ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร: ประมง

ข่าวทั่วไป Monday August 1, 2011 14:57 —สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ

การผลิต

เกษตรกรเลี้ยงกุ้งค้าน มติ ครม. มาตรา 9

          นายประกอบ ทรัพย์ยอดแก้ว อุปนายกสมาคมเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย แกนนำกลุ่มเกษตรกรเลี้ยงกุ้ง จ.ราชบุรี กล่าวว่า จากกรณีที่เกษตรกรเลี้ยงกุ้งในเขตพื้นที่ภาคกลาง ประกอบด้วย จ.ราชบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา นครปฐม สมุทรสาคร รวมกลุ่มกันเพื่อคัดค้าน มติ ครม. มาตรา 9 เรื่องการใช้ความเค็มต่ำใน  การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในพื้นที่น้ำจืด หลังจาก ครม. มีมติให้ทบทวนข้อกำหนด โดยกำหนดเขตพื้นที่ระงับการเลี้ยงกุ้งระบบความเค็มต่ำในพื้นที่น้ำจืดทั่วประเทศ พร้อมให้ 5 หน่วยงานเร่งแก้ไข สื่อมวลชนส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจระบบ  การเลี้ยงกุ้งทั่วทุกภาคกลาง ที่ อ.บางแพ จ.ราชบุรี และในพื้นที่ภาคกลางหลายจังหวัดนั้น เป็นการเลี้ยงกุ้งขาว     แวนนาไมส์และกุ้งก้ามกราม ที่สามารถปลูกพืชผักสวนครัว นาข้าวได้อย่างไม่มีผลกระทบกับพื้นที่ข้างเคียง การนำเสนอข่าว ทำให้เกิดการคลาดเคลื่อนส่งผลให้มีการเข้าใจผิดของกลุ่มเกษตรกรเลี้ยงกุ้งกุลาดำในพื้นที่น้ำเค็ม สำหรับการเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมส์ในพื้นที่ อ.บางแพ สามารถเลี้ยงควบคู่กับปลาได้ มีนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์พร้อมหน่วยงานที่รับผิดชอบมาตรวจวัดค่าน้ำ วัดความเค็ม ยังไม่เกินมาตรฐานที่กำหนดไว้ ขอเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งแก้ไขปัญหากับเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมส์ที่ได้รับผลกระทบทั่วประเทศอย่างจริงจังและเร่งด่วน ทั้งนี้มติ ครม. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีคำสั่งให้ระงับการใช้ความเค็มต่ำในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในพื้นที่น้ำจืด และมอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่ละจังหวัดระงับการเพาะเลี้ยงโดยอาศัย มาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 ซึ่งขณะนี้มีคำสั่งระงับการเลี้ยงกุ้งจาก   ผู้ว่าราชการจังหวัดไปแล้ว 12 จังหวัด ส่วนใหญ่ในภาคกลางจากทั้งหมด 55 จังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งกลุ่มเกษตรกร     ผู้เลี้ยงกุ้งของรัฐบาลเร่งแก้ปัญหาและให้ชะลอคำสั่งการระงับการเลี้ยงกุ้งไปก่อนจนกว่าจะได้ข้อสรุปที่ชัดเจน

ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา(6 — 12 มิ.ย. 2554) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 869.48 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 481.17 ตัน สัตว์น้ำจืด 388.31 ตัน

ประกอบด้วย สัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่

          1.1  ปลาดุก              ส่งเข้าประมูลจำหน่าย                 2.37     ตัน
          1.2  ปลาช่อน             ส่งเข้าประมูลจำหน่าย                 3.74     ตัน
          1.3  กุ้งทะเล             ส่งเข้าประมูลจำหน่าย                 91.97    ตัน
          1.4  ปลาทู               ส่งเข้าประมูลจำหน่าย                 14.67    ตัน
          1.5  ปลาหมึก             ส่งเข้าประมูลจำหน่าย                 80.85    ตัน

การตลาด

ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ

2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.90 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 42.24 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.34 บาท

สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคา

2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 66.88 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 66.36 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.52 บาท

สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน

2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา

สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา

2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 137.72 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 139.51 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.79 บาท

สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 135.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 140.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.00 บาท

2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 47.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.00 บาท

สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 71.43 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 70.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.43 บาท

2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 84.67 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 86.67 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.00 บาท

สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 180.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 160.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 20.00 บาท

2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.44 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 7.66 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.22 บาท

สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 23 — 29 ก.ค. 2554) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.10 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 27.35 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.75 บาท

--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 25 — 31 กรกฎาคม 2554--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ