ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร: ปศุสัตว์

ข่าวทั่วไป Tuesday March 13, 2012 13:41 —สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

สุกร

สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

สัปดาห์นี้ภาวะตลาดสุกรยังคงซบเซา ราคาสุกรที่เกษตรกรขายได้ลดลงเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณสุกรยังคงมีมากและยังมีสุกรขนาดน้ำหนักมากกว่าปกติเหลือสะสม ทำให้ราคาสุกรที่เกษตรกรขายได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะมีการแก้ไขปัญหาโดยกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการห้างค้าปลีกและตลาดสด ให้เข้าร่วมโครงการจัดจำหน่ายเนื้อสุกรราคาพิเศษเพื่อกระตุ้นการบริโภค ในราคาไม่เกินกิโลกรัมละ 100-105 บาท และสมาคมผู้เลี้ยงสุกรราชบุรีและสหกรณ์ผู้เลี้ยงสุกรนครปฐม ร่วมจัดจำหน่ายเนื้อหมูธงฟ้าในราคากิโลกรัมละ 89 บาท ในพื้นที่กรุงเทพฯ และนครปฐม นอกจากนี้คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) ได้อนุมัติเงินจ่ายขาด เพื่อชดเชยดอกเบี้ยร้อยละ 3 ให้ผู้เข้าร่วมโครงการเก็บเนื้อสุกรเข้าห้องเย็น เป้าหมายจำนวนสุกร 90,000 ตัว เพื่อลดปริมาณสุกร แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 53.88 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 54.81 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.70 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 56.42 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 58.12 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 52.51 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 50.09 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,300 บาท (บวกลบ 48 บาท) ลดลงจากตัวละ 1,400 บาท (บวกลบ 50 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 7.14

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.50 บาท และราคาขายส่งสุกรชำแหละ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 62.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไก่เนื้อ

สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

ในสัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากสภาพอากาศที่เริ่มร้อนทำให้ไก่เนื้อเจริญเติบโตช้า ส่งผลให้ปริมาณลดลงเล็กน้อย ในขณะที่ความต้องการบริโภคยังคงทรงตัว แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัว

กรมปศุสัตว์ เผยถึงเรื่องการยกเลิกประกาศห้ามนำเข้าไก่สดของไทยกับประเทศญี่ปุ่น ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจาณา โดยได้ให้อัครราชฑูตที่ปรึกษาฝ่ายการเกษตร ประจำประเทศญี่ปุ่น เจรจากับรัฐบาลญี่ปุ่นเพื่อผลักดันให้เปิดตลาดไก่สดแก่ประเทศไทยอีกครั้ง หลังจากที่ญี่ปุ่นสั่งห้ามนำเข้าไก่สดจากไทยตั้งแต่ปี 2547 เนื่องจากเกิดโรคไข้หวัดนกระบาดที่จะสิ้นสุดวันที่ 30 มิ.ย.นี้ ทั้งนี้เพราะระบบคอมพาร์ตเมนต์ของไทยได้รับการยอมรับจากหลายประเทศ เช่น ญี่ปุ่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย ซึ่งคาดว่าญี่ปุ่นจะไม่มีปัญหาโดยขณะนี้การส่งออกไก่แปรรูปของไทยเป็นที่รู้จักผู้บริโภคญี่ปุ่นมากขึ้นและได้รับความเชื่อมั่นเป็นอันดับที่ 2 รองจากสินค้าในประเทศ หากสามารถเปิดตลาดไก่สดเพิ่มขึ้น คาดว่าผู้ประกอบการไทยจะมีโอกาสได้ขยายตลาดเพิ่มขึ้น

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 42.87 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 42.18 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.64 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 36.00บาท ภาคะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 46.20 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 41.88 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 49.87 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 6.50 บาท ลดลงจากตัวละ 9.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 31.58

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 29.00 บาท บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 17.24 และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 46.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 6.52

ไข่ไก่

สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

ในสัปดาห์นี้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากสถานศึกษาบางพื้นที่ในต่างจังหวัดเริ่มทยอยปิดภาคเรียน ทำให้ความต้องการบริโภคเริ่มลดลง แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 271 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 273 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.73 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 263 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 310 บาท ภาคกลางร้อยฟอง 257 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 298 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 10.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 305 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 295 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 3.39

ไข่เป็ด

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 317 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ภาคเหนือร้อยฟองละ 328 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 314 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 311 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 332 บาท

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 360 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

โคเนื้อ

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 56.06 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 56.07 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.01 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 54.42 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 54.48 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 56.77 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 59.26 บาท

กระบือ

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 47.74 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 60.51 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 45.19 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา

--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 5 - 11 มีนาคม 2555--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ