(ต่อ3)ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สี่และทั้งปี 2551 และแนวโน้มปี 2552

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday February 25, 2009 14:54 —สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

  • ฐานะการคลัง : ไตรมาสแรกปีงบประมาณ 2552 ขาดดุลเงินสดค่อนข้างสูง ในไตรมาสที่ 1 ของปีงบประมาณ(ตุลาคม — ธันวาคม
2551) รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลังทั้งสิ้น 275,337 ล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีงบประมาณก่อนร้อยละ 16.6 โดยภาษีหลักเกือบทุกประเภทจัด
เก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ ขณะที่มีการเบิกจ่ายงบประมาณ 406,194 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีงบประมาณก่อนร้อยละ 2.8 ทำให้ขาดดุลงบ
ประมาณ 129,003 ล้านบาท เทียบกับขาดดุลงบประมาณ 62,996 ล้านบาทในช่วงเดียวกันของปีงบประมาณก่อน และเมื่อรวมการขาดดุลเงินนอกงบ
ประมาณ 79,131 ล้านบาท ทำให้รัฐบาลขาดดุลเงินสดก่อนกู้จำนวน 208,134 ล้านบาท เทียบกับขาดดุล 116,221 ล้านบาท ในช่วงเดียวกันของปีงบ
ประมาณก่อน ทั้งนี้รัฐบาลได้ชดเชยการขาดดุลด้วยการออกพันธบัตรรัฐบาลจำนวน 40,000ล้านบาท เป็นผลให้ดุลเงินสดหลังกู้ขาดดุลจำนวน 168,134
ล้านบาท

ในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2552 การจัดเก็บของรัฐบาลจัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมายร้อยละ 16.1คิดเป็นจำนวน 52,334 ล้านบาท เนื่องจากการจัดเก็บภาษีหลักเกือบทุกประเภทจัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ และช่วงเดียวกันของปีงบประมาณก่อน โดยเฉพาะภาษีเงินได้บุคคล ธรรมดา ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีน้ำมันฯ ภาษีรถยนต์และอากรขาเข้า รวมทั้งรายได้จากรัฐวิสาหกิจ ประกอบกับการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มของกรมสรรพากรค่อน ข้างสูง ส่วนภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม และภาษีเบียร์จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการและช่วงเดียวกันปีก่อนสำหรับการเบิกจ่ายงบ ประมาณ 2552 คิดเป็นร้อยละ 19.8 ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ร้อยละ 22.5 เนื่องจากการบังคับใช้พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายปีงบประมาณ 2552 ล่าช้ากว่าปกติไปสองสัปดาห์ ทำให้การเบิกจ่ายงบลงทุนในช่วงไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2552 เบิกจ่ายได้เพียงร้อยละ 6.9 ของวงเงินงบ ลงทุน ทั้งนี้ทางรัฐบาลได้ให้ส่วนราชการต่าง ๆ เร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณโดยเฉพาะงบลงทุนให้สูงขึ้น เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายการเบิกจ่าย ของทั้งปีงบประมาณที่ตั้งไว้ร้อยละ 94 หนี้สาธารณะคงค้าง : ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2551 มีจำนวน 3,415,565 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 37 ของ GDP (ร้อยละ 36.92 ณ สิ้นเดือนกันยายน 2551) โดยเป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงประมาณร้อยละ 23 ทั้งนี้หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน เพิ่มขึ้น 231,322 ล้านบาท หรือร้อยละ 7.3 จากยอดหนี้คงค้าง ณ สิ้นเดือนกันยายน 2551 ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของหนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบัน การเงิน

  • ภาวะการเงิน: อัตราดอกเบี้ยนโยบายปรับลดลงและส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินปรับลดตาม แต่อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงยังเพิ่มขึ้น

ในภาวะที่อัตราเงินเฟ้อลดลงเร็วกว่า เงินฝากในระบบขยายตัวในขณะที่สินเชื่อขยายตัวในอัตราชะลอลงทั้งภาคธุรกิจและภาคครัวเรือน สภาพคล่องส่วน

เกินจึงเพิ่มขึ้น ค่าเงินบาทอ่อนค่าลง ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปรับลดลงต่อเนื่องจากไตรมาสสาม ส่วนตลาดตราสารหนี้ปรับเพิ่มขึ้น

การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยของประเทศต่างๆ

ประเทศ          Q1          Q2          Q3          Q4          ม.ค.-ก.พ.      อัตราดอกเบี้ย     อัตราเงินเฟ้อ

ปัจจุบัน(ร้อยละ) ณ สิ้น ม.ค.52

ไทย              -           -       +0.50       -1.00           -0.75            2.00       -0.4
สหรัฐฯ        -0.75       -0.25           -       -0.75               -            0.25        0.09 (ธ.ค.)
ยูโร              -           -       +0.25       -1.75               -            2.00        1.58 (ธ.ค.)
จีน               -           -       -0.27       -1.89               -            5.31        1.0
ญี่ปุ่น              -           -           -        -0.4               -            0.1         0.4 (ธ.ค.)
ไต้หวัน       +0.125      +0.125      -0.125        -1.5            -0.5            1.5         1.59
มาเลเซีย          -           -           -       -0.25               -           3.25         4.39 (ธ.ค.)
  • อัตราดอกเบี้ยนโยบาย กนง. ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในเดือนธันวาคม จากร้อยละ 3.75 ต่อปี เป็นร้อยละ
2.75 ต่อปี ในภาวะที่เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจในประเทศอ่อนแอลงและอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำต่อเนื่องอันเป็นผลจากราคาน้ำมันและสินค้า
โภคภัณฑ์ที่ลดลงมาก คณะกรรมการนโยบายการเงินจึงเห็นว่านโยบายการเงินสามารถผ่อนคลายเพิ่มเติมเพื่อช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจใน
ระหว่างที่ความเสี่ยงต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจมีมากจากปัจจัยทั้งภายในและภายนอกประเทศและแรงกระตุ้นจากภาคการคลังอาจใช้เวลาอีกระยะ
หนึ่ง สำ หรับตลาดการเงินในต่างประเทศนั้นมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในทิศทางเดียวกัน เนื่องจากเห็นสัญญาณชัดเจนว่าสถานการณ์เศรษฐกิจที่ตกต่ำ
อย่างรุนแรงในครั้งนี้อาจจะยาวนานกว่าที่คาดไว้ และบางประเทศมีความเสี่ยงต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอย ทำให้ธนาคารกลางทั่วโลกพยายามแก้ไข
สถานการณ์โดยใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายโดยธนาคารกลางสหรัฐฯ ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก 2 ครั้งภายในไตรมาสนี้และปัจจุบันอัตราดอกเบี้ย
อยู่ที่ร้อยละ 0.25 ธนาคารกลางญี่ปุ่นปรับลดอัตราดอกเบี้ยมาอยู่ที่ร้อยละ 0.1 ส่วนธนาคารกลางสหภาพยุโรปปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงร้อยละ 1.75 มา
อยู่ที่ร้อยละ 2.5 ต่อปี และธนาคารกลางจีนปรับลดอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน ปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 5.3

ในช่วงปี 2551 ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 2 ครั้งในไตรมาสสาม รวม 50 bps เนื่อง จากมีความเห็นว่ามีความเสี่ยงต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจมากขึ้นในภาวะที่แรงกดดันเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากการที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกสูง ขึ้นมาก แต่ก็ได้ปรับลดลง 100 bps ในไตรมาสสี่ เมื่อพิจารณาเห็นว่าเศรษฐกิจชะลอตัวลงอย่างชัดเจน ทำให้ ณ สิ้นเดือนธันวาคม อัตราดอกเบี้ย นโยบายอยู่ที่ร้อยละ 2.75 ลดลง 50 bps จากสิ้นปี 2550และในเดือนมกราคม 2552 ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยอีก 75 bps มาอยู่ที่ร้อย ละ 2.00

  • อัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์ปรับลดลงตามการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย แต่อัตราเงินเฟ้อที่ลด
ลงอย่างรวดเร็วมีผลให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงปรับเป็นบวกในช่วงเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม โดย ณ สิ้นไตรมาสสี่ อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3
และ 12 เดือน เฉลี่ยของ 5 ธนาคารใหญ่ ลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 1.62 และ 1.88 ตามลำดับ และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ชั้นดีแบบมีระยะเวลา(MLR) ลด
ลงมาอยู่ที่ร้อยละ 6.87 แต่อัตราเงินเฟ้อที่ลดลงอย่างรวดเร็วจนแตะระดับร้อยละ 0.4 ณ สิ้นไตรมาสสี่ ทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือน
ที่แท้จริงเป็นบวกที่ร้อยละ 1.48 เพิ่มขึ้นจากอัตราร้อยละ - 3.13 ณ สิ้นไตรมาสสาม และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่แท้จริงเท่ากับร้อยละ 6.48 เพิ่มขึ้น
จากร้อยละ 1.4 ณ สิ้น ไตรมาสสาม

สำหรับทั้งปี 2551 อัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์ลดลง 44 และ 12 bps ตามลำดับ จากการที่ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 100 bps ในเดือนธันวาคม ต่อมาในเดือนมกราคม 2552 เมื่อได้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย นโยบายอีก 75 bps ก็ได้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 และ 12 เดือนลงมาอยู่ที่ร้อยละ 1.25 และ 1.5 ตามลำ ดับ และอัตรา ดอกเบี้ยเงินกู้ชั้นดีแบบมีระยะเวลา (MLR) ปรับลดมาอยู่ที่ร้อยละ 6.25 ประกอบกับอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนมกราคมลดลงมาเป็นร้อยละ -0.4 ทำ ให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากและอัตราเงินกู้ที่แท้จริงปรับเป็นอัตราบวกต่อเนื่องเป็นเดือนที่สาม

  • เงินฝากธนาคารพาณิชย์ปรับตัวสูงขึ้น ณ สิ้นไตรมาสสี่ เงินฝากเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8 เทียบกับที่หดตัวร้อยละ 0.2 ในไตร
มาสสาม ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นของปริมาณเงินฝากทุกประเภทและทุกขนาดบัญชี โดยเฉพาะเงินฝากประเภทประจำที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 12.7 เทียบกับที่เพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 1.5 ณ สิ้นไตรมาสสาม ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นการเปลี่ยนจากความต้องการตั๋วแลกเงิน (B/E) มาเป็นเงินฝากประจำในช่วงที่มีความกังวลต่อ
ความเสี่ยงในตลาดเงิน แสดงให้เห็นถึงความกังวลของผู้ออมต่อสภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงและการคาดการณ์ของตลาดว่าอัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มที่จะ
ลดลงในอนาคต

โดยภาพรวมในปี 2551 เงินฝากหดตัวในไตรมาสสองและสาม ก่อนที่จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วง 2 เดือนสุดท้ายของปี ซึ่งเป็นผลจากการโยกย้ายเงินฝากมาจากฐานการซื้อตั๋วแลกเงิน (B/E) ในสถานการณ์เริ่มมีความกังวลว่าตลาดเงินและเศรษฐกิจโดยรวมมีความเสี่ยง มากขึ้น จะเห็นได้ว่าความต้องการ B/E ชะลอตัวลงมาก จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 190 ในเดือนมกราคม มาเป็นการเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 19 ในเดือน ธันวาคม

  • สินเชื่อขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงทั้งสินเชื่อภาคธุรกิจและสินเชื่อผู้บริโภค สินเชื่อธนาคารพาณิชย์ (ที่นับรวมการกู้ยืมผ่าน
ธุรกรรมการซื้อคืนพันธบัตร) เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.4 ณ สิ้นไตรมาสสี่ เร่งตัวขึ้นจากการขยายตัวที่ร้อยละ 14.3 ณ สิ้นไตรมาสสาม โดยที่เป็นผลมาจาก
การที่เงินให้กู้ยืมผ่านธุรกรรมซื้อคืนพันธบัตรที่เพิ่มขึ้นมากถึงร้อยละ 204.5 และสินเชื่อต่อสถาบันรับฝากเงินอื่นที่ขยายตัวกว่าร้อยละ 38 ณ สิ้นไตรมาสสี่
การเพิ่มขึ้นของสินเชื่อในลักษณะดังกล่าวจึงสะท้อนถึงการบริหารสภาพคล่องและการหาผลตอบแทนของสถาบันการเงินในภาวะที่เศรษฐกิจชะลอตัวและ
พิจารณาเห็นว่าความเสี่ยงสินเชื่อภาคธุรกิจอื่น ๆ และสินเชื่อผู้บริโภคมีมากขึ้น

สำหรับสินเชื่อโดยรวมของสถาบันรับฝากเงินทั้งหมด (ที่รวมธุรกรรม R/P) ชะลอตัวลงจากการขยายตัวร้อยละ 11.2 ณ สิ้นไตรมาสสาม มาเป็นการขยายตัวร้อยละ 9.3 ณ สิ้นไตรมาสสี่ จำแนกเป็นการขยายตัวของสินเชื่อภาคธุรกิจร้อยละ 11.2 และสินเชื่อภาคครัวเรือน ร้อยละ 8.1 เมื่อพิจารณารายสาขาธุรกิจพบว่า สินเชื่อเกือบทุกภาคธุรกิจชะลอตัวหรือหดตัวอย่างต่อเนื่อง ยกเว้นสินเชื่อภาคธนาคารและสถาบันการ เงินที่เพิ่มถึงร้อยละ 101 ณ สิ้นไตรมาสสี่ สอดคล้องกับการขยายตัวของสินเชื่อในธนาคารพาณิชย์และเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงการบริหารจัดการความ เสี่ยงในการปล่อยสินเชื่อของสถาบันรับฝากเงินที่เข้มงวดขึ้น จากความเสี่ยงในการผิดนัดชำระที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวลงปริมาณ การใช้จ่ายบัตรเครดิตลดลงอย่างมากและการเบิกเงินสดล่วงหน้าหดตัวลงจากความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจและโอกาสการหารายได้ ยอดคงค้างบัตร เครดิตชะลอตัวที่ร้อยละ 5.6 โดยรวมทั้งปี 2551 สินเชื่อขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงสามไตรมาสแรกของปี ก่อนที่จะชะลอตัวลงในช่วงไตร มาสที่สี่จากการหดตัวของสินเชื่อภาคธุรกิจเป็นสำคัญ

  • สภาพคล่องในระบบธนาคารพาณิชย์และสภาพคล่องส่วนเกินของระบบธนาคารพาณิชย์ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น สัดส่วนสินเชื่อ (ไม่
รวมเงินให้กู้ยืมผ่านธุรกรรมซื้อคืนพันธบัตร) ต่อเงินฝาก (รวมตั๋วแลกเงิน)ลดลงเป็นร้อยละ 87.3 ซึ่งสอดคล้องกับสภาพคล่องส่วนเกินของระบบ
ธนาคารพาณิชย์เพิ่มสูงขึ้น แต่ปัจจุบันมีมูลค่า 1.14 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 38.1 จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว แต่เป็นการเพิ่มขึ้นในส่วนของ
เงินให้กู้ยืมผ่านธุรกรรมซื้อคืนพันธบัตรเป็นหลัก ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าสถาบันการเงินได้เพิ่มความระมัดระวังในการขยายสินเชื่อมากขึ้น ภายใต้ภาวะที่การ
บริหารความเสี่ยงและการดูแลคุณภาพสินทรัพย์มีความยากลำบากมากขึ้น
  • สัดส่วน NPLs ต่อยอดคงค้างสินเชื่อในระบบลดลงเล็กน้อย NPLs ในระบบสถาบันการเงินที่ไม่รวมสำนักงานวิเทศธนกิจ
และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ณ สิ้นไตรมาสสี่ ปี 2551 มีมูลค่ารวม 217.29 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3.19 ของสินเชื่อรวม โดยเป็นการลดลงต่อ
เนื่องตลอดทั้งปี โดย ณ สิ้นปี 2550 สัดส่วน NPLs เท่ากับร้อยละ 3.95 แต่อย่างไรก็ตาม สัดส่วนสินเชื่อจัดชั้นที่กล่าวถึงเป็นพิเศษ (ผิดนัดชำระ
ตั้งแต่ 1-3 เดือน)ต่อสินเชื่อคงค้างมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากร้อยละ 2.7 ณ สิ้นปี 2550 เป็นร้อยละ 3.9 ณ สิ้นปี 2551 ซึ่งแสดงว่าธุรกิจ
เริ่มประสบปัญหาทางการเงินอันเนื่องจากผลการประกอบการและยอดการจำหน่ายที่ลดลง
  • ผลประกอบการธนาคารพาณิชย์ ระบบธนาคารพาณิชย์มีกำไรสุทธิรวม 15.1 หมื่นล้านบาท ลดลง 7.5 พันล้านบาท จาก
ไตรมาสสาม เนื่องจากมีการกันสำรองสำหรับสินเชื่อด้อยคุณภาพที่คาดว่าจะปรับเพิ่มขึ้นตามสถานการณ์เศรษฐกิจที่อ่อนแอลง ทำให้ค่าใช้จ่ายรวมของ
ธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นทั้งในส่วนของค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยและที่มิใช่ดอกเบี้ย โดยเฉพาะส่วนที่สำรองสำหรับหนี้สงสัยจะสูญ
  • ค่าเงินบาทและดัชนีค่าเงินบาทที่แท้จริงอ่อนค่าลงค่าเงินบาทไตรมาสที่สี่เฉลี่ยเท่ากับ 34.78 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อน
ค่าลงประมาณร้อยละ 3 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าและช่วงเดียวกันของปี 2550 เนื่องจากการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดและความเชื่อมั่นของนักลงทุนใน
ภาวะเศรษฐกิจและการเมืองไทยลดลง และเมื่อพิจารณาค่าเงินบาทเทียบกับค่าเงินสกุลต่าง ๆ พบว่าค่าเงินบาทอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์
สหรัฐฯ เงินเยนของญี่ปุ่น เงินหยวนของจีน และเงินดอลลาร์ของฮ่องกง แต่อ่อนค่าลงช้ากว่าเงินสกุลอื่น ๆ ในภูมิภาคโดยดัชนีค่าเงินบาท (Nominal
Effective Exchange Rate) และดัชนีค่าเงินบาทที่แท้จริง (Real Effective Exchange Rate) เฉลี่ยในไตรมาสที่สี่ อ่อนค่าลงร้อยละ 0.6
และ 1.34 ตามลำดับ จากไตรมาสที่สาม
  • ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง ตามภาวะตลาดหุ้นโลกและเสถียรภาพทางการเมืองไตรมาสสี่มีมูลค่าการซื้อขาย
เฉลี่ย 12.67 พันล้านบาทต่อวัน เพิ่มขึ้นจากเฉลี่ย 12.2 พันล้านบาทต่อวัน ในไตรมาสสาม ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปิดที่ 449.96 จุด ณ สิ้นไตรมาสสี่
เทียบกับ 596.54 จุด ณ สิ้นไตรมาสสามโดยนักลงทุนต่างชาติมียอดขายสุทธิรวม 37.2 พันล้านบาท ทั้งนี้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์มีความผันผวนมากขึ้น โดย
ดัชนีต่ำสุดที่ 384.15 จุด ในเดือนตุลาคม เนื่องจากวิกฤติการเงินที่ส่งผลกระทบในวงกว้าง ทำ ให้ผลประกอบการของบริษัทชั้นนำต่าง ๆ ทั่วโลกลดต่ำ
ลงมากและ Solvency Risk ที่สูงขึ้น ส่งผลให้ตลาดหุ้นทั่วโลกตกต่ำลง รวมถึงตลาดหุ้นในภูมิภาค และตลาดหุ้นไทยขณะที่ดัชนีสูงสุดที่ 451.72 จุด ใน
เดือนธันวาคม ซึ่งเป็นผลจากการทำ Window Dressing ของสถาบันการเงินและกองทุนต่าง ๆ ประกอบกับการสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศที่
คลี่คลายลง ปี 2551 ดัชนีตลาดหลักทรัพย์อยู่ในช่วงขาลง โดยลดลงจาก 858.10 จุด ณ สิ้นปี 2550 เป็น 449.96 จุด ณ สิ้นปี 2551 คิดเป็นการลด
ลงร้อยละ 48 มูลค่าซื้อขายเฉลี่ย 15.92 พันล้านบาทต่อวัน ลดลงจาก 17.06 พันล้านบาทต่อวัน ในปี 2550 และนักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 162.34
พันล้านบาท จากยอดซื้อสุทธิ 55.02 พันล้านบาท ในปี 2550 ซึ่งปัจจัยสำคัญส่งผลต่อตลาดหลักทรัพย์ในปีนี้ ได้แก่ การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และ
เสถียรภาพทางการเมืองในประเทศ
  • มูลค่าซื้อขายตราสารหนี้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อน แต่ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา ในไตรมาสที่สี่ มี
มูลค่าซื้อขายเฉพาะธุรกรรมซื้อขายขาด (Outright) 65.7 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 47.3 พันล้านบาท ช่วงเวลาเดียวกันปี 2550 แต่ลดลงจาก
74.9 พันล้านบาท เมื่อเทียบกับไตรมาสสาม ปี 2551 โดยนักลงทุนต่างชาติมียอดซื้อสุทธิ 4.04 พันล้านบาทลดลงจาก 8.78 พันล้านบาท ในไตรมาส
สาม หรือลดลงกว่าร้อยละ 54 ซึ่งเป็น Trading Cycle ของตลาดตราสารหนี้ไทย ดัชนีราคาพันธบัตรรัฐบาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 11 จากไตรมาสก่อน
และอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาล (Yield) ลดลง 150-202 basis points เมื่อเทียบกับช่วงปลายปี 2550 โดยเฉพาะช่วงอายุระหว่าง
1-10 ปี ซึ่งมีผลมาจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และการคาดการณ์ล่วงหน้าของนักลงทุนในตลาดว่าอัตราดอกเบี้ยจะยังมีแนวโน้มลดลงต่อไปอีก

ภาพรวมปี 2551 มีมูลค่าซื้อขายเฉลี่ย 70.29 พันล้านบาทต่อวัน เพิ่มขึ้นจาก 42.99 พันล้านบาทต่อวัน ในปี 2550 นักลง ทุนต่างชาติมียอดซื้อสุทธิต่อเนื่องทั้งปีรวม 68.37 พันล้านบาท ในขณะที่ปี 2550 มียอดขายสุทธิ 40.27 พันล้านบาท ส่วนหนึ่งเป็นการย้ายพอร์ตการลง ทุนมาจากตลาดหลักทรัพย์ที่ปรับตัวลดลง อัตราผลตอบแทนเคลื่อนไหวค่อนข้างผันผวนตลอดทั้งปี ซึ่งเป็นการสะท้อนการรับรู้ของตลาดต่อทิศทางอัตรา ดอกเบี้ย ในช่วงครึ่งปีแรก อัตราผลตอบแทน (Yield) สูงขึ้นตามทิศทางอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น ในช่วงครึ่งปีหลังทิศทางดอกเบี้ยอยู่ในขาลง ทำให้อัตรา ผลตอบแทนลดลง เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2550 อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลทุกช่วงอายุลดลง 99-225 basis points และดัชนีราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 13 เมื่อเทียบกับปี 2550

ปริมาณเงินทุนเคลื่อนย้าย และปริมาณการซื้อขายของนักลงทุนต่างชาติ -----------------------------------------------------------------------------------------------------------

                                2549   |               2550               |                2551
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------
      ณ วันสิ้นงวด                  ทั้งปี   |    Q1       Q2      Q3       Q4  |    Q1       Q2       Q3      Q4
  เงินทุนเคลื่อนย้ายสุทธิ                     |                                  |
  (พันล้านดอลลาร์ สรอ.)             5.7   | -2.70     0.73    0.35    -1.36  |  13.2     -3.1     0.69      na
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------
  มูลค่าการซื้อขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติ       |                                  |
  ในตลาดหลักทรัพย์ (พันล้านบาท)      55.02  | 30.62    66.90   -2.19   -40.29  | -13.89   -36.07  -74.78  -37.23
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------
  มูลค่าการซื้อขายตราสารหนี้สุทธิ              |                                  |
  ของนักลงทุนต่างชาติ(พันล้านบาท)     35.53  | -34.16   -18.66    7.95     4.61 |  29.08    26.48    8.78    4.04
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------
ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย ,ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย
  • การระดมทุนของภาคเอกชนลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในไตรมาสสี่ การระดมทุนของภาคเอกชนมีมูลค่า

รวม 267.26 พันล้านบาท ลดลงจาก 382.32 พันล้านบาท ในช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนใหญ่เป็นการออกหุ้นกู้ภาคเอกชนซึ่งมีมูลค่ารวม 266.78

พันล้านบาท ลดลงจาก 334.08 พันล้านบาท ในช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นหุ้นกู้ที่มาจากธุรกิจภาคการเงินเป็นหลัก ขณะที่มีการออกหุ้นเพิ่มทุน

เพียง 0.48 พันล้านบาท ลดลงจาก 48.24 พันล้านบาท จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากสถานการณ์ของตลาดหลักทรัพย์ไม่เอื้ออำนวยต่อการ

ระดมทุนและภาวการณ์ดำเนินธุรกิจต่าง ๆ ชะลอตัวลง ภาพรวมปี 2551 การระดมทุนของภาคเอกชนมีมูลค่ารวม 1,231.91 พันล้านบาท ลดลงจาก

1,274.75 พันล้านบาท ในปี 2550 โดยร้อยละ 96.4 เป็นการระดมทุนจากหุ้นกู้เอกชนซึ่งเป็นไปตามการลดลงของภาวะการลงทุนของประเทศ

โดยรวม

(ยังมีต่อ).../- ความเคลื่อนไหว..

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ