนต่างชาติมียอดซื้อสุทธิ 26.5 พันล้านบาท ลดลงจาก 29.08 พันล้านบาทใน
ไตรมาสแรก ดัชนีราคาปรับตัวลดลงเล็กน้อย อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาล (Yield) ปรับตัวเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะตราสารระยะกลางมีอัตราผล
ตอบแทนเพิ่มขึ้น174-198 basis points สะท้อนการคาดการณ์ของตลาดต่อการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อแก้
ปัญหาเงินเฟ้อ ในเดือนกรกฎาคมมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันลดลงมาเล็กน้อยอยู่ที่ 77.2 พันล้านบาท โดยนักลงทุนต่างชาติมียอดซื้อสุทธิ 2.17
พันล้านบาท
- การระดมทุนภาคเอกชนสูงกว่าในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว แต่ชะลอตัวลงจากไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับทิศทางการลง
ทุนภาคเอกชนที่ยังมีการขยายตัว ในไตรมาสที่สองภาคเอกชนมีการระดมทุน (ไม่รวมตราสารระยะสั้น) รวม 56.0 พันล้านบาท เทียบกับ 101.9
พันล้านบาทในไตรมาสที่หนึ่ง และ 49.6 พันล้านบาทในไตรมาสที่สองของปี 2550 ซึ่งเป็นการออกหุ้นเพิ่มทุนของภาคการเงิน 625 ล้านบาท และภาค
ธุรกิจอื่น 17.7 พันล้านบาท ทั้งนี้ เป็นการเสนอขายหุ้นใหม่ต่อประชาชนทั่วไปครั้งแรก (IPO) คิดเป็นร้อยละ 82.37 ของมูลค่าการทำธุรกรรมตรา
สารทุนทั้งไตรมาส และมีการระดมทุนในรูปหุ้นกู้ 37.7 พันล้านบาท ซึ่งเป็นการระดมทุนของภาคการเงิน 20.5 พันล้านบาท และภาคธุรกิจอื่น 17.3
พันล้านบาท
- ผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนขยายตัวสูง ในไตรมาสนี้บริษัทจดทะเบียนมีกำไรสุทธิรวม 161.6 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น
จากไตรมาสเดียวกันของปี 2550 ร้อยละ 67.7 โดยภาคธุรกิจที่มีผลกำไรสูง ได้แก่ กลุ่มพลังงานและสาธารณูปโภคกลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร
กลุ่มวัตถุดิบและสินค้าอุตสาหกรรม สำหรับภาคธุรกิจการเงินมีกำไรเพิ่มขึ้นร้อยละ 349.2 เนื่องจากผลกำไรปีที่แล้วอยู่ในระดับต่ำซึ่งเป็นผลจากการกัน
สำรองตามหลักเกณฑ์ใหม่ ทำให้เงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงของระบบธนาคารพาณิชย์สูงขึ้นเป็นร้อยละ 15.2 จากร้อยละ 14.7 ในไตรมาสก่อน
1.2 ภาพรวมเศรษฐกิจโลกในไตรมาสที่สองปี 2551
เศรษฐกิจโลกในไตรมาสที่สอง ปี 2551 มีแนวโน้มชะลอตัวชัดเจน เนื่องจากผลกระทบของ Sub-prime ที่ยังคงยืดเยื้อส่งผลต่อภาคการ
เงิน และราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่เพิ่มสูงอย่างต่อเนื่องจากต้นทุนราคาน้ำ มันและอาหาร โดยเศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอตัวตามการลงทุนในที่อยู่อาศัยที่หดตัว
ต่อเนื่อง จากปัญหาวิกฤต Subprime และได้ส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังตลาดการเงินในสหภาพยุโรป ทำให้ความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจลดลงเช่นเดียว
กับเศรษฐกิจญี่ปุ่นที่ชะลอตัวอย่างชัดเจนตามการใช้จ่ายภายในประเทศ ในขณะที่เศรษฐกิจจีนชะลอตัวตามการส่งออกที่เริ่มชะลอลงในขณะที่การนำเข้า
เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจในประเทศภูมิภาคเอเชียยังคงขยายตัวดีโดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการค้าในภูมิภาคที่ยังขยายตัวในเกณฑ์สูง และอุป
สงค์ภายในประเทศที่ขยายตัวได้ดี
เศรษฐกิจสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 1.8 ชะลอจากร้อยละ 2.5 ในไตรมาสก่อน (หรือร้อยละ 1.9, annualized qoq) เป็นการชะลอ
ตัวตามอุปสงค์ภายในประเทศ โดยการบริโภคภาคเอกชนชะลอลง โดยเป็นผลจากการบริโภคหมวดสินค้าคงทนที่หดตัว อย่างไรก็ดี การบริโภคหมวด
สินค้าไม่คงทนขยายตัวดีขึ้นส่วนหนึ่งเนื่องจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เริ่มส่งผลต่อการจับจ่ายใช้สอยของประชาชนในปลายเดือนเมษายนส่วนการลง
ทุนภาคเอกชนในหมวดที่อยู่อาศัยยังคงหดตัวตามภาวะอสังหาริมทรัพย์ ยอดขายบ้านยังคงปรับตัวลดลง โดยเฉพาะบ้านใหม่ ในขณะที่ยอดขายบ้านมือสอง
เริ่มมีแนวโน้มที่จะ level off ปริมาณบ้านสร้างใหม่ปรับลดลง เนื่องจากผู้ประกอบการต้องการระบายสต็อกที่มีอยู่สูง ซึ่งสอดคล้องกับตัวเลขการลงทุน
ในที่อยู่อาศัยที่หดตัว และคาดว่าสต็อกบ้านจะยังคงสูงในระยะต่อไปเนื่องจากยอดขายบ้านที่ลดลงประกอบกับจำนวนบ้านที่ถูกยึดและขายทอดตลาดสูงขึ้น
ซึ่งจะกดดันให้ราคาที่อยู่อาศัยการก่อสร้างบ้านใหม่ลดลงต่อเนื่อง
ในไตรมาสนี้สินค้าคงคลังลดลงมากในหมวดสินค้าอุตสาหกรรม เนื่องจากการลดปริมาณการผลิตโดยเฉพาะในหมวดยานพาหนะ อย่างไรก็
ตามการส่งออกที่ขยายตัวสูง ในขณะที่การนำเข้าลดลง ส่งผลให้การส่งออกสุทธิเป็นแรงสนับสนุนหลักในไตรมาสนี้ และช่วยชดเชยการลดลงของสต็อก
ได้ โดยรวมครึ่งปีแรก เศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 1.4 (annualized qoq) และร้อยละ 2.2 (yoy) ด้านเสถียรภาพทางเศรษฐกิจนั้นแรงกดดันเงิน
เฟ้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในไตรมาสที่สอง อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 4.4 โดยในเดือนกรกฎาคมเพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 5.6 สูงสุดใน
รอบ 17 ปี ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 2.3 ใกล้เคียงกับร้อยละ 2.4 ในไตรมาสก่อน
- เศรษฐกิจกลุ่มประเทศยูโรโซน ขยายตัวร้อยละ 1.5 ชะลอจากร้อยละ 2.1 ในไตรมาสก่อน (หรือ หดตัวร้อยละ
0.2 ,qoq) เป็นการชะลอตัวอย่างชัดเจนในทุกประเทศ โดยที่เห็นได้ชัดเจน คือ การชะลอตัวของเศรษฐกิจขนาดใหญ่ในกลุ่ม ประกอบด้วย เยอรมัน
ฝรั่งเศส อิตาลี และสเปน ซึ่งเป็นการชะลอตัวตามอุปสงค์ภายในประเทศที่อ่อนแอลงเนื่องจากอัตราเฟ้อที่เร่งสูงขึ้นต่อเนื่อง และส่งผลให้ความเชื่อมั่น
ปรับตัวลดลงประกอบกับการเพิ่มความเข้มงวดในการปล่อยกู้ของธนาคารส่งผลกระทบต่อการลงทุนของภาคธุรกิจ โดยเศรษฐกิจเยอรมันในไตรมาสสอง
ขยายตัวร้อยละ 1.7 ชะลอจากร้อยละ 2.6 เศรษฐกิจฝรั่งเศส ขยายตัวร้อยละ 1.1 ชะลอจากร้อยละ 2.0 ในไตรมาสแรก สำหรับเศรษฐกิจอิตาลี
ไม่มีการขยายตัวในไตรมาสนี้ ซึ่งถือเป็นระดับที่ต่ำสุดในรอบ 5 ปี เศรษฐกิจสเปน ขยายตัวร้อยละ 1.8 ลดลงจากร้อยละ 2.7 ตามการก่อสร้างและ
ภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ชะลอลงมาก ในส่วนของแรงกดดันต่อเงินเฟ้อนั้นเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากราคาอาหารและน้ำมัน โดยเงินเฟ้อเฉลี่ยของกลุ่ม
ประเทศยูโรในไตรมาสที่สอง อยู่ที่ร้อยละ 3.6 สูงขึ้นจากร้อยละ 3.4 ในไตรมาสก่อน สำหรับในเดือนกรกฎาคม เงินเฟ้อทั่วไปเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0
ทำให้เป็นอุปสรรคสำคัญต่อการดำเนินนโยบายทางการเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่มีสัญญาณการชะลอตัวอย่างชัดเจน โดยในช่วงก่อนหน้า ธนาคารกลาง
สหภาพยุโรป (ECB) ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่กลางปี 2550 จากเดิมร้อยละ 4.0 เป็นร้อยละ 4.25 ในวันที่ 3 ก.ค. เพื่อลดแรง
กดดันเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น
- เศรษฐกิจญี่ปุ่น ขยายตัวร้อยละ 1.0 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 1.2 ในไตรมาสก่อน โดยการบริโภคและการลงทุนมี
แนวโน้มชะลอตัวชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนในด้านที่อยู่อาศัยที่ลดลงถึงร้อยละ 15.6 เช่นเดียวกับการส่งออกที่ชะลอลงมากโดยขยายตัวร้อย
ละ 6.4 ลดลงจากร้อยละ 11.1 ในไตรมาสแรก เนื่องจากผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักในขณะที่การ
ส่งออกไปยังตลาดเอเชียยังขยายตัวได้ดี สำหรับอัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นจากปัจจัยด้านต้นทุนราคาน้ำมัน แต่นับว่ายังอยู่ในระดับต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับ
ประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเนื่องมาจากเศรษฐกิจอยู่ในภาวะเงินฝืดมานาน ในขณะเดียวกันความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลงเหลือเพียง 32.2 ซึ่งเป็น
ระดับที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 2525
- เศรษฐกิจกลุ่มภูมิภาคเอเชีย ชะลอตัวลงแต่ยังขยายตัวในอัตราที่สูง แม้ว่าหลายๆ ประเทศจะเผชิญกับภาวะเงินเฟ้อสูงอันเนื่องมา
จากราคาน้ำมันและอาหารที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มประเทศที่มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูง
(Emerging Country) โดยการบริโภคและการลงทุนยังคงขยายตัวได้ดี เช่นเดียวกับการส่งออกที่ยังเป็นปัจจัยหลักที่สนับสนุนการขยายตัวทาง
เศรษฐกิจของประเทศ แม้ว่าการส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกาจะได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ แต่การส่งออกไปยังประเทศภายใน
ภูมิภาค (Intra-Regional Export) ยังขยายตัวในอัตราสูง ส่งผลให้การส่งออกในภาพรวมของประเทศในภูมิภาคยังขยายตัวได้ดี
- เศรษฐกิจเกาหลีใต้ ขยายตัวร้อยละ 4.8 ชะลอลงจากร้อยละ 5.8 ในไตรมาสก่อน โดยการส่งออกที่มีการขยายตัวถึง
ร้อยละ 12.2 แม้ว่าการส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักนั้น มีมูลค่าลดลงแต่การส่งออกไปยังประเทศในภูมิภาคเอเชียมีมูลค่าเพิ่ม
สูงขึ้น ทำให้ในภาพรวมการส่งออกจึงยังขยายตัวดีอัตราเงินเฟ้อในเดือนกรกฎาคมอยู่ที่ร้อยละ 5.9 (yoy) ซึ่งถือได้ว่าเป็นอัตราที่สูงที่สุดในรอบ 10
ปี จนอาจจะส่งผลต่ออุปสงค์ภายในประเทศและผลประกอบการของเอกชนได้ โดยในไตรมาสนี้การบริโภคของเอกชนลดลงร้อยละ 0.1 (qoq)
- เศรษฐกิจจีน ขยายตัวร้อยละ 10.1 แม้จะชะลอตัวลงเล็กน้อยจากผลกระทบของอัตราเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้น และ
ภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว แต่เนื่องจากอุปสงค์ภายในประเทศของจีนมีขนาดใหญ่และยังขยายตัวได้ดีทำให้เศรษฐกิจของจีนได้รับผลกระทบเพียงเล็ก
น้อยจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ส่งผลให้รัฐบาลยังคงดำเนินนโยบายการเงินแบบตึงตัวเพื่อชะลอการเติบโตทางเศรษฐกิจที่อาจร้อนแรงเกินไป
อาทิ การขึ้นอัตราดอกเบี้ยและการควบคุมกฎเกณฑ์การปล่อยสินเชื่อสำหรับสถานการณ์แผ่นดินไหวในมณฑลเสฉวนเมื่อเดือนพฤษภาคมนั้น ในภาพรวมไม่ส่ง
ผลต่อเศรษฐกิจของประเทศมาก เนื่องจากพื้นที่ของความเสียหายที่เกิดขึ้นมีสัดส่วนเพียงเล็กน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับขนาดเศรษฐกิจของจีน ในด้านการ
ค้าระหว่างประเทศ แม้ว่าการนำเข้าจะเร่งตัวขึ้น แต่การส่งออกยังคงขยายตัวสูงส่งผลให้ดุลการค้ายังคงเกินดุล ส่วนเงินลงทุนโดยตรงจากต่าง
ประเทศยังคงเพิ่มขึ้น โดยในครึ่งปีแรกของปี 2551 เงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมีมูลค่า 52,388 ล้านเหรียญสรอ. ในขณะที่ตลอดทั้งปี 2550 มี
มูลค่าเพียง 82,658 ล้านเหรียญ สรอ.
- เศรษฐกิจอินเดีย ยังขยายตัวสูงแม้ว่าจะชะลอตัวลงเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค โดยเป็นผลกระทบจากเงินเฟ้อที่
เร่งตัวขึ้นเนื่องจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น และค่าเงินรูปีที่อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สรอ. ซึ่งแรงกดดันเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นได้ส่งผลโดยตรงต่อ
เศรษฐกิจในภาคต่างๆ ของประเทศ แม้ว่าปัจจุบันรัฐบาลได้มีการปรับขึ้นราคาน้ำมันกว่าร้อยละ 10 แต่ก็ยังต่ำกว่าราคาน้ำมันที่ปรับขึ้นในตลาดโลก จึง
ทำให้รัฐบาลต้องอุดหนุนราคาน้ำมันและค่าใช้จ่ายด้านพลังงานเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ธนาคารกลางของอินเดียได้มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย รวมถึง
ปรับเพิ่มอัตราเงินสำรองของธนาคารเป็นร้อยละ 8.75 เพื่อแก้ปัญหาเงินเฟ้อที่สูงขึ้นดังกล่าว อย่างไรก็ตามอัตราเงินเฟ้อในเดือนมิถุนายนยังคงเพิ่มสูง
ขึ้นเป็นร้อยละ 11.9
- เศรษฐกิจอินโดนีเซีย ยังขยายตัวได้ดีที่ร้อยละ 6.4 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนที่ร้อยละ 6.3 โดยแรงสนับสนุนหลักมาจาก
การส่งออกที่มีการขยายตัวถึงร้อยละ 16.7 สำหรับอัตราเงินเฟ้อในเดือนกรกฎาคมสูงถึงร้อยละ 11.9 โดยช่วงครึ่งปีแรกอัตราเงินเฟ้อสูงถึงร้อยละ 7.4
ในขณะที่ปีก่อนอัตราเงินเฟ้อในช่วงครึ่งปีแรกเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 2.1 ทั้งนี้ธนาคารกลางอินโดนีเซียได้ทำการขึ้นอัตรา
ดอกเบี้ยถึง 3 ครั้งในช่วงเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม เพื่อรักษาระดับเงินเฟ้อไม่ให้เพิ่มสูงเกินไปรวมถึงเพื่อลดการคาดการณ์เงินเฟ้อ โดยในปัจจุบัน
อัตราดอกเบี้ยอินโดนีเซียอยู่ที่ร้อยละ 9.0
- เศรษฐกิจมาเลเซีย ชะลอตัวเล็กน้อยอันเป็นผลมาจากแรงกดดันทางด้านเงินเฟ้อและภาวะของเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว
ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อในเดือนมิถุนายนอยู่ที่ร้อยละ7.7 แม้ว่ามาเลเซียจะเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมันแต่จากการปรับโครงสร้างราคาพลังงานเมื่อวันที่ 4
มิถุนายน 2551 ทำให้ราคาพลังงานในประเทศใกล้เคียงกับราคาต่างประเทศมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสินค้าและค่าครองชีพของประชาชนสูง
ขึ้น ทางด้านนโยบายการเงิน ธนาคารกลางมาเลเซียตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ร้อยละ 3.5 ซึ่งเป็นอัตราที่คงไว้ตั้งแต่ เมษายน 2549 ทั้งนี้ทาง
ธนาคารกลางมาเลเซียคาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อในครึ่งปีหลังของปีจะลดต่ำลง
- เศรษฐกิจเวียดนาม ขยายตัวร้อยละ 5.8 ชะลอลงจากไตรมาสแรกที่ร้อยละ 7.5 โดยอัตราเงินเฟ้อในเดือน
มิถุนายนเพิ่มสูงถึงร้อยละ 26.8 นับเป็นอัตราสูงที่สุดในภูมิภาค โดยมีสาเหตุหลักมาจากราคาพลังงานและอาหาร รวมถึงราคาอสังหาริมทรัพย์ที่เพิ่มสูง
ขึ้นมากนอกจากนี้เวียดนามยังประสบปัญหาขาดดุลบัญชีเดินสะพัดและดุลการค้า จนส่งผลให้ค่าเงินดองอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ธนาคารกลางของ
เวียดนามได้มีความพยายามที่จะปกป้องค่าเงินดอง จนทำให้เงินทุนสำรองระหว่างประเทศลดต่ำลง และในเดือนมิถุนายนทางธนาคารกลางเวียดนามยัง
ได้ทำการลดค่าเงินลงอีกร้อยละ 1.96 ส่งผลให้อัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 16,461 ดองต่อเหรียญ สรอ. นอกจากนี้ผลจากอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น
ธนาคารกลางเวียดนามจึงได้ทำการปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นอีกร้อยละ 2 ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงอยู่ที่ร้อยละ 14
(ยังมีต่อ).../2. ประมาณการ..

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ