ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร: ข้าว

ข่าวทั่วไป Wednesday May 8, 2013 16:42 —สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ

1.1 การตลาด

โครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2555/56 ครั้งที่ 2

1) มติ ครม. วันที่ 31 มี.ค. 56 รับทราบกรอบ ชนิดปริมาณ ระยะเวลา วิธีการ หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขโครงการจำนำข้าวเปลือกปีการผลิต 2555/56 ครั้งที่ 2 และอนุมัติกรอบวงเงินและแหล่งเงินทุนหมุนเวียนรับจำนำข้าวเปลือก จำนวน 7 ล้านตัน เป็นจำนวนเงิน 105,000 ล้านบาท

2) ชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือก ปี 2555/56 ครั้งที่ 2 ให้กำหนดชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือก ปี 2555/56 ครั้งที่ 2 ณ ความชื้นไม่เกิน 15 % ดังนี้

(1) ข้าวเปลือกปทุมธานี (42 กรัม) ตันละ 16,000 บาท

(2) ข้าวเปลือกเจ้า :-

ข้าวเปลือกเจ้า 100% ตันละ 15,000 บาท

ข้าวเปลือกเจ้า 5% ตันละ 14,800 บาท

ข้าวเปลือกเจ้า 10% ตันละ 14,600 บาท

ข้าวเปลือกเจ้า 15% ตันละ 14,200 บาท

ข้าวเปลือกเจ้า 25% ตันละ 13,800 บาท

(3) ข้าวเปลือกเหนียว :-

ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดยาว ตันละ 16,000 บาท

ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดสั้น ตันละ 15,000 บาท

ทั้งนี้ ราคารับจำนำข้าวเปลือกปทุมธานี 1 ข้างต้น ให้ปรับเพิ่ม — ลด ตามจำนวนกรัม ในอัตรากรัมละ 200 บาท และราคารับจำนำข้าวเปลือกเหนียว ให้ปรับเพิ่ม — ลด ตามจำนวนกรัม โดยเมล็ดยาว ในอัตรากรัมละ 160 บาท และเมล็ดสั้น ในอัตรากรัมละ 150 บาท

3) เป้าหมายการรับจำนำ เนื่องจากผลผลิตส่วนหนึ่งได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ปริมาณรับจำนำข้าวเปลือกปีการผลิต 2555/56 ครั้งที่ 2 จึงกำหนดจำนวน 7 ล้านตัน จากที่ กษ.ประมาณการไว้เบื้องต้น จำนวน 9.167 ล้านตัน ส่วนปริมาณข้าวเปลือกที่เกษตรกรแต่ละรายจะจำนำได้ ต้องไม่เกินปีละ 2 ครั้ง/แปลง/ราย เกษตรกรสามารถปรับเพิ่มปริมาณรับจำนำได้อีกไม่เกิน 20% โดยให้เกษตรกรรับรองว่าเป็นผลผลิตของตนเอง และให้คณะอนุกรรมการระดับจังหวัด ตรวจสอบเกษตรกรทุกรายที่มีผลผลิตเกินกว่า 20% รวมทั้งเกษตรกรที่มีวงเงินรับจำนำเกินกว่า 500,000 บาท/ราย/ครั้ง

ทั้งนี้ในเรื่องของพันธุ์ข้าวที่รับจำนำ ไม่ให้เกษตรกรนำข้าวเปลือกที่มีอายุน้อยกว่า 110 วัน ที่มีคุณภาพต่ำเข้าร่วมโครงการ และพันธุ์ข้าวตามที่กรมการข้าว จะประกาศกำหนดไม่ให้เข้าร่วมโครงการ

4) ระยะเวลา

(1) ระยะเวลารับจำนำ 1 ก.พ. — 15 ก.ย. 56

(2) ระยะเวลาไถ่ถอน 4 เดือน นับถัดจากเดือนที่รับจำนำ

(3) ระยะเวลาโครงการ 1 ต.ค. 55 — 31 ม.ค. 57

5) ผลการดำเนินงาน จำนวนเกษตรกรที่รับเงินกับ ธ.ก.ส. (ตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม — 30 เมษายน 2556)

                             - จำนวนสัญญา              1,413,654    สัญญา
                             - จำนวนตัน               14,211,467    ตัน
                             - จำนวนเงิน             228,804.614    ล้านบาท

ภาวการณ์ซื้อขายข้าวสัปดาห์นี้ ราคาข้าวที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากบางพื้นที่ช่วงเก็บเกี่ยวข้าวกระทบฝน ประกอบกับพ่อค้าชะลอการสั่งซื้อข้าว เพราะความต้องการของตลาดปลายทางลดลง

1.2 ราคา

1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ

ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,680 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 15,527 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.99

ราคาข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 9,676 บาท ราคาลดลงจากตันละ 9,721 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.46

ราคาข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาวนาปี ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 12,625 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 12,545 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.64

2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,350 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 15,310 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.26

3) ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี.

ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 1 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 1,233 ดอลลาร์สหรัฐฯ (35,850 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 1,255 ดอลลาร์สหรัฐฯ (35,831 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.75 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 29 บาท

ราคาข้าวปทุมธานี ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 1,007 ดอลลาร์สหรัฐฯ (29,279 บาท/ตัน)

ราคาลดลงจากตันละ 1,024 ดอลลาร์สหรัฐฯ (29,236 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.66 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 43 บาท

ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 564 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,399 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 574 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,388 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.74 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 11 บาท

ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 559 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,253 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 569 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,245 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.76 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 8 บาท

ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 549 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,962 บาท/ตัน)

ราคาลดลงจากตันละ 560 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,988 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.96 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 26 บาท

หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 29.0755 บาท

2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ

สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ

ฟิลิปปินส์

ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร ฟิลิปปินส์ รายงานว่า ดูไบและอินโดนีเซียจะนำเข้าข้าวหอมนิล จำนวน 15 ตัน จากมูลนิธิดอน บอสโกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ในจังหวัดโคตาบาโตเหนือ ข้าวญี่ปุ่น จำนวน 20 ตัน จากเอสแอลอะกริเทค ในจังหวัดนูวา เอซิยา และข้าวหอมเมล็ดยาว จำนวน 30 ตัน จากสหกรณ์ในจังหวัดโคตาบาโตเหนือ ภายในวันที่ 6 พฤษภาคมนี้ และระหว่างเดินทางไปสำรวจการซ่อมแซมนาข้าวขั้นบันไดที่ได้รับความเสียหายจากเหตุฝนตกหนักเมื่อปีที่ผ่านบนเกาะลูซอน ได้กล่าวต่อในเรื่อง ปริมาณการส่งออกดังกล่าว ถือเป็นการส่งออกตามความสามารถของชาวนาท้องถิ่นในการบริหารจัดการตามคำสั่งซื้อที่ได้รับเข้ามาเป็นจำนวนมาก

สำหรับความต้องการ ข้าว สารของ ฟิลิปปินส์ ในปีนี้ คิดเป็นสัดส่วนเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปริมาณ ข้าว สาร 8 ล้านตัน ที่เวียดนาม ตั้งเป้าว่าจะส่งออกในปีนี้ ทั้งที่เมื่อปี 2553 ฟิลิปปินส์ คือผู้ซื้อ ข้าว รายใหญ่ที่สุดในโลก ผู้อำนวยการสำนักงานอาหาร กล่าวว่า ฟิลิปปินส์ ตัดสินใจที่จะซื้อ ข้าว สารเมล็ดหัก 25% ในปริมาณที่เพียงพอสำรองไว้ในสต็อกตั้งแต่ช่วงเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน และกล่าวเสริมด้วยว่า ขณะนี้ไม่มีความจำเป็น ที่ฟิลิปปินส์ จะต้องนำเข้า ข้าว เพิ่มขึ้น เนื่องจากคาดการณ์ว่าผลผลิต ข้าว ในปีนี้จะเพิ่มขึ้นเป็นประวัติการณ์อีกครั้ง

ทั้งนี้ ฟิลิปปินส์ ตั้งเป้าการผลิต ข้าว สารที่ยังไม่ได้ผ่านการสีว่าจะมีปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 11 หรือมีผลผลิต 20 ล้านตัน ในปีนี้ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมามากเป็นประวัติการณ์ที่ 18 ล้านตันทางด้าน เวียดนาม เซาท์เธิร์น ฟู้ด หรือ วีนาฟู้ด 2 ซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจได้เสนอขายข้าว ในราคา ตันละ 459.75 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,367 บาท/ตัน) โดยเป็นราคาที่รวมต้นทุน ค่าประกันสินค้า และค่าส่งสินค้าเรียบร้อยแล้ว ซึ่งราคาดังกล่าวจะต่ำกว่าราคาที่ประเทศไทยได้เสนอไปที่ตันละ 568 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,515 บาท/ตัน)

ทั้งนี้ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาราคา ข้าว สารของ เวียดนาม ได้ดิ่งลงไปอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบสองปี และคาดว่าจะลดลงอีก หลังจากปริมาณความต้องการลดลงแต่อุปทานยังคงเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ เวียดนาม เป็นประเทศผู้ส่งออก ข้าว รายใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก ฟิลิปปินส์ ตั้งเป้าว่าในปีนี้จะต้องเก็บเกี่ยวข้าว ให้ได้ในปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศให้ได้ จากเดิมที่เคยนำเข้า ข้าว สารในปริมาณ 500,000 ตันเมื่อปีที่ผ่านมา และมากเป็นประวัติการณ์ที่ปริมาณ 860,000 ตัน ในปี 2554 ส่วนเมื่อปี 2553 ได้นำเข้าข้าว 2.45 ล้านตัน

ที่มา : www.bangkokbiznews.com

--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 29 เม.ย. - 5 พ.ค. 2556--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ