(ต่อ5)ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสสอง และแนวโน้มปี 2551

ข่าวเศรษฐกิจ Friday September 5, 2008 16:01 —สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

2. ประมาณการเศรษฐกิจปี 2551
2.1 แนวโน้มเศรษฐกิจโลกในครึ่งหลังและทั้งปี 2551: เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอตัวต่อเนื่องในครึ่งหลังของปี
อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ
(อัตราการเปลี่ยนแปลงจากระยะเดียวกันของปีที่ผ่านมา %)
2549 2550 2551 2551f 2551f
Q1 Q2 Q3 Q4 รวม Q1 Q2 ณ เม.ย. ณ ส.ค.
โลก 5.3 4.6 5.0 5.3 4.7 5.1 4.8 n.a. 3.8 4.0
สหรัฐอเมริกา 2.9 1.5 1.9 2.8 2.5 2.0 2.5 1.8 1.0 1.6
กลุ่มยุโรปโซน 2.8 3.1 2.5 2.6 2.2 3.0 2.1 1.5 1.4 1.6
ญี่ปุ่น 2.4 2.8 1.6 1.9 1.8 2.1 1.2 1.0 1.4 1.2
สิงคโปร์ 9.4 6.4 8.7 8.9 5.4 7.7 6.9 2.1 4.0 4.0
เกาหลีใต้ 5.1 4.0 4.9 5.2 5.7 5.0 5.8 4.8 4.2 4.8
ฟิลิปปินส์ 5.4 7.1 7.5 6.6 7.4 7.2 5.2 n.a. 5.8 5.6
มาเลเซีย 5.9 5.5 5.7 6.7 7.3 6.3 7.1 n.a. 5.0 5.5
จีน 11.6 11.1 11.9 11.5 11.2 11.9 10.6 10.1 9.3 10.0
เวียดนาม 7.9 7.7 8.8 8.7 9.3 8.2 7.5 6.5 7.3 6.8
ที่มา จาก CEIC หน่วยงานภาครัฐและค่าเฉลี่ยจากหลายแหล่ง
ธนาคารกลางที่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปีนี้
ไตรมาสแรก ไตรมาสสอง ไตรมาสสาม
ออสเตรเลีย (2) โปแลนด์ (3) บราซิล (2) ปากีสถาน กลุ่มยูโร
ชิลี โรมาเนีย (2) ชิลี เปรู (2) บราซิล
เชค รัสเซีย เดนมาร์ก ฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์
โคลัมเบีย เซอร์เบีย (2) ฮังการี (2) โปแลนด์ ไทย
ไอซ์แลนด์ สวีเดน ไอซ์แลนด์ โรมาเนีย อินเดีย
อิสราเอล ไต้หวัน อินเดีย (2) รัสเซีย (2)
มอลโดว่า ยูเครน อิสราเอล เซอร์เบีย (2)
เปรู แมกซิโก แอฟริกาใต้ (2)
มอลโดวา ตุรกี (2)
นอร์เวย์ (2) ยูเครน
ประเด็นหลักของเศรษฐกิจโลกในครึ่งหลังปี 2551 มีดังนี้
(1) เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังไม่ผ่านพ้นจุดต่ำสุดและมีแนวโน้มชะลอตัวต่อเนื่อง: สถานการณ์อสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐฯ ยังไม่ผ่านพ้นจุดต่ำ สุด
เมื่อพิจารณาจากเครื่องชี้ด้านอสังหาริมทรัพย์ล่าสุด เช่น ในเดือนกรกฎาคมจำนวนบ้านสร้างใหม่ลดลงร้อยละ 11 และจำนวนที่อยู่อาศัยที่ขออนุญาตก่อ
สร้างลดลงร้อยละ 17.7 ลดลงมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์เอาไว้ และจากปัจจัยข้อจำกัดและผลกระทบจากปัญหาในภาคการเงินและอสังหาริมทรัพย์ที่ส่ง
ผลกระทบต่อเนื่องต่อภาคเศรษฐกิจจริงอื่น ๆ เนื่องจากการยกระดับมาตรฐานสินเชื่อให้มีความเข้มงวดมากขึ้น และความต้องการสินค้าเกี่ยวเนื่องลด
ลง ดังนั้นจึงคาดว่าเศรษฐกิจอเมริกาในช่วงไตรมาสที่ 3 และไตรมาสที่ 4 จะขยายตัวประมาณร้อยละ 0.5 และร้อยละ 0.2 ตามลำดับ ซึ่งจะส่งผล
ให้อัตราการขยายตัวทั้งปีอยู่ที่ประมาณร้อยละ 1.6 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 2.0 ในปี 2550 โดยที่ทั้งการใช้จ่ายครัวเรือน การลงทุนภาคเอกชน และ
การส่งออกสุทธิมีแนวโน้มชะลอตัว เนื่องจากปัจจัย ดังนี้
- แรงกระตุ้นจากมาตรการการคืนภาษีต่อการใช้จ่ายหมดไป
- ในขณะที่ความมั่งคั่งของครัวเรือนยังลดลงอันเนื่องจากราคาสินทรัพย์ที่ยังลดลงต่อเนื่อง และการจ้างงานที่ยังอยู่ในภาวะ
อ่อนแอโดยมีอัตราว่างงานในระดับถึงร้อยละ 5.3 ในไตรมาสสอง
- มาตรฐานด้านสินเชื่อเข้มงวดมากขึ้นจะส่งผลกระทบต่อทั้งการใช้จ่ายและการลงทุน ผลการสำรวจ ยังมีปัญหาฐานะการ
เงินของหลายสถาบันการเงินหลักและล่าสุดมีความเสียหายของ Fannie Mae และ Freddie Mac ที่คาดว่าจะส่งผลซ้ำเติมให้ตลาดการเงินสหรัฐฯ
อยู่ในภาวะตึงตัวมากขึ้น (credit crunch) และส่งผลกระทบต่อการขยายสินเชื่ออันเนื่องมาจากการที่มาตรฐานสินเชื่อมีความเข้มงวดมากขึ้นและ
ความกังวลที่เพิ่มขึ้นจากการที่การผิดนัดชำระหนี้มีมากขึ้น
- ราคาน้ำมันที่ยังอยู่ในเกณฑ์สูง นอกจากจะกระทบการใช้จ่ายครัวเรือนแล้ว ยังจะส่งผลกระทบต่อผลประกอบการของภาค
ธุรกิจเอกชน
- ความเชื่อมั่นของประชาชนลดลง
- การชะลอตัวของเศรษฐกิจเอเชีย และยุโรปจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกของสหรัฐฯ ทั้งนี้การขยายตัวที่สูงมากกว่าที่คาด
ไว้ในไตรมาสสองที่ผ่านมานั้นได้รับแรงสนับสนุนจากการส่งออกสุทธิที่สูงขึ้นด้วย
(ยังมีต่อ).../(2) เศรษฐกิจเอเชีย..

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ