ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร: ปศุสัตว์

ข่าวทั่วไป Monday August 1, 2011 14:58 —สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

สุกร

สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

ภาวะตลาดสุกรในสัปดาห์นี้ค่อนข้างคึกคัก ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากสภาพอากาศที่แปรปรวนมีผลต่อการเจริญเติบโตของสุกร ทำให้สุกรที่ออกสู่ตลาดยังคงมีปริมาณไม่มากนัก แนวโน้มคาดว่าราคาเนื้อสุกรจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 71.76 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 71.28 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.67 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 70.18 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 67.70 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 73.45 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 72.79 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 2,200 บาท (บวกลบ 78 บาท) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 78.50 บาท บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 75.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.97 และราคาขายส่งสุกรชำแหละ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 88.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 85.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.51

ไก่เนื้อ

สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา ภาวะตลาดไก่เนื้อยังคงซบเซา เนื่องจากมีฝนตกชุกแทบทุกพื้นที่ทำให้มีอาหารและสัตว์น้ำตามธรรมชาติมากขึ้นประกอบกับมีปริมาณไก่เนื้อและไก่ใหญ่ออกมาก แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย

เมื่อวันที่ 20 ก.ค. กระทรวงพาณิชย์ประกาศปรับลดราคาแนะนำไก่เนื้อลง กก.ละ 5 บาท โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 21 ก.ค. ซึ่งราคาในเขตกรุงเทพฯ ปริมณฑล และภาคกลาง ไก่สดทั้งตัว (รวมเครื่องใน) ลดจากกก.ละ 70 บาท เหลือ 65 บาท ไก่สดทั้งตัว (ไม่รวมเครื่องใน) จากกก.ละ 75 บาท เหลือ 70 บาท และเนื้อไก่ จากกก.ละ 85-92 บาท เหลือ 80-85 บาท ส่วนภาคเหนือให้ขายสูงกว่าราคาแนะนำได้ไม่เกิน กก.ละ 2 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ไม่เกินกก.ละ 3 บาท ภาคใต้ ไม่เกินกก.ละ 5 บาท และระหว่างนี้ให้ผู้จำหน่ายมีเวลาปรับตัวกรณีมีสต็อกเดิม 3-4 วัน สำหรับการปรับลดราคาจำหน่ายไก่เนื้อทุกประเภท เนื่องจากเห็นว่าราคาไก่มีชีวิตได้ปรับตัวลดลงมาอย่างต่อเนื่อง ราคาขายปลีกจะต้องลดลงตาม เพื่อเป็นการดูแลค่าครองชีพให้กับผู้บริโภค นอกจากนี้ตั้งแต่สัปดาห์หน้ากระทรวงฯจะจัดให้มีสายตรวจพิเศษ เพื่อออกตรวจสอบการจำหน่ายเนื้อไก่ทั้งห้างค้าปลีกและตลาดสดทั่วไป หากพบว่า ยังจำหน่ายไก่เนื้อสูงเกินราคาแนะนำ โดยไม่เหตุผลอันสมควร จะดำเนินการตามกฎหมายโดยเคร่งครัด มีโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี ปรับไม่เกิน 1.4 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 29 แห่งพ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 46.71 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 47.10 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.83 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.52บาท ภาคะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 47.93 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 46.21 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 53.07 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ตัวละ 16.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 41.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.41 และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่ไก่

สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากสภาพอากาศที่แปรปรวน มีฝนตกและฟ้าคะนอง ส่งผลให้แม่ไก่ไข่ออกไข่น้อยลง ทำให้ผลผลิตออกสู่ตลาดไม่มากนัก แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 295 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 289 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.08 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 309 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 277 บาท ภาคกลางร้อยฟอง 290 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 314 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 319 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 308 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 3.57

ไข่เป็ด

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 317 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 311 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.93 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ภาคเหนือร้อยฟองละ 313 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 321 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 312 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 332 บาท

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 360 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

โคเนื้อ

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 51.19 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 51.12 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.14 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 54.43 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 42.88 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 57.49 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 58.29 บาท

กระบือ

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 39.10 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 38.97 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.33 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 55.40 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 35.84 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา

--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 25 — 31 กรกฎาคม 2554--

-พห-

แท็ก เกษตรกร   สุกร  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ