ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร: ปศุสัตว์

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday April 1, 2014 17:20 —สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

ในสัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณผลผลิตสุกรออกสู่ตลาดใกล้เคียงกับความต้องการบริโภคเนื้อสุกรที่อ่อนตัวลงเล็กน้อย แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย

เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2557 ได้มีการประชุมคณะกรรมการนโยบายพัฒนาสุกรและผลิตภัณฑ์ หรือ พิกบอร์ด ได้ขอความร่วมมือให้เกษตรกรและผู้ประกอบการ ตรึงราคาสุกรมีชีวิตหน้าฟาร์มที่กิโลกรัมละ 77-78 บาท จนถึงสิ้นเดือนเมษายน 2557 ซึ่งจะทำให้ราคาขายปลีกเนื้อแดงอยู่ที่ระดับกิโลกรัมละ 155-160 บาท ทั้งนี้ที่ประชุมยังมีมติให้ลดการส่งออกหมู จากปกติที่มีการส่งออกหมูวันละ 1,200 ตัว ลดลงเหลือเพียงวันละ 500-600 ตัว ทั้งนี้เนื่องจากที่ผ่านมาเกิดโรคทางระบบสืบพันธุ์และระบบทางเดินหายใจ (PRRS) และโรคท้องร่วงในสุกร (PED) ทำให้มีสุกรบางส่วนเสียหาย ประกอบกับมีการส่งออกสุกรมีชีวิตไปยังประเทศเพื่อนบ้านเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ปริมาณสุกรออกสู่ตลาดลดลง ทำให้ราคาสุกรมีชีวิตและราคาเนื้อสุกรปรับเพิ่มขึ้น

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 74.80 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 74.85 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.07 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 73.33 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 76.06 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 75.46 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 70.97 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 2,500 บาท (บวกลบ 76 บาท) สูงขึ้นจากตัวละ 2,400 บาท (บวกลบ 74 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 4.17

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 78.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 76.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.68

ไก่เนื้อ

สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

สัปดาห์นี้สถานการณ์ตลาดไก่เนื้อค่อนข้างเงียบเหงา ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้ลดลงเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณไก่เนื้อที่ออกสู่ตลาดยังคงมีมาก ขณะที่ความต้องการบริโภคชะลอตัว เพราะเข้าสู่ช่วงสถานศึกษาปิดภาคเรียน คาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 41.41 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 41.73 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.77 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 41.39 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 40.26 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 44.44 บาท (ภาคเหนือไม่มีรายงานราคา) ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 17.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.00 บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 54.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่ไก่

สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดยังคงมีมาก การบริโภคลดลงเพราะเข้าสู่ช่วงปิดเทอม คาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 309 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 310 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.32 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 292 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 355 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 292 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 349บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 21.00 บาท ลดลงจากตัวละ 23.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 8.70

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 311 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่เป็ด

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 370 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 376 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.60 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 346 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 407 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 343 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 374 บาท

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาขายส่งไข่เป็ดในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 420 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

โคเนื้อ

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 91.13 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 91.08 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.05 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 92.54 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 92.57 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 87.36 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงานราคา

กระบือ

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 56.15 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 56.14 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.02 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 77.12 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 51.96 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา

--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 24 - 30 มี.ค. 2557--


แท็ก เกษตรกร   สุกร  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ