ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร: ข้าว

ข่าวทั่วไป Tuesday June 11, 2013 14:26 —สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ

1.1 การตลาด

โครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2555/56 ครั้งที่ 2

1) มติ ครม. วันที่ 31 มี.ค. 56 รับทราบกรอบ ชนิดปริมาณ ระยะเวลา วิธีการ หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขโครงการจำนำข้าวเปลือกปีการผลิต 2555/56 ครั้งที่ 2 และอนุมัติกรอบวงเงินและแหล่งเงินทุนหมุนเวียนรับจำนำข้าวเปลือก จำนวน 7 ล้านตัน เป็นจำนวนเงิน 105,000 ล้านบาท

2) ชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือก ปี 2555/56 ครั้งที่ 2 ให้กำหนดชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือก ปี 2555/56 ครั้งที่ 2 ณ ความชื้นไม่เกิน 15 % ดังนี้

(1) ข้าวเปลือกปทุมธานี (42 กรัม) ตันละ 16,000 บาท

(2) ข้าวเปลือกเจ้า :-

ข้าวเปลือกเจ้า 100% ตันละ 15,000 บาท

ข้าวเปลือกเจ้า 5% ตันละ 14,800 บาท

ข้าวเปลือกเจ้า 10% ตันละ 14,600 บาท

ข้าวเปลือกเจ้า 15% ตันละ 14,200 บาท

ข้าวเปลือกเจ้า 25% ตันละ 13,800 บาท

(3) ข้าวเปลือกเหนียว :-

ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดยาว ตันละ 16,000 บาท

ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดสั้น ตันละ 15,000 บาท

ทั้งนี้ ราคารับจำนำข้าวเปลือกปทุมธานี 1 ข้างต้น ให้ปรับเพิ่ม — ลด ตามจำนวนกรัม ในอัตรากรัมละ 200 บาท และราคารับจำนำข้าวเปลือกเหนียว ให้ปรับเพิ่ม — ลด ตามจำนวนกรัม โดยเมล็ดยาว ในอัตรากรัมละ 160 บาท และเมล็ดสั้น ในอัตรากรัมละ 150 บาท

3) เป้าหมายการรับจำนำ เนื่องจากผลผลิตส่วนหนึ่งได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ปริมาณรับจำนำข้าวเปลือกปีการผลิต 2555/56 ครั้งที่ 2 จึงกำหนดจำนวน 7 ล้านตัน จากที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประมาณการไว้เบื้องต้น จำนวน 9.167 ล้านตัน ส่วนปริมาณข้าวเปลือกที่เกษตรกรแต่ละรายจะจำนำได้ ต้องไม่เกินปีละ 2 ครั้ง/แปลง/ราย กรณีที่เกษตรกรนำข้าวเปลือกมาเข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2555/56 ครั้งที่ 2 สูงกว่าปริมาณผลผลิตรวมที่ระบุในหนังสือรับรองหลังจากปรับเพิ่มอีกร้อยละ 20 (ความชื้น 15%) ของปริมาณผลผลิตตามที่ระบุในหนังสือรับรองแล้ว เกษตรกรจะต้องรับรองว่าข้าวเปลือกทั้งหมดเป็นของเกษตรกรเอง และให้คณะอนุกรรมการระดับจังหวัด ตรวจสอบเกษตรกรที่มีผลผลิตเกินกว่า 20% ทุกราย รวมทั้งตรวจสอบเกษตรกรที่มีวงเงินรับจำนำข้าวเปลือกที่เกินกว่า 500,000 บาท/ราย/ครั้ง ด้วย ตลอดจนให้คณะทำงานทำการสุ่มตรวจสอบด้วย

ทั้งนี้ในเรื่องของพันธุ์ข้าวที่รับจำนำ ไม่ให้เกษตรกรนำข้าวเปลือกที่ปลูกจากพันธุ์ที่มีอายุน้อยกว่า 110 วัน ที่มีคุณภาพต่ำเข้าร่วมโครงการ ตามที่กรมการข้าวจะประกาศกำหนดรายชื่อพันธุ์ข้าวไม่ให้เข้าร่วมโครงการ

4) ระยะเวลา

(1) ระยะเวลารับจำนำ 1 ก.พ. — 15 ก.ย. 56

(2) ระยะเวลาไถ่ถอน 4 เดือน นับถัดจากเดือนที่รับจำนำ

(3) ระยะเวลาโครงการ 1 ต.ค. 55 — 31 ม.ค. 57

5) ผลการดำเนินงาน

จำนวนเกษตรกรที่รับเงินกับ ธ.ก.ส. (ตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม — 31 พฤษภาคม 2556)

                             - จำนวนสัญญา              2,396,218    สัญญา
                             - จำนวนตัน              114,859,468      ตัน
                             - จำนวนเงิน             280,733.517  ล้านบาท

ภาวการณ์ซื้อขายข้าวสัปดาห์นี้ ราคาข้าวที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากช่วงนี้ปริมาณผลผลิตข้าวนาปรังออกสู่ตลาดลดลง ประกอบกับเกษตรกรนำข้าวเข้าร่วมโครงการกับทางรัฐบาล ส่งผลให้

ราคาข้าวปรับตัวสูงขึ้น

1.2 ราคา

1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ

ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,907 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 15,877 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.19

ราคาข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 10,048 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 9,783 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.71

ราคาข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาวนาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 12,889 บาท ราคาลดลงจากตันละ 12,907 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.14

2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,350 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

3) ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี.

ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 1 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 1,204 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36,330 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 1,209 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36,041 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.41 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 289 บาท

ราคาข้าวปทุมธานี ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 968 ดอลลาร์สหรัฐฯ (29,209 บาท/ตัน)

ราคาลดลงจากตันละ 981 ดอลลาร์สหรัฐฯ (29,244 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.32 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 35 บาท

ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 542 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,355 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 549 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,366 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.27 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 11 บาท

ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 537 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,204 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 545 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,247 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.47 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 43 บาท

ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 545 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,445 บาท/ตัน)

ราคาลดลงจากตันละ 553 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,485 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.47 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 40 บาท

หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 30.1747 บาท

2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ

สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ

เวียดนาม

สมาคมอาหารของเวียดนาม (The Vietnam Food Association; VFA) ได้ทำการปรับลดราคาส่งออกข้าวขั้นต่ำ (Minimum Export Price: MEP) สำหรับข้าวขาว 25% เหลือ 365 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน จากเดิม ณ วันที่ 27 ธันวาคม 2555 ราคาตันละ 435 ดอลลาร์สหรัฐฯ โดยเป็นการปรับลดลงประมาณร้อยละ 16 นอกจากนี้

ทางสมาคมฯ ยังทำการปรับลดราคาส่งออกข้าวขั้นต่ำสำหรับข้าวขาว 35% เหลือ 360 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน จากเดิม ณ วันที่ 10 เมษายน 2556 ที่กำหนดราคาตันละ 365 ดอลลาร์สหรัฐ โดยเป็นการปรับลดลงประมาณร้อยละ 1.5 ทั้งนี้เมื่อเดือนมีนาคม ทางสมาคมฯ ได้ปรับลดราคาส่งออกข้าวขั้นต่ำสำหรับข้าวขาวคุณภาพดี 5% เพื่อเป็นการกระตุ้นการส่งออก

ผู้ประกอบการค้าข้าวในระดับท้องถิ่น กล่าวว่า การปรับลดราคาส่งออกข้าวขั้นต่ำเป็นสิ่งที่จำเป็นไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ปีนี้ปริมาณผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นแต่ความต้องการข้าวลดลง ซึ่งปัจจุบันราคาข้าวขาว 25% ของเวียดนามอยู่ที่ประมาณตันละ 355 ดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือตันละ 10,1747 บาท) ซึ่งต่ำกว่าราคาส่งออกข้าวขั้นต่ำที่กำหนดไว้เดิม

ปริมาณการส่งออกข้าวเวียดนามระหว่างเดือนมกราคมถึงพฤษภาคม 2556 อยู่ที่ประมาณ 2.8 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาประมาณร้อยละ 9 อย่างไรก็ตามทางรัฐบาลเวียดนามต้องการที่จะเพิ่มยอด

การส่งออกข้าวก่อนที่ประเทศไทยจะทำการระบายข้าวในสต็อกที่คาดไว้ว่าจะมีอยู่ประมาณ 14-17 ล้านตัน

ที่มา : Oryza.com

อินเดีย

รัฐบาลรัฐปัญจาบ ประเทศอินเดีย ได้ประกาศราคาประกันขั้นต่ำ (Minimum Support Price: MSP) ประจำปี 2556/2557 สำหรับข้าวบามาสติในราคาประมาณ 2,500 รูปีต่อ 100 กิโลกรัม หรือประมาณ 422 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน เพื่อเป็นการดึงดูดให้เกษตรกรหันมาปลูกข้าวบามาสติแทนข้าวพันธุ์อื่นๆภายใต้นโยบายกระจายการผลิตพืชผลของรัฐบาล นอกจากนี้ รัฐบาลได้ทำการลดหย่อนภาษีให้แก่ผู้ประกอบการที่จัดซื้อข้าวบามาสติในราคาที่สูงกว่าราคาประกันขั้นต่ำของรัฐบาล และจากการสอบถามผู้ประกอบการค้าท้องถิ่นพบว่า ในช่วงที่ผลผลิตเพียงมีปริมาณเพียงพอ ราคาข้าวบามาสติจะอยู่ที่ 2,400-2,500 รูปีต่อ 100 กิโลกรัม (ประมาณ 425-442 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน หรือ 13,081 บาทต่อตัน) แต่ในช่วงที่ปริมาณผลผลิตลดลงราคาจะปรับตัวสูงขึ้นเป็น 3,500 รูปีต่อ 100 กิโลกรัม (ประมาณ 620 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน หรือ 18,708 บาทต่อตัน)

โดยในช่วงต้นปีที่ผ่านมา สมาชิกรัฐสภาและนักวิทยาศาสตร์ได้ชี้แจงว่า การปลูกข้าวบามาสติใช้น้ำในขั้นตอนการผลิตน้อยกว่าข้าวพันธุ์อื่นๆ เป็นเหตุผลให้ทางรัฐบาลตัดสินใจนำข้าวบามาสติมาเป็นหนึ่งในแผนนโยบายกระจายการผลิตพืชผล โดยรัฐปัญจาบมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 2.75 ล้านเฮคเตอร์ ซึ่งปัจจุบันใช้ในการเพาะปลูกข้าวบามาสติประมาณ 750,000 เฮคเตอร์ และทางรัฐบาลมีแผนที่จะเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกให้ถึง 1 ล้านไร่ภายใน 5 ปีข้างหน้า

ประเทศอินเดียสามารถผลิตข้าวบามาสติได้ปีละ 7-8 ล้านตัน ในจำนวนนี้เป็นข้าวบามาสติที่ผลิตที่รัฐปัญจาบจำนวนประมาณ 2.5 ล้านตัน ประเทศอินเดียเป็นประเทศที่ส่งออกข้าวบามาสติรายใหญ่ที่สุดในโลก โดยสามารถส่งออกข้าวบามาสติได้ปีละ 3.5 ล้านตัน

ที่มา : Oryza.com

บังคลาเทศ

ประเทศบังคลาเทศให้ความสนใจในการเพาะปลูกข้าวที่มีลักษณะพิเศษ (fancy rice) เช่นเดียวกับข้าวหอมมะลิของไทย รัฐมนตรีประจำกระทรวงเกษตรของบังคลาเทศให้สัมภาษณ์กับแหล่งข่าวท้องถิ่นว่า รัฐบาลกำลังวางแผนที่จะขยายความร่วมมือกับบริษัทเมล็ดพันธุ์ซึ่งมีฐานการผลิตอยู่ในประเทศฟิลิปปินส์ในด้านการจัดหาเมล็ดพันธุ์ที่มีลักษณะพิเศษ

ตัวแทนของบริษัทดังกล่าวเปิดเผยว่า ขณะนี้รัฐบาลบังคลาเทศกำลังวิจัยพันธุ์ข้าวที่มีส่วนผสมของอะไมเลสสูง โดยส่วนใหญ่แล้วพันธุ์ข้าวชนิดดังกล่าวจะเป็นข้าวขาวเมล็ดยาว เป็นข้าวที่ไม่เหนียว ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานสามารถบริโภคได้อย่างปลอดภัย

ปัจจุบันบังคลาเทศสามารถพึ่งพาตนเองได้ จากการที่มีผลผลิตข้าวที่อุดมสมบูรณ์ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา โดยที่บังคลาเทศผลิตข้าวได้ประมาณปีละ 34.2 ล้านตัน ขณะที่ปริมาณความต้องการในการบริโภคอยู่ที่ประมาณ 34.7 ล้านตันต่อปี เมื่อปีที่ผ่านมาบังคลาเทศได้ยกเลิกมาตรการห้ามส่งออกข้าวหอม (fragrant rice)ที่เคยกำหนดไว้ 4 ปี เพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร แต่ยังคงมาตรการห้ามส่งออกข้าวพันธุ์อื่นๆไว้เนื่องมาจากความผันผวนของราคา

ที่มา : Oryza.com

--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 3 - 9 มิถุนายน 2556--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ