ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร: ปศุสัตว์

ข่าวทั่วไป Friday July 29, 2011 15:23 —สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

สุกร

สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณสุกรที่ออกสู่ตลาดมีไม่มากนัก ในขณะที่ความต้องการบริโภคเนื้อสุกรอยู่ในเกณฑ์ปกติ แม้ว่าในช่วงนี้มีฝนตกชุกแทบทุกพื้นที่ แนวโน้มคาดว่าราคาเนื้อสุกรจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 71.28 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 70.24 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.48 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 69.11 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 67.70 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 73.18 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 71.21 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 2,200 บาท (บวกลบ 75 บาท) สูงขึ้นจากตัวละ 2,000 บาท (บวกลบ 72 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 10.00

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 75.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 69.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 8.63 และราคาขายส่งสุกรชำแหละ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 81.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.91

ไก่เนื้อ

สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

สถานการณ์ไก่เนื้อสัปดาห์นี้มีปริมาณไก่เนื้อและไก่ใหญ่ออกมากประกอบกับอยู่ในช่วงหน้าฝนทำให้มีอาหารและสัตว์น้ำธรรมชาติออกมาก ส่งผลให้ภาวะตลาดไก่เนื้อค่อนข้างซบเซา ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย

กรมปศุสัตว์ รายงานว่าเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมาอียูได้ส่งคณะผู้แทนเดินทางมายังประเทศไทย เพื่อตรวจสอบและรวบรวมข้อมูลไปประกอบการพิจารณายกเลิกคำสั่ง โดยมีการตรวจประเมินมาตรการควบคุมและเฝ้าระวังโรค ระบบงานสุขภาพสัตว์ และห้องปฏิบัติสำหรับการตรวจวินิจฉัยโรคในสัตว์ปีก พร้อมกับตรวจเยี่ยมฟาร์มเลี้ยงไก่ฟาร์มเป็ด โรงงานชำแหละ ด่านกักกันสัตว์ รวมทั้งหน่วยงานภายในกรมปศุสัตว์ และเมื่อเดือนพฤษภาคมทางอียูได้ส่งร่างสรุปการตรวจประเมินทางด้านสุขภาพสัตว์มาให้กรมปศุสัตว์พิจารณาตรวจสอบและแก้ไขตามข้อแนะนำที่ทำให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ที่ส่งออกไปยังอียูจะเป็นไปตามข้อกำหนดในใบรับรองสุขอนามัย ซึ่งเป็นแนวโน้มที่อยู่ในเกณฑ์ดี มีแนวโน้มว่าอียูจะยกเลิกคำสั่งระงับการนำเข้าเนื้อสัตว์ปีกสดแช่แข็งจากไทยในเร็วๆ นี้ ทั้งนี้ได้ทำขั้นตอนการของการรับรองมาตรฐาน ISO/IEC17025 ภายใต้ขอบข่ายวินิจฉัยเพาะแยกเชื้อไวรัสไข้หวัดนกและโรคนิวคาสเซิล โดยคาดว่าจะได้รับการรับรองมาตรฐานภายในเดือนธันวาคมนี้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับการส่งออกสัตว์ปีกสดแช่แข็งกลับไปยังอียูอีกครั้ง กรมปศุสัตว์จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการและคณะทำงานเตรียมความพร้อมเพื่อการส่งออกเนื้อสัตว์ปีกสด เพื่อพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์เงื่อนไขของฟาร์มสัตว์ปีกที่จะได้รับการคัดเลือกให้ส่งออกไก่สดแช่แข็งรวมทั้งให้คำแนะนำแก้ไขปรับปรุงฟาร์มที่เกี่ยวข้องให้อยู่ภายใต้มาตรฐาน เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับอียูว่าผลิตภัณฑ์ที่จะถูกส่งออกไปนั้นจะมาจากแหล่งผลิตจากฟาร์มที่ปลอดโรคระบาด และสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ อย่างไรก็ตามไทยไม่พบโรคไข้หวัดนกติดต่อกันมานานกว่า 2 ปี แต่ยังคงมีรายงานการระบาดในประเทศเพื่อนบ้าน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องจัดกระบวนการควบคุมและเฝ้าระวังโรคระบาดอย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง รวมทั้งเป็นการสร้างความมั่นใจต่อสินค้าสัตว์ปีกที่ถูกส่งออกไปจากไทยเป็นสินค้าอาหารที่มีความปลอดภัย

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 47.10 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 47.59 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.03 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 44.52บาท ภาคะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 47.93 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 45.91 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 52.30 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ตัวละ 16.50 บาท ลดลงจากตัวละ 17.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 5.71

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.50 บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่ไก่

สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

สถานการณ์ตลาดไข่ไก่ สัปดาห์นี้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากสภาพอากาศที่แปรปรวน มีฝนตกชุกแทบทุกพื้นที่ ส่งผลให้ผลผลิตไข่ไก่ออกสู่ตลาดไม่มากนัก แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 289 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 287 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.70 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 304 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 277 บาท ภาคกลางร้อยฟอง 282 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 314 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 308 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่เป็ด

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 311 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ภาคเหนือร้อยฟองละ 303 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 321 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 302 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 332 บาท

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 360 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

โคเนื้อ

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 51.12 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 51.14 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.04 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 54.43 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 42.80 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 57.49 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 58.01 บาท

กระบือ

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 38.97 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 55.40 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 35.69 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา

--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 18 — 24 กรกฎาคม 2554--

-พห-

แท็ก เกษตรกร   สุกร  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ